ปัญหาพี่น้องทะเลาะกัน อิจฉากัน พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน บางบ้านถูกเลี้ยงดูปลูกฝังมาว่าพี่จะต้องเสียสละให้น้อง ส่วนน้องบางครั้งต้องแบกรับแรงกดดันที่จะต้องเก่งเหมือนพี่
ซึ่งต่างคนต่างแบกรับความรู้สึกที่แตกต่างกัน แต่มีความรู้สึกที่หนักอึ้งเหมือนกัน
บทความนี้ Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพใจ
พ่อแม่รักลูกเท่ากัน จริงหรือเปล่า?
ภาวะพ่อแม่รักลูกไม่เท่ากันเกิดขึ้นจากการรับรู้ที่เกิดขึ้นได้ทุกคน ทุกคนรู้สึกรับรู้ได้ถึงความรู้สึกว่าพ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน ความรู้สึกนั้นไม่มีผิดไม่มีถูก ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เรารู้สึกว่าพ่อแม่รักเราน้อยกว่า
เราไม่จำเป็นที่จะต้องรู้สึกผิด ตราบใดที่พฤติกรรมของพ่อแม่แสดงออกมาให้เรารับรู้ ว่าพ่อแม่กำลังรักใครคนอื่นมากกว่าเรา และเราเกิดความรู้สึกน้อยใจกับสิ่งที่ได้รับ ตราบใดที่ความรู้สึกนั้นเป็นของเรา
ความคิดของเรา เรารับรู้การกระทำของพ่อแม่ที่มีให้ไม่เท่ากัน
“เพราะฉะนั้นเรามีสิทธิที่จะรู้สึกได้เพราะเราเป็นเจ้าของชีวิต”
ผลกระทบต่อการแสดงออกว่า พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน
เมื่อเรามีคำถามว่าพ่อแม่รักเราจริงไหม? ซึ่ง “รัก” คือความรู้สึกอย่างหนึ่ง ที่เราไม่มีทางรู้ว่าจริงหรือไม่จริง รักเท่ากันหรือรักไม่เท่ากัน ต้องดูว่าลักษณะของครอบครัวเราเติบโตมาในรูปแบบไหน
พ่อแม่ตั้งเป้าหมายอยากให้ลูกเป็นแบบที่เขาต้องการหรือเปล่า
พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากันไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในสังคม เพราะบางครอบครัวพ่ออาจจะรักคนโตมากกว่า แม่อาจจะรักคนน้องมากกว่า หรือรักลูกสาวมากกว่าลูกชายใครเกิดก่อนเกิดหลัง
ลูกคนไหนเข้าใจเขามากกว่ากัน วางเส้นทางแล้วคนไหนเดินตามที่พ่อแม่ตั้งไว้
จนทำให้อีกคนเกิดความรู้สึกน้อยใจที่พ่อแม่แสดงออกแบบนั้น เลยคิดว่าตัวเองไม่ใช่ลูกคนโปรดของพ่อแม่ พอเกิดความรู้สึกเก็บกดจนนำไปสู่ความไม่เชื่อมั่นใจในความรักของพ่อแม่
และสามารถส่งผลกระทบได้โดยตรง ทำให้เกิดความรู้สึกเก็บกด บีบคั้น กัดกร่อนจิตใจ
เกิดการสูญเสียความมั่นใจในตัวเอง รับรู้คุณค่าในตัวเองต่ำ จนไม่สามารถเห็นศักยภาพของตัวเองได้เลย ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ถูกเปรียบเทียบเราจะคิดแค่ว่าเราไม่ดี เราไม่เก่งเหมือนคนนั้น ย้ำกับตัวเองว่าเราดีไม่พอ
จนเป็นแรงขับเคลื่อนทำให้เราขาดความมั่นใจและไม่รับรู้คุณค่าในตัวเองเมื่อโตขึ้นมา
เด็กบางคนจึงเลือกทำทุกสิ่งทุกอย่างทั้งเหมาะสมและไม่เหมาะสมเพื่อให้พ่อแม่กลับมาสนใจ ใส่ใจ นำไปสู่รอยร้าวเกิดการทะเลาะกันกับพ่อแม่หรือพี่กับน้อง เด็กบางคนเลือกที่จะห่างเหินออกจากพ่อแม่ของตัวเอง
เพราะรู้สึกเจ็บปวดคิดว่าพ่อแม่รักอีกคนมากกว่า “เป็นสิ่งที่ทำให้พี่กับน้องขาดความใกล้ชิดกัน”
