Ocean Waves

Ocean Waves เรื่องราว ‘ความรัก’ เรียบง่าย แต่ลึกซึ้ง

เรื่องAdminAlljitblog

ถ้าพูดถึงสตูดิโอของค่าย Ghibl ทุกคนคงรู้สึกว่าคุ้นเคยใช่ไหมคะ? เพราาะ Ghibl ได้สร้างสรรค์แอนิเมชั่นดี ๆ มาหลายเรื่องมาก ๆ เลย

 

ไม่ว่าจะเป็น Spirited Away มิติวิญญาณมหัศจรรย์ เรื่องราวของเด็กสาวที่เข้าไปในอีกมิติที่เต็มไปด้วยภูตผีวิญญาณ

 

Alljit ร่วมกับ มิ้น พนิดา มิตรวงษา จะมาแนะนำ รีวิว วิเคราะห์ ชวนทุกคนพูดคุยเกี่ยวกับ เรื่อง Ocean Waves เรื่องราวความรัก ที่เรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง

Ocean Waves : เรื่องราวความรัก ที่เรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง

แตกต่างจากผลงานเรื่องอื่น ๆ มากของค่าย Ghibl แอนิเมชั่นเรื่อง Ocean Waves รักครั้งหนึ่ง คิดถึงตลอดไป แอนิเมชั่น 2 มิติ ที่ออกฉายทางโทรทัศน์ในปี 1993 กำกับโดย โทโมมิ โมจิซึกิ

 

ซึ่งดัดแปลงจากนวนิยาย I can hear the sea ของซาเอโกะ ฮิมุโระ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ความรักที่เกิดขึ้นไม่ได้สวยงามชวนฝัน ระหว่างทางมีทั้งเรื่องดีและเรื่องไม่ดี 

 

ในแอนิเมชั่นเรื่อง Ocean waves เรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นในเมืองโคจิเกาะชิโกกุ ประเทศญี่ปุ่น เนื้อเรื่องเน้นไปที่รักสามเส้าของหนุ่มสาว

 

ระหว่างเด็กหนุ่ม 2 คนที่เป็นเพื่อนสนิทกัน และเด็กสาวที่ย้ายมาจากโตเกียว แต่พอดูไป ถึงเรื่องนี้จะเป็นแอนิเมชั่นต้นทุนน้อย

 

แต่คุณภาพไม่ได้น้อยตามเลย Ocean waves สอดแทรกประเด็นอื่น ๆ ไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาของวัยรุ่นที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ปัญหาครอบครัว และค่านิยมบางอย่างในสังคม

Ocean Waves : ตัวละคร

ทาคุ เด็กหนุ่มคนแรก เด็กหนุ่มซื่อ ๆ คนหนึ่ง ตรงไปตรงมา รักเพื่อนสนิท 

คอยช่วยเหลือ ริคาโกะ เพราะตนเองหลงรักริคาโกะ แต่ตลอดเวลาที่ได้ใช้เวลาร่วมกัน ทาคุไม่เคยแสดงออกให้รู้เลยว่ารัก

 

ซึ่งทาคุเองน่าจะไม่รู้ตัวเหมือนกัน ว่าเผลอรักริคาโกะตอนไหน ฉากที่ทาคุกับริคาโกะทะเลาะกัน ริคาโกะโกรธแล้วตบหน้าทาคุ สิ่งที่ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นคือทาคุตบคาโกะกลับ

 

เป็นภาพที่เห็นแล้วชวนช็อคอยู่เหมือนกัน มีความคิดแว้บเข้ามาตีกันในหัว แว้บแรกคิดว่าผู้ชายไม่ควรทำร้ายผู้หญิง แว้บที่สองคิดว่าแต่ในยุคปัจจุบันที่รณรงค์เรื่องความเท่าเทียมกัน

 

สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะผู้ชายหรือผู้หญิง ไม่มีใครสมควรได้รับความรุนแรงทั้งนั้น

ริคาโกะ เด็กสาวที่ย้ายมาจากโตเกี่ยวเพราะพ่อแม่หย่าร้างกัน

เป็นตัวของตัวเอง เชื่อในความคิดความรู้สึกตนเอง โดดเด่นในทุกด้าน รูปร่างหน้าตาดี ผลการเรียนติดอันดับต้น ๆ มีความสามารถด้านกีฬา

 

เอาชนะหัวหน้าชมรมที่โรงเรียน ตัวละครนี้เป็นตัวละครที่น่าเห็นใจมาก ๆ เพราะถึงแม้จะมีดีตั้งหลายอย่าง ความดีที่ตนเองมีเป็นดาบสองคม

