อยากนอนเ(ฉย ๆ

” อยากนอนเฉย ๆ ” ไม่อยากทำอะไรเลย รู้สึกว่าทำไมชีวิตเหนื่อยจัง

เรื่องAdminAlljitblog

อาการ อยากนอนเฉย ๆ มาจากอะไรได้บ้าง เพราะขี้เกียจ หรือซึมเศร้า แล้วการที่เราอยากนอนเฉย ๆ ทั้งวันไม่ทำอะไรมีข้อเสียไหม

 

ถ้าเราทำแล้วมีความสุขมาหาคำตอบกันในรายการพูดคุย X คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก 🙂

 

ไม่อยากทำอะไรเลย อยากนอนเฉย ๆ

แต่ละคนคงมีที่มาของการอยากนอน ไม่อยากทำอะไรเลยหลากหลายสาเหตุมาก ๆ อาจจะมาจากการทำงานเหนื่อยมาก ๆ จน Burnout พอมีวันหยุดแล้วอยากจะนอนพัก

 

บางคนอาจจะรู้สึกว่าชีวิตข้างนอกเหนื่อย การอยู่ในห้อง การได้นอนอยู่กับตัวเองทำให้ดีขึ้น หรือกับบางคนรู้สึกเหนื่อยจากข้างใน การนอนเลยทำให้เขารู้สีกได้ชาร์จพลังบางอย่างให้ตัวเอง

 

การนอนเลยเป็นอีกตัวช่วยนึงที่ทำให้เรา Reboot ตัวเองได้ แต่การนอนมากไปไม่ได้ส่งผลดีอย่างเดียว ยังมีผลเสียอื่น ๆ อีกด้วย

 

การนอนมากเกินไป 

ถ้าหากพูดถึงการนอน การนอนเป็นเรื่องของความต้องการส่วนบุคคล ในหลักการนอนจะมีรูปแบบหรือแพทเทิร์นของแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับ Lifestyle หรือนาฬิกาชีวิตของแต่ละคน

 

จึงบอกไม่ได้ว่าการนอนครบ 8 ชั่วโมงจะรู้สึก fresh หรือ healthy เท่ากันไหม มีงานวิจัยที่บอกว่าช่วงวัยไหนควรนอนให้ได้กี่ชั่วโมง พอเรารู้แล้วว่าช่วงวัยเราควรนอนให้ได้ประมาณกี่ชั่วโมง

 

เราก็ต้องมาดูต่อว่า Lifestyle ของเราหรือนาฬิกาชีวิตของเรานั้นเป็นในรูปแบบไหน บางคนต้องทำงานแบบเข้าเวร กลางวัน กลางคืน แตกต่างกันออกไป ทำให้นอนได้ไม่เป็นเวลา

 

แม้ว่าจะนอนตามช่วงเวลาที่แต่ละช่วงวัยควรจะนอน แต่นาฬิกาชีวิตเขาเปลี่ยนอยู่ตลอดก็อาจจะทำให้สภาพร่างกายแย่ เราถูกสอนมาว่าต้องนอนตอนกลางคืน

 

แต่ในทางกลับกันบางคนต้องทำงานในช่วงเวลากลางคืน แต่ในตอนกลางวันเขานอนได้ตามชั่วโมงที่ร่างกายต้องการ ตื่นมารู้สึกสดชื่น ยังคงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็อาจจะเป็นอะไรที่ healthy สำหรับเขาเช่นกัน

 

การนอนและโรคซึมเศร้า 

จริง ๆ แล้วเขาอาจจะไม่ได้อยากนอนตลอดเวลา แต่เกิดจากการไม่มีแรงจูงใจในการออกไปใช้ชีวิต ไม่ได้อยากออกไปทำอะไร เขาเลยรู้สึกว่าอยู่นิ่ง ๆ หรือการได้นอนมันดีกว่า

 

