Posts

เชื่อว่าทุกคนมีแผล เคยมีช่วงที่เสียใจ ส่งผลถึงปัจจุบัน อยากชวนกลับไปเยียวยาแผลในวันนั้นเยียวยาด้วยการเขียนจดหมาย 💌

 

 

ช่วงเวลาที่เจ็บปวด 

 

ช่วงชีวิตที่เราผ่านพ้นมาจนถึงทุกวันนี้ อาจจะมีบางเหตุการณ์ บางช่วงเวลาที่มันทำร้ายเรา กัดกินเราอยู่ข้างในแม้จะผ่านมันมานานแค่ไหนก็ตาม

 

อยากชวนทุกคนหวนระลึกถึงตัวเองในช่วงเวลานั้น กลับไปทบทวนตัวเองว่าตอนนั้นเรารู้สึงยังไง เรากำลังเผชิญอะไรอยู่

 

อยากให้ทุกคนลองย้อนกลับไปหาตัวเองในช่วงเวลานั้น ลองนึกถึงตัวเองเองในวันที่เจ็บปวดที่สุด และลองคิดว่า… “เราอยากบอกอะไรเขาบ้าง”

Self-Compassion คืออะไร?

 

การฝึกมีเมตตาต่อตัวเอง (Self-compassion) 

 

1.อยู่กับปัจจุบันขณะ เรารับรู้ว่าตัวเองรู้สึกยังไง เจ็บปวดแบบไหน 

2.ยอมรับว่าเราไม่ได้เจ็บปวดลำพัง คนอื่นก็เคยเหมือนๆ กับเราในตอนนี้ 

3.ไม่โบยตีตัวเอง ไม่ตัดสิน เหมือนกับที่เราจะปฎิบัติกับเพื่อน

 

 

ถ้าใครยังนึกไม่ออกว่า ความเมตตาต่อตัวเอง คืออะไร ต้องทำแบบไหน? อยากให้ลองนึกถึงเวลาที่เรารักใครสักคน เราจะทำแบบนั้นกับตัวเอง

1.รับรู้ว่คนที่เรารักเจ็บปวด

2.รู้สึกร่วม (คล้ายๆ กับสิ่งที่เราเคยรู้สึก) เข้าใจ 

3.ปฎิบัติกับคนที่เรารักด้วยความอ่อนโยน ปลอบโยน ใจเย็น ไม่ตัดสิน 

 

 

ในบทความนี้อาจไม่ได้มีเนื้อหาเยอะ อยากให้ลองดูคลิปใน Youtube เพราะ  ๆ มีเพื่อน ๆ ที่น่ารักแชร์เรื่องราวกับพวกเราด้วยนะ 💕

 

 

 

 

 

การคิดแทน

 

การเอาความคิดตนเป็นหลัก คาดเดาแทนคนอื่นในบางเรื่อง เช่น เขาจะรู้สึกอย่างไร หรือเขาต้องการอะไร

 

บางครั้งก็อาจทำให้เราเข้าใจคนอื่นได้ไม่ร้อยเปอร์เซนต์ เพราะเราใช้มุมมองของตัวเองเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ

 

และส่วนใหญ่เรามักจะด่วนสรุปในความคิดเชิงลบซะมากกว่า คนนี้ต้องไม่ชอบเราแน่ ๆ เลย/ คนนั้นดูหยิ่ง ดูแรงจัง

 

แต่พอได้คุยแล้วกลับไม่มีพิษภัยอะไรเลยนี่นา/ เขาต้องไม่ชอบของขวัญที่เราเตรียมมาให้แน่ ๆ … ทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นและถูกตีความด้วยมุมมองของเราเอง

 

และอาจส่งผลให้เราทำตัวไม่น่ารักด้วยคำพูดหรือการกระทำต่าง ๆ ที่สื่อออกไปโดยถูกความคิดแทนนั้นนำทาง 

 

การคิดถึงใจคนอื่น คือ การพยายามทำความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ โดยไม่ได้ไปตัดสินหรือเปลี่ยนแปลงความคิดหรือความรู้สึกของเขา