 

กลายเป็นว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกคนต่างพากันอิจฉา ไม่ชอบ ไม่อยากคบ แต่มีปัญหาเรื่องการปรับตัว ริคาโกะมีเพื่อนเพียงคนเดียวตลอดระยะเวลาที่เรียนที่นี่

 

ตอนริคาโกะกับทาคุเดินทางไปโตเกียวด้วยกัน มีฉากนึงที่ริคาโกะไปเจอกับเพื่อนเก่าที่เคยคบกันแล้วเรียกให้ทาคุไปหาเพราะอยากอวด

 

แต่ทาคุนั่งฟังทั้งสองคนคุยกันได้สักพัก ทนไม่ไหว ตะโกนขึ้นมาว่า ทั้งสองคนน่าเบื่อ แล้วลุกเดินออกจากร้านไปเลย เพราะไม่เข้าใจว่าทำไมริคาโกะจะต้องแสดงละคร ประจบประแจงคนที่ตนเองไม่ชอบด้วย

 

ซึ่งพอกลับมาที่ห้อง ริคาโกะบอกว่า ตนเองน่าเบื่อจริง ๆ สิ่งที่ตนเองทำตอนนั้นไร้สาระมาก เป็นฉากที่รู้สึกว่าตัวละครนี้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นอีกขั้น

 

เพื่อทำให้คนที่ตัวเองไม่ชอบประทับใจ อาจจะไม่ได้ตรงกับบริบทที่เกิดขึ้นในแอนิเมชั่นนี้ทุกคำพูด

 

การพยายามเข้าสังคมจนเกินไปทั้งที่ไม่ได้ต้องการ อาจไม่ได้ส่งผลดี และทำให้เรามีความสุข เพราะถึงแม้ไม่ได้รับการยอมรับจากคนทั้งโลก

 

แต่ได้อยู่ท่ามกลางคนไม่กี่คนที่รักและหวังดีกับเราจริงๆ อาจจะเป็นสิ่งที่ดีเหมือนกัน

อีกตัวละครสำคัญคือ ยูทากะ เด็กหนุ่มเพื่อนสนิทของทาคุ

เด็กหนุ่มที่มีความเป็นผู้ใหญ่สูง มีบุคลิกที่ดูจริงจัง สุขุม นึกถึงอนาคตในอีก 10 ปี 20 ปี ข้างหน้า ของตนเองตั้งแต่ตอนเรียนมัธยมต้น จิตใจดี หลงรักริคาโกะตั้งแต่แรกเจอ

 

จึงคอยดูแลช่วยเหลือ และเป็นเพื่อนให้กับริคาโกะที่ยังปรับตัวกับเพื่อน ๆ และสถานที่ใหม่ ๆ ไม่ได้ แต่สุดท้าย

 

ในวันที่ตัดสินใจสารภาพรัก ดันโดนปฏิเสธด้วยถ้อยคำแรง ๆ ถึงจะโดนกระทำขนาดนั้นแล้ว แต่ยูทากะมั่นคงในความรู้สึกของตนเองมาก

 

ฉากที่ริคาโกะโดนเพื่อนร่วมห้องทำร้ายแล้วทาคุแอบดูอยู่ไม่เข้าไปช่วย พอยูทากะรู้เลยต่อยทาคุไป 1 ที ผู้หญิงทำกับตัวเองขนาดนั้นแล้ว แทนที่จะโกรธ เกลียด แต่สุดท้ายยังเป็นห่วง 

จุดที่น่าสนใจของทั้ง 3 ตัวละครนี้คือ ทุกคนมี “ความกล้า” กล้าที่จะแสดงตัวตนและความคิดเห็นที่แตกต่าง

 

ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำยากในสังคมญี่ปุ่น มี 2 ฉากที่อยากพูดถึงคือ ช่วงที่ทาคุนึกถึงตอนที่ตนเองได้รู้จักกับยูทากะเพื่อนสนิท

 

เรื่องราวเกิดขึ้นตอนที่ทั้ง 2 เรียนอยู่ชั้นมัธยมต้น ทั้ง 2 อยู่คนละห้อง จึงไม่เคยได้คุยได้ทำความรู้จักกัน แต่วันหนึ่งทางโรงเรียนประกาศว่า ทัศนศึกษาที่ปกติจัดทุกปีถูกยกเลิกอย่างไม่สมเหตุสมผล

 

