” ชอบกลางคืน ” เพราะสำหรับบางคนกลางคืนเป็นช่วงเวลาที่ได้อยู่กับตัวเอง สำหรับบางคนกลางคืนเป็นช่วงเวลาที่ได้ใช้ชีวิต ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า แล้วเราใช้ชีวิตกลางคืนได้ไหม?
ชอบกลางคืน ใช้ชีวิตตอนกลางคืนได้ไหม?
คนมี 2 แบบจริงไหม? ชอบกลางคืน ชอบกลางวัน
ในบริบทของเวลา แบ่งออกเป็น 2 Chronotypes คือ แบ่งตาม Timeline การใช้ชีวิตของแต่ละคน ทำให้บางคนมีเอเนอจี้ตอนกลางคืน บางคนมีเอเนอจี้ตอนกลางวัน
1. Early bird
เรียกอีกอย่างว่า Morning person นอนไว ตื่นเช้า รู้สึกดีกับการเริ่มต้นวันใหม่ แต่จะพลังงานน้อยลงในช่วงบ่าย ๆ เย็น ๆ
2. Night owl
ส่วนใหญ่คนที่ชอบใช้ชีวิตกลางคืนจะถูกเรียกว่าเป็นนกฮูก นอนดึก มีพลังงาน,มีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าในกลางคืน
The Power of When หาเวลาที่เหมาะในการทำงานของตัวเอง
จากงานวิจัยในปี 2012 ให้ข้อมูลไว้ด้วยว่า Morning person จะมีอารมณ์ทางบวกมากกว่า ประมาณ 25% ของประชากรโลกเป็นคนชอบตอนกลางคืนและ 25% เป็นคนชอบตอนเช้า
ที่เหลือร้อยละ 50 เป็นผู้โชคดีที่มีความสุขทั้งสองอย่าง ดร.ไมเคิล บรูส นักจิตวิทยาคลินิกชาวอเมริกัน ที่ได้ฉายาว่า Sleep doctor เขียนอธิบายไว้ในหนังสือ The Power of When
พลังแห่ง ‘เมื่อไหร่’ ว่าทุกคนมีนาฬิกาชีวภาพหลักที่คอยส่งเสียงติ๊กต่อกบอกเวลาอยู่ในสมอง นอกจากนี้ยังมีนาฬิกาชีวภาพจิ๋วอีกมากมายอยู่ทั่วร่างกายที่มีจังหวะเดินและบอกเวลา
ซึ่งจังหวะเดินและบอกเวลานั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทำให้แต่ละคนมีเวลาที่เหมาะสมในการทำสิ่งต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน จังหวะเวลาที่เหมาะสมไม่ใช่สิ่งที่คุณเลือกเองได้
ประเภทของคนตามนาฬิกาชีวภาพ
1. โลมา
มีประมาณ 10% ของประชากร คนกลุ่มโลมามักเป็นคนหลับไม่ลึกและตื่นง่าย เพียงแค่มีเสียงหรือสิ่งรบกวนเล็กน้อย ไม่ค่อยง่วงนอนตามเวลา
ทำให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอ คนกลุ่มนี้จึงตื่นนอนด้วยความรู้สึกไม่ค่อยสดชื่นสักเท่าไหร่ แต่โดยจะตื่นตัวมากที่สุดในช่วงกลางคืน
2. สิงโต
มีประมาณ 15-20% ของประชากร คนกลุ่มสิงโตมักจะตื่นนอนตั้งแต่รุ่งเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น โดยจะตื่นตัวมากที่สุดในช่วงเช้าและช่วงกลางวัน
แล้วจะเริ่มรู้สึกอ่อนเพลียตั้งแต่ช่วงบ่ายแก่ ๆ แต่จะไม่มีการงีบหลับระหว่างวัน ส่วนตอนกลางคืนจะง่วงนอนเร็วและนอนหลับง่าย พักผ่อนมีคุณภาพ
3. หมี
มีประมาณ 50% ของประชากร คนกลุ่มหมีมีรูปแบบการนอนหลับตามการขึ้นและตกของพระอาทิตย์ มักจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงเพื่อตื่นเต็มที่
โดยจะตื่นตัวมากที่สุดในช่วงสายไปจนถึงก่อนบ่าย และจะเริ่มรู้สึกเหนื่อยหรือง่วงตั้งแต่ช่วงเย็น ตอนกลางคืนเป็นคนที่หลับง่าย หลับลึก มีคุณภาพ
4. หมาป่า
ประมาณ 15-20% ของประชากร คนกลุ่มหมาป่ามักประสบปัญหาในการตื่นนอนก่อน 9 โมงเช้า แต่หลังจากนั้นจะไม่รู้สึกง่วงหรืออ่อนเพลียเลย
โดยจะตื่นตัวมากที่สุดในช่วงหนึ่งทุ่มและ Productive มากที่สุดในช่วงสายและช่วงค่ำ บางวันอาจจะตื่นตัวไปจนถึงเที่ยงคืนได้เลยเหมือนกัน
เหตุผลของคน ชอบกลางคืน
1. พันธุกรรม
2. นาฬิกาชีวิต/นาฬิกาชีวภาพ จะกำหนด Chronotype ของเรา
3. พฤติกรรมบางอย่าง เช่น การกินดึก หรือ อยู่ในที่ที่สว่างจ้าตอนกลางคืน จะไปเปลี่ยนวิถีของนาฬิกาชีวิต
4. ชอบข้อดีของการอยู่กลางคืน เช่น ความสงบ ได้พักจากความวุ่นวาย หรือ กลางคืนทำให้ได้ใช้ชีวิตที่มีสีสัน
ชอบกลางคืน (Nyctophilia) คืออะไร?
