โรคซึมเศร้า

บทบาทของนักแสดง กับ โรคซึมเศร้า

เรื่องAdminAlljitblog

โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่ทุกคนมีโอกาสเป็นได้ โดยเฉพาะกับคนที่ต้องทำงาน หรือว่าใช้ชีวิตของตัวเองแบบที่ต้องสวมบทบาท หรือว่าอยู่ในคาแรกเตอร์ที่คนอื่นสร้างขึ้นมาให้เป็น คือ “บทบาทของนักแสดง กับ โรคซึมเศร้า”

มันเป็นเรื่องจริงที่ว่า “สุขภาพจิตใจไม่ควรเป็นเรื่องที่ถูกมองข้าม” แต่พอเป็นนักแสดงที่เป็นที่รู้จักของใครหลาย ๆ คน  บางครั้งกลับถูกมองข้ามและมีคำพูดนึงที่เห็นได้บ่อย คือ

 

“เมื่อคุณมายืนอยู่ตรงนี้ก็ต้องรับให้ได้กับทั้งคำวิพากษ์ คำวิจารณ์ การกร่นด่า การกลั่นแกล้ง (Bully) “

 

 

โรคซึมเศร้า

สารบัญ

โรคซึมเศร้า (Depressive Disorder) คือ โรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ที่ส่งผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจ

 

เช่น อารมณ์หรือว่าความรู้สึกเปลี่ยนไปอย่างมาก ซึมเศร้า รู้สึกไร้ค่า การกินการนอนเปลี่ยนไป เป็นต้น ซึ่งอาการที่เป็นจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและเป็นในระยะเวลานาน

 

(ต้องมาจากการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น)

 

ถ้าหากเรามีอารมณ์เศร้าตามปกติ ความรู้สึกนั้นก็จะหายได้เมื่อปัจจัยที่มันกระตุ้นให้เรารู้สึกเศร้าหมดไป หรือเราสามารถจัดการควบุมได้ 

 

แต่ถ้าหากความเศร้าอยู่เป็นเวลานานกับเรา ไม่ได้รับการแก้ไข มีโอกาสก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย โดยจะทำให้เกิดการเสียสมดุลของสารเคมีในสมองอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น 

 

เเต่เราจะไม่ได้เจาะจงว่านักแสดงมีความเสี่ยงแค่โรคซึมเศร้าอย่างเดียวเท่านั้น รวมถึงสภาวะสุขภาพจิตอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น Panic กลัวสังคมหรือ Imposter Syndrome เช่นกัน 

 

ทำไม โรคซึมเศร้า กับ นักแสดง ถึงเชื่อมโยงกัน

1.ความคาดหวังและการถูกจับตามอง

จุดนี้มาจากทั้งตัวเขาเองและสังคมภายนอก เมื่อคนคนนึงเป็นคนของประชาชนแล้ว มักจะถูกตั้งความคาดหวัง ทั้งเรื่องของชีวิต ความคิด ความรู้สึก ชีวิตส่วนตัว ผลงาน 

 

ซึ่งนั่นทำให้คนที่ต้องแบกรับความกดดันนี้อาจจะเครียด เช่น นักร้องเกาหลีที่ค่ายจะสร้างคาแรกเตอร์แบบหนึ่งมาให้ เช่น เราต้องเป็นคนที่มีภาพลักษณ์เรียบร้อย นิ่ง ๆ

 

แต่ในความเป็นจริง นั่นอาจจะไม่ใช่ตัวตนของเรา มันจะทำให้เราเกิดความเครียด รู้สึกไม่เป็นตัวของตัวเอง 

 

ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อคนดูชินกับเราในเวอร์ชั่นนั้นที่ค่าสร้างมาให้เป็น ทำให้เกิดความคาดหวังขึ้นเมื่อเจอกับคำพูดหรือพฤติกรรมที่มันไม่เหมือนที่คนดูคิดไว้ ก็จะผิดหวัง

 

รวมถึงตัวนักแสดงเองก็ต้องกดดันตัวเอง ให้ประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียง ได้รางวัล ซึ่งไม่ผิดเลย มันเกิดขึ้นได้ แต่ เมื่อพบเจอกับความผิดหวัง มันก็ยากที่จะให้ผ่านความรู้สึกเหล่านั้นไปได้เช่นกัน 

 

2.การสวมบทบาท

หลายครั้งที่เราจะเห็นว่านักแสดงที่ต้องเข้าถึงบทบาทของตัวละคร อาจจะเกิดมีปัญหาสุขภาพจิตตามมา เนื่องจากการแยกชีวิตจริงกับละครไม่ออก  

