หลุมพรางทางความคิด เมื่อรู้สึกสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือคลั่งไคล้อะไรบางอย่างจนมองข้ามสิ่งที่ไม่ดี สิ่งนั้นเรียกว่า Halo Effect เพราะคนที่ถูกใจ ทำอะไรก็ถูกต้อง
Halo Effect
การรับรู้ทางบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยที่ตัวของเราจะสรุปนิสัยคน ๆ นั้นด้วยความรู้สึกแรก ซึ่งการรับรู้ทางความคิดนี้เกิดขึ้นได้เป็นอัตโนมัติ
อาจจะเกิดขึ้นแบบที่เรารู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ ดังกล่าวคือ มนุษย์มีแนวโน้มจะหาอะไรมา ‘ยืนยัน’ หรือมองหาสิ่งที่ ‘สอดคล้อง’ กับความเชื่อหรือความคิดเดิมของตัวเอง
มากกว่าสิ่งที่ขัดแย้งกับเรื่องที่ ‘ปักใจ’ เชื่อไปแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกตึงเครียด อึดอัด หรือไม่สบายใจ
ประวัติความเป็นมาของ Halo Effect
คำว่า Halo แปลตรงตัวหมายความว่า รัศมีวงกลมที่อยู่บนหัวของเทวดานางฟ้า ซึ่ง Halo Effect จะใช้เรียก ภาวะการรับรู้ที่เรามีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งและประเมินสิ่งนั้นดีเกินจริง
ราวกับเราเห็นรัศมีนางฟ้าอยู่บนสิ่งนั้น ๆ ต้นกำเนิด ในปี 1920 นักจิตวิทยา นามว่า ‘เอ็ดเวิร์ด ธอร์นไดค์’ (Edward Thorndike) ได้ตั้งคำถาม จึงทำการทดลอง
พร้อมอธิบายปรากฏการณ์ที่เข้าข่าย ‘คนที่ใช่ ทำอะไรก็ไม่ผิด’ นี้ด้วยคำว่า ‘Halo Effect’ พบว่า หากมนุษย์รับรู้ถึงคุณสมบัติเพียงข้อเดียวของคนคนหนึ่ง
จะทำให้เกิดอคติในอื่น ๆ ตามไปด้วย ธอร์นไดค์ ทำการทดลองทางสถิติโดยให้นายทหาร 2 คน ประเมินทหารผู้ใต้บังคับบัญชาในด้านกายภาพ
ด้านลักษณะภายนอก เช่น เสียง พละกำลัง ความอดทน และด้านคุณสมบัติส่วนบุคคล เช่น ความภักดี ความไม่เห็นแก่ตัว ความร่วมมือ โดยห้ามพูดคุยกับทหารแต่ละคนที่ถูกประเมิน
ความน่าสนใจคือ ธอร์นไดค์ พบว่า ความดึงดูดใจและลักษณะภายนอกของบุคคลนั้น ๆ เช่น ความสูง มีอิทธิพลต่อการประเมินด้านอื่น ๆ ไปในทิศทางเดียวกัน
เรียกง่าย ๆ ว่า คนที่มีคะแนนคุณลักษณะภายนอกสูงก็จะมีคะแนนในด้านอื่น ๆ เช่น สติปัญญา ความเป็นผู้นำ สูงตามไปด้วย
แสดงว่ามนุษย์มีแนวโน้มที่จะนำลักษณะเด่นอย่างหนึ่งมาสร้างมุมมองต่อบุคลิกภาพหรือลักษณะโดยรวมของบุคคลนั้น ซึ่ง ธอร์นไดค์ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ‘Halo Effect’
คนที่ถูกใจ ทำอะไรก็ถูกต้อง
พอพูดถึงคำว่า Halo Effect พอได้รู้ความหมายคร่าว ๆ แล้วทำให้นึกถึงคำที่ว่า ‘คนที่ถูกใจ’ ทำอะไรก็ถูกต้อง เช่น กรณีที่เราชอบคนนึงมาก แต่เขาทำผิด ทำไม่ดี
เราก็มองข้ามความผิดนั้นไป และบางทีเราอาจจะหาข้อดีมาปกปิดข้อด้อยอีก หรือบางทีก็เกิดความลำเอียงในสังคมหรือที่เราเรียกกันว่า Beauty Standard
