Posts
นิทรรศการ “Turn Your Scars into Stars” “แม้จะเจ็บปวดแต่คุณก็งดงาม” เป็นนิทรรศการที่ถ่ายทอดเรื่องราวของผู้คนที่เจอกับประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่สวยงาม
และกลายเป็นบาดแผลที่เจ็บปวดผ่านผลงานศิลปะ นิทรรศการจัดในวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่ The Palette Artspace
ทางทีมงาน Alljit ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พวกเราเลยอยากมาเเชร์ความประทับใจและเเรงบันดาลใจที่ได้จากงานนี้กัน
การเดินชมงานศิลปะ ทำไมถึงรู้สึกดีขึ้นได้ขนาดนี้นะ?
“ศิลปะบำบัด” อาจให้คำตอบในเรื่องนี้ได้ การไปเดินชมงานศิลปะ เราไม่ได้ใช้เหตุผลและตรรกะ ในการอ่านทำความเข้าใจนัยยะของภาพ แต่เราใช้ “ความรู้สึก” ต่างหาก
ภาพนี้เราตีความออกมาเป็นแบบนี้เพราะเราทัชกับสิ่งนี้ ภาพนั้นเราตีความไปอีกแบบเพราะเคยผ่านประสบการณ์ประมาณนี้มาก่อน ความสนุกของการไปเดินชมงานศิลปะคงเป็นตรงนี้แหละ
และสิ่งที่ได้จากการไปชมงานในวันนั้นไม่ใช่แค่ความสวยงาม แต่เป็นแง่มุมและกำลังใจที่ได้กลับมา การที่รับรู้ว่าเราไม่ได้โดดเดี่ยว มีเพื่อน ๆ มากมายที่เคยประสบกับความเจ็บปวด
พวกเขาได้ก้าวผ่านมาได้ เหมือนเป็นกำลังใจเล็ก ๆ ได้เหมือนกัน
“ทำยังไงก็ได้ให้เรารู้สึกมีความสุขที่สุด”
ในวันนั้นได้พบกับ น้องธันย์-ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ หรือ น้องธันย์ สาวน้อยคิดบวก
เชื่อว่าใครหลาย ๆ คนน่าจะรู้จัก หรือได้ยินชื่อน้องธันย์กันมาบ้าง เพราะถ้าย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 12 ปีที่แล้ว คงเคยได้ยินข่าวเด็กวัย 14 ปีเกิดอุบัติเหตุตกรถไฟฟ้าสิงคโปร์ จนทำให้สูญเสียขาทั้ง 2 ข้าง
เธอผ่านช่วงเวลาเหล่านั้นมาได้อย่างไรกัน ?
ในช่วงหนึ่งของนิทรรศการน้องธันย์ได้เล่าให้ฟังว่า เธอเริ่มจาก “การมองศัตรูให้เป็นเพื่อน” ความพิการที่เกิดขึ้นก็คือศัตรูที่เธอต้องพบเจอและต่อสู้ แต่พอสุดท้ายแล้วเธอทำให้ศัตรูกลายเป็นเพื่อนที่สนิทมาก ๆ
มันได้ทำให้เรารู้จักเพื่อนคนนี้ในทางที่ดีและได้เรียนรู้อะไรอีกมากมายจากความเจ็บปวดในครั้งนั้น “ทำยังไงก็ได้ให้เรารู้สึกมีความสุขที่สุด” คนส่วนใหญ่ชอบมองว่าคนพิการจะต้องอยู่บ้านเฉย ๆ
นั่งวีลแชร์เฉย ๆ แต่การนั่งวีลแชร์ของเธอก็มีความสุขได้ มีความสุขกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง และเราจะมองทุกอย่างในทางที่ดีขึ้น
หนึ่งสิ่งที่อยากจะเล่าให้ฟังก็คือ คุณพ่อของน้องธันย์น่ารักมาก พ่ออยู่ข้าง ๆ น้องตลอดเวลา ในขณะที่ก่อนจะสัมภาษณ์พ่อเองก็คอยประคองน้องธันย์ขึ้น-ลงเวที ถ่ายรูปเวลาน้องกำลังพูดคุยกับสื่อ
สิ่งหนึ่งที่สัมผัสได้เวลาที่คุณพ่อกำลังมองน้องก็คือ ภายในแมสนั้นกำลังมีรอยยิ้มของพ่อที่ยิ้มอยู่ตลอดเวลา ในทุกครั้งที่มองน้องธันย์ สิ่งนี้เป็นอีกสึ่งหนึ่งที่สวยงามและน่าประทับใจ
ถ่ายทอดความเจ็บปวดผ่านผลงานศิลปะ
ในวันนั้นมีการเปิดตัวผลงานศิลปินชื่อดัง 11 ท่าน คือ คิ้วต่ำ, Tum Ulit , Art of Hongtae,Banana Blah Blah,Manasawii ,puck ,โรแมนติกร้าย,meetmrtwo,Yugo และ Pearytopia
และมีช่วงเวลาที่สัมภาษณ์ถึงคอนเซ็ปและเเรงบันดาลใจจากผลงาน ศิลปินแต่ละต่างมีมุมมองในแง่ของความเจ็บปวดที่น่าสนใจมากๆ เช่น
1. Farewell “ลาก่อน รักเก่า Parting is such sweet sorrow”
เป็นผลงานของคุณ Art of Hongtae ที่เล่าเรื่องราวของการจบความสัมพันธ์ ผ่านภาพของการขึ้นและตกของพระอาทิตย์ การเลิกราเป็นประสบการณ์ที่สร้างความเจ็บปวดสำหรับทุกคน
แต่คุณฮ่องเต้กลับนำเสนอในอีกมุมมองหนึ่งว่า ความเจ็บปวดนี้อาจเป็นอีกหนึ่งความเศร้าที่งดงาม ภาพที่ออกมาจะดูละมุนและดูเศร้าในเวลาเดียวกัน
ด้วยความที่องค์ประกอบภาพหลักของภาพมีเพียง 2 อย่างคือ ‘คนหัวก้อนเมฆ สัญลักษณ์แทนความเครียดและความเศร้า’ และ ‘ท้องฟ้าสีอ่อนหวาน’ ทำให้อารมณ์ของภาพดูเศร้า เหงา
โดดเดี่ยวแต่งดงามไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งเข้ากับ concept เรื่องการจากลาในมุมของคุณฮ่องเต้ ใจความของประโยคน่าประทับใจประโยคหนึ่งที่คุณฮ่องเต้พูดถึงผลงานของตัวเอง คือ
“ถ้าเรามองเรื่องการจากลาเป็นเพียงเรื่องธรรมดาเรื่องหนึ่ง เหมือนการขึ้นและตกของพระอาทิตย์ เราคงมีความสุขง่ายขึ้น”
2.Someday This PAIN will be USEFUL
Someday This PAIN will be USEFUL ของคุณ ไตรภัค สุภวัฒนา นามปากกา PUCK ตอนที่เดินเข้าไปในงานรู้สึกว่าภาพนี้ดึงดูดใจมาก ๆ
ทั้งสีสันที่ฉูดฉาด รายละเอียดในภาพที่มีดีเทลเยอะแต่ลงตัวอย่างกลมกล่อม ในรูปภาพจะมีรูปประภาคารที่โดดเด่น
และมีหลายอย่าง ๆ ที่ห้อมล้อมประภาคารนั้นเอาไว้ ตรงกลางของภาพจะมีรูปผู้หญิงที่กำลังเดินเข้าประภาคาร ซึ่งที่รู้สึกถึงความหมายภาพนี้คือทุกแม้ว่าความสุขของเราจะอยู่บนยอดประภาคาร
หรืออยู่ที่ไหนสักแห่ง ในตอนนี้เราอาจกำลังจมอยู่ในความทุกข์แต่สิ่งที่เป็นทุกข์คงไม่ได้อยู่กับเราเสมอไป ทุกก้าวแห่งความเจ็บปวดพาไปยังความสุขที่ผ่านการเรียนรู้
ซึ่งคุณภัคได้บอกว่า “ หลายครั้งที่จมอยู่กับความทุกข์ ฉันลองค้นหาความสุขรอบๆ ตัวแต่ภาพแห่งความสุขนั้นพร่ามัวเหลือเกิน ใครสักคนเคยบอกไว้ว่าจริงๆ แล้วชีวิตเรานั้นเต็มไปด้วยความทุกข์
ความสุขนั้นเป็นเพียงสายลมเย็นที่นานๆ จะพัดผ่านมาที หากเป็นเช่นนั้นแล้วความทุกข์ก็ไม่ต่างจากกองไฟร้อนที่ตั้งอยู่ข้างกายเรา ไอร้อนที่อยู่กับเราเสมอมาหรืออาจเพราะมีไอร้อนนี้
ทุกครั้งที่ลมเย็นพัดผ่าน ฉันจึงรู้สึกถึงคุณค่าของลมเย็นนั้นจริงๆ ”
3. Thank You “ขอบใจที่เจ็บ”
ชื่อศิลปิน : คิ้วต่ำ
“ความเจ็บปวด คงเป็นเหมือนช่วงเวลาเเรกตอนเลี้ยงแมวสักตัว เราอาจได้บาดแผลมากมาย แต่หากเราใช้เวลาเข้าใจ เรียนรู้ ยอมรับ และปรับตัวให้ได้ ความเจ็บปวดนั้น ก็จะเป็นความสัมพันธ์อันงดงาม”
การที่คุณคิ้วต่ำเปรียบเทียบความเจ็บปวดกับแมว ทำให้ค่อนข้างเห็นภาพชัดขึ้นว่า ทุกความเสียใจ ทุกความเจ็บปวดมันมีขั้นมีตอนของมัน วันแรกที่เราเจ็บ เราจะรับมือไม่ไหว ไม่รู้ต้องทำยังไง
แต่เราจะเรียนรู้ที่จะยอมรับเข้าใจ และอยู่ร่วมกับมันได้ เมื่อได้เรียนรู้ เราจะพบเจอกับความสวยงามบางอย่าง บาดแผลจะจางไป รอยยิ้มจะกลับมา
4. Equality Cake Planet
ในงานยังมีศิลปินนักเขียนนามปากกา โรแมนติกร้าย หรือ คุณ Win nimman เข้าร่วมในนิทรรศการนี้อีกด้วย ซึ่งคุณวินได้ห่างหายจากการวาดภาพไปค่อนข้างนานพอสมควร
และยังบอกอีกว่านิทรรศการนี้ทำให้คุณวินอยากกลับมาวาดภาพอีกครั้ง โดยผลงานในนิทรรศการมีชื่อภาพว่า Equality Cake Planet ซึ่งมีสีสันสดใส ความเป็นกวี ความรักในขนมหวานตามสไตล์โรแมนติกร้าย
“เค้กก้อนสีชมพู ถึงแม้ว่ามันจะสวยงาม แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เคยพบกับความเจ็บปวด แค่มันเลือกจะเป็นชมพูแบบนั้นต่อไป อย่าให้โลกที่โหดร้ายมาเปลี่ยนความชมพูของเรา”
และมีบทกวีในเค้กเป็นภาษาอังกฤษว่า ‘be who you are as you wish we are all equal on this sweet-lonely planet’ ซึ่งตีความหมายถึงความเท่าเทียม ความเป็น feminist
ซึ่งเชื่อในความเท่าเทียมของทุกคนและทุกเพศ ภาพเค้กที่โรยด้วยเกล็ดน้ำตาลแท่งหลากหลายสีได้แทนถึงความเท่าเทียมทางเพศ ลดความอคติ เค้กในภาพจะช่วยลดความเจ็บปวดให้กับทุก ๆ คน
และยังเป็นเค้กที่ทุกเพศทุกวัยสามารถเอนจอยได้อีกด้วย
อีกสิ่งที่อยากจะเล่าให้กับทุก ๆ คนได้ฟังคือ ตั้งแต่คุณวินเดินเข้างานมา มีน้อง ๆ แฟนคลับ หรือที่คุณวินเรียกว่า ‘แก๊งสายหวาน’ รอคุณวินตั้งแต่เดินเข้ามา มีการขอถ่ายรูปและชื่นชมผลงานโรแมนติกร้าย
บรรยากาศการที่แฟนคลับพูดคุยกับคุณวินอบอุ่นและเป็นกันเองมาก ในขณะที่คุณวินพูดอยู่บนเวลาทีนั้น ยังได้พูดถึงความเท่าเทียมซึ่งทำให้เราได้รู้สึกว่า
ความเท่าเทียมคือสิ่งสำคัญมากที่เราทุก ๆ คนควรตระหนักถึง
5.Another purpose of pain
ชื่อศิลปิน: Meetmrtwo
“Sometime,pain can become your cure.”