 

การเข้าถึงบทบาทมากเกินไปทำให้เกิดความเครียด ขอยกตัวอย่างเช่น   คุณเจมส์ ธีรดนย์ ที่ต้องรับบทเป็น “ “บู” เด็กมอปลายที่ตกอยู่ในสภาวะของโรคซึมเศร้า เขาบอกว่า การออกจากคาแรกเตอร์ต้องใช้เวลา 

 

บางครั้งการที่นักแสดงเล่นเป็นตัวละครตัวนึง ไม่ใช่แค่เล่นไปตามบทที่ให้มาหรือว่าพูดไปตามบทที่มี แต่ต้องเข้าใจถึงมุมมอง ท่าทาง ความคิด รวมถึงเรื่องราวเบื้องหลังของตัวละครด้วยเหมือนกัน 

 

3.คำวิพากษ์วิจารณ์

บางครั้งเราอาจจะมองว่าคำเหล่านั้นมันมีประโยชน์ในการใช้ชีวิตและ การทำงาน แต่เรามองว่ามันต่างกัน บางครั้งคำวิพากวิจารณ์ก็ไม่ชัดเจน ไม่สมเหตุสมผล ถ้าเราเสพคำวิพากวิจารณ์มาก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกดี หรือว่าถูกต้องเสมอไป 

 

ในรายการ The chair ทำให้เราได้เข้าใจว่า การจะออกจากความคิดเห็นที่ไม่ดีได้ต้องใช้เวลา เพราะบางครั้งความเห็นที่ทำให้เรามีความสุขหรือว่ารู้สึกดี 100 คน ไม่เท่าคำวิจารณ์ 1 อันเช่นกัน 

 

เรื่องการเข้าถึงบทบาทของนักแสดงในบางคนอาจจะมีเป็นคนที่มีความอ่อนไหวง่ายพอเข้าถึงบทบาท มีความอินในตัวละครมากเกินไปทำให้ออกมายาก     จึงส่งผลให้เกิดอาการซึมเศร้า 

 

สิ่งสำคัญคือคำวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบค่อนข้างสร้างความเจ็บปวดให้กับคนอื่นมากๆ เพราะบางทีพวกเขาไม่ได้รับคำวิจารณ์เรื่องผลงาน แต่พวกเขาได้คำวิจารณ์ในเรื่องส่วนตัว

 

ซึ่งในจุดนี้พวกเขา ก็คือคนธรรมดาเช่นเดียวกับคนทุกคน แต่เขาเป็นเพียงแค่บุคคลสาธารณะชนที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย 

 

ช่วงนี้มีการไหลตามกันในโซเชียลอย่างที่เราเคยยกมาพูดด้วย ทำให้มีอะไรที่เกิดความเคลือบแคลงใจก็นำมาถกเถียง วิพากษ์วิจารณ์กันได้ง่ายมากขึ้น

 

 

นักแสดงขายความเป็นส่วนตัว

บุคคลสาธารณะไม่ได้ขายแค่ความสามารถ แต่เขาต้องยอมขายความเป็นส่วนตัว หรือจะพูดอีกนัยหนึ่ง  “คนเป็นนักแสดงจะไม่สามารถแสดงออกว่ารู้สึกแบบที่รู้สึกจริง ๆ ได้เหมือนคนทั่วไป เพราะด้วยคำพูดว่า เป็นคนของสาธารณะชน”

 

 

ทางจิตวิทยา ทำไม โรคซึมเศร้า กับ นักแสดงจึงเชื่อมโยงกัน

จากบทความของ Mychicagotherapist ชื่อบทความว่า “5 Reasons Actors Are Prone to Depression You Never Knew!” คนเขียนบทความนี้เป็นนักบำบัดที่ทำงานร่วมกับนักแสดงหลายคนในชิคาโก

 

เขาได้ให้เหตุผล 5 ข้อว่า “เพราะอะไรนักแสดงถึงตกอยู่ในสภาวะของโรคซึมเศร้า”

 

1.เพราะโลกแห่งการวิพากษ์วิจารณ์

เมื่อเป็นดาราคนดัง จะเหมือนการที่เราก้าวเข้าสู่โลกแห่งการวิพากวิจารณ์ ทั้งเรื่อง หน้าตา รูปร่าง เสียง การแสดง ชีวิตรัก ชีวิตครอบครัวและการเข้าถึงบทบาท รวมถึงการที่ต้องเข้ารับการออดิชั่น

 

ลองค่อย ๆ นึกภาพตามว่าคำวิพากวิจารณ์มันเหมือนกับแฟชันโชว์ที่ไม่มีวันจบสิ้น เตี้ยเกินไป อ้วนเกินไป แก่เกินไป