ในตอนนั้นไม่มีนักเรียนคนไหนพอใจ แต่ไม่มีใครกล้าประท้วง ยกเว้นทาคุและยูทากะ ตอนที่คุณครูถามว่าหากใครไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกนี้ให้ยกมือขึ้น

 

แล้วจะจัดการประชุมเพื่ออธิบายถึงเหตุผล ยูทากะยกมืออย่างมั่นใจ จนเพื่อน ๆ ที่เห็นต่างพากันประหลาดใจ ซุบซิบกัน ในขณะที่ทาคุท่าทีเหมือนต้องรวบรวมพลังและยกมือขึ้น หลับตาปี๋

 

แต่ในช่วงเย็นที่มีการนัดหมาย เพื่อพูดคุยกันเรื่องมตินี้ พอทั้งสองเข้าไปในห้องที่จะมีการประชุม ห้องกลับว่างเปล่า ไม่มีคุณครูคนไหนอยู่ มีเพียงกระดาษ 2 แผ่นที่ให้ทาคุกับยูทากะเขียนความคิดเห็น

 

หมายความว่า ทางโรงเรียนไม่ได้สนใจ เอาใจใส่ หรือตั้งใจที่จะอธิบาย และให้ทั้งสองคนได้มีโอกาสเรียกร้องอะไรทั้งสิ้น ผู้ใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเด็ก

 

นึกถึงหนังสือเรื่อง The nerd of Microsoft ที่เขียนโดย คุณโสภณ ศุภมั่งมีป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคนไทยที่ได้มีโอกาสไปทำงานในบริษัท Microsoft

 

หลังจากผ่านมรสุมการเรียนและการสัมภาษณ์จนได้เข้าไปทำงานในบริษัทจริง ๆ

 

คุณโสภณเล่าเกี่ยวกับวัฒนธรรมการทำงานของบริษัทไว้ว่า ทุกปีจะมี Yearly Review ที่แบ่งออกเป็น Pier-to-pier เพื่อนร่วมงานรีวิวกันเอง, Top-down หัวหน้ารีวิวลูกน้อง และที่น่าสนใจมากคือ การรีวิวแบบ Bottom-up

 

การรีวิวแบบ Bottom-up มันคือการให้ลูกน้องรีวิวหัวหน้า ซึ่งระบบ Bottom-up ด้วยสภาพสังคมแล้ว น่าจะหาได้ยากในประเทศไทย แต่จากที่คุณโสภณเล่า

 

ระบบนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าคุณจะมีอายุมากกว่า ประสบการณ์มากกว่าแล้วจะถูกเสมอ

 

ทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็นต่อกันและกัน และความคิดเห็นของทุกคนถูกให้ความสำคัญและมีผลต่อการตัดสินใจอะไรร่วมกัน

 

อีกอย่างที่ประทับใจคือ บิล เกตส์เคยพูดไว้ว่า เพราะทรัพยากรที่ทรงคุณค่าที่สุดของ Microsoft ไม่ใช่เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย แต่เป็นพนักงานทุกคนที่ขับเคลื่อนบริษัทให้เดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง

 

และอาจใหญ่ไปถึงการพัฒนาสังคม ของคนต่างรุ่นต่างวัยในยุคนี้น่าจะเป็นไปได้ราบรื่นขึ้น ผู้ใหญ่อาจมีประสบการณ์และเด็กอาจมีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ

 

พอเอามาผสมผสานกัน น่าจะให้ผลดีกว่าการให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตัดสิน

เรื่องที่ริคาโกะไม่ยอมทำกิจกรรมของโรงเรียนร่วมกับเพื่อน สังคมญี่ปุ่นค่อนข้าง Conservative ไม่ยอมรับอะไรที่ผิดแปลกไปจากวิถีเดิม ๆ ที่เคยยึดถือปฏิบัติ

 

การที่ริคาโกะไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่ทำกันมารุ่นต่อรุ่นจึงถูกหาว่าแตกกลุ่ม ไม่สามัคคี ถึงขั้นทะเลาะวิวาทกันจนเกือบโดนทำร้ายจากเพื่อนร่วมห้อง

 

ไม่ว่าจะเป็น มารยาท การปฏิบัติตัว ต่างมีระบบระเบียบและกฏเกณฑ์ เหตุผลที่ตั้งสิ่งนี้ขึ้นมา

 

แน่นอนว่าจุดประสงค์หลักนั้นดีอยู่แล้ว ช่วยลดความขัดแย้งระหว่างกันในสังคมได้ แต่ในอีกหลาย ๆ แง่ คิดว่ามันสร้างความอึดอัดและความเครียดได้เหมือนกัน

 