การที่คนนึงเกิดมาหน้าตาดี รูปลักษณ์ดี ตามมาตรฐานของสังคมที่ได้เซตเอาไว้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนกลุ่มคนนั้นจะถูกมีโอกาสเลือกมากกว่า
Halo Effect กระทบในด้านต่าง ๆ
ในด้านการศึกษา
งานวิจัยเก่า ๆ พบว่าครูมีความคาดหวังที่ดีกว่าต่อเด็กโดยที่พวกเขาให้คะแนนว่ามีเสน่ห์
หรือเด็กที่เขารู้สึกเอ็นดู หรือที่เขาชอบเป็นพิเศษมากกว่าตามเกณฑ์วัดของความเป็นจริง
ในที่ทำงาน
อคติที่พบบ่อยที่สุดที่ส่งผลต่อการประเมินและการทบทวนประสิทธิภาพ หัวหน้าอาจให้คะแนนลูกน้อง
โดยพิจารณาจากการรับรู้ถึงคุณลักษณะเฉพาะเพียงอย่างเดียว มากกว่าที่จะประเมินผลงานและการมีส่วนร่วมทั้งหมดของพวกเขา
นอกจากนี้ การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Economic Psychology พบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว
ผู้เสิร์ฟอาหารที่น่าดึงดูดใจจะได้รับทิปมากกว่าผู้ให้บริการที่ไม่น่าดึงดูดโดยเฉลี่ยประมาณ 1,200 เหรียญต่อปี
การใช้ชีวิตประจำวัน
สินค้าในตลาด การทำโฆษณาต่าง ๆ บางทีก็มี Halo Effect มาคอยบังตาของเราให้เรายึดถือ ยึดติดกับสิ่งที่เขาว่าดี แต่จริง ๆ มันก็คงไม่ได้ดีแบบที่เราต้องการแบบนั้น
แต่เป็นเพราะเพียงเสียงส่วนมาก คำเชิญชวนของอินฟลู ที่ทำให้เราเอนเอียงไป
จัดการกับ Halo Effect และฝึกฝนตัวเองไม่ให้ตัดสินคนอื่่น
การตระหนักรู้เป็นก้าวแรกในการเอาชนะข้อผิดพลาดในการตัดสินหนังสือจากปก
การจงใจชะลอการตัดสินใจและการตัดสินใจใด ๆ ในภายหลัง อย่าตัดสินใจเลือกการรับสมัครทันทีหลังการสัมภาษณ์,การออกเดต
โดยทั่วไปการใช้เวลาทำความรู้จักกับอีกฝ่าย ไปเดตหลายๆ ครั้งก่อนที่จะพัฒนาไปอีกขั้น
เราล้วนแต่เป็นทาสของ Halo Effect กันเกือบทั้งนั้น เพราะฉะนั้นถ้ารู้แบบนี้เเล้ว เรามาทำให้ตัวเองดูดีในแบบของเรากันเถอะ
เช่น การเตรียมตัวเตรียมความพร้อมสำหรับการไปสมัครงาน เลือกลองชุดที่เหมาะสมกับเรา เลือกทำผมที่เข้ากับเราที่สุด
เลือกสีลิปสติกที่มันสวยเมื่ออยู่กับเรา นี่อาจจะเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งก็ได้ ถ้าเรารู้จักการตระหนักรู้ของตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เราใช้สิ่งนี้ทำร้ายคนอื่นเหมือนกัน
เราไม่สามารถสรุป หรือ เคาะ อะไรเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เหมือนที่เราชอบพูดกันว่าทุกคนเป็นมนุษย์ไม่มีใครดีทุกอย่างและก็ทางกลับกันก็คงไม่มีใครที่แย่ทุกอย่างเหมือนกัน
ที่มา :
Halo Effect
Halo Effect หลุมพรางความคิด
What Is the Halo Effect?
The Halo Effect: What It Is and How to Beat It
Post Views: 635