โดยคุณสองได้อธิบายถึงผลงานชิ้นนี้เอาไว้ว่า การที่ชีวิตเราผ่านอะไรมามาก ความเจ็บปวดต่าง ๆ ที่เราพบเจอได้สอนให้เราเรียนรู้เเทนที่จะจมอยู่กับความเจ็บปวด
โดยเปรียบความเจ็บปวดที่เราได้พบเป็นเหมือนสีที่ไหลออกมา แล้วเอาสีนั้นมาวาดเป็นจุดหมายของเรา เป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตเราดีขึ้น เป็นการเปลี่ยนความเจ็บปวดของเราให้กลายเป็นจุดหมาย
เเรงบันดาลใจก็มาจาก ชื่อนิทรรศการ Turn Your Scars into Stars ที่บาดแผลทำให้เรามีเลือดไหลออกมา แต่เปลี่ยนจากเลือดตรงนั้นเป็นสีแทน
ครั้งแรกที่ได้ฟังคุณสองอธิบายถึงผลงานชิ้นนี้ เป็นสิ่งที่ประทับใจมาก ๆ เพราะบางครั้งความเจ็บปวดก็ทำให้เราล้มลุกคลุกคลานนับครั้งไม่ถ้วน ร้องไห้กับมันนับครั้งไม่ถ้วน
แต่สุดท้ายความเจ็บปวดที่เราเจอ ในบางครั้งก็ทำให้เราเติบโตขึ้นและกลายเป็นเป้าหมายที่ทำให้ชีวิตเราก้าวต่อไปข้างหน้า
6.Colorful Daggers
ชื่อศิลปิน : Tum Ulit
“Fill in the right gap to release yourself from pain”
ความรู้สึกแรกที่เห็นผลงานชิ้นนี้ คือ ถ้าอยากจะมีผลงานศิลปะสักชิ้นไว้ในห้องนอน ก็คงเป็นชิ้นนี้ ให้ความรู้สึกน่ารัก อบอุ่นและคงเพิ่ม mood ให้ห้องนอนเป็น Safe Zone ให้เราได้ดี
คุณตั้มเล่าว่าได้รับเเรงบันดาลใจจากการถูกทำร้ายด้วยคำพูดหรืออารมณ์ของคนอื่นซ้ำ ๆ เมื่อผ่านความเสียใจจนวันนึงเกิดเป็นการตกตะกอนได้ว่า
“เราควรตั้งตนให้อยู่เหนือสิ่งเหล่านั้น” โดยใช้ “เกมเสียบถังโจรสลัด” มาเเทนหัวใจที่ถูกทิ่มเเทง แต่ถ้าเสียบได้ถูกช่อง เราก็จะกระเด็นออกจากความทุกข์นั้น:)
ทำให้นึกถึงตอนที่ทาง Alljit ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณตั้มในเรื่องของ การก้าวผ่านความเจ็บปวด และช่วงเวลาที่ยากที่สุด? คุณตั้มได้บอกว่า
“เมื่อเกิดความเจ็บปวดเราจะตั้งคำถามว่าทำไมเราไม่ทำอย่างนั้น? อย่างนี้? ซึ่งเป็นสิ่งที่รบกวนจิตใจเราที่สุด แต่อีกส่วนหนึ่งคือ คำถามว่าเมื่อไหร่เราจะกลับมาเป็นปกติ
การรอเวลาเพื่อกลับไปถึงจุดนั้นมันทรมาน เพราะเรารู้สึกว่าการจะกลับมาเป็นตัวเองอีกครั้งต้องต่อสู้กับตัวเองเยอะมาก”
เพราะฉะนั้นภาพนี้เป็นสิ่งที่ช่วยปลอบประโลมใจเหมือนกันว่าในวันนึงเราก็จะออกมาได้แหละ ถังโจรสลัดที่ทำให้เราถูกทิ่มแทงนับครั้งไม่ถ้วนใบนี้
เเละวันที่เราทะยานออกมาได้คงเป็นวันที่สดใสเหมือนผลงานของคุณตั้มชิ้นนี้:)
ยังมีผลงานของศิลปินอีกหลายท่านที่ถ่ายทอดความรู้สึกออกมาได้ลึกซึ้ง สร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมงาน จนพวกเรายังแอบคุยกันว่า คงเอามาพูดใน Podcast ได้หลายอีพีเลย
Mini Gallery Turn Your Scars into Stars
ภายในงานจะมีผลงานของศิลปินทางบ้านที่ได้เข้าร่วมเป็น Mini Gallery บริเวณชั้นสาม ผลงานของศิลปินทางบ้านถูกประดับด้วยการแขวนเรียงกันให้ผู้เข้างานได้เข้ามาเยี่ยมชม ทุกรูปภาพที่ได้ศิลปินทางบ้าน
ได้ทำการวาดภาพเข้ามา มีเรื่องราวที่อยู่ในภาพเหล่านั้น ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีความรู้ ความเข้าใจ การตีความได้อย่างลึกซึ้ง แต่การที่ได้ไปเดินชมก็สัมผัสได้ถึงความหมายที่ซ่อนอยู่ในภาพเหล่านั้น
นอกจากจะได้เข้าร่วมใน Mini Gallery แล้ว ทางงานก็มีรางวัลรูปภาพขวัญใจศิลปินทั้ง 11 ท่านหรือ “Artist’s Pick! ” ศิลปินแต่ละท่านจะให้รางวัล การที่ได้รับเข้าร่วมเป็นเรื่องที่น่ายิน
และการได้รางวัลจากศิลปินที่ชื่นชอบเหมือนเป็นแรงใจ ประสบการณ์ที่น่ายินดีและจุดประกายความฝันให้ยิ่งขึ้นไป
ในส่วนของชั้น 3 ที่นอกจากจะจัดแสดง Mini Gallery Turn Your Scars into Stars แล้ว ก็ยังมีอีกหนึ่งไฮไลท์ คือ Art Market เอาใจสายช้อปงาน Hand made อย่างเรา ๆ
ร้านมากมายถึงเกือบ 20 ร้าน อาทิเช่น สติ๊กเกอร์ลายน่ารัก ๆ, กระเป๋าถักจากไหมพรม สมุดโน้ต กำไลข้อมือ ต่างหู เทียนหอม เป็นต้น เรียกว่าถ้าไม่คุมสติดี ๆ ได้มีกระเป๋าฉีกแน่ ๆ งานนี้
เปิดไพ่ฮีลใจและค้นหาคริสตัลประจำตัว
สิ่งนึงที่ทางทีมงานเสียดายมาก ๆ คือ อดเข้า Workshop ในงานวันที่ 5 เพราะเป็น Workshop ที่น่าสนใจมาก แต่อาจจะเป็นความโชคดีบนความน่าเสียดายที่เราได้มีโอกาสไปเปิดไพ่
และเลือกหินประจำตัวที่โต๊ะเล็ก ๆ ของคุณแอ้และคุณแคท ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์แทน
เปิดไพ่ฮีลใจ
จากคุณ แอ้ Memo Smile จะว่าไปก็คล้าย ๆ กับการดูดวงนั่นแหละ แต่สิ่งที่แตกต่างจากการดูดวงที่ผ่านมาของเราคือ คำพูดที่ว่า
“การดูดวงที่ดี คือ การดูแล้วเห็นเส้นทางของตัวเอง หรือช่วยให้การตันสินใจได้ง่ายขึ้น” ถ้าดูแล้วจิตตก กังวล อาจจะไม่ใช่การดูดวงที่ดีนัก เป็นคำพูดที่ทำให้รู้สึกว่า การดูดวงครั้งนี้พิเศษตั้งแต่ยังไม่เริ่มเลย
แล้วก็พิเศษแบบนั้นจริง ๆ ช่วงเปิดไพ่ ก็พบว่า เส้นทางของเราอาจจะไม่ได้สวยงามตลอดทั้งเส้น แต่ขอให้เชื่อมั่น และลงมือทำ เพราะเธอมาถูกทางแล้ว… แต่ความมั่นใจเราก็ยังมาไม่สุดทางอยู่ดี
คุณเเอ้จับมือเรา พร้อมให้เปิดไพ่ใบสุดท้าย ที่บอกว่า “ KEEP YOUR HEART OPEN EVEN WHEN IT HURTS” และนั่นคือคำตอบของทุกอย่างที่ทำให้พลังความมั่นใจในตัวเราถูกเติม
ความประทับใจอีกอย่างในระหว่างการเปิดไพ่ คือ มีกล้องหลายตัว เข้ามาจับภาพ แต่คุณแอ้กังวลเพราะหน้าสด เราเลยอาสา ปัดแก้มให้ พร้อมยื่นกระจกให้ทาตาด้วย
มันคือความสัมพันธ์บางอย่างที่เกิดขึ้นในชั่วพริบตา แต่มันทำให้ใจฟูจริง ๆ ปิดท้ายด้วยการ กอดให้กำลังใจ วินาทีนั้นเราตั้งใจหลับตา และตั้งใจรับพลังนั้นเข้ามา
จากไม่กี่นาทีที่คุย จากไม่กี่เสี้ยววินาทีที่สัมผัสกัน มันเป็นพลังบวกที่ส่งถึงกันจริง ๆ และคุ้มค่าที่ได้ไปร่วมงาน “Turn Yours Scars into Stars”
My Crystal Mandala
จาก “คุณแคทผู้เชี่ยวชาญทางด้านหินแร่” ในการค้นพบคริสตัลประจำตัวของคุณและสัมผัสพลังงานของผืนดิน
เพราะชีวิตต้องเจอกับเรื่องราวที่เจ็บปวด สิ่งที่ช่วยฮีลใจในวันยาก ๆ อาจจะเป็น ‘คริสตัล’ My Crystal Mandala เป็นเวิร์คช็อปที่จะพาทุกคนค้นหาหินประจำตัว
ซึ่งหลาย ๆ ครั้ง หินเหล่านี้อาจเป็นสิ่งหนึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ รวมถึงช่วยดึงดูดสิ่งที่ดีเข้ามา ตอนที่เข้าไปที่บูธ ได้รับการแนะนำดีมาก หินประจำตัวเลยเป็นสิ่งใหม่อีกสิ่งหนึ่งที่ได้รู้จักจากนิทรรศการนี้
การที่เราได้พาตัวเองให้ถูกล้อมรอบไปด้วยผลงานศิลปะของคนที่เคยผ่านความเจ็บปวดเหมือนกัน เจอกับบาดแผลเหมือนกัน ทำให้เราได้ฮีลใจของตัวเอง
ได้รับกำลังใจจากคนที่เคยเจอกับประสบการณ์ที่ไม่ดีเหมือนกันและได้มองตัวเองในมุมมองใหม่ว่า แม้จะเจ็บปวดมากแค่ไหน แต่เราก็ยังคงสวยงามเหมือนเคย…
“ขอบคุณที่ก้าวผ่านความเจ็บปวดในวันนั้น มาเป็นเธอในวันนี้” – จาก Alljit
Pebbling Effect คือการส่งต่อความรักแบบน่ารัก ในยุค 5 G ที่เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยทำให้คนรักกันมาบ้างแล้ว แต่วันนี้จะมารู้จักที่มาที่ไปของคำนี้กัน
Pebbling Effect คืออะไร
ที่มาของปรากฎการณ์อันแสนน่ารักนี้เริ่มมาจาก เจ้าเพนกวิน สายพันธุ์เจนทู ที่มีวิธีการจีบสาวที่น่ารัก โดยเพนกวินหนุ่มจะเลือกก้อนกรวด (Pebble) ที่สวยที่สุด
เพื่อนำไปมอบให้กับเพนกวินสาวสวย ถ้าสาวรับหินแล้วนำไปไว้ที่รัง นั่นหมายถึง การตอบรับที่จะสร้างครอบครัวไปด้วยกัน
ปรากฏการนี้จึงมีชื่อเรียกว่า “Pebbling” คือ การแสดงความรักด้วยการกระทำเล็ก ๆ ที่เราอยากส่งต่อความรัก ความคิดถึงไม่ว่าจะเป็นการส่งมีม รูปภาพ สติกเกอร์ คลิปวิดีโอสั้น ๆ ให้กับคนที่เรารัก
นอกจากนี้ยังมีการเปรียบ Pebbling ว่าเหมือนกับการที่เราโยนก้อนหินเล็ก ๆ ลงในน้ำ ที่ก่อให้เกิดระลอกคลื่นที่แผ่ขยายออกไปได้กว้าง
เหมือนกัน กับการกระทำของเรา ที่การส่ง หรือแชร์จะดูเล็กน้อย แต่มันคือการแสดงออกที่น่ารักส่งต่อความสุข แต่ต้องบอกด้วยว่าคำนี้มีมานาน และถูกใช้มานานแล้วโดยมันไม่ได้เริ่มจากการส่งมีมบนโซเชียลเท่านั้น
Pebbling Effect Idea
1. แชร์เพลงให้กัน
2. ให้ของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ
3. เขียนโน้ตให้ด้วยมือ
4. การดูแลเล็ก ๆ โดยไม่ต้องถาม เช่น หยิบกระดาษทิชชู่ให้ตอนทานข้าว
5. ถ่ายรูปเวลาไปสถานที่ที่ชอบแล้วส่งให้กัน
