PTSD

ทำความรู้จักกับ PTSD และ PTG การก้าวผ่านเหตุการณ์เลวร้ายได้อย่างสวยงาม

เรื่องAdminAlljitblog

เวลาที่เราเจอเรื่องร้ายๆหรือผ่านเหตุการณ์สะเทือนใจมา เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะเกิดความกลัวและขวัญเสียในช่วงเวลานั้นๆ หรือนึกถึงภาพเหตุการณ์นั้นบ่อยๆ แต่ถ้ามันเกิดอาการแบบนี้กับตัวเรามากขึ้นหรือนานเกินไปอาจจะไม่ได้ส่งผลดี และอาจจะนำไปสู่ภาวะ PTSD

ธรรมชาติของมนุษย์เรา เมื่อเจอกับเหตุการณ์เลวร้าย จะมีปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยความรู้สึกเศร้า เสียใจ เป็นความรู้สึกปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 2 แบบคือ การก้าวผ่านมันไปได้ กับ ไม่สามารถก้าวผ่านมันไปได้

 

วันนี้จะมาทำความรู้จักกันใน 2 เรื่องคือ PTSD (Post – Traumatic Stress Disorder) และ PTG (Post – Traumatic Growth)

 

PTSD (Post-traumatic Stress Disorder)

สารบัญ

คือ ความเครียดหลังจากเจอเหตุการณ์ที่สะเทือนใจ

 

Trauma VS PTSD

Trauma = บาดแผล ในเชิงจิตวิทยา Trauma นี้หมายถึง ความรู้สึกตกใจหรือสั่นสะเทือนขวัญที่ส่งผลต่อจิตใจเป็นระยะเวลานาน

 

Post-traumatic Stress Disorder = บาดแผลในใจเรื้อรัง จะเกิดขึ้นเมื่อเจอกับเหตุการณ์รุนแรงที่ส่งกระทบต่อชีวิตหรือก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บอย่างรุนแรงหรือเกิดจากความกดดันที่รุนแรง อาการเด่นๆคือ

1.ความกลัว (Fear)

2.ความรู้สึกหมดหวัง (Helplessness)

3.ความหวาดกลัว (Horor)

 

ซึ่งในช่วง 3 เดือนแรกจะเรียกว่า Trauma

หลังจากนั้นจะเรียกว่า PTSD 

 

 

PTSD มี 2 รูปแบบ

รูปแบบที่ 1 เรียกว่า Single Truama

คือ การเผชิญกับเหตุการณหนึ่งเหตุการณที่มีความรุนแรงเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทันได้ตั้งตัว

 

จนอาจทําให้เกิดการบาดเจ็บสาหัสหรือรุนแรงอันตรายถึงชีวิต ทําให้เกิดความสะเทือนใจ ความหวาดกลัว

 

รูปแบบที่ 2 เรียกว่า Complex Trauma

คือ การเผชิญกับเหตุการณ์ที่มีความรุนแรงหลายเหตุการณที่มีความรุนแรงอันตรายถึงชีวิต หรือทําให้เกิดความสะเทือนใจแบบตอเนื่องเกิดขึ้นซํ้าๆ ยาวนานหลายปี

 

อาการทั่วไปของ PTSD

1.เห็นภาพเหตุการณ์

อาการที่สำคัญที่สุดและน่ากลัวที่สุดของโรคนี้ คือ การเห็นภาพเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบความฝัน หรือ เจอสิ่งกระตุ้นที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำแล้วซ้ำแล้ว 

 

2.พยายามหลบหนีจากสิ่งกระตุ้น

อาการอีกอาการหนึ่งก็คือ การพยายามหลบหลีก หนีจากสิ่งที่กระตุ้นหรือทำให้นึกถึงเหตุการณ์ที่สะเทือนใจ เช่น คนที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ พวกเขาไม่อยากที่จะนั่งรถยนต์อีกต่อไป

 

3.วิตกกังวล

อาการทางจิตทั่วไปที่เกิดขึ้น  อาการวิตกกังวล หวาดระแวงตลอดเวลา อาการนอนไม่หลับ ตื่นตัวตลอดเวลา เกิดความเครียดง่ายขึ้นกว่าปกติ รู้สึกหวาดกลัว   สิ้นหวัง หรือบางครั้งก็มีอาการโกรธผู้คนเนื่องจากไม่มีใครช่วยเหลือพวกเขาในเหตุการณ์สะเทือนใจเหล่านั้น

