รู้จักตัวเอง

รู้จักตัวเอง ในทางจิตวิทยา เพื่อการเข้าใจและยอมรับตัวเอง

เรื่องAdminAlljitblog

เคยไหม ? มีคำถามกับตัวเองอยู่เสมอว่าชอบอะไร อยากทำอะไร เราเป็นคนแบบไหน..  ตอนนี้เรา  รู้จักตัวเอง มากแค่ไหนกันนะ ?

มารู้จักตัวเองให้มากขึ้นกันเถอะ

คนที่เข้าใจได้ยากที่สุดก็คือตัวเราเอง ในบางครั้ง บางวัน เราก็ไม่เข้าใจตัวเอง  ฉะนั้นการที่เรารู้จักตัวเอง ทั้งข้อดี ข้อเสีย จะทำให้เรารู้เท่าทันตัวเองมากขึ้น ก็จะทำให้เรามีความสุขกับตัวเองมากขึ้นด้วย

 

Self-Awareness คือ?

Self-awareness คือ ความสามารถในการมองเห็นตัวเองและ ตระหนักถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเองได้อย่างชัดเจน ผ่านการรับรู้และเข้าใจสภาวะต่าง ๆ เช่น

  • อารมณ์ ความรู้สึก 
  • ประสบการณ์ ความสามารถด้านต่าง ๆ 
  • ความคิดของตัวเอง 
  • การรับรู้ทางร่างกาย

 

การ รู้จักตัวเอง มีกี่ด้าน 

ตาม ทฤษฎีของ The Johari Window จิตวิทยาชาวอเมริกัน  2 ท่านคือ Joseph Luft และ Harry Ingham เฝ้าสังเกตพฤติกรรมนุษย์ จนเกิดเป็นทฤษฎี The Johari Window

 

ทฤษฎีที่บอกว่าคนทุกคนจะนำเสนอตัวตนใน โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ช่อง ภายในพื้นที่เหล่านั้นคือที่อยู่ของตัวตนต่างแง่มุม ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะเลือกเปิดเผยหรือซุกซ่อน จะแสดงออกหรือ ต้องการปิดบัง

 

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นวิธีปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล

1.Open self : ตัวตนส่วนที่เรารู้จักตัวเองดี รู้ว่าตัวเองคิดอะไร มีศักยภาพอะไร รู้สึกอย่างไร และเราเปิดเผยให้คนอื่นรับรู้ตัวตนของเราแบบตรงไปตรงมา คนรอบตัวจึงรู้และเข้าใจตัวตนของเราส่วนนี้ 

 

2.Blind self : ตัวตนส่วนนี้คนอื่นรอบตัวสัมผัสรับรู้ แต่ตัวเราเองกลับไม่รู้ว่าเรามีพฤติกรรมหรือความสามารถส่วนนี้ อย่างเช่น A เป็นคนชอบเอาชนะ ชอบแข่งขันกับคนอื่นแบบไม่รู้ตัว

 

แต่คนอื่นก็รู้ว่า A ชอบแข่งขัน เพราะ A จะทำทุกทางขอแค่ให้ได้สัมผัสชัยชนะ ซึ่งถ้าหากเราปล่อยให้ตัวเองมีส่วนนี้เยอะก็คงไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เพราะจะทำให้ขาดตัวช่วยให้เราพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นได้ 

 

3.Hidden self : ตัวตนที่เรารู้แต่เพียงผู้เดียว คนอื่นไม่เคยรู้มาก่อน เพราะเรารู้แล้วซ่อนไว้เป็นความลับส่วนตัว เช่น A เป็นคนวาดรูปเก่ง แต่วาดอยู่คนเดียวลำพัง ไม่เคยบอกใคร ไม่เคยวาดรูปให้ใครดู

 

4.Unknown self : ตัวตนส่วนนี้มืดมิดเลย เป็นดินแดนที่ไม่มีใครค้นพบ ตัวเราเองก็ไม่รู้ คนรอบตัวก็ไม่รู้เลยว่าเรามีความสามารถ หรือทักษะประเภทนี้ด้วย ซึ่งตัวตนส่วนนี้อยู่ระหว่างการสืบเสาะค้นพบ

 

 

การ รู้จักตัวเอง มีมิติไหนบ้าง

1.ความสนใจ (Interest)

  • งานอดิเรก 
  • สิ่งที่ทำแล้วมีความสุข 
  • อะไรที่ทำแล้วมีสมาธิ จดจ่อได้นาน

2.ความชอบหรือลักษณะนิสัยติดตัว (Preference and Temperament)

  • สไตล์การทำงานที่ชอบ 
  • ลักษณะการคิด  การแก้ปัญหา  
  • นิสัยที่ติดตัวมา เรียกว่าเป็นพื้นฐานของอารมณ์ 

3.พฤติกรรมและการแสดงออก (Behavior and Expression)

  • บุคลิคภาพ 
  • การแสดงออก การใช้คำพูด 

4.ความเข้าใจทางด้านอารมณ์ความรู้สึก (Emotion)

  • อารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ 
  • ระยะเวลาที่อยู่ในอารมณ์และความรู้สึกนั้น 
  • จัดการกับอารมณ์อย่างไร 

การเข้าใจอารมณ์ของตนเองเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความตระหนักรู้ในตนเอง เช่น เมื่อมีความโกรธเกิดขึ้น เราสามารถรับรู้ได้ถึงการมีอยู่ของความโกรธนี้ และเมื่อความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไป เราสามารถรับรู้ความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงของตนเองได้ไหม 

5.ลักษณะของการมีความสัมพันธ์ (Relationship Pattern)