 

เราแค่เข้าใจและใส่ใจในสิ่งที่เขาอาจรู้สึกหรือประสบอยู่เพียงเท่านั้น ซึ่งทำได้โดยสังเกตภาษากายและฟังความรู้สึกเขาอย่างตั้งใจ

 

ระมัดระวังการตัดสินหรือวิจารณ์ และให้เวลาเขาได้แสดงความคิดความรู้สึกออกมา อีกทั้ง เราสามารถจินตนาการว่าเราเป็นเขาได้

 

ด้วยการมองสถานการณ์จากมุมของคนนั้น ซึ่งมันจะช่วยให้เราเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าเขารู้สึกหรือคิดอย่างไรในสถานการณ์นั้น ๆ

 

โดยการทำแบบนี้จะเน้นที่การเข้าใจและเห็นอกเห็นใจเขาอย่างแท้จริง เช่น เข้าใจว่าที่เพื่อนเงียบเป็นเพราะเสียใจเรื่องเกรดตกเลยให้เวลาส่วนตัวกับเพื่อนที่กำลังรู้สึกแย่ 

 

แต่ถ้าเราเห็นเพื่อนเงียบ ๆ เลยคิดว่าเพื่อนโกรธตัวเอง ก็เลยเลือกที่จะไม่คุยกับเพื่อน นี่คือ การคิดแทน 

 

เพราะเราตัดสินเขาผ่านการคาดเดาโดยอิงจากประสบการณ์หรือตัดสินโดยใช้มุมมองของตัวเราเอง ซึ่งอาจทำให้เราไม่เข้าใจความรู้สึกจริง ๆ ของเขาได้ 

 

เหตุผลในการคิดแทน

สาเหตุที่ทำให้คนเราเกิดพฤติกรรมการคิดแทนคนอื่นก็มีได้มากมายไม่ว่าจะเป็นความต้องการ

 

 

 

 

 

มุมมองของคนที่ถูกคิดแทน

ถึงแม้ว่าการคิดแทนอาจมีเจตนาที่ดีในบางครั้ง แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อย ๆ นอกจากเราจะไม่เข้าใจผู้อื่นแล้ว

 

ก็อาจทำให้คนที่เราไปคิดแทนรู้สึกไม่ได้รับความเคารพในความคิดเห็นหรือความรู้สึกของเขาอย่างแท้จริงด้วย

 

สำหรับคนที่ถูกคิดแทน…มุมมองและความรู้สึกจะขึ้นอยู่กับบริบทของสถานการณ์และลักษณะของความสัมพันธ์ที่มีอยู่

 

ทำให้บางครั้งก็สามารถทำความเข้าใจได้ว่า สิ่งที่คนใกล้ชิดเราทำลงไปนั้น เขาทำไปเพื่ออะไร หากเป็นความหวังดีที่เข้าใจได้

 

มันก็คงไม่เสียความรู้สึกเท่าไร อาจรู้สึกขอบคุณที่ช่วยคิดหรือทำการตัดสินใจแทนด้วยซ้ำ

 

เพราะการถูกคิดแทนสามารถช่วยลดภาระหรือความกดดันจากการต้องตัดสินใจในเรื่องสำคัญได้ในเวลานั้น

 

ซึ่งเหตุผลนี้คงทำให้ใครหลายคนที่มีความคิดแทนเกิดความคิดว่า ‘ก็นี่ไง เราทำเพื่อเขา เขาจะต้องขอบคุณเราแน่นอน’ 

 

บางครั้งด้วยภาระหน้าที่ทำให้เรายุ่งจนไม่มีเวลามาคิดตัดสินใจ หากมีใครทำหน้าที่ตัดสินใจแทนเราได้อย่างนี้ก็คงดี

 

แต่บางจังหวะหรือแม้กระทั่งบางวัน เราอาจลืมไปว่าความต้องการย่อมเปลี่ยนแปลงตามเวลาที่เปลี่ยนไป

