แผลในใจ

แผลในใจ แก้ยังไงก็ไม่หาย ในมุมนักจิตวิทยา

เรื่องAdminAlljitblog

แผลในใจ ร่องรอยความเจ็บปวดที่ฝังลึก แม้ว่าเรื่องจะผ่านไปแล้ว แต่นึกถึงทีไรเจ็บขึ้นมาทุกที จะเดินก้าวข้ามไปได้อย่างไรให้มีความสุข

 

มาร่วมพูดคุยผ่านมุมมองของนักจิตวิทยากับรายการพูดคุย Alljit X คุณวันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยาการปรึกษา 🙂

 

แผลในใจ คืออะไร ?

บาดแผลในใจ (Trauma) เหมือนกับบาดแผลทางกาย แต่เกิดขึ้นภายในจิตใจ เช่น โดนต่อว่า โดนทำร้าย แล้วจะเก็บเป็นความรู้สึกเจ็บปวดเอาไว้ แต่ความเจ็บปวดนี้ ไม่ได้เป็นความเจ็บปวดเพียงอย่างเดียว

 

แต่มันสามารถแปรรูปเป็นความเศร้า ความโกรธ หรือความเกลียดชัง ด้วยกลไกการป้องกันตัวเองทางจิตของมนุษย์ หรือ Defense mechanism ซึ่งพอเรามีบาดแผล ตัวเราก็ต้องมีการตอบสนองต่อบาดแผลนั้น

 

ปฏิกิริยาการตอบสนองเบื้องต้นก็จะมีตั้งแต่ความอ่อนล้าทางกายและทางใจ ความสับสน ความเศร้า วิตกกังวล กระสับกระส่าย ตื่นตัวทางร่างกายอย่างชัดเจน มือสั่น หรือการรู้สึกผิดปกติทางร่างกาย

 

สภาวะทางจิตที่เกี่ยวข้องกับบาดแผลทางจิตใจ ?

สามารถเกิดขึ้นได้หลายโรค หลายอาการ แต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่ผู้คนค่อนข้างให้ความสนใจไม่ว่าจะเป็น โรคซึมเศร้า ไบโพลาร์ หรือ โรค PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder)

 

เป็นโรคจิตเภทชนิดหนึ่งที่เกิดจากสภาวะจิตใจของผู้ป่วยได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์เลวร้าย เช่น การโดนข่มขื่น การประสบอุบัติเหตุร้ายแรง แม้เหตุการณ์จะผ่านไปนานแล้ว

 

แต่ความรู้สึกก็จะอยู่กับเขาตลอดเวลา เหตุการณ์เหล่านั้นจะ Flash back กลับมาเมื่อมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระตุ้น

 

 

เรื่องหรือเหตุการณ์ไหนบ้าง ที่จะทำให้เกิดบาด แผลในใจ ?

เรื่องที่ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดสามารถทำให้เกิดบาดแผลทางจิตใจได้เกือบทุกเรื่อง ความหนักเบาจะแตกต่างกัน แต่ในส่วนของความหนักเบาไม่ได้วัดแค่ตัวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเดียว เพราะต้องดูที่สภาพจิตใจและสถานการณ์ตอนนั้น ๆ ด้วย

 

 

ช่วงวัยไหนที่จะได้รับบาดแผลทางจิตใจมากที่สุด ?

สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงชีวิต ทุกคนควรค่าพอที่จะได้รับความรักและความเจ็บปวดเพราะมันคือธรรมชาติของชีวิต เราเป็นสัตว์สังคม เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างมาพร้อมกับความรู้สึก โดยธรรมชาติคนเราไม่สามารถตายด้านทางความรู้สึกได้ เพราะฉะนั้นทุกคนสามารถเจ็บปวดได้ในทุกช่วงวัย 

 

 

แผลในใจ ที่แก้ไม่หาย…

บางทีเป็นเพราะการที่เราไม่ยอมก้าวข้ามผ่านความรู้สึกนั้นมา แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนบนโลกที่จะสามารถก้าวข้ามผ่านบาดแผลทางจิตใจ บาดแผลทางจิตใจสุดท้ายแล้วมันคือประสบการณ์ชีวิตที่มีผลต่อตัวเรา

 

ละอยู่ภายในความทรงจำหรือภายในจิตใจ อยู่ที่ว่าเราจะจำหรือระลึกถึงมันได้หรือเปล่า หรือจะเก็บมันไว้ในส่วนที่ลึกที่สุด เพราะฉะนั้นทุกอย่างที่เราเจอล้วนมีผลต่อการเติบโตของเรา

 

บาดแผลทางใจที่ส่งผลกระทบมาถึงตอนโตอาจจะเป็นเพราะว่าเราไม่ได้รับการจัดการความรู้สึกอย่างดีพอ เราก็จะเติมโตมาพร้อมกับบาดแผลและเราตอบสนองต่อบาดแผลนั้น

 

ในวันที่เราตอบสนองเราอาจจะรู้สึกเจ็บปวดและร้องไห้โดยการขาดการตระหนักรู้กับมันว่าจริง ๆ แล้ว เราเจ็บปวดกับอะไรอยู่ หากในวัยเด็กเราตอบสนองกับความเจ็บปวดได้ไม่ดีหรือไม่เต็มที่

 

ความต้องการที่อยากจะตอบสนองก็จะติดค้างและยังคงอยู่ ยิ่งเราโตขึ้นความรู้สึกนั้นก็ยังคงไม่หายไปไหนเราก็ยิ่งต้องตอบสนอง ในวัยเด็กเราอาจจะยังขาดศักยภาพ พอโตมาเรามีศักยภาพเราสามารถที่จะตอบสนองได้มากขึ้นกว่าเดิม

 

แต่เราจะตอบสนองได้ดีมากถ้าหากเราเข้าใจความเจ็บปวดและตระหนักรู้ต่อความเจ็บปวดตัวเอง แต่ถ้าเราไม่เข้าใจและไม่ตระหนักรู้ เราก็จะตอบสนองแบบไม่เข้าใจและไม่ตระหนักรู้

 

สิ่งสำคัญคือการตระหนักรู้และรู้ว่าเรากำลังรับมือกับความรู้สึกอะไร ถ้าหากรับมือไม่ไหวการพบนักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์อาจจะเป็นอีกทางออกที่ดีสำหรับตัวเรา