“ คุณค่าของคุณไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณงานที่คุณทำ ” การตั้งใจทำงาน ขยันทำงานเป็นเรื่องที่ดีต่อองค์กรและดีต่อตัวเราจริงๆ (หรอ)? เมื่อ ความขยัน กำลังทำร้ายเราโดยที่เราไม่ทันตั้งตัว
วันนี้ Alljit Podcast กับรายการ Learn & Share อยากจะชวนทุกคนมาสำรวจกับภาวะ Toxic Productivity ให้เข้าใจในตัวเองและวิธีรับมือ . . .
ความขยัน ที่ไม่ได้ส่งผลดี
“ยุคที่ทำเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ” ในปัจจุบันเป็นเรามักจะเห็นได้บ่อยด้วยค่านิยม ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิต ที่แข่งขันสูง อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียสร้างช่องทางทำมาหากิน
ทำให้หนุ่มสาวที่ยังเรียนไม่จบเริ่มต้นเร็ว บางคนประสบความสำเร็จก่อนคนที่เรียนมหาลัยหรือคนที่ทำงานแล้ว
จนบางคนที่มีความสุขกับการที่อยู่กับที่ต้องแอคทีฟมากขึ้นจนทำร้ายตัวเองฝืนตัวเองจนไม่มีความสุข …
มีงานศึกษาวิจัยออกมายืนยันว่าการ WFH นั้นมีประโยชน์และสามารถช่วยเพิ่ม Productivity ของพนักงานได้ Productivity เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาการทำงาน เชื่อว่าทุกคนมี Productivity อยู่ในตัว
บางคนอาจจะมีน้อยบางคนก็มีมาก แต่อะไรที่มันมากเกินไปมันก็ไม่เกิดผลดี
ถ้ามันมีมากไปจนมันมาทำร้ายเรา จิตใต้สำนึกมันทำให้เรารู้สึกว่าเราต้องยุ่งตลอดเวลา ๆ มีงานเข้ามาในหัวทุกๆ 24 ชั่วโมง จนเราขาดการ work life balance ไป มันจะกลายเป็น oxic productivity
Toxic productivity หมายถึง ความต้องการที่จะใช้ชีวิตให้ productive อยู่ตลอดเวลาการพยายามทำอะไรให้เยอะเข้าไว้ทำงานทั้งวัน หลังเลิกงาน
บางคนเลือกที่จะออกกำลังกายต่อ เรียนคอร์สออนไลน์ต่อ หรือทำอะไรบางอย่างที่ต้องใช้แรงกายแรงสมองเกินที่จำเป็นต้องทำ
หรือเกินขีดจำกัดตัวเอง ไม่อนุญาตให้ตัวเองพักผ่อนเพราะกลัวจะต้องเจอกับความรู้สึกผิดความรู้สึกกังวลว่าตัวเองจะทำไม่มากพอทำไม่ดีพอ แล้วจะไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม จะกลายเป็นคนขี้แพ้ คนไร้ค่า
หากกำลังเป็นแบบนี้อยู่ ถือว่าเข้าข่าย toxic productivity
ผลกระทบของ Toxic productivity หนักหนากว่าที่คิดหากปล่อยให้เป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้น คือ ความรู้สึกเหนื่อยล้า เมื่อความเหนื่อยล้าถูกสะสมไว้เรื่อย ๆ Burn out syndrome หรือ ภาวะหมดไฟ อาจตามมา
ซึ่งเป็นภาวะเหนื่อยล้าทางกาย ทางใจ และทางอารมณ์ จากความเครียดที่มากและนานเกินไป
วิธีรับมือ ความขยัน ที่ไม่ส่งผลดี
1. ฝึกการใช้ Work-life balance
Work-life balance คือ การแบ่งเวลาให้ทั้งกับงานและชีวิตส่วนตัว การกำหนดไว้อย่างชัดเจนเลยว่า วันไหน ทำอะไร แบบละเอียด เอาแบบที่คิดว่าเหมาะกับตัวของเราเอง Highlight ของ Work-life balance
คือ เมื่ออยู่ในเวลาพัก จะต้องพักจริง ๆ เวลาที่เผลอคิดหรือกังวลเรื่องงาน
ต้องพยายามรู้ทันความคิดและความรู้สึกตัวเอง แค่รู้ทันบางครั้งความคิดและความกังวลตรงนั้นจะหายไปเลย แต่ถ้าไม่หายไปเลยต้องเตือนตัวเองค่ะว่า “ตอนนี้อยู่ในเวลาพักนะ” เพื่อให้กลับมาอยู่กับหนังที่เราดู กิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจที่เราทำ
2. Self-talk/Self care
Self-talk เป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรละเลย เพราะ Self-talk เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นทุกข์จาก toxic productivity Self-talk คือการคุยกับตัวเองเสียงที่อยู่ในหัว
ลองสำรวจตัวเองดูว่า พอไม่ทำงานเท่าที่คิดว่าต้องทำ ไม่ productive เท่าที่คิดว่าควรเป็น ได้ตำหนิตัวเองหรือเปล่า?
แค่คำว่า “ทำไม” ขึ้นต้นประโยคที่คุยกับตัวเองอย่าง. . . ทำไมถึงไม่เอาไหนเลยนะ? ทำไมถึงไม่ขยันเหมือนคนอื่นเลยนะ? ทำร้ายตัวเราเองได้มากกว่าที่คิด
การด่าการว่าตัวเองมีการศึกษาทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ self-talk มากมายที่พบว่า self-talk มีผลต่อ performance หรือ การทำสิ่งต่าง
การชื่นชมตัวเองเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ การชื่นชมตัวเองเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีความมั่นใจในตัวเอง เห็นคุณค่าของตัวเองมากขึ้นด้วยนอกจากการ Self-talk เราต้องอย่าลืม Self care ด้วย
อย่าทำงานหนักจนลืมที่จะทานอาหาร พักผ่อน หรือบำรุงอะไรดี ๆ ให้กับร่างกาย ในช่วงเวลาที่เราเร่งรีบและยุ่งนอกจากจะเกี่ยวกับสภาพจิตใจของเราแล้ว สุขภาพกายก็สำคัญมาก ๆ เลย
3. เราชอบเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นหรือเปล่า?
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในยุคปัจจุบัน คงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่เห็นชีวิตคนอื่น. . . อย่างแรก คือ สำรวจตัวเอง ให้มั่นใจว่าเราต้องการอะไร เราต้องการใช้ชีวิตแบบไหน แล้วโฟกัสกับชีวิตตัวเองพอ
เพราะทุกคนมีจังหวะการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน มีเงื่อนไขและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน
Post Views:
60