สิ่งที่เรียกว่า การไหลตามกัน ใน Social เคยเป็นไหมที่เห็นโพสต์นั้นเราก็เห็นด้วย พอเห็นโพสต์นี้เราก็เห็นด้วย เหมือนเราไหลตามน้ำไปเรื่อย ๆ เเล้วจุดยืนของเราคือจุดไหน ทำไมไม่มีความคิดเป็นของตัวเองเลย
แล้วยิ่งถ้าคนส่วนใหญ่คิดไปทางไหนเราก็คิดตามคนส่วนใหญ่ทุกเรื่อง เหมือนฝูงปลาที่ว่ายไปตามกระแสน้ำ
โซเชียลมีเดียเป็นอะไรที่มีอิทธิพลและขับเคลื่อนชีวิตพวกเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะเห็นได้ว่ากระแสโซเชียลเปลี่ยนแปลงอะไรได้หลายอย่าง ทั้งดีขึ้นและแย่ลง
และแน่นอนว่าเวลาสังคมมีกระแสอะไรบางอย่างที่กำลังเป็นที่วิพากวิจารญ์อยู่ แล้วเราเสพมัน มันอดไม่ได้ที่จะปล่อยให้ตัวเองคิดแบบนั้นตามไปด้วย
การไหลตามกัน มีอะไรบ้าง
1. ใครคิดอะไร พูดอะไร เราจะเห็นด้วย ซึ่งบางทีไม่ได้คิดแบบนั้นในตอนแรก
สับสนเหมือนกันว่าสุดท้ายแล้วเราคิดยังไงกับเรื่องนั้น ๆ การถามตัวเอง ทบทวนตัวเอง แล้วยึดมั่นในจุดยืน อาจเป็นวิธีที่ช่วยได้
2. การโถม การด่าว่า ใครสักคน ตามคนอื่น
“ทัวร์ลง”
ด้วยความที่โซเชียลมิเดียเป็นอะไรกว้างมาก ๆ จนมันกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเรา ปฏิเสธไม่ได้ว่าถึงแม้เราจะบอกว่า ฉันโพสต์ในพื้นที่ของฉัน ฉันไม่ได้ว่าใคร ไม่ได้กล่าวอ้างใคร
แต่มันก็มีสิทธิที่คนอื่น ๆ จะเข้ามาเห็นได้ง่าย ๆ และเมื่อความคิดนั้นของคนโพสต์มันไม่ถูกต้องหรือถูกใจคนบางกลุ่มก็อาจจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า ทัวร์ลงได้
จริง ๆ แล้ว การไหลตามกันไม่ใช่เรื่องผิด แต่ในกรณีที่ไหลตามกันไปโถมหรือใช้คำพูดทำร้ายจิตใจผู้คนบนโซเชียล อาจสร้างผลกระทบได้มากกว่าที่คิด คำพูดหนึ่งคำ จะทำร้ายคนฟังไปอีกนาน
การมีสติ รู้ตัว เอาใจเขามาใส่ใจเรา จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ไม่มีเครื่องมือไหนที่สามารถวัดได้เลยว่า คนนี้ถูก คนนี้ผิด คนนี้ดี ไม่ดี แล้วเราก็ไม่ได้มีหน้าที่มาตัดสินใคร เพราะฉะนั้นอาจจะคิดให้ดีก่อนที่จะพิมพ์อะไรไป
3. แฟชั่น การแต่งตัว การใช้สินค้าตามใครสักคน
เป็นเรื่องปกติมาก ๆ แต่ต้องยอมรับว่า คนบางกลุ่มอาจจะมองในแง่ลบ เช่น ใช้ของแพง ไม่เห็นจำเป็นเลย ฯลฯ แต่มันเป็นเรื่องส่วนบุคคล ถ้าไม่เดือดร้อนตัวเองและคนรอบข้าง ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร
การไหลตามกัน ทางความคิดเกิดจากอะไร
จากการหาข้อมูล การไหลตามกัน เป็นธรรมชาติของมนุษย์ เกิดขึ้นก่อนที่จะมีอินเทอร์เน็ต ซึ่งพอมีโซเชียลมีเดีย พฤติกรรมนี้เลยมีให้เห็นบนโลกออนไลน์ด้วย
กับคำถามที่ว่า ‘เพราะอะไรถึงเกิดการไหลตามกัน’ มีทฤษฎีทางจิตวิทยามที่อาจจะอธิบายได้
1. ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ตามทฤษฎี hierarchy of needs ของมาสโลว์ การได้รับการยอมรับ การเป็นที่รัก เป็น 1 ในความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งการไหลตามกันจะทำให้เรารู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม คนอื่นว่าไงเราว่างั้น