พ่อแม่หลายคนก็พบว่าการ Pebbling นั้นช่วยให้พวกเขาสนิทสนมกับลูกมากขึ้น และทำให้ช่องว่างระหว่างวัยลดลงด้วยเช่นกัน
จากข้อมูล Do It for the Culture: The Case for Memes in Qualitative Research พบว่าการส่งมีมสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลขึ้นมาได้
โดยการส่งมีมระหว่างผู้วิจัยและผู้เข้าร่วมนั้นเป็นกลยุทธ์ที่ดีในการทำความรู้จักอีกฝ่าย มีส่วนช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้เชื่อใจกันและมีความกลมเกลียวกันง่ายขึ้น
และมุกตลกที่เฉพาะเจาะจงของมีมแต่ละมีมนั้น ยังทำให้สามารถคาดเดาลักษณะนิสัยของคู่สนทนาได้อีกด้วย
ที่มา :
Projection คืออะไร เพื่อน ๆ หลายคนคงจะมีบ้างที่รู้สึกไม่ชอบลักษณะนิสัยหรือการกระทำบางอย่างของคนอื่น แต่ในบางครั้ง สิ่งที่เราไม่ชอบในคนอื่น อาจจะมาจากการไม่ชอบตัวเองก็ได้
มาทำความรู้จักกับ Defence Mechanism หรือกลไกการป้องกันตัวแบบหนึ่งของมนุษย์เราที่เป็นคำตอบสำหรับประเด็นนี้คืออะไร
Defence Mechanism กลไกการป้องกันตัว
Defence Mechanism คือ กระบวนการที่จิตใจเราใช้เพื่อให้ ID EGO Superego ของเรายังสมดุลเนอะ ความต้องการของเรา การมองโลกตามความเป็นจริง
และการทำกรอบของสังคม บางครั้งเราทำทั้งหมดนั้นพร้อมกันไม่ได้ Defence Mechanism จึงมาเพื่อช่วยลดความตึงเครียดในใจเรา
Defence Mechanism เป็นได้ทั้งกระบวนการที่ช่วยให้เราไม่กลายเป็นบ้า (คุมสติเราไม่ให้พังจนใช้การไม่ได้) หรือไม่ก็ทำให้เราหลุดจากความเป็นจริงไปเลย
Defence Mechanism มีหลากหลายแบบ แต่เราจะกล่าวคือ Projection และ ขั้นกว่า คือ Projective Identification
Projection การฉายสะท้อน
การปฎิเสธข้อมูลที่รับไม่ได้เกี่ยวกับตัวเอง แล้วโยนให้คนอื่น หรือ การสะท้อนลักษณะอันไม่พึงประสงค์ของตนไปให้ผู้อื่น
เช่น เราโกรธเพื่อน แต่รู้สึกว่าการโกรธเพื่อนเป็นสิ่งที่ผิด ไม่ควรโกรธ ไปๆมาๆ พอเพื่อนตอบแชทช้า เราเผลอคิดไปว่าเพื่อนนั้นแหละที่โกรธ
ภาวะนี้เป็นอะไรที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ และหลายครั้งเราอาจจะไม่รู้ตัว เรียกว่ามันอยู่ในระดับจิตใต้สำนึก เพราะฉะนั้น บางครั้งเราก็จึงไม่รู้ตัวว่า สิ่งที่เราไม่ชอบในตัวคนอื่น คือสิ่งที่เราไม่ชอบในตัวเอง
Projective Identification การยัดเยียดอัตลักษณ์
หากเปรียบเทียบ การฉายภาพสะท้อน คือการที่เรามีบางสิ่งในตัวเราที่ไม่ชอบ แล้วเราก็โยนมันเป็นของคนอื่น ๆ แต่ Projective identification นอกจากโยนสิ่งที่ไม่ชอบให้คนอื่นแล้ว
เรายังแสดงพฤติกรรมเพื่อกระตุ้นให้อีกฝ่ายเป็นในสิ่งที่เราโยนให้เขาด้วย เหมือนการเอาชุดไปสวมให้เขาแล้วทำให้เขาเล่นบทบาทอย่างที่เราไม่ชอบ เรากำลังสร้างให้เขาเป็นสิ่งที่เราไม่ชอบในตัวเอง
ตัวอย่างเช่น เราไม่ชอบที่ตัวเอง “ขี้โมโห” เราก็เลยโยนไปว่าเพื่อนเราต่างหากที่ขี้โมโห โดยเราอาจจะพูดว่า “แกอย่าโมโหสิ” “อย่าใช้อารมณ์นะ”
ทั้ง ๆ ที่คนปกติก็คือ อารมณ์เสียแต่เราไปเน้นว่า “แกขึ้โมโห” มุมมองของเพื่อนต่อตัวเองก็เปลี่ยนไป
กลไกป้องกันตนเองแบบ Projection เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
กลไกป้องกันตนเองแบบการฉายภาพสะท้อน มีความเชื่อมโยงกับการเรียนรู้เรื่องความ “ผิด/ถูก” โดยคนเราจะเริ่มใช้กลไกป้องกันตนเองในช่วงวัยเด็กตอนกลาง
ซึ่งเป็นช่วงที่มนุษย์เริ่มมีพัฒนาการในเรื่องของความผิดชอบชั่วดีขึ้นมาแล้ว ถือว่าเป็นกลไกป้องกันตนเองแบบแรก ๆ ที่ถูกนำมาใช้
เพราะเป็นกลไกที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจเรื่องของความดีความเลว แบบขาวกับดำ และเพื่อสร้างสมดุลของความดีและความไม่ดีในตัวเรา ปกป้องเราจากความเจ็บปวด คววามกลัว ความโหดร้าย
การรู้เท่าทันภาวะการโทษคนอื่น
ข้อขอบคุณข้อมูลจาก อาจารย์ ดร.พนิตา เสือวรรณศรี
การจะปรับให้เราไม่ตกเป็นเหยื่อของกระบวนการความคิดแบบนี้ คือ เราต้องถามตนเองว่าการที่เรามองคนอื่นว่าเขาเลว อันตราย น่ากลัว ความคิดนี้อยู่บนพื้นฐานความจริงแค่ไหน
หรือเรากำลังโยนความรู้สึกไม่ปลอดภัย วิตกกังวลที่เรามีในใจออกไปสู่คนอื่นอยู่รึเปล่า อะไรที่ทำให้เรารู้สึกวิตกกังวล ไม่ปลอดภัยเมื่อมีคนที่คิดเห็นต่างจากเรา เป็นแบบที่เราไม่ชอบ มันผิดตรงไหน
แล้วความรู้สึกนี้อยู่บนพื้นฐานความจริงแค่ไหน ในทางตรงกันข้าม คนที่เรามองว่าเป็นคนดีที่ไม่มีที่ติ เขาดีแบบนั้นจริง ๆ หรือไม่ ความคิดนี้อยู่บนเหตุผลและหลักฐานตามความเป็นจริงแค่ไหน
หรือเราแค่ทำให้คนนั้นหรือกลุ่มคนนั้นเป็นกลุ่มคนอุดมคติเพื่อให้เรารู้สึกปลอดภัย ทำให้เรารู้สึกว่าเราเป็นคนดีที่เราก็อยู่ในกลุ่มนั้น
ที่มา :
Understanding Experiences of Projective Identification
ทำไมความต่างจึงนำไปสู่ความเกลียด
ชวนทุก ๆ คนมาทำของขวัญที่เป็น ‘โหลข้อความ’ ที่เต็มไปด้วยความรู้สึกดี ๆ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า กระปุกเติมใจ 💖
ฟังดูน่าสนใจใช่ไหม? ถ้าน่าสนใจก็ไปลองทำกันเลย!
EP นี้มีที่มาจาก เพื่อนสนิทให้ของขวัญ ตอนให้เพื่อนได้บอกไว้ว่า ‘เวลาที่รู้สึกแย่อย่าลืมหยิบของขวัญชิ้นนี้มาเปิดอ่านนะ’ 🙂
🔹 DIY โหลข้อความ 💌 (How-To แบบง่ายๆ)
🛠️ อุปกรณ์ที่ต้องมี :
✅ โหล / ขวดแก้ว หรือจะใช้ กล่องสวยๆ ก็ได้
✅ กระดาษโน้ตเล็กๆ หรือ กระดาษสีสันสดใส
✅ ปากกา / สี / สติกเกอร์ / ของตกแต่งอื่นๆ(เพื่อเพิ่มความน่ารัก)
🎀พับเป็นม้วนจิ๋ว 🎀
✏️ วิธีทำ :
1️⃣เขียนข้อความบนกระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2️⃣ม้วนให้เป็นหลอดเล็กๆ
3️⃣ผูกด้วยริบบิ้น เชือก หรือใช้สติกเกอร์ปิด
ถ้าไม่มีริบบิ้น เราจะแปะเทป แล้ววาดหัวใจ
🔹 ใช้สีริบบิ้นแตกต่างกัน เพื่อแยกหมวด เช่น กำลังใจ 💛 / คำขอบคุณ 💙 / คำอวยพร ❤️
Self Affirmation Theory
รู้ไหมว่า การให้กำลังใจตัวเองหรือคนอื่นผ่านข้อความแบบนี้ มันสอดคล้องกับทฤษฎีจิตวิทยาที่เรียกว่า Self-Affirmation Theory
Self-Affirmation Theory คืออะไร?
ทฤษฎีของ Claude Steele (1988) มนุษย์เราต้องการรักษาภาพลักษณ์ตัวเองให้ดีตลอดเวลา (ต้องเก่ง ต้องดี ต้องเป็นที่รัก)
แต่เมื่อเจอเรื่องที่ทำให้รู้สึกว่า “เราไม่ดีพอ” มันจะสร้างความตึงเครียดในจิตใจ การเขียนข้อความยืนยันให้ตัวเองหรือให้คนอื่น
จะช่วยให้เรากลับมาโฟกัสสิ่งดีๆ และเสริมพลังบวกให้ตัวเอง การมี “โหลข้อความ” ที่เต็มไปด้วยคำพูดให้กำลังใจ
คือ การเตรียม self-affirmation ไว้ล่วงหน้า 💖 เมื่อรู้สึกแย่ เราแค่หยิบข้อความขึ้นมาอ่าน ก็สามารถช่วยลดความเครียดและเพิ่ม self-worth ได้
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยของ Cascio et al. (2016) พบว่า การให้คำยืนยันกับตัวเองช่วย
ลดการทำงานของสมองในส่วนที่เกี่ยวกับความเครียด (ventral anterior cingulate cortex) และช่วยฝึกให้เรามองโลกในแง่ดีขึ้น
Results of a region of interest analysis demonstrated that participants who were affirmed showed increased activity in key regions of the brain’s self-processing and valuation systems when reflecting on future-oriented core values.
📢 มีงานวิจัยอีหลายชิ้นพบว่า คนที่เขียน gratitude notes หรือเขียน appreciation messages เป็นประจำ มีแนวโน้มที่จะสุขภาพจิตดีขึ้น!
The effect of a grateful outlook on psychological and physical well-being was examined. Results suggest that a conscious focus on blessings may have emotional and interpersonal benefits.
💡 “ดังนั้น! แค่มี ‘โหลข้อความ’ ที่เต็มไปด้วยคำดีๆ ก็สามารถช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นและรักตัวเองได้มากขึ้นจริงๆ!”
ภาษาความรัก (love language)
ทำไมของขวัญชิ้นนี้ถึงพิเศษ? 👩❤️👨 “ของขวัญแต่ละแบบเหมาะกับคนแต่ละประเภท ตามแนวคิด Love Language (ภาษาความรัก)”
📖 เป็นแนวคิดที่แบ่งคนออกเป็น 5 แบบ ในความสัมพันธ์ว่าเราแสดงออกหรือต้องการความรักแบบไหน
💖 กิจกรรมนี้เหมาะกับ…
✅ Words of Affirmation – คนที่ชอบฟังคำพูดดีๆ จะชอบมาก!
✅ Receiving Gifts – คนที่ชอบของขวัญจะรู้สึกว่าเราตั้งใจทำให้จริงๆ!
✅ Acts of Service – นี่คือของขวัญที่ใช้เวลาทำให้จากใจจริง!