 

เลยอาจมองข้ามความจำเป็นของการสื่อสาร เพราะเราไม่สามารถรู้ใจคนข้าง ๆ หรือคนอื่นได้ทุกเรื่องตลอดเวลา

 

ทำให้ปฏิเสธไม่ได้ว่าถึงจะสนิทกันมากแค่ไหน แต่หากทำลงไปโดยไม่ถามความเห็นของเราก่อน

 

ก็เป็นธรรมดาที่บางครั้งจิตใจเราอาจเกิดความรู้สึกเปราะบาง และอ่อนไหวได้ทีละเล็กทีละน้อย

 

จากการถูกทำให้รู้สึกว่าเราไม่สามารถเป็นเจ้าของความคิดหรือการกระทำของตัวเองได้ และสิ่งที่เลวร้ายที่สุด คือ การเกิดความห่างเหินในความสัมพันธ์มากขึ้นตามมา

 

ดังนั้นทางที่ดี ควรถามความเห็นหรือความรู้สึกของคนที่จะต้องมีส่วนร่วมในเรื่องนั้นด้วยก่อนเสมอดีกว่า เพราะการสื่อสารสามารถมอบความรู้สึกว่าต่างฝ่ายต่างให้เกียรติกันและกัน

 

 

ปรับความคิด

จนถึงตอนนี้ การที่จะไม่คิดแทนคนอื่นเลย บางครั้งก็ทำได้ยาก เพราะมนุษย์เราเกิดมาพร้อมกับการใช้สัญชาตญาณทั้งความคิดและการกระทำ

 

แต่ถ้าเรารู้ตัวว่าตอนนี้เรากำลังคิดแทนคนอื่นจากการคาดเดาของตัวเองอยู่ ให้ลองนับ 1 ถึง 3 แล้วหยุดคิด และไปหาอะไรอย่างอื่นทำแทนก่อนก็ได้ จากนั้นถ้าความสงสัยมันยังค้างคา

 

ก็ค่อย ๆ เปลี่ยนจากคิดเอง เป็นเริ่มเอ่ยปากถามเขาดู ต่อจากนั้นเขาจะตอบความจริงหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเขา บนโลกเรา มุมมองความคิดแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน

 

ไม่มีทางเหมือนกันไปหมด ขอให้เรากล้าหาญพอที่จะสื่อสารเพื่อความเข้าใจ แทนการดันทุรังพยายามหาคำตอบด้วยวิธีการของตัวเองซึ่งอาจได้คำตอบที่ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง

 

หรือไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์กับความสงสัยเหล่านั้น หากเขาต้องการแค่คนรับฟัง ก็นั่งรับฟังเขาอยู่ข้าง ๆ ด้วยใจจริง

 

หากเขาต้องการคำปลอบโยน ก็แค่มอบความอ่อนโยนนั้นให้กับเขา สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเขาตอนนี้ อาจเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยที่คาดไม่ถึงสำหรับเรา

 

หรืออาจเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่เราไม่เคยรู้มาก่อนก็ได้ทั้งนั้น เชื่อว่าตลอดชีวิตที่เราได้เรียนรู้กันมา คงมีหลายช่วงเวลาที่เราต่างเป็นคนที่ทั้งคิดแทนคนอื่น

 

และตกที่นั่งเป็นคนที่ถูกคิดแทนสลับกันไป บางเหตุการณ์กว่าจะผ่านมันมาได้ ก็อาจสาหัสหรือบอบช้ำบ้างไม่น้อย

 

แต่ขอให้เชื่อมั่นว่าเราจะผ่านมันมาได้และมันจะดีขึ้นทุกครั้ง ทุกฝ่ายต่างมีเหตุผลเป็นของตัวเองในความคิดและการกระทำ

 

แต่ถ้าเริ่มมีการตัดสินอีกฝ่ายเมื่อไร เมื่อนั้นก็ควรลองถามตัวเองดูว่า เรากำลังคิดแทนเขามากไปอยู่รึเปล่า เพราะถึงแม้การคิดแทนจะไม่ได้เป็นปัญหาร้ายแร

