ชอบ พูดคนเดียว แปลกไหม?

เรื่องAdminAlljitblog

เคยไหมที่พูดคนเดียวหรือเห็นคนรอบข้าง พูดคนเดียว ?

จะรู้ได้อย่างไรว่า พูดคนเดียว ปกติหรือผิดปกติ . .

ชอบ พูดคนเดียว ปกติหรือผิดปกติ

หลายคนอาจจะสงสัยว่า พูดคนเดียว นี่ “ปกติ” ใครก็ทำกัน หรือ “ผิดปกติ” ต้องไปพบผู้เชี่ยวชาญ

 

อ้างอิงจากบทความเว็บไซต์ The standard รายการ RUOK การพูดคนเดียว ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ อีกทั้งยังช่วยสร้างทักษะในการมีปฏิสัมพันธ์ ช่วยสร้างจินตนาการ 

 

ที่สำคัญยังช่วยสะท้อนให้ได้ยินเสียงตัวเองเวลาพูดคุยได้อีกด้วย ซึ่งดีต่อสุขภาพจิต เพราะเป็นการอนุญาตให้เสียงในใจได้เปล่งออกมา

 

แต่ถ้าพูดคุยกับคนอื่นที่ไม่มีใครมองเห็น อาการนี้เป็น 1 ในอาการของโรคจิตเภท ที่หลุดออกจากการอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ควรพบผู้เชี่ยวชาญ เพราะฉะนั้น การจะรู้ได้ว่าผิดปกติหรือไม่

 

เช็คง่าย ๆ จากการสังเกตว่าเป็นการพูดคนเดียวแบบ self-talk หรือ พูดคนเดียวแบบไม่ได้พูดคนเดียว พูดคนเดียวแบบไม่ได้พูดคนเดียว

 

จะมี 2 แบบ คือ หูแว่ว ได้ยินเสียงที่คนอื่นไม่ได้ยินแล้วพูดตอบ กับ เห็นภาพหลอน เห็นคนที่ไม่มีอยู่จริงแล้วพูดด้วย

 

พูดคนเดียว ดีอย่างไร 

ยังมีผลวิจัยชี้ว่าการพูดคนเดียวไม่ใช่เรื่องแปลก แต่มีข้อดีที่ซ่อนอยู่ คือ

 

1. สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

2. ได้เผชิญกับความท้าทาย การพูดคนเดียวไม่เพียงแต่จะช่วยให้เราจัดระเบียบความคิดได้แค่เท่านั้น แต่ยังช่วยให้ได้กระตุ้นตัวเองได้อีกด้วย

 

3. ช่วยลดความเครียด

 

พูดคนเดียว Self-talk

self-talk มี 3 แบบ

 

1. Neutral (กลาง) = เห็นอะไรก็พูด ทำอะไรก็พูด เช่น “วันนี้ร้อนจัง” “วันนี้ซักผ้าดีกว่า”

 

2. Positive (บวก) = จะเป็นการปลอบใจตัวเอง ให้กำลังใจตัวเอง เช่น “ไม่เป็นไรนะ” “ทำดีที่สุดแล้ว”

 

3. Negative (ลบ) = จะเป็นการตำหนิตัวเอง ต่อว่าตัวเอง เช่น “ทำไมถึงทำไม่ได้อีกแล้ว” “ไม่เอาไหนเลย”

 

ซึ่ง Negative self-talk ถ้าไม่ควบคุมอาจจะส่งผลกระทบได้มากกว่าที่คิด ทำให้รู้สึกไม่มีความสุข หมดหวัง หมดกำลังใจในการใช้ชีวิตได้ เพราะพอเป็นการพูดกับตัวเองแล้ว

 

มันอาจจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ การมีสติ รู้เท่าทันจึงสำคัญมาก ๆ เพราะจะทำให้จัดการกับ self-talk ที่ทำร้ายตัวเองได้

 

จัดการ Negative Self-talk 

หากมี Negative Self-talk มากจนเกินไป อาจสร้างความเครียดที่ส่งผลกับสุขภาพกายและสุขภาพจิต อย่าปล่อยให้ความคิดด้านลบนั้นกัดกิน วิธีจากบทความเว็บไซต์ thematter อาจเป็นวิธีที่เหมาะสมกับคุณ

 

1. ลองตั้งชื่อให้กับความคิดลบนั้นดูใหม่ 

 

2. บอกกับตัวเองว่าความคิดลบนี้ไม่ได้อยู่ตลอดไป

 

3. มองหาข้อดีท่ามกลางข้อเสีย

 

Self-talk ดีต่อเราอย่างไร

 1. ประมวลผลข้อมูล

 

อ้างอิงจากบทความ Why talking to yourself is the first sign of success เว็บไซต์ bbc กล่าวว่า มีงานวิจัยมากมายที่ช่วยยืนยันว่า การพูดคนเดียวช่วยเรื่อง การระลึกความจำ 

 

2. ยกระดับความรู้สึก

 

Anne Wilsom Schaef นักจิตวิทยา เล่าว่า เธอมักจะสนับสนุนให้ผู้ป่วยคุยกับตัวเอง เช่น เวลาโกรธ ให้พูดออกมา ความโกรธจะหายไป นอกจากการพูดออกมาจะทำให้โล่งขึ้น

 

เหมือนได้ปัดฝุ่นในใจออกแล้ว ยังทำให้รู้สึกดีขึ้นด้วย self-talk ที่เป็นบวก จะทำให้ก้าวผ่านแต่ละวันไปได้เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดความรู้สึก แล้วเก็บความรู้สึกนั้นไว้ข้างใน

 

ไม่ยอมระบายออกมา อาจจะยิ่งส่งผลด้านลบต่อตัวเรา แต่ถ้าเราได้ระบาย ไม่ว่าจะเป็นการพูดคนเดียว ตะโกน หรือ กรีดร้องออกมาในสถานที่ที่ไม่มีคน

 

เช่น ในห้องน้ำ ในรถ วิธีนี้จะช่วยทำให้โล่งและก้าวข้ามผ่านความรู้สึกที่ไม่ดีเหล่านั้นไปได้

 

3. เพิ่มความมั่นใจ 

การที่จะต้องออกไปพูดในที่สาธารณะ การได้ฝึกซ้อม พูดคนเดียว ยิ่งถ้าอยู่หน้ากระจก จะทำให้เห็นสีหน้า ท่าทาง ของตัวเอง จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ได้