อยากหายไป

คุณเคยมีความรู้สึก ‘ อยากหายไป ‘ ไหม? ความคิดนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

เรื่องAdminAlljitblog

เวลาที่ใครหลายๆคนพูดว่า อยากหายไป คำพุดเหล่านี้อาจจะไม่ได้เป็นจุดเริ่มต้นของการทำร้ายตัวเอง หรือการคิดฆ่าตัวตาย แต่นั่นอาจจะหมายความถึงว่าตัวเขาเองเหนื่อยที่จะเผชิญกับเรื่องราว หรือปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นแล้ว

 

บทความนี้ Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพใจ  

สาเหตุของความคิด อยากหายไป

1. ไม่อยากเผชิญกับปัญหา

เวลาที่ใครหลาย ๆ คนพูดว่า “อยากหายไป” คำพูดเหล่านี้อาจจะไม่ได้เป็นจุดเริ่มต้นของการทำร้ายตัวเองหรือการคิดฆ่าตัวตาย แต่อาจจะเกิดจากการที่เรารู้สึกว่า “ไม่อยากจะเผชิญกับปัญหา”

 

เพราะเจอกับปัญหารุมเร้า ความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเรียน ปัญหาการใช้ชีวิต ปัญหาการทำงาน พอมองไปทางไหนก็เจอแต่ปัญหา ความคิดที่อยากจะหายไปเพื่อหนีปัญหา หนีคนรอบข้าง ก็มักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง 

2. ความเหนื่อยล้า

บางทีอาจจะเกิดจากความเหนื่อยล้าด้วยส่วนหนึ่ง พอเราเจอปัญหาเยอะ ๆ แล้วเราไม่สามารถควบคุม ไม่สามารถจัดการกับปัญหาที่อยู่ตรงหน้าได้ ความรู้สึกอยากจะหนีหายไปก็จะวิ่งเข้ามาได้เหมือนกัน เพราะรู้สึกเหนื่อยมาก ๆ อยากจะลองหายไป

 

เวลาความคิดแบบนี้วิ่งเข้ามา ก็อาจจะเกิดจากการที่ ณ ตอนนั้นเราเครียด เรามีปัญหาที่เรายังไม่สามารถจัดการได้ เราเลยเลือกใช้วิธีการหนีจะได้ไม่ต้องออกมาเผชิญกับปัญหาที่ต้องเจอ

เมื่อมีความคิดนี้เกิดขึ้นเราควรทำอย่างไรดี ?

1. เรียนรู้การตั้งเป้าหมายในชีวิต

เริ่มต้นฝึกที่จะเรียนรู้ในการตั้งเป้าหมายกับตัวเองในการใช้ชีวิตก่อน เพราะจริง ๆ ความคิดที่ว่าเราอยากจะหายไป มันเกิดจากปัญหารุมเร้า บางทีเราอาจจะต้องมาตั้งเป้ากับตัวเองก่อนว่า “เราจะต้องใช้ชีวิตไปในรูปแบบไหน”

 

พอเราตั้งเป้าหมายกับชีวิตเราได้ เราจะเริ่มมีแรงจูงใจในการอยากจะมีชีวิตอยู่มากขึ้น มันคือสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เช่น บางคนอาจจะรู้สึกว่ามีชีวิตอยู่เพื่อจะต้องทำงานดูแลพ่อแม่จะได้สุขสบาย

 

บางคนอาจจะรู้สึกว่ายังคงใช้ชีวิตยังคงทำงานหนักตรงนี้เพื่อที่จะได้มีเงิน จะได้เป็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต บางคนอาจจะมีลูกเป็นแรงขับเคลื่อน

2. จัดการกับปัญหา

ลองจัดการกับปัญหาของตัวเราเอง ที่มันรุมเรามันเข้ามาเยอะมาก ๆ จนเป็นมรสุมชีวิต ค่อย ๆ เอาออกมาทีละอย่าง แล้วจัดการไปทีละอย่าง เวลาเราพูดถึงการจัดการปัญหา เราจะไม่ได้ลงมือพร้อมกันทีเดียว

 

เริ่มจากสิ่งที่เรารู้สึกว่า เราจัดการกับมันได้และรับมือกับมันได้ดีที่สุด ปัญหาจาก 10 อาจจะค่อยๆลดลงไป 9 8 7 มันไม่ได้แปลว่ามันจะไม่เพิ่มขึ้นอีก แต่อย่างน้อยเรารู้ไว้ว่าเราได้ลงมือทำแล้ว เพื่อให้ปัญหาเหล่านั้นมันค่อย ๆ เบาบางลง 

3. หา Safety Plan

ลองฝึกหา Safety Plan ของตัวเองหรือหาปัจจัยที่จะมาปกป้องการวางแผนการมีความคิดด้านลบของตัวเอง 

-ทำความเข้าใจว่าสถานการณ์อะไรที่เข้าไปกระตุ้นทำใความคิดอยากหายไป

-สังเกตตัวเองว่าเวลาที่ความคิดเหล่านี้เกิดขึ้น มันมีสัญญาณเตือนอะไรมาบอกแล้วก่อนหรือเปล่า

-ไม่ปล่อยให้ตัวเองจมอยู่กับความคิดเหล่านั้น

-หา Safe Zone/Comfort Zone ให้ตัวเอง

อาจจะเป็นบุคคลที่เรารัก ไว้ใจ ที่เวลาเรานึกถึงเขาเเล้วเรารู้สึกอยากมีชีวิตอยู่ต่อ เขาเป็นเหมือนแรงขับเคลื่อนให้กับเราได้ หรืออาจจะเป็นสถานที่ที่เราชอบ ที่อยู่แล้วเรารู้สึกว่าการเป็นตัวเรามันดีจังเลย อยู่แล้วรู้สึกเหมือนได้ชาร์จพลังงานให้กับตัวเอง

Related Posts