ประเทศไทยของเรากำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุ เต็มรูปแบบ บทบาทของลูกหลานเมื่อต้องดูแลผู้สูงอายุ ควรรับมืออย่างไร?
“ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก้ดัดยาก” ไม่ว่าจะแม่หรือพ่อพวกท่านมักจะมีคำยึดมั่นในประสบการณ์ต่าง ๆ ของพวกเขา พวกเขาจะคอยพูดดักเกือบทุกอย่างที่เราทำ รวมถึงการที่ไม่เชื่อฟังเราด้วยเช่นกัน
เหตุผลว่าทำไม ผู้สูงอายุ เอาแต่ใจตัวเอง?
บางเหตุผลก็อาจจะไม่ได้ตรงกับทุกสถานการณ์ แนะนำให้ ‘ลองสังเกต’ เพื่อดูว่าปัจจัยไหนเป็นสาเหตุหลักกัน
1. สภาพร่างกายที่แก่ลงทำให้ขาดความมั่นใจ
เมื่อทุกคนต้องอายุเยอะมากขึ้น ทำให้มีร่างกายที่เสื่อมสภาพลงรูปแบบการใช้ชีวิตก็แตกต่างไปจากเดิม ทำอะไรเชื่องช้าลง คิดช้าลง บางทีก็ทำให้รู้สึกหงุดหงิดใจในการเปลี่ยนแปลงและขาดความมั่นใจ
จากที่เคยทำได้ พอทำอะไรไม่ได้บ่อย ๆ ก็ส่งผลให้จิตใจหงุดหงิด นาน ๆ เข้าจากที่โมโหตัวเอง ก็กลายเป็นโมโหคนอื่น
2. วิตกกังวลจนเกินกว่าเหตุ
อายุเยอะขึ้นก็อยากจะอยู่กับลูกหลาน อยากใกล้ชิด แต่ลูกหลานก็มีบทบาท หน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบ จึงทำให้เกิดมีความกังวลว่าจะถูกทอดทิ้ง กลัวไม่ได้รับความรักจากลูกหลาน มีอารมณ์น้อยใจเกิดขึ้น
3. ความเหงาทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัยในครอบครัว
ความเหงาที่อยู่บ้านคนเดียวบ่อย ๆ ทำกิจกรรมอะไรคนเดียวตอนที่คนในบ้านไปทำงานทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัย มีความห่างเหินกันในครอบครัวพอความรู้สึกนี้ก่อตัวนาน ๆ เข้าทำให้เกิดเป็นความอ้างว้าง โดดเดี่ยว
4. ความคิด ความจำ
ผู้สูงอายุบางคนอาจจะคิดได้ช้า และจำได้น้อยลง หลง ๆ ลืม ๆ อาการเหล่านี้จะคอยรบกวนให้เกิดปัญหาไม่เข้าใจกันระหว่างคนในครอบครัวได้ง่าย หลงลืมว่าทำไปแล้ว พูดไปแล้ว ทำให้เกิดการคิดซ้ำ ๆ พูดซ้ำ ๆ
5. สภาพจิตใจ
การเชื่อว่าลูกหลานไม่รัก ไม่เคารพนับถือ อยากเป็นคนสำคัญ หรือเชื่อว่าคนในครอบครัวไม่เชื่อฟังตนเอง ทำให้เกิดความน้อยใจ เก็บตัว หรือกลายเป็นคนแก่ขี้หงุดหงิด และดื้อรั้นไปโดยไม่รู้ตัว
ควรรับมือกับ ผู้สูงอายุ อย่างไร?