อ้างอิง
“ถ้าไม่ใช่ความจริง ไม่เห็นต้องไปแคร์เลย” หรือ “เขาก็พูดถูกแล้ว จะไปโกรธทำไม”
ความอยากรู้อยากเห็น คือ พลังขับเคลื่อนข่าวลือ
ในช่วงชีวิตของเรา ข่าวลือเปรียบเสมือนสายลมที่พัดผ่าน อาจเย็นสบาย หรือบางครั้งก็หนาวเยือกจนหัวใจสะท้าน
อาจจะเป็นเรื่องจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง หรืออยู่ในขอบเขตของความจริงเพียงครึ่งเดียวก็ตาม แต่บางครั้งก็ส่งผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ตามมาได้
ไม่ว่าจะเป็นข่าวลือในแง่ใดก็ตาม เมื่อขึ้นชื่อว่าข่าวลือ เราอาจพิจารณาได้ว่า ข่าวลือนั้นเป็นสิ่งที่ทั้งมีมูลหรืออาจไม่มีก็ได้
รู้เพียงแต่ผู้เป็นเจ้าของเรื่อง คงไม่ทันได้อนุญาตให้ถูกพูดถึงในทางใดทางหนึ่ง ทำให้การพูดถึงอย่างลับหลังหรือต่อหน้าก็ดีนั้น
คล้ายกับการถูกล้ำเส้นในความรู้สึก ถึงแม้จะพูดความจริงหรือความเท็จในเชิงชื่นชมก็ตาม ก็อาจล้วนสร้างความรู้สึกแปลกใจเล็กน้อยว่ามีเหตุผลอะไรถึงได้พูดถึงเรา
แท้จริงแล้ว ข่าวลือก็ถือเป็นหนึ่งในผลผลิตของความอยากรู้อยากเห็นนั่นเอง
มันเกิดจากมุมมองที่ไม่สมบูรณ์ของผู้คน หรือการตีความที่ไม่ได้คำนึงถึงความเป็นจริงทั้งหมด ซึ่งบางครั้งมันก็อาจสะท้อนอะไรบางอย่างในตัวเรา
แต่หลายครั้งมันก็แค่เป็นเรื่องเติมแต่งที่ขาดความหมาย แต่ถึงอย่างนั้น ความโกรธหรือความไม่สบายใจมันก็ยังคงอยู่
และจะมีวินาทีหนึ่งที่เราดันเกิดคำถามกับตัวเองว่า “แล้วจะไปโกรธทำไม?”
และวินาทีนี้นี่เอง ที่สมองกับหัวใจเริ่มแข่งขันกันทำงาน
ในมุมแรก
“ถ้าข่าวลือนั้นเป็นความจริง เราไม่ควรโกรธสิ เพราะเขาก็พูดถูกแล้ว จะไปโกรธเขาทำไม”
จากนั้นมุมที่สองก็ส่งเสียงขึ้นมาเบา ๆ ว่า “เพราะเรารับความจริงไม่ได้ไง เราถึงได้โกรธ”
ทันใดนั้น มุมที่สามก็ลุกขึ้นมาตบบ่าทั้งสองมุมแรกพร้อมพูดว่า
“พวกเธอจะโกรธคนที่พูดถึงข่าวลือที่เป็นจริงก็ได้นะ แต่สิ่งที่สมควรโกรธที่สุด คือ ข่าวลือที่ไม่เป็นความจริงต่างหาก เพราะมันทำให้เราเกิดความเสียหายได้ทั้งด้านชื่อเสียงและความรู้สึกไง”
“ไม่นะ” เสียงแว่วจากมุมที่สี่ที่นั่งฟังเพื่อน ๆ โต้เถียงกันอย่างเงียบ ๆ ได้แทรกขึ้นมาทันทีหลังมุมที่สามพูดจบ มุมที่สี่หลับตาลงและพูดด้วยน้ำเสียงเรียบ ๆ ต่อว่า “ก็ถ้ามันไม่ใช่ความจริง ก็ไม่เห็นต้องโกรธเลย”
สุดท้ายแล้ว จะเป็นความจริงหรือไม่ เราก็มักถูกห้ามไม่ให้รู้สึกโกรธหรือไม่ควรไม่พอใจอยู่ดี…
เราควรโกรธความจริงหรือความไม่จริง
การที่เราจะโกรธหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเจตนาของผู้พูด ไปจนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเรา หรือสภาพอารมณ์และอคติเราที่มี ณ ตอนนั้น
ถ้าเรื่องที่เขาพูดเป็นความจริง เราอาจต้องพิจารณาว่าเรื่องนั้นเป็นประเด็นที่ควรปรับปรุงตัวเองไหม
หากเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราพัฒนาตัวเอง การโกรธก็อาจไม่จำเป็น แต่ถ้าเขาพูดความจริงในลักษณะที่ดูหมิ่น เหยียดหยาม หรือทำร้ายจิตใจเรา การโกรธก็อาจเกิดขึ้นได้ และเป็นเรื่องธรรมชาติ
ถ้าเรื่องที่เขาพูดไม่เป็นความจริง และพูดโดยไม่มีเจตนาร้าย เช่น เข้าใจผิดหรือไม่รู้จริง การโกรธอาจไม่ช่วยอะไร
หากเราสะดวกก็ควรชี้แจงให้เขาเข้าใจ แต่ถ้าเขาตั้งใจพูดโกหกเพื่อทำลายชื่อเสียงหรือทำร้ายเรา การโกรธหรือแสดงออกเพื่อปกป้องตัวเองก็เป็นเรื่องสมเหตุสมผล
หรือไม่งั้น ง่าย ๆ เลย ก่อนที่เราจะให้อารมณ์ความรู้สึกโกรธมาครอบงำจิตใจ
ลองถามตัวเองก่อนว่า การโกรธจะช่วยแก้ปัญหาไหม และเราจะสื่อสารหรือจัดการเรื่องนี้ให้เกิดผลที่ดีขึ้นได้ยังไง
เพราะสุดท้ายแล้ว การควบคุมอารมณ์และใช้เหตุผล จะช่วยให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้นในสถานการณ์ที่ยากลำบากซึ่งจะเป็นผลดีต่อตัวเราเอง
ไม่ใช่ว่าห้ามโกรธ เราสามารถเกิดความรู้สึกไม่ดีต่าง ๆ ได้ เพียงแค่เมื่อเกิดความรู้สึกขึ้นแล้ว เราต้องยอมรับอย่างซื่อสัตย์และจัดการความรู้สึกนั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม
รับมืออย่างผู้ชนะ
เหนือสิ่งอื่นใด เราต่างรู้ดีว่าการรับรู้สิ่งต่าง ๆ อาจจะเป็นเรื่องที่ทั้งหลีกเลี่ยงได้หรือไม่ได้ก็ตาม หัวใจสำคัญของการรับมือ คือ ความคิดความเข้าใจ
เราจะปล่อยวางเพื่อรักษาความสุขได้โดยการแยกแยะสิ่งที่ควรใส่ใจ เชื่อมั่นในความจริงของเรา ถ้าข่าวลือไม่ใช่ตัวตนของเรา
หรือไม่ได้ทำให้ชีวิตของเราดีขึ้น ก็ปล่อยให้มันผ่านไป อย่าเอาพลังงานของเราไปเสียกับสิ่งที่ไม่สำคัญ
เพราะการที่เราเลือกให้ค่ากับข่าวลือมากเกินไป นั่นคือ เรากำลังปล่อยให้เสียงของคนอื่นมามีอำนาจเหนือความคิดความรู้สึกเรา
ดังนั้นการเลือกปล่อยวางไม่ใช่การยอมแพ้ แต่เป็นการให้คุณค่าแก่ตัวเอง และเราจะพบว่า โลกภายนอกไม่สามารถทำลายความสุขในใจเราได้
เมื่อเราไม่ปล่อยให้ข่าวลือมากำหนดอารมณ์ของเรา ถึงแม้เราจะควบคุมความคิดคนอื่นไม่ได้เป็นเรื่องปกติ
ขอแค่อย่างน้อยเราควบคุมตัวเองได้และสามารถโอบกอดความสงบ ความเป็นตัวเราได้อย่างแข็งแรงก็พอ
พร้อมกับทำความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ว่า ทุกคนล้วนมีความคิดเห็น ซึ่งความคิดเห็นเหล่านั้นก็ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงเสมอไป
ข่าวลือคือส่วนหนึ่งของธรรมชาติของสังคม ถ้าเรารู้ว่าตัวเองเป็นใครและยืนอยู่บนพื้นฐานของความจริง
เราจะไม่รู้สึกสะท้านต่อคำพูดของคนอื่น การโกรธหรือพยายามแก้ไขข่าวลือจะไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นเสมอไป เพราะสุดท้าย เวลาจะเป็นตัวช่วยปรากฏความจริงได้เสมอ
“ไม่กล้าไปพบนักจิตวิทยา” ด้วยสังคมที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพจิตมากขึ้น การไปพบผู้เชี่ยวชาญอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่หลายคนสนใจ แต่พอตัดสินใจจะไปจริง ๆ กลายเป็นว่า กลัว ไม่กล้า
สาเหตุที่ทำให้เกิด ‘ความกลัวการพบผู้เชี่ยวชาญ’ คืออะไร ? จะรับมืออย่างไร ?
สาเหตุของความกลัว “ไม่กล้าไปพบนักจิตวิทยา”
1. ประสบการณ์ในอดีตที่ไม่ดี
หลาย ๆ คนอาจจะเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีในการพบปะกับคนแปลกหน้าหรือ ผู้เชี่ยวชาญ เช่น การถูกตัดสิน หรือการไม่รู้สึกว่าได้รับความเข้าใจจากคนที่เราพบ อาจจะเกิดขึ้น
จากการที่เราเคยเจอกับคนที่ไม่พอใจหรือทำให้เรารู้สึกไม่ดีในอดีต ดังนั้นเมื่อถึงเวลาต้องพบกับผู้เชี่ยวชาญใหม่ ๆ เราจึงเกิดความกลัวหรือความวิตกกังวลที่จะเผชิญหน้า
2. ความรู้สึกกลัวการถูกตัดสิน
บางคนอาจจะมีความกลัวที่จะเปิดเผยตัวตนของตนเองหรือปัญหาส่วนตัวให้กับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ เพราะกลัวว่าจะถูกตัดสินหรือไม่ยอมรับ
ความกลัวนี้มักจะมาจากความไม่มั่นใจในตัวเอง หรือเคยมีประสบการณ์ในอดีตที่ไม่ดีจากการถูกตัดสินจากคนอื่น เช่น การรู้สึกว่าปัญหาของเราดูไม่น่าสนใจหรือไม่สำคัญต่อผู้อื่น
3. การมองไม่เห็นคุณค่าในการพบผู้เชี่ยวชาญ
บางคนอาจจะคิดว่าไม่จำเป็นต้องไปพบผู้เชี่ยวชาญ หรืออาจจะไม่เข้าใจว่าการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยได้จริง ๆ
การมองไม่เห็นถึงประโยชน์ของการพบผู้เชี่ยวชาญอาจทำให้คนเราตัดสินใจที่จะหลีกเลี่ยงการไปพบจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา
4. ความวิตกกังวลในเรื่องของความไม่รู้
บางคนอาจจะไม่กล้าไปพบผู้เชี่ยวชาญเพราะกลัวไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้างหรือเกิดอะไรขึ้นระหว่างการพบเจอกับผู้เชี่ยวชาญ
ความไม่รู้เกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ อาจทำให้เรารู้สึกไม่มั่นใจหรือกลัวว่าจะต้องเจอกับสิ่งที่ไม่คุ้นเคย
5. ความกลัวการไม่ยอมรับจากสังคม
ในบางกรณี คนบางกลุ่มอาจจะไม่กล้าไปพบผู้เชี่ยวชาญเพราะกลัวการถูกมองว่า “บ้า” หรือ “ไม่ปกติ” โดยเฉพาะในสังคมที่ยังมีการตีตราหรือมีทัศนคติที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับการปรึกษา
ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตใจ การที่คนรอบข้างไม่เข้าใจ หรือมองว่าการไปหาจิตแพทย์เป็นสิ่งที่ไม่ปกติ อาจทำให้บางคนไม่กล้าไปพบผู้เชี่ยวชาญ
6. การหลีกเลี่ยงความรู้สึกที่ไม่สบายใจ
