ข้างนอกสดใส ข้างในฮือฮือ เป็นประโยคหนึ่งที่ใช้อธิบายคำว่า Smiling Depression จริง ๆ แล้ว คืออะไร
มาสาเหตุมาจากอะไร เพราะอะไรบางคนถึงเลือกที่จะซ่อนความรู้สึกเศร้า ดิ่ง ดาวน์ ไว้ภายใต้รอยยิ้มและคำว่า
“ไม่เป็นไร เราโอเค”
Smiling Depression
เป็นคำอธิบายอาการที่เราพยายามซ่อน ภาวะซึมเศร้า ไว้ในใจ โดยการเสแสร้งว่าตัวเอง มีความสุขกับชีวิต เช่น คนที่ร่าเริง ยิ้มแย้ม แจ่มใส สร้างเสียงหัวเราะกับผู้อื่น
อาจเป็นคนเดียวกับคนที่นอนเศร้าเมื่ออยู่ตัวคนเดียว Smiling Depression อาจมีชีวิตที่คนภายนอกมองเห็นว่าดูดี มีความสุข ทั้งที่ความจริงแล้วภายในใจอาจจะมีเรื่องกังวล
Smiling Depression ถูกตีความไว้ให้เป็น “ High-functioning depression ” หรืออาการซึมเศร้าที่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ดูเหมือนจะเป็นคนที่ตลกง่าย หัวเราะง่าย คอยสร้างเสียงหัวเราะให้คนรอบกายอยู่เสมอ
Smiling Depression จะพยายามจัดการกับความรู้สึกด้วยการหาเรื่องหักเหความสนใจ เช่น ออกไปซื้อของใหม่ ๆ ซื้อมาแล้วอาจจะไม่ได้ใช้บ้างแต่หาอะไรทำเพื่อให้ลืมเรื่องที่เศร้า
ไปเที่ยวแบบไม่ได้หยุดพักถึงจะเที่ยวแล้วแต่ก็ไม่มีความสุขเหมือนที่หวังไว้ วิธีนี้ก็ไม่ได้ผลที่ระยะยาวเพราะไม่ได้เผชิญหน้าจัดการกับปัญหาอยู่ดี
Smiling Depression คือ โรคซึมเศร้า?
Smiling Depression คือ หน้ากากแห่ง ‘รอยยิ้ม’ ที่ซ่อนความรู้สึกเศร้าอยู่ข้างใน มีอีกนิยาม คือภาวะที่มีอาการซึมเศร้าที่สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ
พอกล่าวถึงโรคซึมเศร้าแล้วเราจะนึกถึง ความเศร้าที่บางคนอาจจะแสดงออกผ่านทางสีหน้าอารมณ์ได้ชัดเจน แต่ Smiling Depression ที่ต้องซ่อนความเศร้าไว้ข้างใน
เราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าข้างในจิตใจเขาเป็นยังไง เป็นซึมเศร้าที่เสี่ยงกว่าซึมเศร้าที่แสดงออก เพราะไม่มีใครรับรู้อาการของพวกเขา
แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเราอยากยิ้มจริง ๆ หรือเรากำลังยิ้มเพื่อปกปิดความเศร้าของเราอยู่
ในภาวะ Smiling Depression เราอาจรู้สึกดีชั่วขณะ ชั่วคราว เวลามีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้น แต่จะเพียงแค่เวลาสั้น ๆ ขั้นแรกคือการเปรียบความรู้สึกกับสิ่งที่ปรากฎออกไปให้คนภายนอกเห็น
เวลาอยู่คนเดียว เรามีอาการเศร้าอย่างต่อเนื่องไหม แล้วเราไม่เคยแสดงให้คนอื่นรู้เลย เก็บความเศร้าของตัวเองไว้ แล้วบอกกับคนอื่นว่าโอเค
อาการจะคล้ายกับซึมเศร้าเลยเพราะ Smiling Depression ก็เหมือนการที่เป็นโรคซึมเศร้าแต่ไม่ได้แสดงออก
- ขาดพลังงานเหนื่อยล้าหรืออ่อนเพลีย
- หงุดหงิด ฉุนเฉียว หรืออารมณ์เปลี่ยนแปลง
- การเปลี่ยนแปลงของความอยากอาหารหรือความผันผวนของน้ำหนัก
- สูญเสียความสนใจหรือความสุขในกิจกรรมที่คุณเคยชอบ
- รู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกผิด
- มีปัญหาในการคิด มีสมาธิ หรือตัดสินใจ
- ความคิดเรื่องความตายหรือการฆ่าตัวตาย
สิ่งที่โดดเด่นออกมาสำหรับคนที่เป็น Smiling Depression
- พยายามใช้ชีวิตตามปกติ ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว ทำเหมือนว่าไม่ได้มีอะไรเกิดขึ้นข้างใน
- แสดงออกว่าร่าเริง มองโลกในแง่ดี
สาเหตุในชีวิตประจำวันที่บางคนไม่กล้าจะแสดงความเศร้า
Amy Morin นักจิตบำบัดได้อธิบายเอาไว้ว่า การที่คนหนึ่งคนเลือกที่จะซ่อนอารมณ์ไว้เพราะว่า . .