 

4.อาการซึมเศร้า

อาการซึมเศร้าและโทษตัวเองซ้ำแล้วซ้ำอีก  รู้สึกไร้ค่า วิตกกังวล หันไปพึ่งสิ่งเสพติดเพื่อช่วยจากอาการให้ไม่ต้องนึกถึงเหตุการณ์ที่สะเทือนใจ ทำให้บางคนกลายเป็นผู้เสพติดสิ่งเหล่านั้น จนกระทั่งมีการทำร้ายตนเอง และ พยายามฆ่าตัวตาย

 

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดหลังเจอเหตุการณ์สะเทือนใจ

อาการ PTSD (Post-traumatic Stress Disorder) เกิดขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์ที่รุนแรง รวมทั้งมีการเชื่อมโยงเหตุการณ์กับสิ่งที่เตือนให้นึกถึง เช่น ภาพ กลิ่น เสียง ที่ส่งผลต่อจิตใจและความรู้สึกของเรา

 

เมื่อพบสิ่งเหล่านั้นก็จะมีอาการหวาดกลัวราวกับเผชิญเหตุการณ์จริงในขณะนั้น 

 

ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ได้สูงกว่าคนไทยในพื้นที่อื่น ๆ เนื่องจากเหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 จนถึงเดือนธันวาคม 2560

 

มีรายงานเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งหมด 19,622 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 6,703 ราย และบาดเจ็บกวา 13,247 ราย จากการศึกษาร้อยละ 14 ของนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่งในอําเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

 

มีอาการของโรคเครียดจากการเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ร้อยละ 87.5 เกิดอาการขึ้นภายหลังรับทราบ ข้อมูลการบาดเจ็บของครูในโรงเรียน

 

 

ประสบการณ์เชิงลบสามารถกระตุ้นให้เราซาบซึ้งกับชีวิตได้มากขึ้น

จุดมุ่งหมายของการใช้ชีวิตต่อไปหลังจากเรื่องที่ร้ายแรง ไม่ได้เป็นเพียงใช้ชีวิตเพื่อคนอื่นแต่รวมถึงการอยู่เพื่อตัวเราเอง อยู่กับปัจจุบันทุก ๆ วันที่เราใช้ชีวิต

ซึ่งการที่เราจมอยู่กับความทุกข์ ความเศร้า มันก็ส่งผลดีกับเราเหมือนกันตรงที่      “เรามีความตระหนักถึงความซาบซึ้งในชีวิต” มากกว่าการอยู่กับความสุข ซึ่งเมื่อเราผ่านมันมาได้

 

ทุกคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า เหมือนเกิดใหม่เลย แน่นอนว่ามันจะเป็นความรู้สึกเหมือนเราได้รับพลัง หรือเหมือนเกิดใหม่จริง ๆ เลย

 

 

ความงอกงามหลังเจอเหตุการณ์สะเทือนใจ

Post-Traumatic Growth คือ การเปลี่ยนแปลงทางจิตวิทยาเชิงบวก เป็นสภาวะที่มีความสัมพันธ์กับ PTSD

 

PTG (Post-Traumatic Growth) เป็นผลลัพธ์จากการเผชิญภาวะวิกฤตที่สำคัญในชีวิต หรือการผ่านประสบการณ์ที่เจ็บปวด สภาวะจิตใจเป็นในทิศทางที่ดีขึ้น งอกงามขึ้น จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นผ่านเหตุการณ์ที่เลวร้ายมาได้  

 

ความงอกงามนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ทั่วไป แต่ต้องเป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรงอย่างมาก (Trauma)  เป็นวิกฤต (Crisis) หรือเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดอย่างสูงต่อจิตใจ (Highli stressful events)

 

ความงอกงามสามารถแสดงออกได้หลายรูปแบบ เช่น การรู้ซึ้งในคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ การมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่มีความหมายมากขึ้น การรับรู้ถึงพลังและความสามารถของตนเอง 