บางคนอาจจะรู้สึกว่าการไปหาผู้เชี่ยวชาญนั้นจะทำให้เราต้องเผชิญกับความรู้สึกที่ไม่สบายใจ หรือเปิดเผยตัวเองในเรื่องที่อาจทำให้เราเจ็บปวด อาจจะรู้สึกว่า
“ไม่อยากเจาะลึกเรื่องราวในอดีต” หรือ “ไม่อยากเปิดเผยสิ่งที่เจ็บปวด” การที่เรากลัวความรู้สึกเหล่านี้อาจทำให้เราตัดสินใจที่จะไม่ไปพบผู้เชี่ยวชาญ
วิธีการจัดการ “ไม่กล้าไปพบนักจิตวิทยา”
เมื่อเรามองเห็นสาเหตุที่ทำให้เราไม่กล้าไปพบผู้เชี่ยวชาญ เราสามารถเริ่มจัดการกับความกลัวและความวิตกกังวลเหล่านั้นได้ โดยการทำความเข้าใจตัวเองและการเตรียมตัวก่อนที่จะไปพบผู้เชี่ยวชาญ
1. ทำความเข้าใจกับความกลัวของตัวเอง
การทำความเข้าใจกับสาเหตุที่ทำให้เรากลัวจะช่วยให้เราเตรียมตัวรับมือกับความรู้สึกนั้นได้ การรู้ว่าความกลัวของเรามาจากประสบการณ์ที่ไม่ดีหรือ
การกลัวการถูกตัดสินจะช่วยให้เราผ่อนคลายมากขึ้น เพราะเราจะรู้ว่าเราไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่ทำให้เรากลัวจริง ๆ
2. หาคำแนะนำจากคนที่มีประสบการณ์
การพูดคุยกับคนที่เคยไปพบผู้เชี่ยวชาญแล้วอาจช่วยให้เรารู้สึกมั่นใจขึ้น พวกเขาอาจจะแบ่งปันประสบการณ์หรือให้คำแนะนำในการเตรียมตัวสำหรับการไปพบผู้เชี่ยวชาญ
3. ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน
ก่อนที่จะไปพบผู้เชี่ยวชาญ ควรตั้งเป้าหมายว่าเราต้องการอะไรจากการไปพบ เช่น การเข้าใจตัวเองมากขึ้น การหาทางออกจากปัญหาที่กำลังเผชิญ
หรือการได้รับคำแนะนำในการแก้ไขปัญหาชีวิตเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้เรามีแรงจูงใจในการตัดสินใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
4. เริ่มจากการปรึกษาผ่านทางออนไลน์
หากกลัวที่จะไปพบผู้เชี่ยวชาญตัวต่อตัว อาจเริ่มต้นจากการปรึกษาผ่านทางออนไลน์หรือโทรศัพท์ เพื่อให้เราค่อย ๆ ปรับตัวและคุ้นเคยกับการพบผู้เชี่ยวชาญ
5. เปิดใจและมองในแง่บวก
การเปิดใจและมองการพบผู้เชี่ยวชาญเป็นโอกาสในการเติบโตและพัฒนาตัวเองจะช่วยให้เราลดความกลัวและความกังวลลงได้
อย่าลืมว่าเป้าหมายหลักของการไปพบผู้เชี่ยวชาญคือการได้รับการช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาหรือการดูแลสุขภาพจิตของตัวเอง
การไม่กล้าไปพบผู้เชี่ยวชาญอาจจะเกิดจากความกลัว ความวิตกกังวล หรือประสบการณ์ในอดีตที่ไม่ดี แต่การจัดการกับความรู้สึกเหล่านี้
และการทำความเข้าใจตัวเองจะช่วยให้เราก้าวข้ามความกลัวนั้นไปได้ และสามารถเลือกที่จะได้รับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญที่สามารถช่วยให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้นและหาทางออกจากปัญหาชีวิตได้
เข้าใจเรื่อง ความตาย เพศ และ มาตรฐานความงามของสังคม ผ่าน หนังสือนิทาน จากสำนักพิมพ์ Bookscape
ความตายของเจ้าหนอนผีเสื้อ
หลังจากที่เราสูญเสียใครสักคนไปเราจะมีหลายความรู้สึกที่เกิดขึ้น ช็อค โกรธ ขอให้อีกฝ่ายฟื้นขึ้นมา เศร้า ยอมรับ แล้วจึงใช้ชีวิตต่อไปได้
ทั้ง 5 ความรู้สึกนี้เรียกว่า 5 ระยะ การก้าวผ่านความสูญเสีย ซึ่งเมื่อเราสูญเสียใครไป 5 ความรู้สึกนี้จะเกิดขึ้น
มันอาจจะไม่เรียงแต่อาจจะวนแบบสลับกัน แต่สุดท้ายเราก็จะเหมือนเพื่อน ๆ ของหนอนผีเสื้อ
เมื่อเวลาผ่านพ้นไปความเจ็บปวดจะค่อย ๆ ลดลง ถึงมันจะไม่มีวันหาย แต่ความรู้สึกนั้นสักวันนึงก็จะเปลี่ยนไป
เงือกน้อยจูเลียน
เงือกน้อยจูเลียนใช้วิธีการเล่าเรื่องเปรียบเปรย Drag ในเรื่องว่าเป็นแก๊งนางเงือก อาจจะดูธรรมดาแต่แฝงด้วยความหมาย
นอกจากนั้นแล้วหนังสือนิทานเล่มนี้ ชวนให้เราโอบรับความหลากหลาย ความชอบ และสิ่งที่เราเป็น และอยากจะเป็น
คุณแม่มดสวยปิ๊ง !!
แม่มด กับยักษ์ ที่รักกัน จีบกัน สองสิ่งที่แตกต่างแต่รักกันได้ หนังสือเล่มนี้สอนให้เราได้เรียนรู้ที่จะต้องฟังเสียงของตัวเองก่อนเสียงของคนอื่น
และ 2 ประเด็นหลักของนิทานเรื่องนี้ คือ 1. เรื่องของความงามในบิวตี้แสตนด์ดาร์ดที่สังคมตั้งไว้
2. Self- Esteem หรือการมองเห็นคุณค่าในตัวเองการรับรู้ว่าตนเองมีคุณค่าจากการมองตนเอง โดยรวมการเห็นคุณค่าในตนเอง
สิ่งเหล่านี้ช่วยสร้างความมั่นคงให้เรา แล้วเราจะไม่หวั่นไหว ต่อสังคมที่บอกว่า ความสวยต้องเป็นแบบไหน
อุปาทานหมู่ คืออะไร เพราะอะไรคนบางกลุ่มถึงเกิดแสดงอาการบางอย่างเหมือน ๆ คล้ายกับจะติดต่อกันได้ และทำไมมนุษย์ไม่กล้าแตกแถว Learn & Share อีพีนี้
ขอชวนทุกคนมาทำความเข้าใจ “อุปทานหมู่” ที่ว่ากันว่า เป็นโรคติดต่อทางจิตวิทยา
อุปาทานหมู่ คืออะไร
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งมีความค่อนเกี่ยวกับจิตสังคม คือ มักจะเกิดขึ้นกับบุคคลตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ในกรณีที่กลุ่มบุคคลนั้นมีความคิด ความเชื่อว่าตนเผชิญปัญหาเดียวกันจึงแสดงอาการออกมาแบบเดียวกัน
ซึ่งถ้าทำการตรวจทางการแพทย์ ก็จะไม่พบสิ่งผิดปกติทางร่างกายที่อธิบายอาการต่าง ๆ เหล่านี้ได้ สาเหตุอาจเกิดจากความเครียดหรือ ความกดดันทางใจ
ยกตัวอย่าง ในยุคกลาง เป็นยุคที่มีความตึงเครียดทางศาสนาสูง เรื่องความเชื่อทางสาสนามีอิทธิพลต่อคนมาก บวกกับช่วงนั้นโรคระบาดและความคลาดแคลนทางอาหารก็สูง
คนเครียดกันมาเป็นเวลานาน และแล้วก็มีหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ ๆ ก็เป็นโรคหยุดเต้นไม่ได้ จะเต้นอยู่อย่างนั้นจนเป็นลม แล้วก็ติดต่อกัน (คำอธิบายนึงก็คือในหมู่บ้านนี้นับถือ St. Vitus ที่เชื่อกันในหมู่บ้านว่าสั่งให้คนเต้นได้)
อุปาทานหมู่ โรคติดต่อทางจิตวิทยา ?
หากอิงตามคู่มือการแพทย์อย่าง DSM-5 ไรเงี่ยก็ยังไม่ใช่โรค เป็น Conversion Cisorder = เป็นภาวะที่อารมณ์ส่งผลต่อร่างกายโดยที่ไม่มีสาเหตุทางกายภาพ
เป็นอาการทางจิตที่ทำให้ร่างกายแสดงออกเหมือนมีปัญหาจริง ๆ ทั้งที่ร่างกายไม่มีอะไรผิดปกติ
จากข้อมูล British historian and Fortean researcher Mike Dash ศึกษาพบว่ามีองค์ประกอบ 6 ข้อที่บ่งชี้ว่าเกิดกรณี อุปาทานหมู่ขึ้น
1. มีปัจจัยเหนี่ยวนำ เช่น ความเชื่อในท้องถิ่น
2. การแพร่กระจายของข้อมูล ความเชื่อ
3. ขาดความเชื่อถือในตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการรับและการแปลข้อมูลที่ผิด
4. ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นที่แต่ละภูมิภาคนับถือ
5. ถูกกระตุ้นจาก 1 คนเป็น 2 คน และเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ
6. การระบาดของอาการอย่างผิดปกติ จนต้องมีหน่วยงานเข้าไปดูแล เพราะอุปทานหมู่จะเกิดเมื่อคนหนึ่งเจ็บป่วยหรือมีภาวะเครียด
ซึ่งคนอื่นก็จะแสดงอาการคล้าย ๆ กันออกมา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดหัว
อุปาทานหมู่ ไม่ใช่โรคติดต่อทางจิตวิทยา ไม่ใช่โรคทางจิตเวช แต่เป็นอาการที่เกิดจากความคิด ความเชื่อ “แพร่ระบาดทางความคิด”
ซึ่งวิธีรักษาก็คือ แค่นำคนเหนี่ยวนำหรือตัวกระตุ้น ออกจากกลุ่มจนกว่าอาการจะปกติถึงจะนำกลับเข้าสังคมได้ ถ้าภาษาทางจิตวิทยา คือ
การทำจิตบำบัดนั่นเองค่ะ เพื่อให้เห็นถึงปัญหาที่แท้จริงและแก้ได้อย่างตรงจุด อาการก็จะดีขึ้นไว
ทำไมมนุษย์ไม่กล้าแตกแถว
ทฤษฎี Peer pressure หรือ ความกดดันทางสังคม
โซโลมอน แอช เคยทำการทดลองเกี่ยวกับการให้หน้าม้าหลาย ๆ คนตอบคำถามผิดติดต่อกันเพื่อดูว่าผู้ร่วมทดลองจะตอบผิดด้วยมั้ย
ปรากฏว่า เกินครึ่งตอบผิดตามหน้าม้าถึงจะเห็นอยู่แล้วว่าคำตอบที่ถูกต้องคืออะไรแต่ก็เลือกที่จะตอบผิดตาม แต่อีกห้องที่ไม่มีหน้าม้า กลับตอบถูกตามสิ่งที่ตัวเองเห็นปกติ
แอชจึงสรุปว่าความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและการตัดสินใจของมนุษย์ มากกว่าหลักฐานที่เป็นรูปธรรม
หลังการทดลอง ผู้เข้าร่วมการทดลองเขาก็บอกว่า กลัวจะแปลกแยกถ้าตอบต่างจากคนอื่น ถึงแม้จะไม่ได้เชื่อหน้าม้าแต่ก็ยอมผิดตาม
ยิ่งถ้าจำนวนคนที่เชื่อมั่นในสิ่งหนึ่งมากเท่าไร เราที่อยู่ในสังคมนั้นก็จะเชื่อตาม เพียงแต่ไม่ได้มีอาการทางกายอะไรที่แสดงออกมาชัดเจนเหมือนอุปาทานหมู่
ที่มา :
(Mass hysteria) คืออะไร? – นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช.
โซโลมอน แอสช์ : ทำไมมนุษย์จึงไม่กล้าแตกแถว แม้เดินบนเส้นทางที่ผิด
ความยากของนักจิตวิทยา หนึ่งคำถามสำคัญของสายอาชีพเกี่ยวกับสุขภาพจิต คือ การทำงานเป็นนักจิตวิทยามีความยากอย่างไร ? ต้องพบเจอเรื่องราวแบบไหน ?