 

แต่ก็ใช่ว่าจะไม่สร้างปัญหาให้เกิดขึ้นได้ และเราก็คงห้ามความคิดคนอื่นไม่ได้เช่นกัน

 

สุดท้ายนี้ คนเดียวที่เราสามารถคุมความคิดและการกระทำได้มากที่สุดก็คือ ตัวเราเอง ถ้าความคิดเชิงลบมาครอบงำเราเมื่อไร ขอให้เรารู้ตัวโดยไว

 

และอย่าต่อว่าตัวเองเมื่อเกิดข้อผิดพลาดหรือมีอะไรไม่ได้ดั่งใจขึ้นมา 

Pebbling Effect  คือการส่งต่อความรักแบบน่ารัก ในยุค 5 G ที่เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยทำให้คนรักกันมาบ้างแล้ว แต่วันนี้จะมารู้จักที่มาที่ไปของคำนี้กัน

Pebbling Effect คืออะไร

 

ที่มาของปรากฎการณ์อันแสนน่ารักนี้เริ่มมาจาก เจ้าเพนกวิน สายพันธุ์เจนทู ที่มีวิธีการจีบสาวที่น่ารัก โดยเพนกวินหนุ่มจะเลือกก้อนกรวด (Pebble)  ที่สวยที่สุด

 

เพื่อนำไปมอบให้กับเพนกวินสาวสวย ถ้าสาวรับหินแล้วนำไปไว้ที่รัง นั่นหมายถึง การตอบรับที่จะสร้างครอบครัวไปด้วยกัน

 

ปรากฏการนี้จึงมีชื่อเรียกว่า “Pebbling” คือ การแสดงความรักด้วยการกระทำเล็ก ๆ ที่เราอยากส่งต่อความรัก ความคิดถึงไม่ว่าจะเป็นการส่งมีม รูปภาพ สติกเกอร์ คลิปวิดีโอสั้น ๆ ให้กับคนที่เรารัก

 

นอกจากนี้ยังมีการเปรียบ Pebbling ว่าเหมือนกับการที่เราโยนก้อนหินเล็ก ๆ ลงในน้ำ ที่ก่อให้เกิดระลอกคลื่นที่แผ่ขยายออกไปได้กว้าง

 

เหมือนกัน กับการกระทำของเรา ที่การส่ง หรือแชร์จะดูเล็กน้อย แต่มันคือการแสดงออกที่น่ารักส่งต่อความสุข แต่ต้องบอกด้วยว่าคำนี้มีมานาน และถูกใช้มานานแล้วโดยมันไม่ได้เริ่มจากการส่งมีมบนโซเชียลเท่านั้น

 

 

Pebbling Effect  Idea

 

1.  แชร์เพลงให้กัน

 

2. ให้ของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ

 

3. เขียนโน้ตให้ด้วยมือ

 

4. การดูแลเล็ก ๆ โดยไม่ต้องถาม เช่น หยิบกระดาษทิชชู่ให้ตอนทานข้าว 

 

5.  ถ่ายรูปเวลาไปสถานที่ที่ชอบแล้วส่งให้กัน

 

 

พ่อแม่หลายคนก็พบว่าการ Pebbling นั้นช่วยให้พวกเขาสนิทสนมกับลูกมากขึ้น และทำให้ช่องว่างระหว่างวัยลดลงด้วยเช่นกัน

 

จากข้อมูล Do It for the Culture: The Case for Memes in Qualitative Research พบว่าการส่งมีมสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลขึ้นมาได้

 

โดยการส่งมีมระหว่างผู้วิจัยและผู้เข้าร่วมนั้นเป็นกลยุทธ์ที่ดีในการทำความรู้จักอีกฝ่าย มีส่วนช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้เชื่อใจกันและมีความกลมเกลียวกันง่ายขึ้น

 

