อยากอยู่เฉยๆ

ไม่อยากทำอะไร อยากนอนเฉย ๆ พูดคุยในมุมจิตวิทยา

เรื่องAdminAlljitblog

ไม่อยากทำอะไร ” อยากนอนเฉย ๆ ” จะลุกไปทำอะไรก็ดึงตัวเองออกจากที่นอนได้ยากทุกที นี่เรา “ขี้เซา” หรือ “ขี้เกียจ” กันนะ?

 

 

ไม่อยากทำอะไร อยากนอนเฉย ๆ 

อยากนอนเฉย ๆ ผิดไหม?

จะบอกว่าถูกผิด คิดว่าสิ่งสำคัญไม่ใช่แค่หลักเกณฑ์ในการตัดสิน ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของคนทำด้วย เช่น ทำงานมา 6 วันแล้ว อยากนอนสัก 1 วันเต็ม ๆ คงไม่ผิด แต่มีคนอีกส่วนหนึ่ง

 

ที่ทำแบบนี้แล้วรู้สึกแย่และรู้สึกผิดกับตัวเอง ก่อนที่จะมองว่าอะไรถูกหรืออะไรผิด ลองถามตัวเองดูก่อนว่า เราโอเคไหม? ถ้าเราโอเค เหตุผลฟังขึ้น เรารู้สึกรับได้ ก็ถือว่าโอเค แต่ถ้า

 

วันหนึ่งเรารู้สึกว่าไม่โอเค ก็คือไม่โอเค แต่ก็ต้องเตือนว่า ถ้านอนนานเกินไป นอนอย่างเดียวหลายวันติดต่อกัน จะต้องเริ่มระวังตัวแล้ว เพราะมี sign ของความผิดปกติเกิดขึ้น ในชีวิต

 

เป็นไปไม่ได้ที่เราจะทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว เราจะนอนอย่างเดียวไม่ได้ กินอย่างเดียวไม่ได้ เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ธรรมชาติสร้างให้มีหลาย Activity ในแต่ละวัน มากน้อย

 

แล้วแต่บุคคล แต่เราไม่สามารถทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวได้ เราถูกสร้างมาให้มี timing ในแต่ละช่วงที่แตกต่างกันไป ถ้าถามว่าถ้าอยากนอนเฉย ๆ เชื่อมโยงไปถึงอะไร

 

บางทีเราอาจจะมีภาวะซึมเศร้าโดยที่เราไม่รู้ตัว เราเลยอยากนอนอย่างเดียว เฉย ๆ เฉื่อย ๆ แต่จะมีดีกรีด้วย บางทีอาจจะอยากแต่ยังไม่ทำ แต่ถ้าทำไปแล้ว อาจจะมี sign ของความ

 

รุนแรงบางอย่างเกิดขึ้นได้ บางคนนอนจ้องเพดานเฉย ๆ อันนี้อาจจะเป็นข้อพิจารณาว่าอันตราย ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่เราใช้ชีวิตด้วย หรือบางทีอาจจะมีสภาวะหมดไฟอยู่ อยู่ในภาวะ

 

เฉื่อยฉา ไม่ค่อยอยากจะไปทำอะไร แต่การจะรู้เรื่องพวกนี้ได้ ต้องเข้าพบนักวิชาชีพ ตรวจสอบเรียบร้อย และถ้าเราเห็นว่าสิ่งที่เป็นกระทบกับชีวิตประจำวัน ต้องขอความช่วยเหลือ

 

 

ขี้เซา และ ขี้เกียจ แตกต่างกันอย่างไร?

ขี้เกียจคือสภาวะที่เราไม่อยากทำอะไร แต่เราอาจจะไม่ได้ง่วง ขี้เซาอาจจะเป็นสภาวะของคนที่นอนไม่พอ คนที่ต้องการเวลานอนมากขึ้นก็ได้

 

หรืออาจจะ combination นอกจากนอนไม่พอ ยังขี้เกียจจะทำอะไรด้วย ก็อาจจะเป็นไปได้ แต่ถ้ามองภายนอก สองอย่างนี้จะดูคล้ายกัน

 

 

อยากนอนเฉย ๆ แล้วรู้สึกผิด เกิดจากอะไร?