หาคำตอบได้จาก Alljit x คุณวันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยาการปรึกษา
ความยากของนักจิตวิทยา สำคัญที่สุดไม่ใช่แค่การจัดการกับเคสของคนอื่น แต่คือการจัดการกับตัวเอง
และต้องสามารถแยกแยะความรู้สึกของเราออกจากความรู้สึกของผู้ที่เรากำลังช่วยเหลือ
เพื่อที่จะทำงานได้เต็มที่ในทุก ๆ วินาที การฝึกฝนและ การทำงานกับตัวเองอย่างต่อเนื่องเป็นกุญแจสำคัญในการประสบความสำเร็จในอาชีพนี้ โดยการมี 3 ตัวตนในการทำงาน
1.ตัวตนที่รับฟังเคส
2.ตัวตนที่รับรู้ความรู้สึกของตัวเอง
3. ตัวตนที่วิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถดูแลทั้งตัวเองและเคสได้อย่างสมดุล
ความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นจากการทำงานอย่างเต็มที่ในทุก ๆ เคสแต่ถ้าเราเข้าใจและรับรู้คุณค่าในความเหนื่อยนั้น พร้อมกับการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง
ความเหนื่อยและความยากที่เกิดขึ้นจะไม่ทำให้เราหมดแรง แต่กลับเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ช่วยให้เราเติบโตและมีความสุขในอาชีพนี้
แม้จะเหนื่อยและเครียดจากการทำงาน แต่ก็มีความสุข จากการได้เห็นคนที่เราช่วยเหลือเติบโตและเรียนรู้ที่จะเผชิญหน้ากับความรู้สึกของตัวเองได้
นี่คือลักษณะของความสำเร็จ ที่ไม่วัดจากผลลัพธ์ที่ชัดเจน แต่วัดจากการเติบโตทางอารมณ์และ จิตใจของผู้เข้ารับคำปรึกษา
ความยากในการทำงานด้านจิตวิทยา คือ การเข้าใจความรู้สึกของตัวเองและคนอื่น และการเรียนรู้การควบคุมอารมณ์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำงานได้เต็มที่และมีประสิทธิภาพสูงสุด
สิ่งที่สำคัญในการทำงานในอาชีพนี้คือการมี Awareness ในทุกช่วงเวลาที่ทำงาน เราต้องสามารถแยกแยะระหว่างความรู้สึกของตัวเองและของคนที่เราทำงานด้วย
ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถเผชิญหน้ากับความยากของแต่ละเคสได้โดยไม่ให้ความรู้สึกส่วนตัวมารบกวน นอกจากนี้ การฝึกฝนและเรียนรู้จากประสบการณ์จริงจะทำให้สามารถพัฒนาตัวเอง
อยากชวนทุกคนมาสำรวจความรู้สึก สุขภาพจิต ของทุกคนกัน บางครั้งการเราก็กำหนดขอบเขตตัวเราเองว่าการมีสุขภาพจิตที่ดีต้องมีความสุขเท่านั้น
Lisa damour “การมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่ได้หมายถึงว่าต้องมีความสุขตลอดเวลา แต่มันคือการรับรู้และแสดงอารมณ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์รอบตัว
และสามารถจัดการ/รับมือกับอารมณ์เหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม
เป้าหมายที่แท้จริงไม่ใช่การจำกัดความเศร้า ความกังวล หรือความโกรธ แต่เป็นการมองอารมณ์เหล่านี้อย่างเข้าใจและไม่ปล่อยผ่านให้มันมานิยามตัวตนของเรา”
ทุกคนคิดเห็นยังไงกับประโยคนี้บ้าง เคยไหมที่เวลาเจอเรื่องอะไรที่เข้ามากระทบกับจิตใจเรา เหมือนว่าเราจะยอมรับสิ่งนั้นได้
แต่จริง ๆ แล้วในใจเราลึกๆ เรายังยอมรับไม่ได้ เรื่องนั้นยังคอยมาวนเวียนอยู่ในความคิดของเรา บางครั้งสิ่งนั้นก็ทำงานกับจิตใจเรามาก ๆ
จนเรารู้สึกไม่ดี ทั้งที่เรื่องนั้นมันผ่านมาแล้ว แต่เราไม่โฟกัสกับปัจจุบันเองแทนที่เราจะมีความสุขกับสิ่งตรงหน้าแต่เรากลับทุกข์ใจกับเรื่องที่เกิดขึ้นแทน
ความคิดที่ไม่ดีที่เผลอคิดออกมาแบบไม่รู้ตัว
ถ้าสมองของเราคิดแต่เรื่องไม่ดีที่เกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมา ยิ่งพยายามหยุดคิด แต่สิ่งนั้นก็วิ่งกลับมาหาเรา เชื่อว่าไม่มีใครอยากเป็นแบบนี้
และไม่ชอบตอนที่ตัวเองเป็นแบบนี้แน่ ๆ ซึ่งสิ่งที่พูดไปก็คือการที่เราคิดมาก คิดไม่หยุด overthinking คิดวนหาจุดลง จุดสิ้นสุดไม่เจอ
ถึงแม้จะมีภาพรวมกว้าง ๆ ว่าสิ่งที่เราคิดมันไม่ได้มีแต่ข้อที่ไม่ดี ข้อดีก็มีแต่เราก็โฟกัสแต่สิ่งที่ไม่ดีจนความคิดนั้นทำร้ายตัวเราเอง
การคิดมากเป็นกระบวนการธรรมชาติของมนุษย์เรา และการคิดมากก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติเพราะสมองก็มีหน้าที่ในการคิดอยู่แล้ว
แต่ถึงอย่างนั้นการที่เราคิดมากแต่สิ่งที่ไม่ดีก็ไม่ได้เฮลตี้กับสุขภาพจิตของเราอยู่ดี
ทุกคนลองคิดดูนะถ้าเรามีแต่พลังความคิดที่มันลบกับตัวเรา เหมือนเรากำลังเป็นนักสะสมความทุกข์ใจ มวลรอบตัวเราที่แผ่ออกไปคงจะดูซึมมากแน่ ๆ
นอกจากความคิดมากที่ทำร้ายเราแล้ว ก็ยังมีอีกสิ่งนึงที่เรียกว่า Intrusive thoughts หรือ ‘ความคิดแทรกซ้อน’
ซึ่งเป็นความคิดที่รบกวนจิตใจ การใช้ชีวิตประจำวัน และยากที่กำจัดทิ้ง เป็นความคิดที่อยู่ดี ๆ ก็โผล่เข้ามาทักทายให้เราหงุดหงิดใจเล่น ๆ
เช่น ทำไมคนนั้นถึงมองมาที่เราเราทำอะไรผิดรึป่าว ทำไมแฟนไม่โทรมาหาบ้างแฟนต้องมีคนอื่นแน่ ๆ มันคือเสียงในหัวที่เราสร้างจิตนาการถึงสิ่งแย่ๆ
Intrusive Thought เกิดจากการที่สมองพยายามจัดการกับความไม่แน่นอนในชีวิต เป็นกลไกในการวิวัฒนาการของมนุษย์
จากการคิดถึงเรื่องแย่ๆ ไว้ก่อน ในการป้องกันและรับมือกับเรื่องไม่ดีที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต และอาจเกิดขึ้นเมื่อมีภาวะเครียด วิตกกังวล หรือซึมเศร้า
การมีสุขภาพจิตที่ดี?
ถ้าแนวอ้างอิงของ who ที่เคยให้ความหมายของคำว่า สุขภาพจิตที่ดี หมายถึง “ สภาวะแห่งความสมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ
และสุขภาวะทางสังคม ไม่ใช่เพียงการปราศจากโรคภัยไข้เจ็บเท่านั้น”
มันก็คือการที่เรา แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ แข็งแรงในที่นี้ไม่ได้หมายถึงว่าเราจะต้องมีแต่ความสุข แต่หมายถึงถ้าวันไหนมีแรงเสียดทานที่เป็นความทุกข์
หรือความเศร้าเราต้องพร้อมรับมือมันต่างหาก
แต่การมีสุขภาพจิตที่ดีของแต่ละคนอาจจะแตกต่างไปก็ได้นะ ถ้าเรารู้ความหมายที่คนส่วนใหญ่ตั้งไว้กัน
หรือไปถามคนอื่นว่าสุขภาพจิตที่ดีของแต่ละคนคืออะไร แล้วถ้ามันไม่เหมือนของตัวเองเลย
หรือรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้เป็นคนแบบนั้นคนที่สุขภาพจิตดี อย่ากดดันและกังวลกับสิ่งที่เรากำลังเป็นอยู่
ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้มีความสุข เรากำลังเศร้า เราไม่ได้ยิ้ม ไม่ได้แปลว่าเราจะมีสุขภาพจิตที่ดีไม่ได้สะหน่อย ช่วงเวลานี้ที่เกิดขึ้นมันเกิดขึ้นแต่สักวันมันก็จะผ่านพ้นไปเหมือนกัน
1.การอยู่กับปัจจุบัน
ทำไมการอยู่กับปัจจุบัน ถึงสำคัญ ทำไมมายถึงย้ำเตือนบ่อย ๆ
เพราะการอยู่กับปัจจุบันได้จะทำให้เราลดความเครียดที่เกิดขึ้นได้ มนุษย์ anxiety แบบเราที่ขี้กังวลถึงอนาคตมาก ๆ จนไม่อนุญาติให้ตัวเองได้ enjoy the moment
สิ่งตรงหน้าได้ ถ้าเรานับรวม ๆ เวลาในการใช้ชีวิตของเราแล้วเราใช้เวลาในการกลัวในสิ่งต่าง ๆ มากกว่าการมีความสุขหรือเปล่า?
ซึ่งเราฟังแล้วก็รู้สึกว่ามันใช่มาก ๆ เพราะอย่างนั้นแล้วอยากบอกทุกคนว่า ‘อย่าห่วงตัวเองในอนาคตจนหลงลืมตัวเองในปัจจุบัน’
อนุญาตให้ตัวเองมีความสุขกับสิ่งตรงหน้ามาก เราปล่อยให้เวลาทำงานทำหน้าที่ของมันบ้างก็ได้
ถ้าเรามีความกังวลมาก เอเนอจี้ของเราก็ถูกปล่อยออกมาแบบกังวลๆ เราอาจจะเผลอทำกิจกรรมที่ทำให้เราไม่มีความสุข สีหน้า ท่าทางของเรา ค่อยๆฝึก ๆ ค่อยๆ ปรับไปพร้อม ๆ กับมายกันนะ
2. การฝึกสติแบบ mindfulness
mindfulness คือ การฝึกสติ ให้รู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดตัวเอง เป็นสิ่งที่จะช่วยเราได้จากความเครียด ความทุกข์ใจ ความกังวลต่าง ๆ
แต่สิ่งที่อยากคือเราต้องหมั่นฝึกฝนและทำแบบต่อเนื่อง เมื่อเราทำได้แล้ว mindfulness จะพาเราไปสู่การปล่อยวาง
รู้สึกตัวเบาขึ้น จากสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบความรู้สึกของเรา โดยสิ่งที่จำเป็นจะเกี่ยวกับเครื่องมือแรกคือ เราต้องใส่ใจต่อสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะปัจจุบัน
- การสังเกต – การคุยกับตัวเองในหัว ว่ากำลัง คิด รู้สึก อารมณ์แบบไหน
-
Meditation การฝึกทำสมาธิ มันคือวิธีเบสิคที่ทำให้เราอยู่กับปัจจุบัน ให้เวลากับตัวเองสัก 5-10 นาทีในการหลับตาและกำหนดลมหายใจ
- ให้เวลากับความเงียบกับตัวเอง หรือ body scan หาที่เงียบ ๆ แล้วสัมผัสสสิ่งที่อยู่รอบตัวในปัจจุบันเพื่อดึงตัวเองกลับมากับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ไม่คิดมากถึงอดีตและกังวลถึงอนาคต
- ยอมรับและรับรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น และเปลี่ยนสิ่งนั้นให้เป็นแรงขับที่จะพาเราก้าวผ่านไปได้ เช่น เวลาที่เรารู้สึกไม่ดี ..
3.การขยับร่างกาย
มีงานวิจัยงานนึงบอกว่าคนที่ไม่มีความสุขทางใจจะไม่ค่อยขยับตัว เมื่อร่างกายไม่ขยับตัวทำให้ร่างกายไม่ผลิตฮอร์โมนแห่งความสุขที่เรียกว่าโดปามีน
ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของมนุษย์แบบเราถูกออกแบบมาให้ขยับตัวตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ขยับตัวไปออกอาหาร ขยับตัวสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อหลบภัย
แต่ในปัจจุบันที่เราไม่ต้องไปหาอาหาร หรือสร้างบ้านเองเหมือนเมื่อก่อน ความสะดวกสบายที่เกิดขึ้นก็แลกมากับการที่เราไม่ได้ปฏิสัมพันธ์กับร่างกายเท่าสมัยก่อนเหมือนกัน
ถ้าวันหนึ่งฉันหายไปจากโลกนี้ หรือความรู้สึกที่อยู่ก็ได้ไม่อยู่ก็ดี เคยไหม? ที่มีความรู้สึก ความคิดแบบนี้กัน ทำความรู้จักกับ ภาวะ Passive Death Wish
ภาวะหนึ่ง ที่เรามีความรู้สึกว่า ตายก็ได้ไม่ตายก็ดี อาจจะดูคล้ายกับ Death Inside แต่แตกต่างกัน และไม่ใช่การที่เราอยาก Suicide ตัวเองด้วยเช่นกัน
Passive Death Wish จะเป็นการที่เราถ้าเราอยู่ที่ถนนอยู่บนรถ จะมีแวบนึงที่คิดว่า ถ้ารถชนเราตอนนี้ก็ไม่เป็นไร ถ้าคืนนี้นอนหลับแล้วไม่ตื่นมาอีกเลยก็ดี ให้ชีวิตจบไปตอนนี้ก็ได้ แต่ถ้าให้มีชีวิตต่อก็ได้เหมือนกัน
และความคิดนี้จะไม่ได้อยู่ตลอด มักจะมา ๆ หาย ๆ อาจมาบ่อยในช่วงที่เราดิ่งดาวน์บ้าง ภาวะนี้ก็มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้
แม้ว่าอาจจะฟังดูไม่ได้น่ากลัวเท่ากับอาการอยาก Suicide ที่วางแผนมาแล้ว แต่เส้นแบ่งระหว่างความคิดฆ่าตัวตายแบบ Passive และแบบตั้งใจนั้นไม่ชัดเจน
เปลี่ยนผ่านจากความคิดหนึ่งไปสู่อีกความคิดหนึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ หรือทันทีทันใด และไม่ใช่สิ่งที่ชัดเจนที่จะสังเกตได้ง่าย ๆ
ดังที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ผู้ใหญ่ชาวอเมริกันวัย 18-25 ปีมากกว่าหนึ่งในสิบคน รายงานว่าเคยมีประสบการณ์ความคิดที่จะฆ่าตัวตาย อย่างไรก็ตาม ไม่ควรเข้าใจผิดว่า “ปกติ” เป็น “ยอมรับได้” หรือ “ไม่ร้ายแรง”
และที่สำคัญเลย Passive Death Wish มองยากกว่าโรคซึมเศร้า เพราะใช้ชีวิตปกติเหมือนคนทั่วไป ไม่มีสัญญาณเตือนแต่ทุกความคิดอยู่ในหัวของคน ๆ นั้นอยู่แล้ว
สัญญาภาวะอยากหายไป
– เริ่มรู้สึกว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ ไม่ควรเกิดมาแต่แรก หรือครอบครัวและเพื่อนฝูงจะมีชีวิตที่ดีขึ้นหากไม่มีเราอยู่ในโลกนี้
– เริ่มรู้สึกอยากอยู่คนเดียว ตีตัวออกห่างจากสังคม คนรอบข้างมีปัญหากับความสัมพันธ์รอบตัว
– เริ่มคิดหาวิธีต่างๆ เพื่อจบชีวิตตัวเอง (บางคนอาจมีการเตรียมอาวุธด้วย)
– เริ่มพาตัวเองไปอยู่ในสถานที่อโคจร พึ่งพาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาเสพติดบ่อยมากเกินไป
– มีความวิตกกังวลกับเรื่องเล็กน้อยจนสามารถสังเกตเห็นได้ชัด
– ปฏิบัติกับผู้อื่นราวกับว่าจะเจอหน้ากันเป็นครั้งสุดท้าย เช่น พูดคุยเหมือนเป็นการบอกลา
ถ้ามีความคิดเห็นแบบนี้บ่อย ๆ ควรไปปรึกษาแพทย์ไหม?