และมุกตลกที่เฉพาะเจาะจงของมีมแต่ละมีมนั้น ยังทำให้สามารถคาดเดาลักษณะนิสัยของคู่สนทนาได้อีกด้วย 

 

บทความอื่น ๆ ที่ Alljit Blog

 

ที่มา :

เรื่องรักของเพนกวิน

 

Projection คืออะไร เพื่อน ๆ หลายคนคงจะมีบ้างที่รู้สึกไม่ชอบลักษณะนิสัยหรือการกระทำบางอย่างของคนอื่น แต่ในบางครั้ง สิ่งที่เราไม่ชอบในคนอื่น อาจจะมาจากการไม่ชอบตัวเองก็ได้

 

มาทำความรู้จักกับ  Defence Mechanism หรือกลไกการป้องกันตัวแบบหนึ่งของมนุษย์เราที่เป็นคำตอบสำหรับประเด็นนี้คืออะไร

Defence Mechanism กลไกการป้องกันตัว

 

Defence Mechanism คือ กระบวนการที่จิตใจเราใช้เพื่อให้ ID EGO Superego ของเรายังสมดุลเนอะ ความต้องการของเรา การมองโลกตามความเป็นจริง

 

และการทำกรอบของสังคม บางครั้งเราทำทั้งหมดนั้นพร้อมกันไม่ได้ Defence Mechanism จึงมาเพื่อช่วยลดความตึงเครียดในใจเรา 

 

Defence Mechanism เป็นได้ทั้งกระบวนการที่ช่วยให้เราไม่กลายเป็นบ้า (คุมสติเราไม่ให้พังจนใช้การไม่ได้) หรือไม่ก็ทำให้เราหลุดจากความเป็นจริงไปเลย 

 

Defence Mechanism มีหลากหลายแบบ แต่เราจะกล่าวคือ Projection  และ ขั้นกว่า คือ Projective Identification 

 

 

Projection การฉายสะท้อน

 

การปฎิเสธข้อมูลที่รับไม่ได้เกี่ยวกับตัวเอง แล้วโยนให้คนอื่น  หรือ การสะท้อนลักษณะอันไม่พึงประสงค์ของตนไปให้ผู้อื่น

 

เช่น เราโกรธเพื่อน แต่รู้สึกว่าการโกรธเพื่อนเป็นสิ่งที่ผิด ไม่ควรโกรธ ไปๆมาๆ พอเพื่อนตอบแชทช้า  เราเผลอคิดไปว่าเพื่อนนั้นแหละที่โกรธ

 

ภาวะนี้เป็นอะไรที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ และหลายครั้งเราอาจจะไม่รู้ตัว เรียกว่ามันอยู่ในระดับจิตใต้สำนึก 

 

เพราะฉะนั้น บางครั้งเราก็จึงไม่รู้ตัวว่า สิ่งที่เราไม่ชอบในตัวคนอื่น คือสิ่งที่เราไม่ชอบในตัวเอง

 

 

Projective Identification  การยัดเยียดอัตลักษณ์ 

 

หากเปรียบเทียบ การฉายภาพสะท้อน คือการที่เรามีบางสิ่งในตัวเราที่ไม่ชอบ แล้วเราก็โยนมันเป็นของคนอื่น ๆ แต่ Projective identification นอกจากโยนสิ่งที่ไม่ชอบให้คนอื่นแล้ว

 

เรายังแสดงพฤติกรรมเพื่อกระตุ้นให้อีกฝ่ายเป็นในสิ่งที่เราโยนให้เขาด้วย เหมือนการเอาชุดไปสวมให้เขาแล้วทำให้เขาเล่นบทบาทอย่างที่เราไม่ชอบ 

 

เรากำลังสร้างให้เขาเป็นสิ่งที่เราไม่ชอบในตัวเอง

 

ตัวอย่างเช่น เราไม่ชอบที่ตัวเอง “ขี้โมโห” เราก็เลยโยนไปว่าเพื่อนเราต่างหากที่ขี้โมโห โดยเราอาจจะพูดว่า  “แกอย่าโมโหสิ” “อย่าใช้อารมณ์นะ”