2. การคล้อยตาม
ในทางจิตวิทยา การคล้อยตาม (conformity) คือ การเปลี่ยนความเชื่อหรือพฤติกรรมของตัวเองให้เข้ากับมาตรฐานของสังคม ซึ่งสังคมในที่นี้ หมายถึง คนรอบข้าง คนส่วนมาก หรือ คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อให้ถูกมองว่า “ปกติ”
มีการทดลองหนึ่งของ โซโลมอน แอช นักจิตวิทยาชาวโปแลนด์ คือ ให้ดูภาพแล้วตอบคำถามเป็นกลุ่ม ซึ่งภายในกลุ่ม นอกจากผู้เข้าร่วมการทดลอง คนอื่นในกลุ่มจะเป็นหน้าม้าทั้งหมด ซึ่งหน้าม้าจะถูกบอกให้เลือกคำตอบที่ผิด
ผลคือผู้เข้าร่วมการทดลองคล้อยตามคำตอบที่ผิดเป็นเอกฉันท์ของกลุ่ม (หมายถึง เมื่อทุกคนเลือกคำตอบที่ผิด ผู้เข้าร่วมการทดลองจึงเลือกคำตอบที่ผิดอย่างตั้งใจ เพื่อให้เหมือนกับคนอื่น เข้ากับคนอื่น)
เป็นการทดลองที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์อาจจะยอมเปลี่ยนความคิดหรือการกระทำของตัวเองเพื่อให้สอดคล้องกับสังคม ทฤษฎีการคล้อยตาม (conformity) เลยสามารถอธิบายการไหลตามกันใน social ได้ส่วนหนึ่งเช่นกัน
3. การเลียนแบบ
ตามทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการสังเกต (Modeling) ของบันดูรา มนุษย์จะ
- สังเกต ว่าคนอื่นทำอะไร
- จำ
- ลองทำตาม
- รับผล ถ้าทำแล้วได้รับผลทางบวก จะแสดงพฤติกรรมต่อ
ส่วนหนึ่งที่ทำให้ไหลตามกัน เพราะเมื่อเราคิดอะไร พูดอะไร ตามกระแส เราจะได้รับรางวัลคือ การได้รับการยอมรับ การได้รับคำชื่นชม จากคนอื่น ซึ่งนี่แหละคือรางวัล ทำให้เราแสดงพฤติกรรมต่อ
ฟังดูอาจมีเหตุและผลที่เป็นไปได้จริง แต่ 3 ทฤษฎีทางจิตวิทยานี้ อาจไม่ได้อธิบายถึงที่มาพฤติกรรมของทุกคน เพราะทุกคนแตกต่างกัน อาจมีเหตุผลอื่น ๆ ปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นไปได้อีกมากมาย
เพราะจริงๆ “มนุษย์เป็นเหมือนของเหลว” เราสามารถอยู่กับภาชนะแบบไหนก็ได้ เราปรับตัวได้และ “คนเราเปลี่ยนแปลงความคิดได้เสมอ” การไหลตามกันมาจากความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม การคล้อยตามกันและการเลียนแบบ
เมื่อมีคนส่วนมากคิดแบบนี้ฃและเมื่อมันมีเหตุผลไหนที่ติ๊ง แล้วทำให้เราอ๋อได้ คนเราก็พร้อมจะเชื่อทันทีแล้วหลังจากนั้นเราก็หาข้อมูลที่เราเชื่อเพื่อซัพพอร์ตความคิดเดิมที่เราเชื่อ
ซึ่งแน่นอนว่าสมองของเราฉลาดเหมือนมี อัลกอริทึม (Algorithm) ที่ทำหน้าที่คัดสรรข่าวสารเนื้อหาที่เราอยากจะเสพให้ตัวเองทันที
ทำไมคนเราคิดต่างกัน
“ชุดความคิด”
คนเราจะมีชุดความคิด ซึ่งชุดความคิดนั้นมาจาก Confirmation Bias
เริ่มจากการที่สมองคนเรารับข้อมูลข่าวสารมากมายในแต่ละวัน ซึ่งบางทีข้อมูลที่เรารับเข้ามามันมากเกินกว่าที่สมองจะจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สมองเราก็จะเลือกเฉพาะข้อมูลที่สามารถเข้ากันได้กับความเชื่อที่เรามีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ในขณะเดียวกัน สมองจะคัดทิ้งข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อพื้นฐานเราออกไป เ