ความคิดที่จะฆ่าตัวตาย หรือ ความคิดอยากหายไป เป็นตัวบ่งชี้ปัญหาสุขภาพจิตพื้นฐานที่ต้องได้รับการดูแลและการรักษาอย่างเร่งด่วน
เป็นสัญญาณชัดเจนว่าเราต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าความคิดที่จะฆ่าตัวตายไม่ได้ทำให้เราเป็น “บ้า” หรือ “อ่อนแอ”
แต่หมายความว่าเรากำลังอยู่ในช่วงอารมณ์ที่ท้าทายอย่างรุนแรงซึ่งต้องได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีทางเลือกการบำบัดมากมายที่สามารถแก้ไขสาเหตุของความคิดเหล่านี้ได้
จำไว้ว่า “คุณไม่เหมือนใคร”
คุณอาจคิดว่าโลกไม่ต้องการคุณ แต่โลกต้องการคุณ เพราะคุณไม่เหมือนใคร ไม่มีใครสามารถพูดด้วยเสียงของคุณได้ พูดสิ่งที่คุณเขียน ยิ้มให้กับรอยยิ้มของคุณ
หรือส่องแสงของคุณ ไม่มีใครสามารถแทนที่คุณได้ และ มีเพียงคุณเท่านั้นที่จะเติมเต็มมันได้
ที่มา :
What is Passive Suicidal Ideation?
Passively Suicidal: A Warning Sign You Should Never Ignore
ความสัมพันธ์ ความรักฉบับจิตแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ความเบื่อ ความขัดแย้ง ความ Toxic ไปจนถึงการเลิกรา จะรับมือกับปัญหาหัวใจและดูแลตัวเองอย่างไร
มาหาคำตอบกับรายการพูดคุย Alljit X คุณ ณัฏฐชัย รำเพย จิตแพทย์ 🙂
สามเหลี่ยมแห่งความรัก
Passion: ความรักที่ขับเคลื่อนด้วยอารมณ์
Passion หรือความรักที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้น ความเร้าใจ เป็นองค์ประกอบแรกในความรักที่สเตบอาร์พูดถึง มันคือความรักที่ขับเคลื่อนด้วยโดปามีน
ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกดี ๆ เช่น ความอยากพบกัน ความคิดถึง ความตื่นเต้นเมื่อได้พบเจอ อีกทั้งการสัมผัสและความปรารถนาใกล้ชิด
ในช่วงเริ่มต้นของความสัมพันธ์ Passion มักจะสูงมาก เช่น ความตื่นเต้นในการเจอหน้ากัน ความอยากสัมผัส และความคิดถึงที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่ไม่ได้เจอกัน
แต่หลังจากคบกันไปสักระยะ Passion อาจลดลงได้ เนื่องจากความเคยชินและการเปลี่ยนแปลงของรสนิยมส่วนตัว
Commitment : ความรักที่เกิดจากการตัดสินใจ
การมี Commitment คือการตัดสินใจที่จะรักกันและเลือกที่จะอยู่เคียงข้างกันในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจเป็นแฟน หรือการตัดสินใจแต่งงานและสร้างครอบครัว
ความรักในลักษณะนี้ไม่ได้เกิดจากอารมณ์ชั่วขณะ แต่เกิดจากการสัญญาที่เรามีต่อกัน อย่างไรก็ตาม หากมีเพียงแค่ Commitment โดยที่ขาด Passion และ Intimacy
ความรักนี้อาจจะดูเหมือนว่างเปล่า เป็นแค่ความสัมพันธ์ที่ไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกอะไรใหม่ ๆ ราวกับรักที่ถูกบังคับหรือมีความผูกพันจากภาระที่ต้องรับผิดชอบ
Intimacy: ความผูกพันที่ลึกซึ้ง
Intimacy เป็นความรักที่มีความใกล้ชิดและการผูกพันในระดับลึก มันคือการที่คู่รักอยู่เคียงข้างกันในทุกช่วงชีวิต มีความเข้าใจกันและพร้อมที่จะสนับสนุนซึ่งกันและกัน
เมื่อความสัมพันธ์ยาวนานขึ้น Intimacy อาจจะกลายเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะมันคือการเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตกันและกัน
ความรักในรูปแบบนี้ไม่ได้แสดงออกผ่านความตื่นเต้นหรือการสัมผัสเสมอไป แต่คือการมีอยู่เคียงข้างในยามทุกข์สุข
ความรัก ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลา
เมื่อคบกันไปนาน ๆ ความรักอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ เช่น Passion ที่เคยมีมากในช่วงเริ่มต้นอาจจะลดลง แต่ Intimacy และ Commitment กลับเพิ่มขึ้น
ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่มั่นคงในระยะยาว ความรักไม่จำเป็นต้องคงที่ในรูปแบบเดียวตลอดเวลา การมีความเข้าใจและยอมรับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ช่วยให้ความรักมีความหมายมากยิ่งขึ้น
ปัญหา “ความเบื่อ” ในความสัมพันธ์
บางครั้งคู่รักอาจรู้สึกเบื่อหน่าย หรือความรักอาจดูเหมือนหายไป ซึ่งบ่อยครั้งเกิดจากการที่ Passion ลดลง การคบกันไปนาน ๆ อาจทำให้การพบเจอกันไม่ได้มีความตื่นเต้นเหมือนเมื่อก่อน
นอกจากนี้ความเคยชินและการไม่สนใจรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อาจทำให้ความรักดูจืดจาง การรับมือกับสิ่งเหล่านี้ต้องเริ่มจากการสื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมา
พูดถึงความรู้สึกที่แท้จริงและสิ่งที่ต้องการจากกันและกัน การฟื้นฟู Passion ในความสัมพันธ์อาจมาจากการทำสิ่งใหม่ ๆ หรือการย้อนกลับไปสู่สิ่งที่เคยทำให้เราตื่นเต้นในช่วงแรก ๆ ของความสัมพันธ์
วิธีรับมือกับ “ปัญหาซ้ำซาก” ในความสัมพันธ์
การสื่อสารที่ดีในความสัมพันธ์เป็นเรื่องสำคัญมาก การที่เราจะเข้าใจกันและกันและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ต้องเริ่มจากการพูดคุยอย่างเปิดใจ โดยไม่ทำให้ฝ่ายอื่นรู้สึกถูกโจมตี ต่อว่า
ในกรณีที่เราไม่พอใจหรือ รู้สึก โกรธ เหงา เราควรเริ่มจากการพูดถึงความรู้สึกของตัวเองก่อน ไม่ใช่การกล่าวโทษหรือการมองในแง่ลบกับอีกฝ่าย
เราควรบอกเขาอย่างตรงไปตรงมาว่า “ตอนนี้ฉันรู้สึกแบบนี้” และอย่าลืมว่ามันเป็นความรู้สึกของเราเอง ไม่ได้เป็นการโทษเขาเลย
การเข้าใจความคิดเห็นที่แตกต่างของกันและกันก็เป็นเรื่องสำคัญ บางครั้งเราอาจจะรู้สึกว่าอีกฝ่ายไม่เข้าใจเรา แต่ในขณะเดียวกันเขาก็มีมุมมองของตัวเอง
การยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างจะช่วยให้เราไม่เกิดความขัดแย้งมากมาย และถ้ามันเริ่มเป็นปัญหา ก็สามารถพูดคุยกันตรงๆ ได้ว่า “ในบางครั้งฉันไม่สามารถดูแลตัวเองได้ทั้งหมด ฉันต้องการการสนับสนุนจากเธอ”
การคุยกันเพื่อหาทางออกและแสดงความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมาจะช่วยให้ความสัมพันธ์แข็งแรงและเข้าใจกันมากขึ้นครับ!