ถ้าในยุคนี้ เหตุผลอย่างหนึ่งคือค่านิยมใหม่ ๆ ที่ทำให้เราต้องใช้ชีวิตแบบ Productive ตลอดเวลา ต้องใช้เวลาให้มีคุณภาพ ต้องมีประโยชน์ บางคนบอกว่า คุณนอนไป 6 ชั่วโมง

 

แต่ 6 ชั่วโมงของผมทำได้เป็นหมื่นเป็นแสนแล้วจากการเทรด คุณควรมาเรียนรู้ ซึ่งอะไรแบบนี้ทำให้คนรู้สึกแย่และรู้สึกผิด รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ใช้เวลาไม่เป็น ทั้งที่จริง ๆ แล้ว

 

การนอนเป็นสิทธิ์ของเขา บางคนทำงานมา 6 วันแล้ว วันนี้จะนอน อาจจะไม่ผิด โดยพื้นฐาน สังคมและเหตุปัจจัยภายนอกอาจจะมีผล เพราะมันสร้างค่านิยมใหม่ ๆ กดทับเรา

 

ไม่ค่อยอยากโฟกัสเรื่องบุคลิกภาพภายในมาก ในยุคนี้ ต่อให้บุคลิกภาพภายในเปราะบางหรือไม่มั่นคง แต่ถ้าเรามีสิ่งแวดล้อมที่ดี สิ่งแวดล้อมนั้นจะสามารถเอื้อไปหาสิ่งที่ดีได้

 

 

อยากนอนเฉย ๆ แต่ยิ่งนอนยิ่งอารมณ์ดิ่งลง รับมืออย่างไร?

ถ้าเป็นกรณีนี้ อันดับแรกควรพบหมอก่อน มีข้อถกเถียงหนึ่งคือ ยาต้านเศร้าช่วยผู้ป่วยได้จริงไหม? ทุกวันนี้มีงานวิจัยผลิตออกมาเรื่อย ๆ แต่จากประสบการณ์ ถ้าหมอที่จ่ายยา

 

เข้าใจเรา เข้าใจบุคลิกเรา เข้าใจตัวโรค ถ้าหมอจ่ายยาแบบรู้ลิมิต รู้ปริมาณ ที่ควรให้ แค่มี 2 อย่างนี้ บวกกับความอดทนที่จะให้ยาปรับตัวกับเรา ยาจะช่วยเราได้ แน่นอนว่ายา

 

ไม่ได้ช่วยผู้ป่วยได้ทุกคน แต่ถ้าในกรณีที่ว่ายิ่งนอนยิ่งดิ่งลง เกิน 50% เป็นเคสที่ต้องพึ่งยา เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ยังไม่มีข้อสรุปว่าในขณะที่ซึมเศร้า สารสื่อประสาทเกิด

 

ขึ้นอย่างผิดปกติก่อนจริงไหม? หรือว่าพอเป็นซึมเศร้า สารสื่อประสาทถึงผิดปกติตามมา? เราไม่สามารถตรวจสอบได้แบบเรียลไทม์ขนาดนั้น โดยมุมมองแล้ว ยังไม่ได้เชื่อฝังใจ

 

แต่ยอมรับในเคสของการจ่ายยา พอสารสื่อประสาททำงานผิดปกติ ฟังก์ชันของสมองจะเสียไป ทำให้เคสไม่สามารถพูดคุยและใช้ Critical Thinking และตกตะกอนได้ชัดเจน

 

เกิน 50% พอได้ทานยา อาการจะบรรเทาลง บางคนอาจจะดูเหมือนปกติในช่วงแรก แล้วจะกลับมาเจอปัญหาจากบุคลิกภาพของตัวเอง หรือบางคนอาจจะไม่ได้หาย แต่มันจะ

 

ค่อย ๆ เบาลง และคุณจะควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น เพราะงั้นคุณต้องเจอหมอก่อน หมอที่เข้าใจคุณ เข้าใจอาการป่วยคุณ หมอที่รู้ว่าควรใช้ยาแบบไหนกับคุณ ชีวิตคุณจะค่อย ๆ ดีขึ้น

 

กลับมาที่การนอน ถามว่าทำไมต้องพูดถึงยา? เพราะว่าคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ การที่จะไปบอกว่าคุณทำแบบนี้แล้วจะดึงตัวเองขึ้นมาได้เป็นเรื่องเพ้อฝันสำหรับพวกเขา เพราะมัน

 

พูดได้แต่มันทำไม่ได้ ต่อให้รู้ทุกอย่าง เพราะมันมีทั้งอาการของตัวโรคที่รุนแรงขึ้น ตัวบุคลิกภาพที่โดนกดทับจากตัวโรค และสารสื่อประสาทที่ทำงานแบบไม่สมดุล ทำให้ฟังก์ชัน

 

ของสมองแปรปรวน ร่างกายจะมีปัญหาไปด้วย บางทีที่เรานอนเยอะ ๆ ลุกไม่ได้ อาจจะไม่ใช่เพราะขี้เซาหรือขี้เกียจ แต่เป็นเพราะมีความผิดปกติทางสมอง เริ่มต้นพบหมอจึงดีที่สุด

 

ถ้าเรารู้สึกว่าไปเจอหมอคนนี้แล้วไม่โอเค ไม่ต้องคิดว่าเปลี่ยนหมอได้ไหม เปลี่ยนหมอแล้วผิดไหม จริง ๆ ไม่โอเคก็เปลี่ยน เพราะนักจิตวิทยาแต่ละคนเก่งคนละแบบ ชำนาญต่างกัน

 

อยากนอนเฉย ๆ ดีไหม? การนอนแบบไหน ดีที่สุด?