 

ทั้ง ๆ ที่คนปกติก็คือ อารมณ์เสียแต่เราไปเน้นว่า “แกขึ้โมโห” มุมมองของเพื่อนต่อตัวเองก็เปลี่ยนไป 

 

 

กลไกป้องกันตนเองแบบ Projection เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

 

กลไกป้องกันตนเองแบบการฉายภาพสะท้อน มีความเชื่อมโยงกับการเรียนรู้เรื่องความ “ผิด/ถูก”  โดยคนเราจะเริ่มใช้กลไกป้องกันตนเองในช่วงวัยเด็กตอนกลาง

 

ซึ่งเป็นช่วงที่มนุษย์เริ่มมีพัฒนาการในเรื่องของความผิดชอบชั่วดีขึ้นมาแล้ว ถือว่าเป็นกลไกป้องกันตนเองแบบแรก ๆ ที่ถูกนำมาใช้

 

เพราะเป็นกลไกที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจเรื่องของความดีความเลว แบบขาวกับดำ และเพื่อสร้างสมดุลของความดีและความไม่ดีในตัวเรา

 

ปกป้องเราจากความเจ็บปวด คววามกลัว ความโหดร้าย 

 

 

การรู้เท่าทันภาวะการโทษคนอื่น

 

ข้อขอบคุณข้อมูลจาก  อาจารย์ ดร.พนิตา เสือวรรณศรี

 

การจะปรับให้เราไม่ตกเป็นเหยื่อของกระบวนการความคิดแบบนี้ คือ เราต้องถามตนเองว่าการที่เรามองคนอื่นว่าเขาเลว อันตราย น่ากลัว ความคิดนี้อยู่บนพื้นฐานความจริงแค่ไหน

 

หรือเรากำลังโยนความรู้สึกไม่ปลอดภัย วิตกกังวลที่เรามีในใจออกไปสู่คนอื่นอยู่รึเปล่า อะไรที่ทำให้เรารู้สึกวิตกกังวล

 

ไม่ปลอดภัยเมื่อมีคนที่คิดเห็นต่างจากเรา เป็นแบบที่เราไม่ชอบ มันผิดตรงไหน

 

แล้วความรู้สึกนี้อยู่บนพื้นฐานความจริงแค่ไหน ในทางตรงกันข้าม คนที่เรามองว่าเป็นคนดีที่ไม่มีที่ติ

 

เขาดีแบบนั้นจริง ๆ หรือไม่ ความคิดนี้อยู่บนเหตุผลและหลักฐานตามความเป็นจริงแค่ไหน

 

หรือเราแค่ทำให้คนนั้นหรือกลุ่มคนนั้นเป็นกลุ่มคนอุดมคติเพื่อให้เรารู้สึกปลอดภัย ทำให้เรารู้สึกว่าเราเป็นคนดีที่เราก็อยู่ในกลุ่มนั้น

 

 

บทความอื่น ๆ ที่ Alljit Blog

 

ที่มา :

Understanding Experiences of Projective Identification

ทำไมความต่างจึงนำไปสู่ความเกลียด 

 

 

 

ชวนทุก ๆ คนมาทำของขวัญที่เป็น ‘โหลข้อความ’ ที่เต็มไปด้วยความรู้สึกดี ๆ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า กระปุกเติมใจ 💖 

 

ฟังดูน่าสนใจใช่ไหม? ถ้าน่าสนใจก็ไปลองทำกันเลย!