จาก APA บอกว่าเป็น A strong preference คือ เป็นความชอบส่วนตัวที่รุนแรงต่อกลางคืนและความมืด ตรงข้ามคือ Nyctophobia คือ ความกลัวที่รุนแรงต่อกลางคืน
แต่จะมีอีกประเภทคือไม่ได้ชอบกลางคืน แต่ด้วยเงื่อนไขในชีวิต ทำให้จำเป็นต้องใช้เวลากลางคืน เช่น ทำงานกะดึก ซึ่งในระยะยาวค่อนข้างยากในการใช้ชีวิตอยู่แบบนั้น
คุณเป็นคน ชอบกลางคืน (Nyctophilia) หรือเปล่า?
Anna LeMind ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าบรรณาธิการที่ Learning Mind และเป็นนักจิตวิทยาที่จบปริญญาตรีสาขาสังคมศาสตร์ ให้ข้อมูลไว้รีเช็คตัวเอง ดังนี้
1. คุณชอบความเย็นสบายในยามค่ำคืน
2. กลิ่นกลางคืนเป็นกลิ่นโปรดของคุณ
3. ความเงียบและไร้ผู้คนดึงดูดใจเป็นพิเศษ
4. คุณรู้สึกถึงแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ในตอนกลางคืน
5. ดูดาว ดูท้องฟ้า ดูพระจันทร์ ชื่นชมธรรมชาติกลางคืน เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่คุณโปรดปราน
ข้อดีข้อเสียของการใช้ชีวิตกลางคืน
1. ดีสำหรับคนที่เป็น Highly sensitive person เพราะการใช้ชีวิตกลางคืน จะหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนได้มากกว่า เพราะมีสภาพแวดล้อมที่สงบ
2. คนใช้ชีวิตกลางคืน จะให้เหตุผลได้ดีกว่า ข้อมูลนี้อ้างอิงจากงานวิจัยของ University of Madrid ที่ลองทดสอบวัยรุ่นกว่า 1000 คน
3. แต่ข้อเสียคือ อาจจะทำให้พักผ่อนได้ไม่เพียงพอและไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำไปสู่หลาย ๆ โรค เช่น โรคอ้วน ความดัน ภาวะซึมเศร้า
ชอบกลางคืน เปลี่ยนมาใช้ชีวิตกลางคืนเลยได้ไหม?
เป็นไปได้
1. อาจจะเปลี่ยนมาใช้ชีวิตกลางคืนได้ ถ้าเรามี Chorotype แบบ Night owl การใช้ชีวิตกลางคืนจะเป็นการใช้ชีวิตที่เหมาะกับ Timeline ของเรา
2. มีงานวิจัยค้นพบว่า Night people ทั้งหลายจะมีความคิดสร้างสรรค์ที่มากกว่า ดังนั้นการใช้ชีวิตกลางคืนเพื่อทำงานอาจจะดีกว่า
3. ต้องพึ่งการเปลี่ยนแปลง Lifestyle เพื่อเปลี่ยนวงจรการนอนของเรา โดยจะต้องทำเป็นประจำและสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายเคยชิน
แต่เป็นไปได้ยาก
1. จากงานวิจัยปี 2019 การเป็น Night owl จะมีข้อเสียเปรียบอยู่ คือ เพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพและระบบเผาผลาญ
2.จากเว็บไซต์ Scientific American ให้ข้อมูลไว้ว่า Night owl จะมีความเสี่ยงสูงต่อโรคทางจิตเวช, ภาวะเสพติดมากกว่า
3. สำหรับคนที่ไม่ได้มี Chronotype แบบนี้ อาจจะไม่ได้เปลี่ยนกันง่าย ๆ เพราะ เป็นเรื่องของนาฬิกาชีวภาพที่เป็นเหมือนนาฬิกาประจำตัว
4. ข้อมูลเพิ่มเติมจากในหนังสือ The Power of When บอกว่าเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะการใช้ชีวิตกลางวันหรือกลางคืน เป็นเรื่องของพันธุกรรม
ที่มา :
10 Hidden benefits of being a Night owl
10 Reasons why it’s okay to be a Night owl
Is it better to be a Night owl or Early bird?
What is a Nyctophile and 6 signs you are one
นาฬิกาชีวิตตามบุคลิกภาพ 4 แบบ บอกได้ว่าทำงานต่าง ๆ ตอนไหนดีที่สุด!
How to become a morning person: Practical advice for changing your chronotype
Post Views: 4,490