มากไปกว่านั้นเลยคนที่มีสภาวะซึมเศร้าจะมีอาการเหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง เหนื่อยล้า เพราะฉะนั้นการนอนก็จะตอบโจทย์กับคนที่รู้สึกเหนื่อยล้ามาก ๆ 

 

ไม่ใช่แค่คนที่มีสภาวะซึมเศร้า และมีหลาย ๆ อย่างสัมพันธ์กันเลยทำให้คนที่มีสภาวะซึมเศร้า อยากนอนอยู่ตลอดเวลา

 

อยากนอนเฉย ๆ VS ขี้เกียจ 

มีเส้นบาง ๆ ที่จะเป็นตัวขีดไว้ แต่ในขณะเดียวกันมันกลับเชื่อมโยงกัน เพราะการอยากนอนและความขี้เกียจมีความสัมพันธ์กัน ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราอยากนอน แต่ก็อยากทำอย่างอื่นด้วย

 

หลาย ๆ คนก็เลือกที่จะไม่นอน แต่ออกไปทำอย่างอื่น แต่กลับบางคนอยากนอนมาก ๆ และก็อยากทำอย่างอื่นด้วย แต่รู้สึกขี้เกียจจัง ก็เลยเลือกที่จะนอน

 

แต่ก็ตัดสินไม่ได้ว่าคนที่อยากจะนอนหรือพักผ่อน เท่ากับคนขี้เกียจ หรือคนที่ออกไปทำอะไรข้างนอกเยอะ ๆ ไม่ได้เป็นคนขี้เกียจ

 

 

นอนมากเกินไป ..

การนอนเกินไปก็อาจจะทำให้เรา Overload เช่นเดียวกันกับการออกกำลังกายมากเกินไป ถ้าหากเรานอนเยอะมากกว่าที่ร่างกายจะต้องการ ก็จะส่งผลกระตบต่อร่างกายเราเอง

 

บางคนนอนเยอะเกินไปจนทำให้ปวดหัว เหนื่อยง่าย มากกว่านั้นคือเวลาที่เรานอนเยอะมาก ๆ เราก็จะกลายเป็นคนไม่มีแรง กล้ามเนื้อก็จะลีบ อ่อนแรง สุดท้ายแล้วอะไรที่มันเยอะเกินไป

 

ก็จะส่งผลกระทบต่อตัวเราอยู่ดี การนอนต้องมีตรงกลางและความพอดี เอาเท่าที่ร่างกายจำเป็น จะส่งผลดีต่อเรามากกว่า ถ้าหากอยากงีบหลับในระหว่างวัน การงีบหลับไม่ควรเกิน 20 นาที

 

ถ้าหากเกินกว่า 20 นาทีนั้นแปลว่าร่างกายเรากำลังเข้าสู่วงจรของการนอนหลับ หรือเข้าสู่ช่วงหลับลึก มันเกินกว่าร่างกายควรจะใช้ เวลาที่เราตื่นมาจะทำให้ปวดหัว หงุดหงิดได้ 

 

ชอบนอนมาก ๆ แต่อยากแอคทีฟ

ทำความรู้จักกับ Lifestyle และนาฬิกาชีวิตของตัวเอง รวมไปถึงความต้องการของตัวเอง ลองทำบันทึกการนอนหลับของตัวเองสัก 2 สัปดาห์ พอครบ 2 สัปดาห์ลองเอามานับดูว่า

 

วันไหนนอนไปกี่ชั่วโมง แบบไหนตื่นขึ้นมาแล้วสดชื่น หรือวันไหนไม่สดชื่น วันไหนนอนพอดีแปลว่าร่างกายของเราต้องการประมาณนี้ และจะไม่นับว่านอนดึกหรือนอนไม่ดึก

 

แต่จะนับชั่วโมงการนอนว่าพอดีหรือไม่พอดีกับร่างกายของเรา จะทำให้เราเข้าใจ Lifestyle ของตัวเองและนอนอย่างมีประสิทธิภาพ ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Related Posts