พูดคนเดียว

ใครชอบ พูดคนเดียว บ้าง? การพูดคนเดียวนักจิตวิทยามีมุมมองอย่างไร

เรื่องAdminAlljitblog

การ พูดคนเดียว คุยคนเดียว หรือว่า Self Talk ใคร ๆ ก็ทำกัน บางครั้งเราก็เผลอทำในที่สาธารณะทำให้คนที่มองมาคิดว่าเราไม่ปกติ ไขข้อสงสัยกับนักจิตวิทยาการพูดคนเดียวเป็นเรื่องปกติไหม?

 

พูดคนเดียวไม่ปกติจริงไหม?

ย้อนไปในเรื่องจิตเวชที่เข้าสู่ประเทศไทยใหม่ ๆ ความเด่นในช่วงนั้นคือโรค Schizophrenia หรือโรคจิตเภท เป็นอาการของหู่แว่ว ประสาทหลอน เวลาคนภายนอกมองเข้ามาก็อาจจะดูเหมือนคนบ้า

 

ส่งผลให้คนที่พูดคนเดียวในที่สาธารณะหรือบ่นพึมพัมกับตัวเอง คนอื่นอาจจะมองว่าไม่ปกติได้ เพราะมีภาพจำและค่านิยมผิด ๆ จากความรู้เรื่องโรคจิตเวช

 

ขึ้นอยู่กับว่าคุยอะไรกับตัวเอง บางทีเราไม่ได้อยู่ในโลกที่คุยกับคนอื่นได้ทุกคน การที่เรา Self Talk เพื่อทบทวนกับตัวเองถือว่าเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน

 

และการ Self Talk ทำให้เรา Self-awareness หรือตระหนักรู้ พัฒนาตัวเองได้ด้วย

 

พูดคนเดียวในที่สาธารณะแปลกไหม?

การพูดคนเดียวกับสิ่งที่ไม่ตอบโต้คืนกลับมา นั้นอาจจะสะท้อนว่าเพราะไม่มีสิ่งมีชีวิตที่ตอบกลับเราได้ เลยเลือกที่จะไปคุยกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต อย่ามองว่าแปลกไม่แปลกเพราะจะกลายเป็นบรรทัดฐานของสังคม

 

พูดคนเดียวแบบไหนถึงเรียกว่าไม่ปกติ?

ถ้าอันไหนที่ดูจินตนาการถึงสิ่งที่ไม่มีจริง เห็นภาพหลอน คนภายนอกพร้อมจะตัดสินเราเสมอ เราต้องเลือกเวลา เลือกสถานที่ให้เหมาะสมด้วย

 

ในทางจิตวิทยาการพูดคนเดียวมีข้อดีไหม

เป็นกระบวนการที่สร้างข้อดีให้กับเรา ทบทวนสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจของเรา ทำให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้นถ้าเราทำกระบวนการพูดคนเดียวได้ดี ได้ยินเสียงความรู้สึกของตัวเองชัดขึ้น

 

แต่ถึงแม้จะเห็นชัดแล้วแต่กระบวนการแสดงออก ผลลัพธ์ของการพูดคนเดียวอยู่ที่ว่าเราจะทำอย่างไรต่อไป จะนำไปปรับใช้ไหมขึ้นอยู่กับตัวเรา

 

คุยคนเดียวอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพจิต

1. เรารู้สึกอย่างไร ความรู้สึกของเราเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้เราต้องตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่าเรารู้สึกอย่างไร ตอบตัวเองให้ได้จะค่อย ๆ จัดการชีวิตได้
2. จัดระเบียบความคิดของเราได้