ซึ่งความอึดอัดและความเครียดนั้น มีฉากหนึ่ง เพื่อนร่วมชั้นพูดกับริคาโกะว่า “มัวแต่สนใจตัวเอง ไม่เคยสนใจคนรอบข้างเลย” ริคาโกะตอบกลับไปว่า “แล้วทำไมถึงจะสนใจตัวเองไม่ได้ คนรอบข้างเคยสนใจฉันมั้ย” 

 

ทำให้คิดว่า ด้วยความที่สังคมญี่ปุ่นมีวัฒนธรรม ที่ให้ความสำคัญกับส่วนรวม จนต้องละเลยตนเองไป อาจเป็นการสะท้อนสิ่งที่อยู่ภายในใจของคนบางส่วนในสังคมก็ได้

ชิมิสุ

เป็นเพื่อนชั้นเดียวกับทั้ง 3 คน ที่ถึงแม้จะเกลียดริคาโกะ แต่กลับคอยตักเตือนอยู่ตลอด เป็นเหมือนตัวละครลับที่เข้ามามีส่วนร่วมในการเติบโตของริคาโกะเหมือนในชีวิตจริงที่คนหวังดีอาจไม่ได้ชอบเรา

 

และคนที่แสดงออกเหมือนว่าชอบเรา อาจไม่ได้หวังดีกับเราเสมอไป ถ้อยคำตักเตือนที่อาจจะไม่ได้น่าฟังสักเท่าไหร่ ถ้าเปิดใจรับเข้ามาพิจารณาดู อาจจะทำให้ทุกคนได้พบเจอกับการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้

อยากเพิ่มเติมสักเล็กน้อยว่าเรื่องนี้มีการกระทำน่ารัก ๆ ที่สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นได้ดี เช่น การทิ้งระยะห่างของชายหญิง

 

ช่วงที่ริคาโกะและทาคุไปโตเกียวด้วยกัน ริคาโกะและทาคุต้องอยู่ในห้องเดียวกัน ซึ่งทาคุให้ริคาโกะนอนบนเตียงข้างนอก แล้วตนเองไปนอนในอ่างอาบน้ำ

 

เรื่องการใช้คำว่ารัก มีฉากหนึ่งที่ทาคุคิดนั่นคิดนี่กับตัวเองแล้วตามองไปที่วิวประสาทสวย ๆ ท่ามกลางดวงจันทร์ในตอนกลางคืน ทาคุคิดในใจว่า

 

“ประสาทโคจิเปิดไฟให้ส่องสว่างตลอดคืน ถ้ายืนดูคนเดียวคงรู้สึกว่าเปลืองไฟ แต่ฉันมั่นใจว่าถ้าฉันได้ยืนดูกับเธอ มันคงจะสวยน่าดู”

 

ไม่มีคำว่ารักหลุดออกมาเลย แต่ฟังแล้วคิดว่ามันโรแมนติกมาก นึกถึงบทความที่เคยอ่านเรื่อง การบอกรักของคนญี่ปุ่น

 

มันมีวลีฮิตคือ “พระจันทร์สวยดีนะ” เพราะคำว่าพระจันทร์กับคำว่ารักในภาษาญี่ปุ่นออกเสียงพ้องกัน บางทีความไม่โผงผาง ไม่ตรงไปตรงมาจนเกินไป 

ข้อคิด

การรักษาความสัมพันธ์ ถึงแม้ทาคุกับยูทากะจะทะเลาะกัน ทำให้ไม่ได้พูดคุยกันอีกเลยจนเรียนจบ หลังจากที่แยกย้ายกันไปใช้ชีวิตในวัยผู้ใหญ่แล้วกลับมาเจอกัน

 

ยูทากะขอโทษที่ต่อยทาคุและทาคุให้อภัย ในใจแอบรู้สึกว่า ง่ายไปไหมนะ แต่นึกถึงความเป็นจริง มันง่ายแค่นี้เองจริง ๆ การขอโทษ สำคัญนะ คำง่าย ๆ ที่พูดยาก

 

ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้เสมอในความสัมพันธ์ แต่สุดท้ายแล้ว ทิฐิ ศักดิ์ศรี และการเอาชนะ ไม่ได้สำคัญไปกว่า การมีกันและกันในชีวิต การถอยออกมาสักก้าว

 

แล้วตั้งใจมองสิ่งที่เกิดขึ้น อาจทำให้เห็นว่า เรื่องที่โกรธกันนั้น ไม่ได้ใหญ่และไม่ควรมามีอิทธิพลกับความสัมพันธ์เลย