 

ความงอกงามจะไม่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเวลาผ่านไป อาจต้องมีปัจจัยบางอย่างที่ส่งผลให้เกิดภาวะนี้ขึ้น เช่น การมีวิธีการจัดการกับปัญหาที่มีประสิทธิภาพ หรือการได้รับความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง

 

ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ การร้องไห้และปล่อยให้ตัวเองเสียใจ

 

 

ความงอกงาม 5 ด้าน

Tedeschi & Calhoun ได้สร้างและพัฒนาแบบวัดความงอกงามทางจิตใจ  Post-Traumatic Growth Inventory (PTGI) เขาได้แบ่งความงอกงามที่เกิดขึ้นเป็น 5 ด้าน

1.การมองชีวิตอย่างมีความหมายมากขึ้น

2.การมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่มีความหมายมากขึ้น

3.ตระหนักถึงความเข้มเเข็งที่ตัวเองมี

4.ตระหนักว่าตัวเองยังมีเรื่องที่ทำได้ เป็นไปได้ ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นใจและการรับรู้คุณค่าในตัวเอง

5.ความงอกงามจะมีระดับที่สูงขึ้น การมองหาความหมายในชีวิตจะมีความละเอียดมากขึ้น มีการชื่นชมความงดงามของชีวิต

 

แต่ความงอกงามจะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากหลายปัจจัยและต้องใช้เวลา จะไม่ได้เกิดขึ้นทันที่ที่ประสบกับเหตุการณ์นั้น

1.ปัจจัยภายใน

ตัวบุคคลนั้นมีบุคลิกภาพบางอย่างและ Mind Set ที่มีต่อการจัดการอารมณ์ การบอกเล่าหรือระบายความรู้สึกข้างในออกไป การปล่อยให้ตัวเองร้องให้เสียใจ เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยเรื่องความงอกงามด้วย

2.ปัจจัยภายนอก

บุคคลที่อยู่เคียงข้างต้องเปิดโอกาสให้เขาได้ระบายความในใจ เป็นตัวอย่างในการทำให้ชีวิตดีขึ้น เช่น  มองหาจุดมุ่งหมายในชีวิตใหม่ มองหาวิธีแก้ปัญหาหรือทางออก

เมื่อคนนึงเจอกับเหตุการณ์ที่เลวร้ายแล้วกระทบกระเทือนจิตใจเขาอย่างมาก อาจจะมองได้ว่าแต่ละคนมี การรับได้หรือว่ายอมรับเหตุการณ์ ของเรื่องนั้น ๆ ไม่เท่ากัน 

 

เพราะฉะนั้น เราก็ไม่สามารถไปตัดสินได้ว่า “เรื่องที่เขาเจอมันหนัก” หรือ “เรื่องแค่นี้เอง” ทุกคนมีเรื่องราวในชีวิตที่แตกต่างกัน การเติบโตมาที่แตกต่างกัน เราต้องรับฟังเขาอย่างไม่ตัดสิน

 

การที่เขาจะผ่านเรื่องราวเลวร้ายไปได้ ต้องมาจากทั้งตัวเองและคนรอบข้าง ซึ่งสำคัญมากเช่นกัน

 

ถ้าหากว่าเรามีคนใกล้ตัวที่มีอาการใกล้เคียงหรือว่าเขาอยากจะเล่าอะไรบางอย่างให้เราฟัง ถ้าเราทำได้ พยายามไม่กดดันให้เขาเล่าให้เราฟังแบบไว ๆ หรือว่าเร่งรีบจนเกินไป และไม่คาดเดาเรื่องราวของเขา หรือว่าไม่ตัดสินสิ่งที่คน ๆ นั้นเล่าออกมา 

 

“จงทำหน้าที่เป็นผู้รับฟังที่ดีเพื่อให้ความรู้สึกของเขางอกงามและสดใสขึ้นอีกครั้ง

 

 

ที่มา:

https://psychcentral.com/health/post-traumatic-growth#how-to-get-it

 

file:///C:/Users/Admin/Downloads/DigitalFile%231.pdf (วิทยานิพนธ์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

 

https://www.doctorraksa.com/th-TH/blog/posttraumatic-stress-disorder.html