อารมณ์ เป็นสิ่งหนึ่งที่ทุกคนต้องรับมือ เพราะในแต่ละวันอารมณ์เกิดขึ้นได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทางลบหรือทางบวก
ในทางจิตวิทยา การเก็บอารมณ์หรือการแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสมทำอย่างไร รวมพูดคุยกับ คุณ รัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก 🙂
อารมณ์ หลากหลายเป็นเรื่องปกติหรือไม่ ?
มนุษย์มีหลากหลายอารมณ์เป็นเรื่องธรรมชาติ และอารมณ์ของเราสามารถเกิดทับซ้อนกันได้ ตัวอย่างเช่น เวลาเราเหนื่อย เราก็อาจจะหิว เมื่อเรากินเราก็อิ่ม ก็จะรู้สึกสบายใจขึ้น
เพียงแต่ว่าเมื่อหลาย ๆ อารมณ์ซ้อนอารมณ์ อาจจะทำให้เรารู้สึกหนักบ้าง แต่อารมณ์ของเราเปลี่ยนแปลงตามตัวกระตุ้นไม่ได้เป็นเรื่องแปลก
การเก็บอารมณ์เป็นเรื่องปกติหรือไม่ ?
การเก็บความรู้สึกเป็นสิ่งที่มนุษย์เราทำเป็นธรรมชาติ เพราะเรานั้นต้องประเมินสถานการณ์ก่อนว่า เราสามารถแสดดงออกได้ไหม อย่างเช่น เวลาที่เราโกรธ แล้วเราอยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่
เราจึงประเมินแล้วว่าไม่เหมาะสม หาก จะแสดงความโกรธออกมา แต่ในขณะเดียวกันถ้าเราอยู่กับเพื่อน และประเมินว่า พูดได้ เหมาะสม ไม่ได้ส่งผลกระทบคนอื่น เราก็จะแสดงความโกรธออกมา
การเก็บ อารมณ์ อย่างเหมาะสม ทำอย่างไร ?
เรียนรู้ที่จะควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม โดยประเมินได้ด้วยตนเองว่า เราเก็บอารมณ์ไว้เท่านี้ แล้วแสดงออกไปเท่านี้
เรายังคงสุขสบายใจ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อจิตใจของเราในระยะยาว และไม่ได้ส่งผลกระทบต่อคนอื่นนั่นเรียกได้ว่าเหมาะสมกับเรา
การเก็บและการแสดงออกอารมณ์มีข้อดีข้อเสียอย่างไร?
การแสดงออกของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน แบ่งออกตามหลักจิตวิทยาดังนี้
Passive แปลว่า ไม่ตอบโต้ นิ่ง คล้าย ๆ สมยอม
Aggression แปลว่า แสดงทุกอย่างออกมาชัดเจน เก็บอารมณ์ได้ค่อนข้างน้อย
Passive-Aggression นิ่งเงียบแต่ในใจต่อต้าน
ซึ่งทุกคนจะมีรูปแบบที่ชัดเจนเป็นของตัวเอง ถ้าหากในสังคมไทยเชื่อมโยงกันก็มักจะพบ คนที่เป็นลักษณะ Passive หรือ Passive – Aggression
แต่ถ้าในบริบทของต่างชาติ ฏ็มักจะพบ Aggression เขาเรียนรู้ที่จะแสดงอารมณ์อย่างตรงไปตรงมา และสามารถแสดงความรู้สึกออกมาได้
เมื่ออารมณ์เกิดขึ้น ควรเก็บหรือแสดงออก ?
เราควรมีวิธีจัดการอารมณ์ตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม คววใช้ได้อย่างหลากหลายตามสถานการณ์เช่น บางสถานการณ์ไม่ยุติธรรมกับเรา
การที่เราแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาเพื่อเป็นการปกป้องตัวเอง ไม่ให้ใครคุกคามเรา หรือในบางสถานการณ์หากยอมได้ก็ยอมได้ เราก็ใช้การเก็บอารมณ์ของเราบ้าง
รีเช็คตัวเองอย่างไร ?
นอกจากการจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้แล้ว เรายังควรสร้างพฤติกรรมทางบวกให้ตัวเองด้วย ถ้าเรามองในมุมกว้างขึ้น เราจะสามารถเข้าใจอารมณ์ว่าไม่มีผิดหรือ ถูกเพราะเราเป็น Human Being เราแค่มนุษย์คนหนึ่ง
เมื่อเราเชื่อมโยงอารมณ์ของตัวเองได้ เราก็จะเริ่มเข้าใจว่าอะไรทำให้เราเกิดอารมณ์นี้ ความคิด และจิตใจ และจัดการได้อย่างเหมาะสม
ไม่ใช่เพียงแค่จะพูดว่า ไม่เป็นไรหรอก ช่างมันเถอะ นั่นคือาการที่เราปฎิเสธ และไม่อนุญาติให้ตัวเองได้รู้สึกกับความรู้สึกไม่ดีที่เกิดขึ้น
เหมือนเรากำลังถอยออกมาจากความรู้สึกและความต้องการจริง ๆ ของตัวเอง จึงไม่นำไปสู่วิธีการจัดการอารมณ์ของตัวเอง ตราบใดที่เราคิดว่าไม่เป็นไร ปิดกั้นความรู้สึกตัวเองบ่อย ๆ ก็อาจนำไปสู่ความไม่สุขใจได้
ดูแลอารมณ์อย่างไรไม่ให้กระทบคนรอบข้าง ?
เท่าทันความรู็สึกและความคิดของเรา โดยการฝึกจาก 4 คำถามดังนี้
1. ฉันรู้สึกอย่างไร ?
2. รู้สึกแบบนี้แล้วต้องการอะไร ?
3. เราจะตอบสนองอย่างไร ? เพื่อให้ได้สิ่งเหล่านั้น และทำให้ความรู้สึกลดลง
4. ตั้งคำถามว่าการตอบสนองอย่างนั้นมีประโยชน์จริง ๆ หรือไม่
เมื่อเราฝึกบ่อย ๆ เราจะชิน และเราจะเข้าใจคนที่อยู่ตรงหน้าได้จริง ๆ ไม่ใช่การไม่อนุญาติให้รู้สึก
ควรรับมือกับ อารมณ์ ทางลบและบวกอย่างไร?
อารมณ์ทางบวกเป็นเรื่องดี เป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่าโลกนี้มันสวยงาม ดีต่อร่างกายและจิตใจ แต่เราอย่าลืมว่า การที่เราให้คุณค่ากับอารมณ์ทางบวกมาก ๆ มันจะทำให้เราหลงลืมความรู้สึกทางด้านลบของตัวเอง
หรืออาจะหลงลืมความรู็สึกอีกฝั่งหนึ่ง ที่ทำใหเรารู้สึกแย่ ซึ่งเราพยายามเก็บไว้โดยไม่โกรธ ไม่เสียใจ ไม่เศร้า รู้สึกแค่ด้านบวก ก็อาจจะทำให้ขาดชัั้นกรอง ภายใรความรู้สึกจริง อาจจะโกรธ
คงจะดีกว่าถ้าเราวสามารถสัมผัสได้ทั้งอารมณ์ทั้งทางบวก และทางลบของตัวเอง และรู้เท่าทัน สุขก็สุข ทุกข์ก็ทุกขื ไม่เห็นเป็นไร สำคัญคือต้องซื่อสัตย์กับความรู้สึกของตัวเองจึงจะมองเห็นความต้องการลึก ๆ ของตัวเอง
เริ่มต้นจดบันทึก อารมณ์ อย่างไร ?
จดบันทึกโดยการเชื่อมโยง และตั้งคำถามกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง จะทำให้เราเข้าใจอะไรที่เกิดขึ้นกับตัวงเองมากยิ่งขึ้น เช่น เวลาที่เราเจอสถานการณ์หนึ่ง เรารู้สึกอย่างไร
โดยตั้งชื่ออารมณ์ของตัวเองที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น โกรธ เศร้า รู้สึกผิด จากนั้นคิดต่อว่าทำไมรู้สึกแบบนั้น แล้วทำอย่างไรต่อได้ โดยสังเกตการตอบสนองทางทางร่างกายของตัวเอง
ถ้าเราฝึกเชื่อมโยง ความรู้สึก ความคิด พฤติกรรม และร่างกายที่ตอบสนองของตัวเอง เราจะคุ้นชินกับอารมรณ์ต่างๆ ของเราได้มากขึ้น ช่วงแรก ๆ อาจจะต้องจด แต่หากเราเก่งขึ้นเราก็เชื่อมโยงเก่งขึ้นผ่านการฝึกฝนบ่อย ๆ
บทความอื่น ๆ
Post Views: 653