 

 

EP นี้มีที่มาจาก เพื่อนสนิทให้ของขวัญ ตอนให้เพื่อนได้บอกไว้ว่า ‘เวลาที่รู้สึกแย่อย่าลืมหยิบของขวัญชิ้นนี้มาเปิดอ่านนะ’ 🙂

 

🔹 DIY โหลข้อความ 💌 (How-To แบบง่ายๆ)

 

🛠️ อุปกรณ์ที่ต้องมี :

 ✅ โหล / ขวดแก้ว หรือจะใช้ กล่องสวยๆ ก็ได้

 

✅ กระดาษโน้ตเล็กๆ หรือ กระดาษสีสันสดใส

 

 ✅ ปากกา / สี / สติกเกอร์ / ของตกแต่งอื่นๆ(เพื่อเพิ่มความน่ารัก)

 

 

🎀พับเป็นม้วนจิ๋ว 🎀 

✏️ วิธีทำ :

1️⃣เขียนข้อความบนกระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้า

 

2️⃣ม้วนให้เป็นหลอดเล็กๆ

 

3️⃣ผูกด้วยริบบิ้น เชือก หรือใช้สติกเกอร์ปิด

     ถ้าไม่มีริบบิ้น เราจะแปะเทป แล้ววาดหัวใจ

 

🔹 ใช้สีริบบิ้นแตกต่างกัน เพื่อแยกหมวด เช่น กำลังใจ 💛 / คำขอบคุณ 💙 / คำอวยพร ❤️

 

Self Affirmation Theory

 

 รู้ไหมว่า การให้กำลังใจตัวเองหรือคนอื่นผ่านข้อความแบบนี้ มันสอดคล้องกับทฤษฎีจิตวิทยาที่เรียกว่า Self-Affirmation Theory

 

 Self-Affirmation Theory คืออะไร?

ทฤษฎีของ Claude Steele (1988) มนุษย์เราต้องการรักษาภาพลักษณ์ตัวเองให้ดีตลอดเวลา (ต้องเก่ง ต้องดี ต้องเป็นที่รัก)

 

แต่เมื่อเจอเรื่องที่ทำให้รู้สึกว่า “เราไม่ดีพอ” มันจะสร้างความตึงเครียดในจิตใจ การเขียนข้อความยืนยันให้ตัวเองหรือให้คนอื่น

 

จะช่วยให้เรากลับมาโฟกัสสิ่งดีๆ และเสริมพลังบวกให้ตัวเอง การมี “โหลข้อความ” ที่เต็มไปด้วยคำพูดให้กำลังใจ

 

คือ การเตรียม self-affirmation ไว้ล่วงหน้า 💖 เมื่อรู้สึกแย่ เราแค่หยิบข้อความขึ้นมาอ่าน ก็สามารถช่วยลดความเครียดและเพิ่ม self-worth ได้

 

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยของ Cascio et al. (2016) พบว่า การให้คำยืนยันกับตัวเองช่วย

 

ลดการทำงานของสมองในส่วนที่เกี่ยวกับความเครียด (ventral anterior cingulate cortex) และช่วยฝึกให้เรามองโลกในแง่ดีขึ้น

Results of a region of interest analysis demonstrated that participants who were affirmed showed increased activity in key regions of the brain’s self-processing and valuation systems when reflecting on future-oriented core values.

 

📢 มีงานวิจัยอีหลายชิ้นพบว่า คนที่เขียน gratitude notes หรือเขียน appreciation messages เป็นประจำ มีแนวโน้มที่จะสุขภาพจิตดีขึ้น!

 

The effect of a grateful outlook on psychological and physical well-being was examined. Results suggest that a conscious focus on blessings may have emotional and interpersonal benefits. 

 

💡 “ดังนั้น! แค่มี ‘โหลข้อความ’ ที่เต็มไปด้วยคำดีๆ ก็สามารถช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นและรักตัวเองได้มากขึ้นจริงๆ!”

 

 

ภาษาความรัก (love language)

 

ทำไมของขวัญชิ้นนี้ถึงพิเศษ? 👩‍❤️‍👨 “ของขวัญแต่ละแบบเหมาะกับคนแต่ละประเภท ตามแนวคิด Love Language (ภาษาความรัก)”

 

📖 เป็นแนวคิดที่แบ่งคนออกเป็น 5 แบบ ในความสัมพันธ์ว่าเราแสดงออกหรือต้องการความรักแบบไหน

 

💖 กิจกรรมนี้เหมาะกับ…

✅ Words of Affirmation – คนที่ชอบฟังคำพูดดีๆ จะชอบมาก!

