ทำไมเราถึงควรปล่อยให้เรารู้สึกแบบที่เรารู้สึกจริงๆ ? ในสมัยนี้ที่ทุกอย่างบอกให้เราคิดบวก มองโลกในแง่ดี แต่ถ้าเราคิดบวกกับทุกเรื่องมากเกินไปอาจจะทำให้เราตกอยู่ในสภาวะ Toxic Positivity ได้
ในวันที่เราทุกข์แบบสุด ๆ เลย แต่ละคนก็จะมีการแสดงออกที่แตกต่างกันไป บางคนก็ร้องไห้ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ
แต่รู้ไหมว่ามีคนบางกลุ่มที่ในวันที่เขาทุกข์ใจ เขาก็แสดงออกว่าตัวเองมีความสุขแทน สิ่งนี้เรียกว่า “Toxic Positivity”
เมื่อ “คิดบวก” ทำร้ายเรา
อย่างที่เรารู้กันว่า การคิดบวก เป็นอะไรที่ดีต่อสุขภาพจิต การคิดบวกทำให้เรามองเห็นมุมมองหรือทางออกของปัญหาที่ดีได้
แต่การที่คิดบวกทำร้ายเรา มันเหมือนว่าเรากำลังกดและซุกซ่อนความรู้สึกจริง ๆ ภายใต้คำพูดบวก ๆ หรือความคิดบวก ๆ
มันก็มีส่วนหนึ่งที่เรารู้สึกดีขึ้นจากคำพูดนั้นจริง ๆ แต่ก็ไม่เสมอไปเพราะการที่เราไม่จัดการความรู้สึกที่เกิดขึ้นอาจจะสะสมจนเราอาจจะไม่รู้ก็ได้ว่าเรากลายเป็นคนเย็นชาและมือมนตั้งแต่เมื่อไหร่
เราอยู่ในวัฒนธรรมที่บอกให้ “คิดบวก”
จริงส่วนหนึ่ง ที่ว่า ‘เราอยู่ในวัฒนธรรมที่บอกให้คิดบวก’ เพราะ การแสดงความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ทางลบ ไม่ใช่สิ่งที่ถูกยอมรับในสังคม ลองคิดถึง ‘การร้องไห้กลางที่สาธารณะ’ ดู
แน่นอนว่า ใครเดินผ่านไปผ่านมาเห็นคงตกใจ น้อยคนที่จะคิดว่าเป็นเรื่องปกติทั่วไปจริงไหม ?
อีกอย่าง เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า การคิดบวก ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ทำให้เราพยายามที่จะคิดบวก ซึ่งบางครั้งอาจจะละเลยความรู้สึกที่แท้จริงของเราไป ทำให้ปัญหาภายในใจไม่ได้ถูกแก้ไข
และสุดท้ายแล้วการฝืนคิดบวก นำเราไปสู่ Toxic Positivity…
Toxic Positivity คืออะไร
คือ ความเชื่อว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น สถานการณ์จะแย่มากแค่ไหนเราก็ต้องรักษาทัศนคติเชิงบวกไว้ เป็นเหมือนแนวทางการใช้ชีวิตว่า “ต้องรู้สึกดีเท่านั้นนะ”
แน่นอนว่าการคิดบวกมีประโยชน์มาก ๆ แต่ปัญหาก็คือ “มันไม่ได้มีแค่ประโยชน์เสมอไป”
Toxic Positivity จะทำให้เราปฏิเสธอะไรก็ตามที่เรารู้สึกว่ามันลบแบบอัตโนมัติเลย เช่น ความคิด ความรู้สึก การเเสดงออก และทดแทนมันด้วยความคิดด้านบวก
จนส่งผลให้เราแสดงออกว่ามีความสุข สบายดี แฮปปี้ แต่ลึก ๆ ข้างในเราสาหัสมาก พูดง่าย ๆ คือ เหมือนเราสะกดความคิดด้านลบไว้ภายใต้การมองทุกอย่างในแง่บวก
“Stay positive” คิดบวกเข้าไว้สิ
คิดบวก เป็นวิธีการหนึ่งในการจัดการความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ของเรา เมื่อเราประสบพบเจอกับปัญหาในชีวิตที่ทำให้เกิด ความเครียด ความเศร้า หรือ อื่น ๆ
แต่แน่นอนว่า คิดบวกมากจนเกินพอดี นำไปสู่ ‘Toxic Positivity’ หรือ ‘การคิดบวกจนเป็นพิษ’ ได้
บทความของ Tchiki Davis จากเว็บไซต์ Berkeley Well-being Institute การคิดบวกจนเป็นพิษ หมายถึง การปฏิเสธอารมณ์ทางลบที่เกิดขึ้น แล้วฝืนคิดบวก ฝืนมองโลกในแง่ดี เพื่อปกปิดสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจ
นอกจากนี้ การคิดบวกจนเป็นพิษ เชื่อมโยงกับ กลไกป้องกันทางจิต หรือ defense mechanism ในทางจิตวิทยาที่ชื่อว่า Suppression ด้วย
Suppression คือ การพยายามซ่อนหรือกดความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ทางลบเอาไว้ ซึ่งถ้ามากจนเกินพอดี จะส่งผลเสียแทนที่จะส่งผลดี นอกจากนี้ เขายกตัวอย่างไว้ด้วย