 

2.เพราะปัญหาการเงิน

อันนี้คิดว่า ไม่ใช่ทุกคนที่เข้ามาอยู่ในวงการนี้แล้วดังเลย แต่ ทุกอย่างมีต้นทุน ค่าตอบแทนในช่วงแรก ๆ อาจจะไม่คุ้มมาก ๆ

 

3.เพราะความคิดว่า “ต้องทำให้ดีเหมือนเป็นการเเสดงสุดท้าย”

ถ้ามองในมุมนึง ความคิดแบบนี้มันก็ดีนะ แต่ มันคือความกดดันแบบไม่สิ้นสุด แล้วอันนึงที่สังเกตได้คือ อายุเท่านี้ยังเป็นนางเอกได้ เเต่หลุดจากอายุเท่านี้ ๆ คือเป็นไม่ได้

 

4.เพราะไม่มีความเป็นส่วนตัว

ภาพลักษณ์ในที่สาธารณะคือสิ่งสำคัญ เมื่อก้าวเท้าเข้าสู่วงการบันเทิงไม่มีสิ่งที่เรียกว่าความลับอีกต่อไป

 

5.เพราะต้องทำตามความคาดหวัง

ทุกคนจะคาดหวังกับตัวเรา เช่น คุณเป็นตลก เพราะฉะนั้นคุณต้องแสดงออกมาให้คนอื่นขำ ดาราตลกส่วนใหญ่ต้องซ่อนความรู้สึกจริงภายใต้หน้ากาก

 

 

“คิมจงฮยอน Shinee”

ในปี 2017 เขาได้เสียชีวิตจากการเป็นโรคซึมเศร้าที่สะสมมาเป็นเวลานาน เขาได้พยายามรักษามันแล้วนะแต่มันก็เหมือนกลืนกินเขาไป การที่สูญเสียเขาทำให้คนที่รักเขาทั้งเพื่อนพ้องในวง ในค่าย และแฟนคลับได้เสียใจมาก ๆ  

 

จงฮยอนเป็นหนึ่งในนักร้องค่าย SM Entertainment ที่ถ้าใครติดตามวงการของศิลปินเกาหลีจะรู้ว่าค่ายนี้ ค่อนข้างมีแรงกดดันมาก ๆ ด้วยชื่อเสียง และการฝึกที่หนักของค่าย ซึ่งแฟนคลับก็เหมือนโลกอีกใบของเขา

 

อุตสาหกรรมทางดนตรีก็มีการแข่งขันสูง เราอาจจะไม่ทราบว่าภายในใจของเขามีความเครียด ความกดดัน ความรู้สึกบางอย่างที่เขาไม่สามารถต่อสู้ได้ 

 

อย่างไรก็ตาม การสูญเสียที่เกิดจากโรคซึมเศร้าที่ผ่านมา เชื่อว่าไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นใครก็ตาม ยิ่งถ้าหากว่าเป็นการสูญเสียของคนที่เรารัก คนที่เราชื่นชม เราจะยิ่งรู้สึกเจ็บปวดมากกับเหตุการณ์นั้น ๆ 

 

เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าคนที่กำลังสร้างรอยยิ้มให้เรา สร้างความสุขให้เรา ในใจเขาต้องแบกรับอะไรไว้บ้าง ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้มีชีวิตอยู่ต่อไปแต่เขายังฝากเสียงร้องของเขา รอยยิ้มของเขาที่สดใสไว้ในความทรงจำของใครหลาย ๆ คน

 

ในช่วงที่มีข่าว ณ ตอนนั้น ทำให้หลายคนได้ฉุกคิดขึ้นว่า ทุกคนแตกสลายได้ เขาเป็นนักร้อง มีชื่อเสียง แต่เขาก็มีหัวใจ มีความรู้สึกเช่นกัน 

 

ท้ายที่สุด เขาต้องเป็นคนที่แบกรับมัน อยู่กับมัน ซึ่งเราไม่เคยรู้เลยว่า เบื้องหลังรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ หรือผลงานที่น่าติดตาม มันซ่อนไว้ภายใต้ความรู้แย่มากแค่ไหน

 

 

สร้าง Alter-ego

ในทางจิตวิทยาการ ‘สร้าง Alter Ego’ หรืออีกตัวตนหนึ่งขึ้นมาใหม่ สวมบทบาทเป็นอีกคาแรคเตอร์หนึ่ง สามารถปลดปล่อยความเครียดในชีวิตประจำวันได้ และยังช่วยเพิ่มความมั่นใจแต่การจะทำแบบนี้ได้ต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

