เคยไหม ? รู้สึกว่า ยอดไลค์ และคอมเมนต์ ในโซเชียลมีผลต่อเรามาก ๆ เพราะอะไรเราถึงสนใจยอดกดไลค์ กดแชร์ และคอมเมนต์ ยอดต่าง ๆ ส่งผลเราอย่างไร ? สิ่งเหล่านี้บ่งบอกคุณค่าของเราหรือไม่ ?
ยอดไลค์ บ่งบอกคุณค่าในตัวเราหรือไม่?
หนึ่งในแง่มุมที่น่าดึงดูดใจที่สุดของโซเชียลมีเดีย สำหรับผู้ใช้คือ “ยอดไลค์” ซึ่งอาจมาในรูปแบบของสัญลักษณ์ ชูนิ้วโป้ง หัวใจ หรือ การรีทวีต Ms. Pearlman ทำงานที่ Facebook ระหว่างปี 2549 ถึง 2553
ผู้ร่วมประดิษฐ์ปุ่ม Like ของ Facebookเธอออกมาให้สัมภาษณ์ในนิตยาสาร NY TIME กล่าวว่าเธอติด Facebook เพราะเธอเริ่มประเมินคุณค่าในตัวเองจากจำนวน “ไลค์”
แพทย์หญิงพรรณพิมล กล่าวว่า เรื่องที่น่าห่วงขณะนี้ พบว่า ประชาชนทั้งชายและหญิงวัยรุ่นนักเรียน นักศึกษา นิยมพฤติกรรมที่เรียกว่า เซลฟี่ กันมาก แล้วนำไปเผยแพร่บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊ค อินตราแกรม
ไม่ว่าจะทำอะไร ไปที่ไหน หรือกินอะไร เพื่อให้เพื่อนในสังคมออนไลน์ทั้งที่รู้จักจริง และรู้จักในสังคมออนไลน์ได้รับรู้ มากดไลค์ ถูกใจในรูปภาพ
ตัวเลข ยอดไลค์ ส่งผลยังไงต่อตัวเราได้บ้าง?
1. การเปรียบเทียบ
เมื่อเราเข้าไปอยู่ในโลกที่เราชีวิตคนอื่นมาก ๆ เกือบจะทั้งวัน เราเห็นด้านต่าง ๆ ที่เขาสื่อสารออกมา บางครั้งมันเป็นไปแบบอัตโนมัติ ที่เราเปรียบเทียบ ทั้งในด้านการใช้ชีวิต และยอดไลค์
บางครั้งก็เอามาคิดว่าทำไมเราไม่ดีตรงไหนถึงได้ยอดไลค์ไม่เท่ากัน บางครั้งลามไปถึงการที่เราต้องมานั่งคิดคอนเทนท์ ทำในสิ่งที่ไม่เป็นตัวเอง หรือความชอบของตัวเองจริง ๆ เพื่อที่จะมียอดติดตามเพิ่มขึ้น
2. การคาดหวัง
เวลาเราโพสต์ใด ๆ ซักโพสต์ จุดประสงค์ของเราคืออยากแชร์มันออกไป หรือลึก ๆ ในใจแอบคาดหวังว่าจะต้องมีคนกดมาไลค์ คอมเมนท์ แชร์บ้าง เพราะรูปนี้ถ่ายตั้งนาน ถ่ายเป็น 100 ใช้ได้ 3 รูป
แต่ความคาดหวังต่อสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้นำ ก็มีโอกาสที่เราจะผิดหวังมากมากขึ้น เป็นความรู้สึกแย่ที่เกิดขึ้นได้
3. สุขภาพจิต
คาเรน นอร์ธ ผู้อำนวยการหลักสูตรสื่อสังคมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอเนียร์ ได้สังเกตพฤติกรรมการประเมินค่าความสำเร็จของผู้คนในปัจจุบันแล้วพบว่า
หลายคนเป็นซึมเศร้าหลังจากใช้เวลาจำนวนมากไปกับ Facebook เพราะพวกเขารู้สึกไม่ดีเมื่อเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ๆ
4. ขาดความมั่นใจในตนเอง
เมื่อคาดหวัง เกิดการเปรียบเทียบขึ้นเงียบ ๆ ในใจของเรา สิ่งที่ตามมาคือ ขาดความมั่นใจในตนเอง เพราะทุกอย่างรอบข้างมันดูดีไปหมด มันเป็นไปได้มาก ๆ เลยที่จะเกิดคำถามขึ้นกับตัวเองว่า
ว่าฉันดีพอหรอยั ง? ฉันขาดอะไรตรงไหนไป? ไม่กล้าโพสต์ ไม่กล้าแชร์ หากโพสต์ไปแล้ว ไม่มีคนกดไลค์เลยหล่ะ
ทำไมเราจึงสนใจการ ยอดไลค์ กดแชร์ หรือ คอมเมนท์