Move on เป็นวงกลมกับ “ความสัมพันธ์ Toxic”
ความสัมพันธ์ที่เราเห็นว่าเป็น “ท็อกซิก” หรือไม่ดี แต่ยังคงวนเวียนอยู่ในนั้น จริง ๆ แล้วมันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ นไม่ได้เป็นเพียงแค่การรักคนผิดหรือ แค่ไม่รู้ว่าเราควรออกจากความสัมพันธ์นั้น
แต่บางทีเราก็มีความยึดติดหรือเคยได้รับอะไรดี ๆ บางอย่างจากความสัมพันธ์นั้นมาก่อน ทำให้เรามองข้ามสิ่งที่ไม่ดีในปัจจุบัน
การที่เรารู้สึกว่า “เราเป็นคนผิดตลอด” หรือ “คุณค่าของเราเริ่มลดลง” ก็เพราะเราคาดหวังให้ความสัมพันธ์เติมเต็มบางอย่างในชีวิตเรา แต่มันกลับทำให้เรารู้สึกแย่ สิ่งที่เราต้องถามตัวเองคือ
“เราควรจะยังยอมรับการเสียสละนี้หรือไม่” การอยู่ในความสัมพันธ์ที่ทำให้เรารู้สึกแย่ในบางครั้ง มันอาจจะทำให้เราเสพติดความรู้สึกบางอย่างที่เคยมีในช่วงเวลาที่ดี ๆ
แต่ก็ต้องถามตัวเองว่า “มันคุ้มค่ากับสิ่งที่เราต้องสูญเสียหรือไม่
“แฟนเก่า”
สำหรับการกลับไปหาแฟนเก่า แม้จะมีเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้เรามีความคิดแบบนั้น เช่น ความผูกพันที่ยังคงมีอยู่หรือความรู้สึกที่เคยดีมาก ๆ แต่บางทีการกลับไปอาจไม่ได้หมายความว่า
เราจะแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดได้เสมอไป บางครั้งแค่คิดถึงบางสิ่งที่เคยดีในช่วงเวลานั้นก็ทำให้เราคิดถึงคนเก่า แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ควรจะทำถ้าเราไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่จากการแยกทางไปแล้ว
ความรู้สึกที่กลับไปหาคนเก่าไม่ใช่เรื่องผิด แต่ก็ต้องมองให้ชัดเจนว่าเรามีความตั้งใจจริงหรือไม่ หรือแค่เป็นเพราะ “คิดถึง” บางสิ่งที่เคยมีที่อยู่กับคนเก่า การเข้าใจเหตุผลของตัวเองว่าเราอยากกลับไปจริง ๆ
หรือแค่ความรู้สึกชั่วคราวจะช่วยให้เราเลือกได้ว่า “ควรไปต่อ” หรือ “ควรปล่อยให้มันเป็นอดีต”
ถ้ามีแฟนใหม่แล้วไปคิดถึงแฟนเก่า มันอาจเป็นสัญญาณว่าเราไม่ได้ลืมอดีตจริง ๆ หรือเรายังมีแผลบางอย่างที่ยังไม่ได้เยียวยา มันก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะจัดการกับความรู้สึกนี้อย่างไร
ถ้าเราต้องการทำความเข้าใจให้ดีขึ้น การพูดคุยกับแฟนใหม่หรือคนที่เราไว้ใจจะช่วยให้เรามองเห็นภาพชัดเจนขึ้นครับ
“มือที่สาม”
การนอกใจมักจะไม่ได้เกิดขึ้นจากแค่เหตุผลเดียว แต่มักมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่ซ้อนทับกัน ทั้งทางชีวภาพ จิตใจ สังคม หรือแม้แต่ปัญหาความสัมพันธ์เอง ซึ่งสามารถทำให้เกิดการตัดสินใจผิด ๆ ได้
1. ปัจจัยทางชีวภาพ : บางคนอาจมีระดับฮอร์โมนสูงหรือความต้องการทางเพศที่สูง ทำให้ความสัมพันธ์ที่มีอยู่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้ จึงอาจไปหาความพึงพอใจจากภายนอก
2. ปัจจัยทางจิตใจ : บางครั้งคนอาจมีบาดแผลจากอดีต เช่น รู้สึกไม่เป็นที่รักหรือมีปัญหาทางอารมณ์ ซึ่งทำให้พวกเขามองหาความรักหรือความสนใจจากคนอื่น แม้ว่าในปัจจุบันพวกเขาจะมีแฟนแล้วก็ตาม
3. ปัจจัยทางสังคม : การมีสถานะทางสังคมที่ดี เช่น การมีชื่อเสียงหรือเงินทอง อาจดึงดูดความสนใจจากผู้อื่น ทำให้บางคนเกิดการหลงลืมหรือหลุดจากความสัมพันธ์ที่มีอยู่
4. ปัญหาความสัมพันธ์ : เมื่อความสัมพันธ์มีปัญหา เช่น การขาดการสื่อสารหรือความเข้าใจที่ดีระหว่างคู่รัก บางคนอาจหันไปหาคนอื่นเพื่อเติมเต็มความขาดแคลนทางอารมณ์ เช่น การให้ความเอาใจใส่จากคนอื่น
5. สถานการณ์และโอกาส : บางครั้งสถานการณ์ก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการนอกใจ เช่น ความสัมพันธ์ที่อยู่ไกลกันหรือมีโอกาสอยู่ใกล้คนอื่นที่สามารถให้ความรู้สึกที่ดีได้
เราได้ตกลงกันกับคู่รักไว้แล้วว่าไม่ควรทำอะไรที่ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียใจหรือผิดหวัง มักเป็นสิ่งที่เราคาดหวังว่าคนในความสัมพันธ์จะทำตาม อย่างไรก็ตาม
ในที่สุด ความรักไม่ได้แค่ขึ้นอยู่กับ “คำสัญญา” หรือ “การตกลง” แต่ต้องมีการดูแลและพัฒนาความสัมพันธ์ให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลต่อคู่รักทั้งในด้านความรู้สึกและสถานการณ์ต่าง ๆ
“การสิ้นสุด ความสัมพันธ์”
การตัดสินใจออกจากความสัมพันธ์ที่ไม่ดีและทำให้รู้สึกไม่คุ้มค่านั้นมันยากจริงๆ ค่ะ โดยเฉพาะเมื่อเรารู้สึกว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่ยังคงได้จากการอยู่ในความสัมพันธ์นั้นอยู่
ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนทางด้านการเงิน ความรู้สึกได้รับการดูแล หรือแม้กระทั่งแค่ความรักที่เคยมีจากคนนี้
อย่างแรกที่ควรทำคือต้องมานั่งถามตัวเองว่าความสัมพันธ์นี้มัน “ไม่คุ้มค่า” อย่างไร ? สิ่งที่ได้มาและสิ่งที่เสียไปมีอะไรบ้าง? หากสิ่งที่เราได้มามีค่าสำหรับเราในบางแง่มุม
เช่น ความรักหรือการดูแลทางอารมณ์ บางครั้งการตัดสินใจออกจากความสัมพันธ์ก็ หมายถึงการสูญเสียสิ่งเหล่านี้ไปด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
จากนั้น เราควรเริ่มมองหาวิธีที่จะแก้ไขหรือหาทางออกจากสถานการณ์นี้ โดยเริ่มจากการวางแผนล่วงหน้า เช่น ถ้าความสัมพันธ์นี้ทำให้เราได้รับการซัพพอร์ตทางการเงิน เราก็ต้องเตรียมตัวหางานหรือเพิ่มรายได้
เพื่อที่จะสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง หรือถ้าเราได้รับการดูแลทางอารมณ์จากคู่รัก ให้ลองหาวิธีเสริมสร้างการดูแลตัวเอง เช่น หาเพื่อนที่สามารถให้การสนับสนุนเรา หรือฝึกการดูแลจิตใจตัวเองให้เข้มแข็งขึ้น
ถ้ามันเป็นเรื่องของ “ความรัก” ที่เราไม่อยากเสียไป การกลับมาถามตัวเองว่ารักตัวเองมากพอหรือยัง ? หรือรักใครมากกว่ากัน ? การทำเช่นนี้จะช่วยให้เราตัดสินใจได้ว่าเราควรอยู่ในความสัมพันธ์นั้นต่อไปหรือไม่
การออกจากความสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โดยเฉพาะเมื่อความรู้สึกในตอนนี้ยังมีอะไรหลายอย่างที่ทำให้ไม่อยากทิ้งไป แต่การรู้ตัวว่า “สิ่งที่เราแลกไปมันไม่คุ้ม”
และการวางแผนเพื่อความสุขและความมั่นคงในชีวิตในระยะยาว จะทำให้การตัดสินใจออกจากความสัมพันธ์นั้นเป็นทางเลือกที่ดีขึ้นสำหรับตัวเอง
อย่างไรก็ตามคำแนะนำนี้ก็เป็นเพียงแนวทางหนึ่งที่อาจช่วยให้คุณมองเห็นมุมมองที่ต่างออกไป และอย่าลืมว่าในการทำการตัดสินใจที่สำคัญเช่นนี้ เราต้องให้เวลาและพื้นที่กับตัวเองเพื่อคิดทบทวนอย่างรอบคอบ
วิธีรับมือกับความรู้สึกหลัง “การเลิกรา”
การยอมรับและอนุญาตให้ตัวเองเศร้าเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะมันช่วยให้เรารับรู้ความรู้สึกของตัวเอง และไม่ต้องกดดันตัวเองไปในทางที่อาจจะยิ่งทำให้รู้สึกแย่ไปกว่าเดิม
การปล่อยให้ตัวเองเศร้า แต่ต้องอยู่กับความเศร้าในทางที่สามารถดูแลตัวเองได้ ค่อย ๆ เริ่มทำสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกดีขึ้น เป็นการดูแลตัวเองที่สำคัญมาก
บางคนอาจจะรู้สึกดีขึ้นจากการทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบ เช่น การพักผ่อน การเที่ยว หรือการอยู่กับคนที่รักและห่วงใย เช่น ครอบครัว เพื่อน หรือคนที่เป็นกำลังใจให้เรา
สิ่งที่สำคัญมากก็คือหากความเศร้ามันเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของเรา เช่น กระทบกับการทำงาน การเรียน หรือความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ หรือหากความเศร้าทำให้เราอยากทำร้ายตัวเองหรือรู้สึกไม่มีทางออก
ควรหาความช่วยเหลือจากคนรอบข้างหรือจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสมค่ะ การขอความช่วยเหลือไม่ใช่เรื่องผิด แต่เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้
สมองเน่า เป็นธรรมเนียมที่ทุกช่วงสิ้นปี พจนานุกรมภาษาอังกฤษ Oxford Dictionary จะประกาศ ‘ศัพท์แห่งปี’ คำว่า Brain Rot หรือ สมองเน่า จากการใช้เวลาอยู่บนโลกออนไลน์มากเกินไป Learn & Share จะมาพูดคุยกัน
การเลือกคำศัพท์แห่งปีนั้น Oxford จะอ้างอิงจากหลักฐานการใช้งานที่นำมาจากคลังคำศัพท์กว่า 26,000 ล้านคำที่อัปเดตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนำมาจากแหล่งข่าวต่าง ๆ ทั่วโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษ
โดยมีแนวคิดเพื่อการสะท้อนอารมณ์และบทสนทนาที่ได้หล่อหลอมปี 2024 ช่วงสิ้นปีพจนานุกรมภาษาอังกฤษ Oxford Dictionary จะประกาศคำเด็ดๆ ที่ยกให้เป็น ‘ศัพท์แห่งปี’
และสำหรับปี 2024 คำศัพท์ที่มหาชนพร้อมใจกันโหวตให้ก็คือคำว่า Brain Rot เอาชนะศัพท์ฮอตที่เหลืออีก 5 คำ แต่ที่คำว่า Brain Rot ชนะเพราะได้รับเลือกโหวตจากคนบนโลกออนไลน์
และคำว่าสมองเน่ามีเปอร์เซ็นการใช้เยอะกว่าคำอื่นๆถึง 230% ทำให้ชนะผลใน oxford dictionary นั่นเอง ทำให้เห็นว่าคนบนโลกออนไลน์ก็เห็นด้วยกับคำนี้
Oxford Dictionary ให้นิยามความหมายของ Brain Rot ว่าเป็น ‘การเสื่อมถอยของสภาพจิตใจหรือสติปัญญาของบุคคล’ ซึ่งเกิดจากการเสพคอนเทนต์ที่ไร้ประโยชน์หรือ ไม่ประเทืองปัญญามากเกินไป
สมองเน่า เกิดขึ้นได้อย่างไร
การเสพคอนเทนต์ที่ไม่มีคุณภาพทางเนื้อหา ทุกวันโดยไม่รู้ตัว แบบไร้จุดหมาย อีกทั้งจดจ่ออยู่กับหน้าจอมากเกินไปแทนที่จะออกไปใช้ชีวิตจริง
จนสมองของเราไม่ได้พัก หรือทำงานหนักและเต็มไปด้วยข้อมูลขยะ การเล่นโซเชียลที่นานเกินไปทำให้ตัวเองไม่โฟกัสกับสิ่งตรงหน้า สิ่งที่อยู่กับปัจจุบัน
พฤติกรรมการเล่นโซเชียล
แคทเธอรีน มาร์ติน (Katherine Martin) ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของออกซ์ฟอร์ด กล่าว “ มีความวิตกกังวลเกิดขึ้นเกี่ยวกับการรักษาสมดลุที่เหมาะสมระหว่างโลกออนไลน์
และการไม่ได้สัมผัสกับโลกแห่งความเป็นจริง ” อีไล อาร์วูด (Eli Harwood) นักจิตวิทยาบำบัดกล่าวไว้สิ่งนี้เน้นย้ำถึงปัญหาร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบทางด้านปัญญาและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
เนื่องจากสมองของเด็กและวัยรุ่น นั้นมุ่งเป้าไปที่การเรียนรู้จากสิ่งรอบตัวและใส่ใจกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล นักจิตวิทยาหลายท่านจึงเป็นห่วง พฤติกรรมการใช้โซเชียลของวัยรุ่น
ดร. จูเลีย โคแกน (Julia Kogan) ดูเหมือนว่าปัญหาที่แท้จริงจะอยู่ที่ผลกระทบต่อความนับถือตัวเองและภาพลักษณ์ของร่างกาย ซึ่งอินเตอร์เน็ตต่างพากันยกย่องและนำเสนอภาพชีวิตในอุดมคติอยู่เสมอ
ด้วยเหตุนี้การเสพสื่อมากเกินไปอาจทำให้เกิดความไม่พอใจในตนเองและเชื่อว่าตนเองไม่ดีพอ และทำให้เราแข่งขัน
เช็คลิสต์อาการ
– ความจำแย่ลง: ลืมสิ่งต่างๆ ได้ง่าย ทั้งที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน
– สมาธิสั้นลง: ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ๆ
– คิดวิเคราะห์ได้ไม่ดี: ตัดสินใจได้ยาก แก้ปัญหาได้ไม่ดีเท่าที่ควร
– ขาดความคิดสร้างสรรค์: คิดอะไรใหม่ๆ ไม่ค่อยออก
– วิตกกังวล และซึมเศร้า: เนื่องจากได้รับแต่ข้อมูลด้านลบ และขาดปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก
ห่างไกล สมองเน่า
– ตั้งเวลาการเล่นโทรศัพท์ ถ้าหากเราเล่นเกินเวลาจะมีแจ้งเตือน
– หากิจกรรมอื่น ๆ ทำบ้าง เช่น อ่านหนังสือ ออกไปเจอเพื่อน
– เลือกเสพคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ ปัดผ่านสิ่งที่ไม่สนใจ
– ฝึกคิดว่าสิ่งที่เห็นมันจริงหรือเปล่า หรือเป็นประโยชน์กับเราหรือไม่สำหรับข้อมูลนี้
การใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติช่วยลดผลกระทบด้านลบของการใช้เวลาอยู่หน้าจอมากเกินไป เช่น อาการปวดตา ปวดเมื่อย และปัญหาด้านสมาธิ มีงานวิจัยพบว่า
ผู้ที่ใช้เวลา 120 นาทีต่อสัปดาห์อยู่ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติจะมีสุขภาพที่ดีขึ้นและมีสุขภาพจิตที่ดีกว่าผู้ที่ไม่ได้สัมผัสกับธรรมชาติหรือผู้ที่ใช้เวลาน้อยกว่าสองชั่วโมงต่อสัปดาห์
ที่มา :
‘Brain rot’ named Oxford Word of the Year 2024