ความรู้สึก ตัดพ้อ อยากตาย อยากหายไป เป็นความรู้สึกที่เกิดตอนจิตใจเรารู้สึกขาดสมดุล ไม่สามารถจัดการสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้
บทความนี้ Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยในทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพใจ เจาะลึกความหมายการตัดพ้อ และวิธีรับมือกับความรู้สึกตัดพ้อที่เกิดขึ้น
ตัดพ้อ ไม่อยากอยู่แล้วรู้สึกอย่างไร?
คน ๆ หนึ่งที่พูดคำเหล่านี้ออกมาได้ นั่นคงเป็นความรู้สึกและอารมณ์ที่สุดมาก ๆ เหมือนไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรแล้ว มองหาทางออกไม่เจอกับเรื่องที่ประสบอยู่ และการตัดพ้อความรู้สึกเหล่านี้ออกมา อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเขา
การที่คนเรา ตัดพ้อ แบบนี้นักจิตวิทยามองอย่างไร?
นี่คือสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะในจิตใจที่กำลังเกิดขึ้นกับตนเอง อาจจะไม่ได้เกิดจากความเครียดเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากภาวะจิตใจที่ขาดสมดุล จนทำให้เราขาดแรงจูงใจในการมีชีวิตอยู่ ขาดแรงจูงในการหาใครสักคน
มาเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ หรือเกิดจากการที่เราสู้มามากพอแล้ว จนตอนนี้สู้ไม่ไหวแล้ว
“ไม่ไหวก็คือไม่ไหว ไม่ต้องฝืน” และเราทุกคนมีสิทธ์ที่จะตัดพ้อว่า อยากตายจังเลย แต่การที่เขาอยากให้คนรอบข้างได้ยินคำพูดเหล่านั้น มองว่านั่นคือ “สัญญาณ” ที่บ่งบอกว่าเขาขอความช่วยเหลือ
ข้อความแบบไหนที่เป็นการตัดพ้อ?
เบื่อจังเลย เหนื่อยจังเลย ไม่ไหวแล้ว ไม่มีใครช่วยฉันได้เลย ฯลฯ คำเหล่านี้บ่งบอกอารมณ์ของผู้พูด ถ้าเราเป็นผู้เห็นหรือได้ยินข้อความเหล่านี้ เราควรสังเกตพฤติกรรมเขาก่อน ทำความเข้าใจสิ่งที่เขาตัดพ้อออกมา และ
ลองสังเกตว่าเขากำลังเผชิญกับอะไรอยู่ แล้วค่อยเข้าไปพูดคุยกับเขา ท้ายที่สุดเขาจะได้รู้สึกว่ามีคนกำลังเห็นความรู้สึกของเขาในตอนนี้
ทำไมเราจึงพูดว่าอยากตาย?
เขาอาจจะตกอยู่ในภาวะอารมณ์ที่จัดการได้ยากลำบากมาก ๆ แล้วเขาพยายามมาทุกวิถีทางแต่ไม่มีทางออก การตัดพ้อนี้อาจจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ณ ตอนนั้นของเขา
ในมุมมองคนนอก มักมองว่าปัญหาของเขาสามารถจัดการได้ ผ่านมุมมองของตัวเองเสมอ แต่ในมุมของผู้ตัดพ้อเองนั้น เขารู้สึกว่าจัดการไม่ได้ คนนอกมักจะรู้เรื่องของคนอื่นดีที่สุดและจัดการปัญหาของคนอื่นได้ดีที่สุดเช่นกัน
แต่ในขณะเดียวกันเมื่อต้องเผชิญปัญหาของตัวเอง ก็มองไม่เห็นมิติใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาเช่นกัน ฉะนั้นเราไม่ควรมองว่าปัญหาเขาควรจะจัดการอย่างไร แต่ควรเป็นคนที่คอยเอาใจช่วยและอยู่ข้าง ๆ จะดีกว่า
หากมีความรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย ควรทำอย่างไร?
แต่ละคนมีเหตุการณ์ไปกระตุ้นความคิดแตกต่างกัน ฉะนั้นควรเริ่มจากจับความรู้สึกของตัวเองให้ได้ ว่าอะไรเป็นสาเหตุของความคิดนี้ เมื่อรู้สาเหตุแล้ว ก็ต้องลองเข้าไปจัดการกับความรู้สึกนั้น
เช่น การทะเลาะกับแฟน จนนำไปสู่การอยากฆ่าตัวตาย เราก็ต้องกลับมาแก้ไขที่การทะเลาะกับแฟน ว่ามีวิธีไหนสามารถแก้ปัญหาได้
นอกจากการฆ่าตัวตาย หรือถ้าความคิด อยากตาย เกิดขึ้นจริง ๆ ลองผลัดวันไปก่อน ว่าจะทำพรุ่งนี้ ผลัดวันไปเรื่อย ๆ จนวันหนึงเราจะค่อย ๆ เรียนรู้ได้เองว่า เราไม่จำเป็นต้องทำร้ายตัวเองก็ได้
คิดว่าตัวเองเป็นภาระครอบครัว จัดการกับความรู้สึกอย่างไรดี?
ต้องทำความเข้าใจคำว่าภาระของครอบครัวในมุมมองของตัวเองก่อน ว่า หมายความว่าอย่างไร แล้วมีเหตุการณ์ใดมายืนยันได้ไหมว่าเราเป็นภาระจริง ๆ เช่น เคยมีใครบอกหรือเปล่า เพราะในหลาย ๆ ครั้ง
เกิดจากความคิดตัวเองเท่านั้น ฉะนั้นต้องกลับทบทวนก่อนว่าความคิดที่เกิดขึ้นเป็นจริงหรือไม่ แล้วถ้าเราคิดแบบนี้เรื่อย ๆ เกิดข้อดีหรือข้อเสียมากกว่ากัน แล้วเปลี่ยนวิธีคิดอย่างอื่นได้อีกไหมนอกจากมองว่าตัวเองเป็นภาระ
เด็ก ตัดพ้อ เรื่องเรียนกดดันจากครอบครัว?
เด็กนักเรียนยุคนี้ ต้องแบกรับสิ่งต่าง ๆ ไว้เยอะมาก เพราะเด็ก ๆ เข้าถึงโลกออนไลน์ได้ง่ายขึ้น ก็จะเริ่มนำตัวเองไปเปรียบเทียบกับเพื่อนคนอื่น จนเกิดเป็นความรู้สึกเสียใจ
หรือแม้แต่ตัวพ่อแม่เองก็เอาลูกไปเปรียบเทียบจนลูกมีความกดดัน
ทำอย่างไรหากเรามีความคิด อยากหายไป?
หากเราเริ่มเห็นสัญญาณของการตัดพ้อ ลองสำรวจรอบ ๆ ดูว่าอะไรเป็นต้นเหตุ และลองเข้าไปพูดคุยให้กำลังใจกับเขา เพื่อให้เขาเห็นวิธีการ หรือมุมมองใหม่ ๆ ในการแก้ไข หากเราช่วยเหลือเขาแล้วอย่างเต็มที่แต่ไม่ดีขึ้น
ทางออกที่ดีคือการพาเขาเข้าไปพบผู้เชี่ยวชาญ จิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา เพื่อให้เขาหลุดพ้นจากความคิดฆ่าตัวตายนี้ได้
Post Views: 3,127