พ่อแม่ก็รักลูกเท่ากัน? วิธีรับมือกับความรู้สึกของตัวเอง
ไม่ว่าจะอยู่สถานะไหนพ่อแม่ก็รักลูกเท่ากัน แต่อาจจะมีบางสิ่งบางอย่างไปกระตุกให้คิดว่าพ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน จึงเกิดความขัดแย้งในใจ ความรู้สึกแบบนี้กัดกินมานานมากจนทำให้รับรู้คุณค่าตัวเองต่ำลง
เกิดความเครียดและเสี่ยงต่อการเป็นซึมเศร้า
เวลาที่ใครคนหนึ่งแบกรับความรู้สึกเจ็บปวด กล้ำกลืนฝืนทน ควรวิธีรับมือดังต่อไปนี้
1. ค่อย ๆ ปรับมุมมองในฐานะคนเป็นลูก ทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น
2. ใช้วิธีการพูดคุยกับคนในครอบครัว ให้พูดในสิ่งที่เราเห็นชัดเจน ในพฤติกรรม อารมณ์ของความรู้สึกของตัวเองว่าเราเผชิญกับอะไร เช่น แม่ซื้อไอแพดให้น้องแต่เราไม่ได้ทั้ง ๆ
ที่เราก็จำเป็นที่จะต้องใช้เรียนหนังสือเหมือนกัน
สิ่งที่ควรระวังอย่าพูดคุยกันด้วยอารมณ์เพราะนั่นจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ แต่การได้พูดคุยก็ไม่ได้บอกแน่ชัดว่าพ่อแม่จะยอมรับ แต่อย่างน้อยเราก็ได้บอกในสิ่งที่ควรพูดออกไป
ถ้าพ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน เราในฐานะลูกจะทำอย่างไรดี?
พ่อแม่คือคน ๆ หนึ่งที่สามารถทำผิดพลาดกันได้ เหมือนกับเราในบางครั้งที่ทำให้พ่อแม่ผิดหวัง เสียใจ หรือรับกับสิ่งที่เราทำลงไปไม่ได้ และรู้สึกแย่กับพฤติกรรมของเราในฐานะลูก
ซึ่งพ่อแม่ก็มีสิทธิที่จะพลาดกันได้ในการดูแลลูกเช่นเดียวกัน
อยากให้บอกกับตัวเองว่าพ่อแม่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ที่ทำอะไรที่ไม่เท่าเทียมกันได้เพราะฉะนั้นอยากให้พยายามยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น
ความรู้สึกผิดที่เกิดขึ้น ไม่ชอบตัวเองที่รู้สึกแบบนี้
ความรู้สึกผิดที่เกิดขึ้นนอกจากพ่อแม่คือความรู้สึกผิดต่อพี่น้องหรือต่อตัวเอง ไม่ชอบตัวเองที่ทำแบบนี้ เป็นแบบนี้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะเราเป็นมุษนย์คนหนึ่ง
เรามีสิทธิที่จะรู้สึกถ้าในอีกมุมมองหนึ่งการที่เรารู้สึกว่าพ่อแม่รักเราไม่มากพอพยายามเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะบางครั้งพ่อแม่อาจจะมองว่าเราเป็นคนที่เข็มแข็ง ดูแลตัวเองได้จนพ่อแม่หายห่วง
จึงหันไปใส่ใจคนที่ดูแลตัวเองไม่ได้มากกว่าเราอาจจะเป็นคนมีคุณภาพที่พ่อแม่วางใจแต่อาจไม่ได้แสดงออกมาในทีเดียวว่าลึก ๆ แล้วพ่อแม่ก็เป็นห่วงและรักเรามากเช่นเดียวกัน
ถ้าเรารักตัวเองมากพอ เราสามารถหาความสุขและเติมเต็มให้กับตัวเองได้ ความรักที่ดีอาจไม่ใช่ความรักที่คนอื่นให้เรา แต่เป็นความรักที่เราให้กับตัวเองมากกว่า การที่ไม่ใช่ลูกคนโปรดของพ่อแม่
ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ใช่คนโปรดของคนอื่นขอให้ดูแลตัวเอง รักตัวเองให้มากพอ สุดท้ายนี้ถ้าเราไม่สามารถเป็นคนโปรดของใครได้ แต่อย่าลืมนะว่าเราสามารถเป็นคนโปรดของตัวเองได้ด้วยเช่นกัน
Post Views: 3,576