“ ความรักเป็นเรื่องของคนสองคน ” จริงไหม Alljit Podcast กับรายการ Love Life Balance ที่จะชวนทุกคนพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องความสัมพันธ์ โดย ‘นพ. ณัฏฐชัย รำเพย’
ความรักเป็นเรื่องของคนสองคน จริงหรือไม่ ?
เมื่อพูดถึงความรัก หลายคนมักตั้งคำถามว่า “ความรักเป็นเรื่องของคนสองคนเท่านั้นจริงหรือ ?” หากมองในเชิงอุดมคติ ความรักควรเป็นเรื่องของคนสองคนที่มีความรู้สึกต่อกัน
แบ่งปันชีวิต ความฝัน และความสุขร่วมกัน โดยไม่มีอิทธิพลจากบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ในความเป็นจริง ความรักในชีวิตจริงกลับมีความซับซ้อนมากกว่านั้น
ความรักของคนสองคน แต่แวดล้อมไปด้วยคนในครอบครัว เพื่อน ญาติพี่น้อง และบริบททางสังคมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ปัญหาที่พบบ่อยในความสัมพันธ์ที่เกี่ยวพันกับครอบครัว
1. แม่ผัว-ลูกสะใภ้ และพ่อตา-ลูกเขย
นี่คือปัญหาคลาสสิกที่ปรากฏในชีวิตจริงและในละครแทบทุกยุคทุกสมัย เช่น แม่ผัวที่ไม่ชอบลูกสะใภ้เพราะมองว่าไม่เหมาะสม หรือพ่อตาที่รู้สึกว่าลูกเขยไม่คู่ควรกับลูกสาวของตน
ปัญหาเหล่านี้มักเกิดจากความไม่สมดุลในเรื่องของวัฒนธรรม ความคาดหวัง และการปรับตัว
2. ความคาดหวังจากพ่อแม่ที่มีต่อคู่รักของลูก
พ่อแม่มักมีภาพในใจว่า ลูกควรมีคู่ครองแบบไหน และเมื่อคู่รักของลูกไม่ตรงตามภาพนั้น ความขัดแย้งก็อาจเกิดขึ้นได้
3. การแทรกแซงจากบุคคลที่สาม
ไม่ว่าจะเป็นญาติ เพื่อน หรือแม้แต่คนในสังคม การแทรกแซงเหล่านี้อาจเพิ่มความกดดันให้กับคู่รัก
ความรักกับความเป็นส่วนตัวในยุคปัจจุบัน
ในอดีต ความรักของคู่หนึ่งมักเป็นเรื่องสาธารณะมากกว่าที่เป็นในปัจจุบัน เช่น การแห่ขันหมากที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากครอบครัว ญาติพี่น้อง และชุมชน
การตัดสินใจคบหากันหรือแต่งงานมักถูกชี้นำหรือมีส่วนร่วมจากผู้ใหญ่ แต่ในยุคปัจจุบัน เทรนด์ของความเป็นส่วนตัว (Privacy) ได้รับการยอมรับมากขึ้น
ทำให้คู่รักมีพื้นที่ในการตัดสินใจและบริหารความสัมพันธ์ของตัวเองได้มากกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม แม้ความเป็นส่วนตัวจะเพิ่มขึ้น แต่ความรักก็ยังหนีไม่พ้นความเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น
เช่น ความเห็นของพ่อแม่ ความคาดหวังจากญาติ หรือความกดดันจากสังคม ความรักจึงมักถูกดึงเข้าสู่บริบทที่ใหญ่กว่าคนสองคนเสมอ
จะเลือกใครระหว่างแม่หรือเมีย ปัญหานี้แก้ได้อย่างไร
ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยหลายววิธี ขึ้นอยู่กับว่าใครจะสร้างปัจจัยไหนขึ้นมาได้
ฐานะ พ่อ – แม่
หากคุณแม่เข้าใจได้ว่า ลูกมีชีวิตเป็นของตัวเอง และไม่ว่าแม่จะรักลูกมากแค่ไหน เราจะจากโลกนี้ไปก่อนลูก แต่คนที่จะอยู่เคียงข้างลูกไปจนตายคือคู่ชีวิต
ดังนั้นหากแม่ตระหนักตรงนี้ได้ หน้าที่ของแม่คือ ต้องทำอย่างไรก็ได้ ให้ลูกกับคนที่ลูกเลือก มีความสุขไปตลอด แต่ถ้าแม่ตั้งเป้าว่าลูกต้องเลือกแม่ ในวันที่แม่จากลูกไป
เขาอาจจะต้องตัวคนเดียวหรือ ในวันนั้นที่เขาคิดจะมีใครหลังจากไม่มีแม่ นั่นอาจจะสายไปแล้วก็ได้
