เจอคนใจดี “เกรงใจ” หรือ “ได้ใจ” ตอนเป็นเด็กใครหลาย ๆ คนคงจะเคยถูกสอนมาว่า
“เราต้อง เป็นคนใจดี กับคนอื่น ๆ นะ ทำดีกับคนอื่น ต้องรู้จักแบ่งปัน รู้จักช่วยเหลือคนอื่น เพราะจะได้มีเพื่อนเยอะ ๆ จะได้มีคนใจดีกับเราตอบ”
แต่ความในเป็นจริงแล้วการที่เราใจดีมากเกินอาจจะไม่ได้ส่งผลดีเสมอไปและอาจจะกลับมาทำร้ายตัวเราเอง เราจึงมองหาข้อดีและข้อเสียของการเป็นคนใจดีมากเกินไปกันจากประสบการณ์ของเรา
ทุกข์ใจกับความใจดี
ความใจดีที่ไม่ทำให้ทุกข์ เพราะ นั่นเกิดจากความเมตตาต่อกันและกัน โดยไม่หวังผลตอบแทน แต่ความคาดหวังว่าเขาจะดีตอบกลับมานั่นเองที่ทำให้เราทุกข์ แต่ในอีกมุมมอง ความใจดีที่สร้างความทุกข์นั้น
อาจเกิดจากคนที่เราสนิทมาก ๆ ด้วยเท่านั้น เพราะเราคาดหวังว่าเราทำดีกับคนสนิทแล้ว เขาก็ต้องทำดีกลับมาให้เราในรูปแบบที่เราคาดหวังเช่นกัน ใจดีมากเกินไป อาจเป็นเพราะรู้สึกขาดบางอย่างในชีวิต
ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา “Les Babanell” ได้เสนอทฤษฎีหนึ่งไว้ว่า คนที่ใจดีกับคนอื่นเกินไป เป็นคนที่มักจะ ‘รู้สึกขาดในชีวิต’ อาจจะผ่านจากการโดนดูถูก ถูกด้อยคุณค่า ไม่เห็นค่าจากคนรอบข้าง
หรือมีความกังวลมากกว่าคนอื่น แล้วสาเหตุจากการที่ตนเองกังวล ไม่ว่าจะเป็นการกลัวสังคมปฏิเสธ กลัวไม่ถูกรัก ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม จึงเลือกที่จะประนีประนอม คนกลุ่มนี้ หากมีสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจน
จะไม่สามารถยึดมั่นในมุมมองของตัวเองได้ มักจะโดนความคิดเห็นคนอื่นครอบงำได้ง่าย
ถ้าเจอคนใจดีด้วย ให้เกรงใจ ไม่ใช่ได้ใจ
การใจดีทำให้เราได้รู้ใจและรู้จักคน ซึ่งเรามักพบคนอยู่สองประเภทที่เราเห็นจากการใจดี
เกรงใจ
คนส่วนหนึ่งมักจะเกรงใจคนที่ใจดี ไม่เรียกร้องสิ่งที่ตัวเองต้องการ และมอบกลับไปให้เสมอ
ได้ใจ
มักจะมีคนส่วนหนึ่ง คนที่เห็นว่าเราใจดีด้วยแล้วจะไม่เกรงใจ เฉยเมย และเอาเปรียบ เรียกร้องอยากได้สิ่งที่ต้องการจากเราเสมอ ซึ่งบ่งบอกได้เลย ว่าเราควรคบใครไว้ในชีวิตในฐานะคนสนิทได้
คนใจดีไม่ใช่คนโง่ แต่เขารู้ว่ากำลังเผชิญอยู่กับคนแบบไหน และการใจดีนี้จะช่วยคัดกรองความสัมพันธ์ได้เช่นเดียวกัน
ทุกการกระทำ ของเราและของคนอื่นมันก็มีผลตอบกลับมาเสมอ แล้วทุกวันนี้เราต่างรู้สึกดีกับการที่ได้ช่วยเหลือ และแบ่งปันเหมือนเดิม
Post Views: 5,040