 

นักแสดงหลาย ๆ คนก็มีการสร้าง alter-ego เช่น  บียอนเซ่ (Beyoncé) มีอีกตัวตนหนึ่งที่ชื่อว่า ‘ซาชา เฟียรส์ (Sasha Fierce)’ ที่เธอสร้างขึ้นมา เพื่อสร้างความมั่นใจเวลาที่เธอแสดงบนเวที

 

หรือซุปเปอร์โมเดลชื่อดังอย่างเบลลา ฮาดิด (Bella Hadid) ก็มี Alter Ego ถึงสองตัวตนด้วยกัน เบลินดา (Belinda)  และรีเบกกา ฮาราจูกุ (Rebekka Harajuku)

 

อย่างคนธรรมดา ๆ ของเราที่ไม่ใช่ดาราก็สามารถทำได้เหมือนกันนะคะ วันไหนที่เราอยากสลัดตัวตนของเรา อยากมีความมั่นใจ เราก็สามารถทำได้ 2-3 ชั่วโมงจนกว่าเราจะรู้สึกพอใจ 

 

แต่อย่างที่เราเน้นย้ำไปว่าการที่จะทำแบบนี้ต้องผ่านการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะ alter-ego กับโรคหลายบุคลิกมีความใกล้เคียงกันมาก ๆ ถ้าเราทำไปนานๆ จนไม่สามารถแยกออกจากกันได้จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้ 

 

คนที่เป็น โรคซึมเศร้า จะเป็นนักแสดงที่ดีได้ไหม

คนที่เป็นโรคซึมเศร้าคือคนที่มีความรู้สึกลึกซึ้งและคิดแบบละเอียดถี่ถ้วน           ดังนั้น มันจึงสมเหตุสมผลที่เขาจะมีการทำการศึกษาตัวละครที่ลึกซึ้ง มีคนจำนวนมากที่มีอาการซึมเศร้าแต่ทำงานได้ดี

 

ถ้าคนที่เป็นซึมเศร้าใช้แต่การแสดงเพื่อให้มีชื่อเสียง มันไม่ดีต่อสุขภาพ  แต่กลับกันถ้าใช้การแสดงเพื่อการถ่ายทอดอารมณ์ของพวกเขา ดึงตัวเองและเบี่ยงเบนตัวเองออกมากับการแสดงก็สิ่งที่ดีเช่นกัน 

 

 

ทำอย่างไรได้บ้างเพื่อป้องกัน โรคซึมเศร้า ที่เชื่อมโยงกับนักแสดง

นักแสดง

  • รีเช็คตัวเองอยู่เสมอ (ตระหนักไว้เสมอว่า ผลตอบแทนที่มั่นคง อาจจะไม่ได้เงินหรือชื่อเสียง แต่คือสุขภาพจิตที่มั่นคง)
  • ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

คนดู คนฟัง

  • ให้เกียรตินักแสดง ศิลปิน
  • ตระหนักอยู่เสมอว่าถึงแม้ว่าเขาจะเป็นคนสาธารณะแต่เขาก็คือคนธรรมดาแบบเรา
  • มีวิจารณญาณในการเสพสื่อ

 

ค่าย/วงการบันเทิง

  • ดูแลสุขภาพจิตของนักแสดง ศิลปิน
  • จัดตารางงานแบบไม่หักโหมสุขภาพของตัวศิลปิน หรือว่านักแสดงเกินไป
  • ให้เกียรติการร่วมงานกันอยู่เสมอ
  • เป็นที่พักพิงทางใจให้ได้

 

หากว่า มีนักจิตวิทยาตามกองถ่าย เพื่อเป็นที่ปรึกษาให้กับนักแสดง ที่สวบทบทต่าง ๆ ไปด้วย ก็ถือเป็นสวัสดิการที่นักแสดงจะได้รับ หรือกลับกันทางค่ายกับผู้จัดการ อาจจะต้องพาไปพบจิตแพทย์เพื่อรีเช็คเป็นระยะ เพราะบางครั้งโรคซึมเศ้าอาจจะมาโดยที่เราไม่ทันตั้งตัว

 

ที่มา : 

 

https://www.insider.com/mental-health-of-actors-suffers-when-long-series-ends-rehab-2019-8

 

https://scoopempire.com/the-psychological-wellbeing-of-actors/

 

https://www.thethings.com/bella-hadids-alter-egos-rebekka-harajuku-and-belinda-explained/

 

https://www.mychicagotherapist.com/5-reasons-actors-are-prone-to-depression-you-never-knew/