“นี่เป็นความรักที่ไม่ควรจะต้องเลือก เป็นกรณีเดียว ที่เราเลือกจะรักได้ทั้งสองคน”
แต่ถ้ากรณีที่แม่มองเห็นว่า คนนี้เข้ามาหลอกลูก (ในกรณีคุณแม่ไม่ได้คิดไปเอง ) คุณแม่มีหน้าที่สู้เพื่อลูกสู้จนถึงจุดที่คุณแม่สู้ไหว เพื่อปกป้องลูก
แต่ในกรณีนี้ คุณแม่ก็ต้องรับความจริง ว่าถึงแม้แม่จะทำเต็มที่แล้ว แต่หากเกินกว่านั้น ให้เป็นประสบการณ์ที่ลูกต้องเจอ และเรียนรู้
ฐานะ คนกลางในความสัมพันธ์
ในความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว บทบาทของคนกลาง เช่น ลูกที่อยู่ระหว่างพ่อแม่และแฟน ถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง คนกลางมีหน้าที่ในการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างความแตกต่างของทั้งสองฝ่าย เช่น
1. เข้าใจจุดร่วมของทุกฝ่าย
คนกลางต้องมองให้ออกว่า ทั้งพ่อแม่และแฟนของเรามี “ความรัก” เป็นจุดร่วม เช่น พ่อแม่รักเราและอยากเห็นเราอยู่ในความสัมพันธ์ที่ดี ในขณะเดียวกัน แฟนก็คือคนที่รักเราและต้องการสร้างอนาคตที่มั่นคงไปด้วยกัน
2. ไม่แสดงความลำเอียงจนเกินไป
คนกลางต้องระวังไม่ให้ตัวเองแสดงความลำเอียงต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไป เพราะจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกไม่เป็นธรรม และอาจเพิ่มความขัดแย้ง
3. สื่อสารให้ดี
คนกลางควรใช้ทักษะการสื่อสารที่ดี เช่น การนำเสนอข้อดีของแต่ละฝ่ายให้อีกฝ่ายหนึ่งเห็น รวมถึงสร้างความเข้าใจในบริบทของแต่ละฝ่าย
ฐานะ แฟน ลูกเขย ลูกละใภ้
1. ก่อนจะดีกับแม่เขา ดีกับลูกเขาให้ได้ก่อน ข้อสำคัญ อย่าเพิ่งไปดีกับแม่เขา ไปดีกับลูกเขาให้ได้ก่อน ถ้าหากเราและแฟนยังไม่ดีกัน ครอบครัวเขาจะมาเกลียดเราก็ไม่แปลก
2. เราอยากเข้าครอบครัวแฟนได้ไหมต้องชัดเจนในตัวเอง เพื่อเป็น Misstion ให้ตัวเองในการเข้ากันได้ดีกับครอบครัว
3. ถามเสมอว่าฝืนตัวเองเกินไปไหม หากฝืนเกินไปสามรถสื่อสารกับแฟนได้ว่า สิ่งที่เราทำเนี่ยมันอาจจะฝืนเกินไป แต่ฉันจะพยายามทำให้เพื่อให้เธอมีความสุขที่สุด
อย่างน้อยสิ่งทีเราทำก็จะทำให้แฟนมีความสุข เตือนตัวเองเสมอ ก่ออนที่จะไปทำใฝห้ครอบครัวมีความสุข ทำยัะงไงให้เรื่องนี้ไม่กระทบแฟนเรา
4. ลองลืมคำว่า พ่อตา แม่ยาย แม่สามี – ลูกสะใภ้ แต่ลองเข้าหาท่านในมุมมองของผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง เพราะในชีวิตเราก็เคยมีประสบการณ์ในการเข้าหาผู่ใหญ่หลากหลายครั้ง
การแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ ความรักเป็นเรื่องของคนสองคน
1. สร้างความเข้าใจและปรับตัว
ทุกฝ่ายควรเรียนรู้ที่จะปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ คู่รัก หรือคนกลาง การปรับตัวไม่ได้หมายถึงการเปลี่ยนตัวเองจนหมด แต่หมายถึงการเปิดใจยอมรับความแตกต่าง
2. สร้างระยะห่างที่เหมาะสม
หากความขัดแย้งยังคงอยู่ การสร้างระยะห่างทางกายภาพ เช่น การแยกบ้าน อาจช่วยลดแรงกดดันได้
3.ขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ
หากปัญหายังคงยืดเยื้อและไม่มีทางออก การปรึกษานักจิตวิทยาหรือที่ปรึกษาครอบครัวอาจช่วยให้ทุกฝ่ายมองเห็นภาพรวมของปัญหาได้ชัดเจนขึ้น
บทความที่น่าสนใจ
Post Views: 193