หมือนถ้าคนนึงมีความคิดว่าบางอย่างไม่ดี เขาก็จะเลือกเสพแต่สื่อที่บอกว่าอันนั้นมันไม่ดี บางคนที่เขาเชื่ออะไรมากๆ เขาก็เชื่อแบบนั้นแหละ เปลี่ยนแปลงได้ยาก
ผลกระทบจากการเสพโซเชียลมากเกินไป
เราอาจจะรู้สึกอินกับมันมาก ๆ จนกระทบกับสุขภาพจิตของเรา การที่เราตามประเด็นไหนหรืออินกับอะไรมาก ๆ มันอาจจะไม่ได้เฮลตี้กับเราขนาดนั้น เริ่มจากเบา ๆ ก่อนเลย การที่เราเสพโซเชียลตลอดเวลาหรือดูข้อมูลอะไรก็แล้วแต่
ทั้งสมอง ทั้งอารมณ์และร่างกายจะมีความตื่นตัวตลอดเวลา เราอาจจะไม่รู้ตัวภาวะตื่นตัวช ชจะทำให้สมองเราเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เกิดภาวะความเครียดสะสมโดยที่เราไม่รู้ตัว
อาจนำไปสู่ผลเสียอื่น ๆ ตามมา เช่น อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หากสังเกตว่าช่วงไหนที่เราเล่นโซเชียลเยอะ ๆ จะนอนไม่ค่อยหลับ เพราะไม่มีช่วงที่สมองหรือจิตใจได้พักเลย
พอนอนไม่หลับผลที่ตามมาวันรุ่งขึ้นอ่อนเพลีย อารมณ์ไม่ค่อยดี หงุดหงิดง่าย มีภาวะหลงลืม และอาจส่งผลกระทบด้านอื่น เช่น การงานหรือการเรียน
การที่เราเสพโซเชียลตลอดเวลา มีผลกระทบต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต การสังเกตตัวเองเลยเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าช่วงไหนที่มากเกินไป มี 2 วิธีที่ใช้กันบ่อย ๆ คือ
- social media detox หยุดการใช้โซเชียลมีเดีย
- social media management จัดการโซเชียลมีเดีย
เช่น สื่อที่ติดตามอยู่ อะไรดีต่อใจก็ติดตามต่อ อะไรไม่ดีต่อใจก็เลิกติดตาม หรืออาจจะหยุดรับข่าวสารจากสื่อนั้นสักระยะหนึ่ง
คิดต่างได้ไหม จะรู้ได้อย่างไรว่า Mind set และตรรกะเราไม่แย่
คนเราสามารถคิดต่างได้รวมถึงการทำอะไรที่แตกต่างด้วย เพราะเอาเข้าจริงบางสิ่งบางอย่างที่สร้างสรรค์ก็มาจากความคิดที่แตกต่างและการทำอะไรที่แตกต่าง
เพราะฉะนั้นถ้าเราจะรู้สึกไม่เห็นด้วยกับอะไรบางอย่างก็ไม่ใช่เรื่องผิดเลย เราเกิดมาจากครอบครัวที่แตกต่างกัน ใช้ชีวิตจากสังคมที่ต่างกัน ชุดความคิดก็ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว
แต่ถ้าเราอยาก Make sure ว่าเราตรรกะเพี้ยนไหมนะ ลองเปิดใจและหาข้อมูลแบบจริงจัง ลดอคติลงหน่อย เราอาจจะได้มุมมองใหม่ ๆ เพิ่มก็ได้
คิดต่างหรือขวางโลก
คิดต่าง=คิดด้วยเหตุและผล
ขวางโลก=คิดแบบไร้เหตุผล ยึดติดกับความคิดของตัวเอง ไม่ฟังใคร ไม่สนใจใคร และอาจจะมีการเเสดงออกทางความคิดที่รุนแรง
ทำอย่างไรดีถ้าไม่อยากเกิด การไหลตามกัน ทางความคิด
1.การตระหนักรู้ในตัวเอง
ว่าเรากำลังคิดอะไร รู้สึกอะไร และทำอะไรอยู่ ถ้าแน่ใจแล้วว่าไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ไม่เป็นไรเลยที่จะยึดมั่นกับสิ่งนั้น
2.กรองข่าว
ก่อนจะแชร์หรือคอมเม้นต์อะไร ลองเช็คก่อนว่ามันจริงหรือไม่จริง
3.โซเชียลดีทอกซ์
ถ้ารู้สึกว่าเราชักจะหมกมุ่นกับประเด็นนี้เกินไปและ ลองโซเชียลดีท็อกซ์กันหน่อย
4.เลือกคอนเท้นต์ให้ตัวเอง
Post Views: 3,512