- ไม่อยากให้ตัวเองเป็นภาระ ไม่อยากให้คนต้องมาดูแลความลำบากของตัวเอง ความรู้สึกนี้มักจะเกิดขึ้นกับคนที่ชอบดูแลคนอื่นหรือใส่ใจความรู้สึกคนอื่นมาก ๆ
- ไม่อยากให้ส่งผลต่อหน้าที่การงาน ถึงแม้ว่าสังคมจะเปิดกว้างและเข้าใจสภาวะนี้กันมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยตำแหน่งหน้าที่การงาน ก็เลยเลือกที่จะปกปิดอาการเหล่านี้ไว้ เพื่อให้มันส่งผลกระทบน้อยที่สุด
- ไม่อยากยอมรับความเศร้า อาการนี้อาจจะดูน่ากลัวในสายตาบางคน ก็เลยเลือกที่จะยิ้มรับทุกอย่างไว้ ทั้งที่ภายในไม่ได้แก้ไขอย่างถูกต้อง
- ไม่อยากรู้สึกว่าตัวเองไม่สมบูรณ์แบบ/ไม่อยากรู้สึกอ่อนแอ ในบางครั้งคนเราเลือกที่จะยิ้มสู้ เพื่อที่จะทำให้ตัวเองรู้สึกว่าเข้มแข็ง และคนที่เสพติดความเป็น Perfectionist มักจะไม่ยอมรับความเจ็บปวดทางร่างกายหรือจิตใจอะไรง่าย ๆ
- ไม่อยากแปลกแยก Social Media ในปัจจุบัน เราจะพบเลยว่า ทุกคนต่างนำเสนอมุมความสุขในแบบฉบับของตัวเอง แต่พอเราเริ่มรู้สึกเศร้า รู้สึกแย่ มันมักจะทำให้เราโดดเดี่ยวและแปลกแยกจากคนทั่วไป ทำให้บางครั้งไม่กล้ายอมรับมันการสร้างกลไกการป้องกันตัวเองแบบนี้จะทำให้เขารู้สึกดีกว่าการแสดงความรู้สึกที่แท้จริง
Smile Depression ในคนที่เป็นโรคซึมเศร้า
อ้างอิงจากข้อมูลจาก I strong ในทางจิตวิทยาโรคซึมเศร้านั้นประกอบด้วยอาการหลักคือ อารมณ์เศร้าหมอง
ดังนั้น การยิ้ม หัวเราะ ร่าเริง จึงเป็นเหมือนกลไกปกป้องตัวเอง (Defense mechanism) คือความพยายามที่จะซ่อนแอบความรู้สึกที่แท้จริง
Learn How to Recognizing the Signs of Smiling Depression
คอยสังเกตอาการ สัญญาณ ของตัวของเราค่ะ เพราะ การที่เราเป็น Smiling Depression เราใช้รอยยิ้ม ความร่าเริง อาจดูเหมือนประสบความสำเร็จในชีวิต
แต่อาการที่ซ่อนอยู่ข้างในจะนำพาไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ได้ นำไปสู่การทำร้ายตัวเอง เพราะการที่เราแสดงว่า ฉันไม่เป็น ฉันโอเค ฉันยิ้มได้ทำให้คนอื่นไม่ได้เข้าใจในสิ่งที่เรารู้สึกอยู่ข้างใน
แก้ไขอย่างไรดี
การรักษาที่สามารถทำได้จะเหมือนกับ Major Depressive Disorder ทั้งการรักษาด้วยยาจากจิตแพทย์ การพูดคุยทำจิตบำบัด
การเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น เช่น ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ ทำงานอดิเรกที่ชอบ อยู่กับคนที่ทำให้เรามีความสุข
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเริ่มต้นที่จะดูแลตัวเอง การเล่าเรื่อง เล่าปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ให้กับคนที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยของเราเป็นก้าวแรกที่สำคัญสำหรับผู้ป่วย
มื่อผ่านช่วงนี้ไปได้ทุกอย่างจะค่อย ๆ ดีขึ้น เพราะไม่ต้องเก็บปัญหานี้ไว้คนเดียว มีคนที่พร้อมจะช่วยเหลือเราเสมอ
การพูดเรื่องสุขภาพจิตเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน ใคร ๆ ก็สามารถเป็นได้ และการหาจิตแพทย์ก็ไม่ได้หมายความว่าเราอ่อนแอ
หรือเป็นบ้าอย่างที่คนเข้าใจผิดกัน การพูดให้เคยชินจะทำให้ผู้ป่วยกล้าที่จะแสดงออกความรู้สึก ๆ ที่มีมากยิ่งขึ้น
สำหรับการเก็บซ่อนความรู้สึกเศร้า และทำเหมือนตัวเองมีความสุขตลอดเวลา อยากให้ลอง
สำรวจความรู้สึก ด้วยการจดบันทึก หรือนั่งคุยกับตัวเอง คอนเน็คกับความรู้สึกตัวเอง
หาพื้นที่ปลอดภัย สภาพแวดล้อม หรือผู้คนที่เรารู้สึกว่า เราสามารถแสดงออกความเป็นตัวของเราได้นะ เข้มแข็ง เสียใจ ร้องไห้ ผิดหวัง
ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ เศร้า เสียใจ บ้างก็ได้ ไม่มีใครไม่เคยเสียใจ ไม่มีใครไม่เคยเศร้า
ที่มา :
Smiling Depression: When Things Aren’t Quite What They Seem
What Is Smiling Depression?
ความลับของคนยิ้มหัวเราะง่ายแต่ในใจอาจเป็นโรคซึมเศร้า
Post Views: 1,162