บทความชื่อว่า The Psychology of Facebook: Why We Like, Share, Comment เล่าถึงความเชื่อมโยงว่าเกิดอะไรขึ้นในสมองของเรา ซึ่งพบความสัมพันธ์ระหว่าง Facebook และ Nucleus Accumbens
หรือ สมองส่วนให้รางวัล เมื่อเราได้รับการตอบรับเชิงบวกบน Facebook ความรู้สึกจะสว่างขึ้นในสมองส่วนนี้ ยิ่งเราใช้งาน Facebook มากเท่าไหร่ รางวัลก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
ยอดไลค์ สำคัญยังไง? เพราะอะไรถึงมีผลต่อตัวเรา?
1. ต้องการการยอมรับ
โดยพื้นฐานมนุษย์ต้องการการยอมรับ มีหลายทฤษฎีที่อธิบายไว้ ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ มนุษย์ต้องได้รับการยอมรับจากกลุ่ม ถึงจะอยู่รอด เพราะเราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีสกิลการป้องกันตัวเองจากอันตราย
สัตว์ร้าย ภัยพิบัติ ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีจิตวิทยาของ Maslow ด้วย ที่กล่าวว่า 1 ในความต้องการพื้นฐานของมนุษย์คือ Love & Belonging Needs ความรักและการเป็นเจ้าของ
2. การยอมรับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เห็นคุณค่าตัวเอง
บางคนอาจจะยึดมั่นในตัวเอง มีจุดยืนในตัวเอง ที่แน่นและเข้มแข็งมากพอ ทำให้การยอมรับจากคนอื่นอาจไม่ใช่เรื่องสำคัญมาก เพราะเขาได้รับการยอมรับจากตัวเองซึ่งเติมเต็มอย่างเพียงพอแล้ว
แต่สำหรับบางคน ที่ self-esteem ต่ำ การได้รับการยอมรับจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยยืนยันว่า ตัวเขาดีพอ ตัวเขามีคุณค่ามากพอ
3. ได้ผลประโยชน์จากการได้รับการยอมรับ
ข้อนี้อธิบายได้ในกรณีที่ เราทำงานกับสื่อ เราทำงานกับโซเชียลมีเดีย การได้ยอด Engagement เท่ากับการได้รับผลประโยชน์บางอย่างที่คาดหวังไว้ เช่น engangement เยอะ ลูกค้าเยอะ คนจ้างงานเยอะ กำไรเยอะ
หรือ engagement เยอะ สำหรับกลุ่มที่สร้าง Content เพื่อให้เกิดประโยชน์กับสังคม การได้รับคำชม คำติเพื่อก่อ คงเป็นแรงบันดาลใจอย่างหนึ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับพวกเขา
4. เพื่อยืนยันบางอย่างเกี่ยวกับตัวตนเรา
จากการทำแบบทดสอบเกี่ยวกับ การโพสต์ใน Facebook 68% ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่าพวกเขาแบ่งปันเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจมากขึ้นว่าพวกเขาเป็นใครและสนใจอะไร
5. ระบายความเหงา
นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแอริโซนาติดตามกลุ่มนักเรียนและ ติดตาม “ระดับความเหงา” ขณะที่โพสต์สถานะบน Facebook การศึกษาพบว่าเมื่อนักเรียนอัปเดตสถานะ Facebook บ่อยขึ้น ระดับความเหงาก็ลดลง
นักวิจัยเชื่อมโยงความเหงาที่ลดลงกับความรู้สึกผูกพันทางสังคมที่เพิ่มขึ้น ในทางกลับกันเมื่อผู้คนเห็นว่าสถานะบนโซเชียลมีเดียของพวกเขาไม่ได้มีส่วนร่วมมากเท่ากับเพื่อน พวกเขาอาจเริ่มรู้สึกแปลกแยก
Recheck ตัวเอง กำลังยึดติดกับยอด Engagement อยู่หรือเปล่า?