ถ้าเราสังเกตผู้สูงอายุที่บ้านเราว่าสาเหตุที่ทำให้เขาเกิดความดื้อคืออะไร เราต้องแก้จากจุดนั้น ซึ่งในทางจิตวิทยา ได้แนะนำว่า
1. เอาใจเขามาใส่ใจเราลองกลับกันว่าตอนที่เรายังเป็นเด็กเราก็เคยโวยวาย ร้องไห้ ตอนไม่ได้ของเล่น ไม่ได้ดั่งใจ และถามพ่อกับแม่บ่อย ๆ ตอนที่เราสงสัย
มองมุมกลับกันว่าตอนนี้เราต้องทำหน้าที่นั้นหน้าที่ที่ต้องทำความเข้าใจกับพวกเขา
2. หมั่นทำกิจกรรมกับพวกเขาให้พวกเขารู้สึกว่าไม่เกิดระยะห่างกับเรา ระยะห่างกับครอบครัว อาจจะเป็นกิจกรรมเล็ก ๆ เช่น การดูทีวีด้วยกัน
3. สนับสนุนงานอดิเรกเล็ก ๆ น้อย ๆ ของพวกเขา เช่น พ่อสนใจเรื่องการปลูกต้นไม้ เขาก็จะพูดเรื่อยปุ๋ย เรื่องพันธ์ุไม้บ่อย ๆ เราก็ให้ความสนใจและชวนเขาคุยแค่เท่านั้นเขาก็รู้สึกอารมณ์ดีแล้ว
4. คอยถามเรื่องสุขภาพเขาถามแบบไม่ต้องดุพวกเขา ถามว่าเป็นยังไงบ้างรีเชคให้เขารู้สึกว่าเขาคุยกับเพื่อน ทำให้เขาอุ่นใจ
ซึมเศร้าใน ผู้สูงอายุ
จากการศึกษาพบว่าความสำเร็จในการฆ่าตัวตายของผู้สูงวัยที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามีมากกว่าผู้ป่วยในวัยอื่น ๆ ภาวะซึมเศร้าในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
พบได้มากถึง 10 – 20 พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และยิ่งมีอายุมาก ความเสี่ยงยิ่งเพิ่มมากขึ้น
ข้อสังเกตเมื่อผู้สูงวัยมีภาวะซึมเศร้า
1.กินอาหารได้น้อยลง หรือกินมากเกินไป
2.นอนไม่ค่อยหลับ หรือนอนเยอะผิดปกติ
3.อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง
4.ความสนใจในเรื่องต่าง ๆ ลดลง เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไรเลย
5.สูญเสียความมั่นใจในตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า และมักจะโทษตัวเองอยู่บ่อยครั้ง
6.มองโลกให้แง่ร้าย ไม่เป็นมิตรกับใคร ขาดการเข้าสังคม
7.มีพฤติกรรมรุนแรง อารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย บางครั้งก็มีอารมณ์เศร้า หดหู่ ไปจนถึงการไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อ
วิธีการแก้ไข
1. การรักษาทางจิตใจ
การรักษาด้วยวิธีนี้ จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้สูงอายุ โดยการให้ผู้ป่วยเข้าพบจิตแพทย์เพื่อพูดคุยให้คำปรึกษา ทำจิตบำบัด ปรับวิธีการคิด และปรับทัศนคติในทางลบให้ดีขึ้น
ซึ่งวิธีจะช่วยให้ผู้สูงอายุ เปลี่ยนมุมมอง และเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ ๆ ที่เข้ามาได้ดีมากยิ่งขึ้น
2.การรักษาโดยการใช้ยา
การรักษาด้วยวิธีนี้ จะทำให้ผู้สูงอายุอาการดีขึ้นเร็ว แต่ก็อาจจะส่งผลข้างเคียงด้านอื่น ๆ ซึ่งยารักษาโรคซึมเศร้า จะมีหลายกลุ่ม ทั้งนี้การใช้ยาจะต้องได้รับการแนะนำจากแพทย์เฉพาะทาง
ไม่ควรซื้อจากร้านขายยาหรือจากคำแนะนำของผู้อื่น เพราะตัวยานั้น อาจจะไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ และอาจจะทำให้ได้รับอันตรายจากการใช้ยาได้
หลัก 5 สุขในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ
น.ต.นพ. บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้วางแนวทางสำหรับยุค 4.0 เพื่อให้ผู้สูงอายุไทย สามารถสร้างความสุข ความพึงพอใจในชีวิตให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน
ด้วยการยอมรับ และปรับตัวให้ได้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใช้ชีวิตอยู่อย่างพอดี และมีคุณค่า ยึดหลัก 5 สุขในการดำเนินชีวิต ได้แก่
1. สุขสบาย : ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง คล่องแคล่ว ตามสภาพ ไม่ใช้สารเสพติด
2. สุขสนุก : ทำกิจกรรมที่ทำให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส ลดความซึมเศร้า ความเครียด และความกังวล
3. สุขสง่า : มีความพึงพอใจในชีวิต ภาคภูมิใจ และเห็นคุณค่าในตนเอง มีความเห็นอกเห็นใจ และช่วยเหลือผู้อื่น
4. สุขสว่าง : คิดและสื่อสารอย่างมีเหตุผล สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. สุขสงบ : รับรู้ เข้าใจความรู้สึกของตนเอง รู้จักควบคุม และจัดการกับสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้น สามารถผ่อนคลาย และปรับตัวยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตามความเป็นจริง
อ้างอิง :
ทำไม ผู้สูงอายุ เอาแต่ใจตัวเอง
ซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
หลัก 5 สุขในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ
Post Views: 2,722