เช่น ‘ไม่ชอบงานที่ทำอยู่ตอนนี้ อยากลาออก’ แต่พยายามบอกตัวเองว่า ‘ไม่เป็นไรหรอก โชคดีแค่ไหนแล้วที่มีงานทำ’
สัญญาณเตือนว่ากำลังตกอยู่ใน Toxic Positivity
1.รู้สึกผิดที่เศร้า เสียใจ ผิดหวัง
2.มักจะหนีหรือปัดปัญหา แทนที่จะเผชิญหน้า
3.ซ่อนความรู้สึกที่แท้จริงไว้หลังคำพูดที่รู้สึกดี
4.แอบต่อว่าหรือตัดสินคนอื่นเมื่อเขาไม่มีความคิดด้านบวก
5.อดทนหรือเอาชนะความเจ็บปวด
เกิดจากอะไร
1.เมื่อเราเจอกับเรื่องเเย่ๆในชีวิต
ตกงาน คนรอบข้างอาจจะพูดกับเราว่า มองโลกในแง่ดีไว้สิ มองในด้านดีไว้สิ แน่นอนว่าเขาอาจจะหวังดีแหละ เเต่มันอาจจะทำให้เรากลายเป็นคนปิดกั้นที่จะบอกความรู้สึกที่แท้จริงของเรา
2.เมื่อเราเจอกับความสูญเสีย
คนรอบข้างก็อาจจะบอกว่า ทุกอย่างเกิดขึ้นด้วยเหตุผล มันเป็นการหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด
3.เมื่อเราเจอกับความเสียใจ
คนรอบข้างอาจจะบอกว่า ความสุขเป็นตัวเลือก ซึ่งมันหมายความว่า ในเมื่อคุณมีสิทธิที่จะเลือกที่จะมีความสุขได้ ทำไมไม่เลือก Just stay Positive
แน่นอนว่าคำพูดเหล่านี้เป็นคำพูดที่หวังดีแต่บางทีอาจจะทำร้ายคนที่ต้องผ่านช่วงยากลำบากไปได้ แทนที่เขาจะแบ่งปันความรู้สึกจริง ๆ ออกมาให้ตัวเองเบาลงได้ กลับรู้สึกเหมือนถูกเพิกเฉยแทน
ทำไมมันถึงอันตราย?
1.จะเกิดความคิดว่า ความรู้สึกลบเป็นที่ยอมรับได้ยาก
เวลาที่คนคนหนึ่งเจอกับเรื่องทุกข์ใจ เขาต้องรู้ว่าอารมร์ที่เกิดขึ้นมันถูกต้อง มันปกติ มันจะโล่งใจเมื่อได้รับแรงซัพพอาร์ตจากคนรอบข้าง แต่ Toxic Positivity จะบอกกับคนคนนั้นว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้นมันไม่เป็นที่ยอมรับ
2.ทำให้เราเกิดความรู้สึกผิด
ทำให้เรารู้สึกว่า การที่เราไม่สามารถมองหาแง่คิดด้านบวกของเรื่องที่เจอได้ เราทำผิดอย่างมาก
3.หลีกเลี่ยงอารมณ์ที่แท้จริงของมนุษย์
และมันจะทำให้เรากลายเป็นคนที่ดูเพิกเฉยและเย็นชา
วิธีจัดการกับ Toxic Positivity
1.จัดการอารมณ์เชิงลบแต่ไม่ต้องปฏิเสธมัน
2.ให้คิดว่า มันโอเคที่จะรู้สึกแบบที่เรารู้สึก
เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่ตึงเครียด เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกเครียด กังวล หรือแม้แต่กลัว อย่าคาดหวังจากตัวเองมากเกินไป
3.เวลาที่คนอื่นทุกข์ใจ รับฟังและซัพพอร์ตเขา
สะท้อนให้เขาเห็นว่าการที่เขารู้สึกแบบนี้ๆเป็นเรื่องปกติ point หลักก็คือ ปล่อยให้ตัวเองรู้สึกแบบที่รู้สึก มีความสุขก็เอนจอยกับมัน เศร้าก็เสียใจ ร้องไห้
เหมือนคำพูดของ Sadness จากเรื่อง Inside Out ที่บอกว่า
Crying helps me slow down and obsess over the weight of life’s problems. “การร้องไห้ช่วยให้เย็นลงและผ่านปัญหาหนัก ๆ ในชีวิตไปได้”
4.ยอมรับกับความรู้สึกที่เกิดขึ้น
พอเรารู้ว่าเราติดคิดบวก ติดแสดงออกทางบวก ทำให้รู้สึกแย่กว่าเดิม
ลองประชุมกับตัวเองว่า ตอนนี้มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น เราคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร บางครั้งที่ทุกอย่างมันเยอะ มันล้น เขียนลงกระดาษ เพื่อให้เห็นชัดเจนขึ้น
ซึ่งพอเรายอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น เราจะสามารถคิดต่อได้ว่า เรื่องไหนแก้ไขได้ก็แก้ไข เรื่องไหนแก้ไขไม่ได้ก็ปล่อย แต่ถ้าแก้ไขแล้วหรือปล่อยแล้ว ยังรู้สึกไม่ดีกับเรื่องนั้นอยู่ ลองเตือนตัวเองว่า
ไม่มีอะไรที่อยู่ไปตลอด ความเศร้า ความเสียใจ เกิดขึ้น คงอยู่ และหายไป
ลองให้เวลาตัวเองสักหน่อยนะ:)
Post Views: 3,556