การเมือง เป็นเรื่องของทุกคนแต่ไม่ใช่ว่าเราจะสามารถคิดเหมือนกันได้ทุกคนใน 100 คน ย่อมมีคนที่เห็นแตกต่างกันอยู่แล้ว ทั้งในครอบครัว กลุ่มเพื่อน หรือคนที่ดำเนินชีวิตร่วมกันกับเรา แต่เราจะสามารถอยู่ร่วมกับพวกเขาได้อย่างไรบ้าง..
บทความนี้ Alljit Podcast X รัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพใจ
กระแส การเมือง ทำให้หัวร้อน
กระแสทางการเมืองที่รุนแรงขึ้น พอใครได้ยินคำว่า “การเมือง” ก็ทำให้ใครบางคนรู้สึกหัวร้อนขึ้นมาได้เลย
มันอาจจะดูไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะได้เห็นการแสดงความคิดเห็นที่มันแตกต่างกันใน Social,Facebook,Twitter เองก็ตามมี ความร้อนแรงในการเมืองบางครั้งมันก็เข้าไปกระทบกับความสัมพันธ์ในครอบครัวเพราะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
เราจะได้เห็นข่าวประมาณว่าครอบครัวไล่ลูกออกจากบ้านเพราะความคิดเห็นที่มันแตกต่าง ทางการเมืองซึ่งคนที่ไม่รู้จักกันบางทีก็เกิดเป็นการทะเลาะเบาะแว้งกันได้เพียงเพราะเห็นไม่ตรงกันในเรื่องของการเมือง
สิ่งที่มันแปลกไปมากกว่านั้นเลยก็คือการที่เรามองว่าเรื่องราวความขัดแย้งที่มันเกิดขึ้นตรงนี้มันเป็น เรื่องปกติ
เพราะอะไรเราถึงเคยชินกับความขัดแย้งทาง การเมือง
เคยสังเกตเคยสงสัยไหมว่าเพราะอะไรเราถึงรู้สึกชินชาหรือรู้สึกเคยชิน?
เพราะเหมือนตัวพวกเราเจอเรื่องราวแบบนี้อยู่ซ้ำไปซ้ำมาจนทำให้ตัวเราอาจจะชินไปกับความรู้สึกว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติทั่วไป
ซึ่งการแบ่งฝ่ายทางการเมืองเป็นในเรื่องของทัศนคติแต่ว่าการเมืองมันเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยในช่วงตลอดเวลาเกือบจะ 10 ปีที่ผ่านมา
ส่งผลกระทบแบบโดยกว้างมาก ๆ ต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในไทย กระทบในเรื่องของกิจกรรมทาง เศรษฐกิจ ความขัดแย้งเรื่องการเมืองที่มันเกิดขึ้นของคนไทยมันไม่ได้พึ่งมาเริ่มต้น
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2548 ความขัดแย้งมีการใช้ความรุนแรงทางการเมืองมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบันยาวนานมาก ๆ จนบางทีเรามองไม่ออกเลยว่าคนไทยจะปรองดองกันได้ยังไงบ้าง
เพราะอะไรเราถึงไม่สามารถปรองดองกันได้
ต้องมาทำความเข้าใจตั้งแต่ความแตกต่างระหว่างมนุษย์ซึ่งมีนักจิตวิทยาแล้วก็มีนักสังคมมนุษย์วิทยาเคยเขียนเกี่ยวกับความแตกของมนุษย์
พฤติกรรมมนุษย์ตามหลักของทฤษฎีสรุปแบบรวมว่าจริง ๆ แล้วมันมีการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ว่าเราเริ่มต้นจากการที่ไม่มีบุคคลสองคนที่เกิดมาเหมือนกันทุกอย่างเราต้องยอมรับตรงจุดนี้ก่อน
แม้ตัวเราเองจะเป็นพี่น้องหรือเป็นลูกเป็นพ่อเราก็ไม่สามารถที่เสมือนกันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ทุก ๆ อย่าง
สติปัญญาของแต่ละคนมันอยู่ในพันธุกรรมที่มีความแตกต่างกันทำให้บางทีมีในเรื่องของการคิดการมองโลกหรือเหตุผลรวมไปถึงการเลี้ยงดูต่าง ๆ ที่เราเติบโตแตกต่างกันมันก็จะฟอร์มให้ตัวเราเองมีทัศนคติบางอย่างที่มันแตกต่างกันในระหว่างบุคคลด้วย
พอเติบโตขึ้นมาแล้วในวันหนึ่งที่เรารู้สึกว่าอะไรที่มันใช่อะไรที่มันไม่ใช่เราก็จะมีการรับเข้าและถอยออกจากสิ่งเหล่านั้น โดยส่วนมากแล้วมันก็จะเกิดจากประสบการณ์การเลี้ยงดูความเติบโตของตัวเราเองที่มันทำให้เกิดมาแล้วจะมีความแตกต่างกัน
คำตอบที่ว่าเพราะอะไรเราถึงไม่สามารถปรองดองกันได้คือเราไม่ยอมรับในความแตกต่างของกันและกันนั่นเอง
จะทำอย่างไรให้อยู่ร่วมกับคนที่คิดเห็นแตกต่างกันได้
1. อย่าพยายามใช้ทัศนคติแบบเหมารวมแล้วก็ไปตั้งแง่กับคนที่เขาคิดเห็นต่างกับเราว่าเขาคือศัตรูเพราะถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เรารู้สึกว่าทุกคนเห็นต่างเท่ากับศัตรูตัวเราเองที่จะเป็นทุกข์เพราะเราเอง
เราก็จะรู้สึกว่าเราคุยกับใครไม่ได้เลยแล้วเข้ากับใครไม่ได้เลยเพราะมีความเห็นต่าง
2. แม้จะมีความเห็นต่างทางการเมืองเราก็ไม่ควรใช้คำพูดแขวะ แซะ คำพูดที่เป็นวาทกรรมที่จะย้อนกลับมาหาเราเอง บางทีมันเสียเพื่อนเสียความสัมพันธ์ได้ง่ายๆเลย
3. เรียนรู้จากความแตกต่างจากเขา ลองเปิดใจยอมรับในความเห็นต่างตรงนั้น อะไรที่ทำให้เขามีมุมมองที่แตกต่างจากความของเรา
4. ให้เกีรยติและยอมรับซึ่งกันและกัน ให้อิสระในการเลือกคิดและการเลือกมองเคารพการตัดสินใจตามทัศนคติแต่ละบุคคล ยิ่งเป็นคนในครอบครัวคนละช่วงวัยจะมีการปลูกฝังกันมาคนละแบบกับเรา
5. เปิดโอกาสให้ตัวเองได้พบปะกับคนที่หลากหลาย หลากหลายสังคม เพื่อที่จะได้เรียนนู้เข้าถึงเข้าใจถึงความแตกต่าง
Post Views: 2,575