  • จำนวนเพื่อนสนิท  กลุ่มเพื่อนที่อยู่ด้วยแล้วสบายใจ 
  • ความสัมพันธ์ในครอบครัว พี่น้อง 
  • การทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ โดยปกติเราทำยังไง 

6.คุณค่า (Value)

คุณค่าคือคุณลักษณะที่แสดงความเป็นสิ่งนั้น ๆ ในกระบวนการเติบโตและหล่อหลอมของมนุษย์ มีการเลือกคุณค่าทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว  และ ส่วนใหญ่คุณค่าที่เราเลือกรับมาจะเกิดขึ้นในสภาวะที่ไม่รู้ตัว เกิดจากสิ่งแวดล้อม เหตุการณ์ในชีวิตจริง

  • สิ่งที่เราให้ความสำคัญ 

7.จุดมุ่งหมายในชีวิต (Life Purpose)

  • จุดมุ่งหมายชีวิตระยะยาว 
  • สิ่งที่อยากทำ เติมเต็มความสุขในชีวิต 

 

 

ข้อดีของการ รู้จักตัวเอง

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Positivepsycolohy 

  1. สามารถทำให้เรามีความกระตือรือร้นมากขึ้น ส่งเสริมการยอมรับ และส่งเสริมการพัฒนาตนเองในเชิงบวก 
  2. การรู้จักตัวเองทำให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ จากมุมมองของผู้อื่น ฝึกการควบคุมตนเอง ทำงานอย่างสร้างสรรค์ และสัมผัสความภาคภูมิใจในตนเองและงานของเรา รวมถึงการเห็นคุณค่าในตนเองได้ดียิ่งขึ้น
  3. มีความสามารถในการตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายมากขึ้น
  4. ทำงานได้ดีมากขึ้น สื่อสารได้ดีมากขึ้น เพราะเมื่อเรารู้จักตัวเองจะทำให้ความมั่นใจ ของเราเพิ่มขึ้นไปด้วย 

 

 

เราจะเริ่มรู้จักตัวเองได้อย่างไรบ้าง

  1. ฝึกทำสมาธิ และพยายามมีสติอยู่เสมอ 

การมีสติหมายถึงการที่เราอยู่กับปัจจุบัน ให้ความสนใจกับตัวเองและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว มากกว่าที่จะจมอยู่ในความคิดในอดีต และการทำสมาธิเป็นการฝึกสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งหนึ่ง

 

เช่น ลมหายใจหรือ ความรู้สึก และปล่อยให้ความคิดลอยไปแทนที่จะยึดติดอยู่กับมัน ซึ่งการทำทั้งสองแบบสามารถช่วย ให้ตระหนักถึง สัมพันธ์ ของเรา และปฏิกิริยาต่อสิ่งต่างๆ ของเรามากขึ้น

 

สามารถช่วยให้เราจัดการความคิด ความรู้สึก และป้องกันไม่ให้จมจนรู้สึกสูญเสีย “ตัวเอง”

 

  1. ฝึกโยคะ หรือออกกำลังกาย

การทำโยคะสามารถช่วยได้จริงหรอ? การฝึกโยคะช่วยให้โฟกัสกับท่าทาง ท่วงท่าของตัวเอง ทำให้เสียงของเราชัดขึ้น หากได้ทำการฝึกฝน จะนำไปสู่รู้จักตัวเองมากขึ้นด้วย 

 

  1. ใช้เวลา

การใช้เวลาสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การจัดบันทึก การทบทวนสิ่งต่าง ๆ เช่น Self Talk กับตัวเองสามารถช่วยได้มาก เพราะถ้าเราเริ่มให้เวลากับตัวเองเราก็จะมีเวลาในการทบทวน

 

ความคิด พฤติกรรมต่าง ๆ ที่ผ่านมาของเรา อะไรที่เราทำแล้วดี อะไรที่เราเคยล้มเหลว 

 

  1. การเขียนไดอารี่

การที่เราเขียนไดอารี่ทำให้ยอมรับความคิดและความรู้สึกของเราได้ ถ้าเราบันทึกแต่ละวันพอ กลับมาย้อนอ่านจะทำให้เรา เกิดคำถามกับตัวเอง

 

อีกทั้งการเขียนไดอารี่ทำให้เราโฟกัสสิ่งที่สำคัญกับชีวิตของเราได้ง่านมากขึ้นด้วย 

 

  1. ถามที่รักเรา คนรอบตัว

พิจารณาสิ่งที่พวกเขาพูดอย่างรอบคอบและคิดเกี่ยวกับมันเมื่อคุณจดบันทึกหรือไตร่ตรอง แน่นอน อย่าถือเอาคำพูดของคนใดคนหนึ่งเป็นสิ่งที่ดีเกินไป

 

เราต้องพูดคุยกับผู้คนที่หลากหลายเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเรา และจำไว้ว่าในท้ายที่สุด ความเชื่อและความรู้สึกในตนเองของคุณสำคัญที่สุดสำหรับเรา 

 

 

ผลกระทบถ้าเราไม่ รู้จักตัวเอง

  • ไหลตามคนอื่นได้ง่าย ยิ่งโลก เทรนด์ต่าง ๆ ตอนนี้เปลี่ยนไปไวมาก ถ้าเราขาดการรู้จักตัวเอง อาจจะทำให้เราไหลตามกระแสสังคมโดยที่จริงๆแล้วเราไม่ชอบ ไม่อยากเป็นแบบนั้น
  • ไม่กล้าตัดสินใจ ตามใจคนอื่นกลายเป็น people pleaser
  • ขาดความมั่นคงทางอารมณ์ และจิตใจ 

 

ที่มา:

self-awareness

self-awareness-matters-how-you-can-be-more-self-aware

schoolofchangemakers.com/knowledge