1. เรากำลัง recheck ยอด engagement บ่อย ๆ อยู่หรือเปล่า?
ถ้าเราโพสต์อะไรลงไปแล้ว เรามานั่งดูว่า มีคนไลค์รึยัง มีคนคอมเมนท์รึยัง พอไม่มีเลยจะผิดหวัง เครียด อันนี้คงเป็นสัญญาณเตือนหนึ่งว่า
เราอาจจะให้ความสำคัญกับยอด engagement มากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
2. เรามีความคิด ความรู้สึก ยังไงต่อยอด Engagement?
ถ้าเราเครียด เวลาไม่มีใครไลค์หรือคอมเมนท์เลย นี่อาจจะเป็นสัญญาณเตือนหนึ่งว่าเราให้ความสำคัญกับตัวเลขเหล่านี้มากเกินไป
รวมถึงอาจจะมีมุมมองที่ไม่ยึดติดกับความเป็นจริงบางอย่าง เพราะยอด Engagement ไม่ได้บ่งบอกเลยว่าตัวคนนั้นเป็นยังไง ตัวคนนั้นได้รับการยอมรับแค่ไหน
3. กระหายยอดไลค์ ใช้พยายามมากเป็นพิเศษเพื่อสร้างความนิยม
ตัวอย่าง จุดบ่งบอกได้ ว่าเราเอาตัวเองไปผูกติดกับยอดไลค์ เช่น
“ใครไม่กดไลค์ ขออนุญาติลบเพื่อนนะ”
“ขอไลค์คนละหนึ่งไลค์ ขอคนละหนึ่งเม้นท์ ”
วิธีออกจากการยึดคิดกับยอด Engagement
1. Recheck ความคาดหวัง
ถ้าเราคาดหวังว่าจะต้องมีจำนวนกดไลค์เท่าไหร่ จะต้องมีใครบ้างที่มาตอบสนองต่อโพสต์เรา แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นจริงไม่ตรงกับความคาดหวัง ตอนนั้นแหละที่จะเกิดปัญหา
การกลับมา recheck ความคาดหวังตัวเองว่า ตอนนี้มากไปไหม? แล้วลองหาวิธีแก้ปัญหาลดความคาดหวังของเราได้อย่างไรบ้าง
2. Recheck ความต้องการ
การ recheck ตัวเองว่าจริง ๆ แล้วเราต้องการอะไรจากการโพสต์? เป็นคำถามสำคัญ บางคนโพสต์เพื่อเก็บความทรงจำ เก็บความรู้สึกนึกคิดอะไรบางอย่างไว้ กรณีนี้คงไม่ส่งผลกระทบอะไร
แต่ถ้าโพสต์เพียงเพื่อให้คนสนใจ ให้คนยอมรับ คงเป็นไปได้ยากที่จะใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีความสุข สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่อะไรที่บังคับได้ การที่เราไปคาดหวังทั้ง ๆ ที่รู้ว่าควบคุมไม่ได้ คงทำให้เกิดความรู้สึกทางลบตามมา
3. หันไปโฟกัสสิ่งอื่น
ถ้ายอด Engagement ไม่เกี่ยวข้องกับงาน อาจจะต้องจัดลำดับชีวิตและจัดสรรเวลาใหม่ หาเวลาทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ต้องโฟกัสแทน เราจะให้ความสำคัญกับยอด engagement น้อยลงตามธรรมชาติเอง
นอกจากนี้ ปลายปี ค.ศ.2019 ผู้พัฒนาระบบก็ สร้างฟีเจอร์ใหม่ ‘Private Like Counts’ หรือการปิดยอดไลก์ของรูปภาพไม่ให้คนอื่นเห็น ซึ่งได้สุ่มทดสอบในประเทศต่างๆ ได้แก่ แคนาดา บราซิล ไอร์แลนด์ อิตาลี ญี่ปุ่น
