ความเหงา

ความเหงา คืออะไร มีคนรอบตัวมากมาย ทำไมเรายังเหงาอยู่?

เรื่องAdminAlljitblog

 ความเหงา ไม่ได้แย่อย่างที่คิด ถ้าอยู่คนเดียวไม่ได้เป็นคนขี้เหงาไหม ผิดไหมที่อยู่ ๆก็เหงาขึ้นมา จริง ๆ แล้วความเหงาเกิดจากอะไร บางครั้งอยู่กับเพื่อนเยอะ ๆ แต่เหงาขึ้นมาได้ จะทำยังไงไม่ให้เหงาดี

 

บทความนี้ Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก

ความเหงา คืออะไร 

สารบัญ

อารมณ์และความรู้สึกหนึ่งที่เกิดขึ้นในมนุษย์  ในความรู้สึกเหงาอาจมีความรู้สึกอื่นร่วมด้วย เช่น รู้สึกไม่ปลอดภัย รู้สึกไม่สบายใจ รู้สึกอ้างว้างโดดเดี่ยว

 

ความเหงา มาในรูปแบบไหนบ้าง  

1.อยู่กับตัวเองแล้วเหงา

2.อยู่กับสังคมแล้วเหงา 

 

ตัวอย่างสาเหตุของ ความเหงา 

  1. คิดถึงบางสิ่งบางอย่าง 
  2. ความรู้สึกต้องพึ่งพาคนอื่น 
  3. ไม่มั่นใจในตัวเอง 

 

อยู่กับเพื่อนมากมาย ทำไมยังรู้สึกเหงา ? 

ความรู้สึกยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของที่ ตรงนั้น ยังไม่ถูกยอมรับ จึงเกิดเป็นความรู้สึกเหงาขึ้น 

 

มีแฟนแล้วรู้สึกเหงา ? 

  1. แฟนตอบสนองเราไม่มากพอตามที่เราต้องการ 
  2. เขาไม่สามารถสร้าง Emotional Support ให้เราได้มากเพียงพอจึงเกิดเป็นความเหงาขึ้น 

 

ข้อดีของ ความเหงา ตามมุมมองของนักจิตวิทยา  

1.เวลาที่เราเหงา หมายถึง เราได้อยู่กับตัวเอง 

เราสามารถเป็นตัวของตัวเองได้ในช่วงเวลาเหงา  เช่น อยากจะนอนบนเตียงฟังเพลงที่เราชอบ ออกไปนั่งที่ร้านกาแฟที่เราอยากไป  เวลาเราอยู่คนเดียวก็มีความสุขกลับมาในรูปแบบของการอยู่กับตัวเอง 

2.เวลาที่เราเหงา คือ ช่วงเวลาที่สงบ 

เราสามารถกลับอยู่กับตัวเองโดยไม่ต้องวิ่งตามใคร  ไม่ต้องคิดถึงใคร อาจจะเหงาบ้างแต่ได้ใช้ชีวิตกับตัวเอง สำคัญที่สุดคือ เราได้ทำความรู้จักตัวเองในช่วงเวลานี้  

 

ข้อเสียของ ความเหงา ตามมุมมองของนักจิตวิทยา 

ความเหงาไม่ได้เป็นอารมณ์แรกที่เกิดขึ้น แต่เป็นอารมณ์ที่ตามมาหลังจากที่เรารู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ความรู้สึกไม่มีที่พึ่งพิง จึงก่อเกิดความโดดเดี่ยว ความเศร้า 

 

และก่อเกิดเป็นความเหงาขึ้นมา ข้อเสียจึงขึ้นอยู่กับว่าความเหงานั้นเกิดขึ้นในรูปแบบไหน 

 

เช่น รู้สึกอยู่คนเดียวไม่ได้ อาจทำให้ เราต้องพึ่งพาคนอื่นอยู่ตลอดเวลา และเห็นคุณค่าของตัวเองลดลงจนขาดความเชื่อมั่นในตนเอง 

 

การอยู่คนเดียวไม่ได้หมายความว่าเราเป็นคนขี้เหงา ?

 

การอยู่คนเดียวไม่ได้ ไม่ได้หมายความว่าเป็นคนขี้เหงาเพราะต่างคนต่างมีสาเหตุที่แตกต่างกัน เช่น บางคนที่ชอบอยู่กับเพื่อนเพราะสนุก

 

บางคนมีประสบการณ์กับการอยู่คนเดียวในด้านที่ไม่ดี เช่น อันตรายบางอย่าง 

 

คำจำกัดความของคนขี้เหงา

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าทุกคนมีความเหงา  เวลาที่เราพูดว่าคนนี้ ”ขี้เหงา” ก็ต้องสังเกตว่าคนนี้เป็นคนอย่างไร ถึงจะให้นิยาม “ขี้เหงา” ของเขา 

 

เช่น การที่เขาอยู่คนเดียวไม่ได้เลย ต้องออกไปอยู่กับเพื่อนตลอดเวลา ไม่ได้หมายความว่าเขาขี้เหงา แต่เขาแค่ต้องการเติมเต็มความรู้สึกบางอย่าง 

 

 

ความเหงาทำให้เราเป็นโรคซึมเศร้าได้ไหม ?

 

ในความเหงาอาจมีความรู็สึกบางอย่างซ่อนอยู่  เช่น ความเศร้า และเมื่อไหร่ที่เราเศร้ามาก ๆ และจัดการอารมณ์ได้ไม่ได้จึงนำไปสู่ความคิดว่า ตัวเองดีไม่พอ

 

จนความเหงาก่อตัวเพิ่มขึ้นก็อาจมีภาวะอื่น ๆ ทางอารมณ์ ไม่ใช่แค่ซึมเศร้าตามมาด้วย 

 

Introvert เหงาไหม ? 

 

ทุกคนมีโอกาสเหงา ได้เหมือน ๆ กัน แค่คนที่มีบุคลิกภาพ introvert มีความสุขกับความเงียบ กับเพื่อนแค่ไม่กี่คน ไม่ได้แปลว่าเหงา หรือไม่เหงา 

 

 

Extrovert เหงากว่าปกติไหม ? 

 

Extrovert ไม่ได้แปลว่าเขาเหงากว่าคนอื่น  แต่หมายถึง การใช้ชีวิตกับเพื่อน การเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั่นเป็นความสุขของเขา และเขารู้สึกดีที่ได้ใช้ชีวิตแบบนี้ 

 

จำเป็นต้องค้นหาสาเหตุความเหงา เพื่อแก้ไขและจะไม่ต้องเหงาอีกต่อไป 

 

สุดท้ายแล้วความเหงาจะยังคงอยู่ เพราะความเหงาเป็นอารมณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ 

 

แต่ การเข้าใจกับความเหงาที่เกิดขึ้นกับตัวเองก็เป็นสิ่งที่ดี ทำได้โดยการกลับมาคุยกับตัวเองเมื่อไหร่ที่พบเจอความเหงา แล้วอะไรที่เป็นสาเหตุของความเหงานั้น และจัดการกับสาเหตุ

 

“หากเกิดความเหงาขึ้น เอาช่วงเวลาของความเหงา ไปใช้ชีวิตของตัวเอง ทำอะไรก็ได้ที่เกิดความสุขขึ้นกับตัวเอง”