ต้องบอกว่า แค่นอนได้ก็ดีแล้ว เพราะเราไม่สามารถมี deep sleep ได้ทุกวัน ในการใช้ชีวิตของคนเรา ฟังก์ชันทางจิตใจทำงานอยู่ตลอด ถ้าตามหลักจิตวิเคราะห์ ความฝันคือสิ่งที่

 

เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้เรานอนหลับต่อได้ ถ้าไม่มีความฝัน สิ่งที่ซ่อนอยู่ใน unconscious อาจจะโผล่ขึ้นมาใน conscious แล้วคุณอาจจะนอนไม่หลับเลย ซึ่งจะเจอได้ในผู้ป่วยกลุ่ม

 

schizophrenia แม้ว่าจะเป็นองค์ความรู้พื้นฐานเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว หรืออาจจะมีความรู้ใหม่ ๆ แต่ส่วนตัวยังมองว่า ถึงจะมีความฝันบ้างก็ไม่เป็นไร สำคัญคือว่าตอนคุณนอนหลับ

 

คุณหลับเพียงพอไหม? คุณหลับแล้วตื่นมาสดชื่นไหม? คุณหลับเป็นเวลาไหม? ตอนอยากหลับคุณหลับได้ไหม? ขอแค่นี้พอแล้ว ให้ได้ 3 ใน 4 หรือพัฒนาจนเป็น 4/4 คือโอเค

 

ไม่ต้องสนใจ deep sleep หรือว่าหลับแล้วฝัน อันนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ขอให้หลับให้ได้ก่อน แล้วถ้าเกิดอยากปรับให้เกิด deep sleep มันก็สามารถปรับให้เกิดขึ้นได้ในภายหลัง

 

 

วิธีนอนหลับให้ง่ายขึ้น ทำอย่างไร? 

สิ่งสำคัญเลยคือการจัดสรรเวลา อีกอย่างระบบไหลเวียนเลือดเป็นสิ่งสำคัญ น้ำสำคัญที่สุดเป็นอันดับแรก ต้องดื่มให้ครบปริมาณ อันดับที่สอง กิจกรรมในแต่ละวัน ถ้าต้องเป็นรูทีน

 

หรือถ้าต้องเซ็ท ต้องเซ็ทให้ดี คุณต้องตั้งเป้าว่า จะนอนกี่โมง? จะนอนกี่ชั่วโมง? ต้องรู้ว่าคุณจะต้องตื่นนอนกี่โมง? บางทีถ้าเรามีอะไรทำเยอะ เราจะนอนไม่เป็นเวลา ดังนั้นเราต้อง

 

ดื่มน้ำให้ได้เยอะ ๆ เพราะน้ำเป็นพื้นฐานของร่างกาย แล้วก็กำหนดช่วงเวลานอน ช่วงเวลาตื่นนอนให้ชัดเจน มีระเบียบวินัยกับตัวเอง ถ้าถึงเวลานอน ต้องนอน ไม่ต้องเล่นมือถือ

 

สิ่งสำคัญคือ กิจกรรมก่อนนอน กิจกรรมต้องผ่อนคลาย ไม่ฟุ้งซ่าน หลักสำคัญเลยคือ 2 ชั่วโมงก่อนนอน ต้องเป็นกิจกรรมที่เบามาก ๆ ไม่กระตุ้น ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า เพราะว่า

 

นิโคตินกับแอลกอฮอล์จะกระตุ้นการตื่นตัวของสมองได้ ถ้ามีเวลาควรออกกำลังกายบ้าง ทำอะไรที่แอคทีฟบ้าง เพราะพออ่อนเพลียจะหลับ ร่างกายจะสมดุล บางทีเรานั่งทำงาน

 

เยอะจนปวดหลัง ปวดคอจนนอนไม่หลับ แต่ถ้าร่างกายได้ขยับ กล้ามเนื้อ ท่วงท่า จะไม่ได้ล็อคอยู่ท่าเดียว ได้ขยับ ได้ใช้งาน ร่างกายจะอยู่ในสภาวะที่ปกติ พร้อมทำงาน พร้อมนอน

 

อีกวิธีหนึ่งคือ ให้ลองหาถังมาใส่น้ำร้อน อาจจะผสมให้อุ่นก็ได้ ใส่เกลือ 1 ถึง 2 ช้อนโต๊ะ เพื่อแช่เท้า ปรับระบบไหลเวียนเลือด หายปวดหลัง ปวดขา ถ้าใส่เกลือจะหลับได้ง่ายขึ้น

 

 

ในวันที่เหนื่อยล้า อยากจะนอนเฉย ๆ บ้าง ไม่ใช่เรื่องผิด 🙂