เนื่องจากเล็งเห็นว่าผู้ใช้งานในกลุ่มวัยรุ่น มี ‘แรงกดดัน’ จากการทำโพสต์ให้มันยอดไลค์ สูง และเมื่อไม่ได้ยอดตามที่หวังไว้ จึงเกิดเป็นปัญหาเครียดตามมา
จะรับมือยังไง เมื่อต้องทำงานกับสื่อแล้วยอด Engagement มีความสำคัญจริง ๆ
1. วางกรอบให้ตัวเลขเหล่านี้มีบทบาทแค่ในบริบทการทำงาน
ยอมรับและพัฒนาคอนเทนต์ ศึกษา Prime time และ Data ของแต่ละแพลตฟอร์ม เพื่อนำมาปรับปรุงให้มีการเข้าถึงมากที่สุด
สิ่งสำคัญคือ ต้องวางกรอบให้ยอด Engagement มีบทบาทแค่ในบริบทการทำงานเท่านั้น ไม่ใช่อะไรที่จะมาบ่งบอกคุณค่าหรือคุณภาพอะไรในตัวเอง
2. ปล่อยวาง engagement ในทางลบ
ยอด dislike หรือ คอมเมนท์เชิงลบที่ไม่ใช่ติเพื่อก่อ อันนี้การจัดการจะเป็นอีกแบบ คงต้องปล่อยวาง เพราะทุกคนต่างมีความคิด ความรู้สึก
และประสบการณ์ที่แตกต่างกันไป สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงการแสดงออกของแต่ละคนเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่ควรจะนำมาตัดสินตัวเราทั้งหมด
3. จุดประสงค์ที่แท้จริงว่าเราต้องการที่จะมียอด Engagement สูง ๆ ไปเพื่ออะไร
ในบางคนต้องการยอดไลค์ การติดตามเพื่อสร้างตัวตน นำไปทำเป็นอาชีพต่าง ๆ ได้ ก็ตั้งใจทำคอนเท็นต์ที่สร้างสรรค์ ออกมาเพื่อเป้าหมายที่ชัดเจนของตัวเอง
เราจะอยู่บนโลกโซเชียลอย่างไรให้มีความสุข?
1. รักษาความพอดีในการใช้โซเชียลมีเดีย
สิ่งสำคัญคือ ‘ความพอดี’ การเลือกวิธี Social Detox อาจเหมาะกับ เราเพียงแค่ต้องพักจากมัน หยุดจากมัน สักระยะหนึ่ง ไม่สายที่จะรอให้ตัวเองพร้อมแล้วค่อยกลับมาท่องโลกโซเชียลมีเดียอีกครั้ง
2. โซเชียลเป็นเพื่อนที่ดี ในยามที่เหงาใจ หรืออยากระบาย
การศึกษาที่รายงานใน Psychology Today แสดงให้เห็นว่าการใช้เวลามากขึ้นในสังคมออนไลน์และ มีส่วนร่วมในการแชทด้วยข้อความโต้ตอบแบบทันที
ทำให้เรามีความสามารถในการมีความเห็นอกเห็นใจเสมือนจริงมากขึ้น และการเอาใจใส่ เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีของความสามารถในการแสดงความเห็นอกเห็นใจในโลกแห่งความเป็นจริง
ที่มา :
ยอด Engagement, ยอด Reach และ ยอด Impression คืออะไร ?
7 ตัวเลขพื้นฐานที่คุณควรรู้ในการทำและวิเคราะห์โฆษณา Facebook
Social media apps are ‘deliberately’ addictive to users
The Psychology of Facebook: Why We Like, Share, Comment
Post Views: 1,914