✅ Receiving Gifts – คนที่ชอบของขวัญจะรู้สึกว่าเราตั้งใจทำให้จริงๆ!

✅ Acts of Service – นี่คือของขวัญที่ใช้เวลาทำให้จากใจจริง!

 

อ้างอิง

ถ้าไม่ใช่ความจริง ไม่เห็นต้องไปแคร์เลย” หรือ “เขาก็พูดถูกแล้ว จะไปโกรธทำไม”

 

 

ความอยากรู้อยากเห็น คือ พลังขับเคลื่อนข่าวลือ

 

ในช่วงชีวิตของเรา ข่าวลือเปรียบเสมือนสายลมที่พัดผ่าน อาจเย็นสบาย หรือบางครั้งก็หนาวเยือกจนหัวใจสะท้าน

 

อาจจะเป็นเรื่องจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง หรืออยู่ในขอบเขตของความจริงเพียงครึ่งเดียวก็ตาม แต่บางครั้งก็ส่งผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ตามมาได้ 

 

ไม่ว่าจะเป็นข่าวลือในแง่ใดก็ตาม เมื่อขึ้นชื่อว่าข่าวลือ เราอาจพิจารณาได้ว่า ข่าวลือนั้นเป็นสิ่งที่ทั้งมีมูลหรืออาจไม่มีก็ได้

 

รู้เพียงแต่ผู้เป็นเจ้าของเรื่อง คงไม่ทันได้อนุญาตให้ถูกพูดถึงในทางใดทางหนึ่ง ทำให้การพูดถึงอย่างลับหลังหรือต่อหน้าก็ดีนั้น

 

คล้ายกับการถูกล้ำเส้นในความรู้สึก ถึงแม้จะพูดความจริงหรือความเท็จในเชิงชื่นชมก็ตาม ก็อาจล้วนสร้างความรู้สึกแปลกใจเล็กน้อยว่ามีเหตุผลอะไรถึงได้พูดถึงเรา 

 

แท้จริงแล้ว ข่าวลือก็ถือเป็นหนึ่งในผลผลิตของความอยากรู้อยากเห็นนั่นเอง

 

มันเกิดจากมุมมองที่ไม่สมบูรณ์ของผู้คน หรือการตีความที่ไม่ได้คำนึงถึงความเป็นจริงทั้งหมด ซึ่งบางครั้งมันก็อาจสะท้อนอะไรบางอย่างในตัวเรา

 

แต่หลายครั้งมันก็แค่เป็นเรื่องเติมแต่งที่ขาดความหมาย   แต่ถึงอย่างนั้น ความโกรธหรือความไม่สบายใจมันก็ยังคงอยู่ 

 

และจะมีวินาทีหนึ่งที่เราดันเกิดคำถามกับตัวเองว่า “แล้วจะไปโกรธทำไม?”

 

และวินาทีนี้นี่เอง ที่สมองกับหัวใจเริ่มแข่งขันกันทำงาน

 

ในมุมแรก 

“ถ้าข่าวลือนั้นเป็นความจริง เราไม่ควรโกรธสิ เพราะเขาก็พูดถูกแล้ว จะไปโกรธเขาทำไม” 

จากนั้นมุมที่สองก็ส่งเสียงขึ้นมาเบา ๆ ว่า “เพราะเรารับความจริงไม่ได้ไง เราถึงได้โกรธ

 

ทันใดนั้น มุมที่สามก็ลุกขึ้นมาตบบ่าทั้งสองมุมแรกพร้อมพูดว่า

 

 

“พวกเธอจะโกรธคนที่พูดถึงข่าวลือที่เป็นจริงก็ได้นะ แต่สิ่งที่สมควรโกรธที่สุด คือ ข่าวลือที่ไม่เป็นความจริงต่างหาก เพราะมันทำให้เราเกิดความเสียหายได้ทั้งด้านชื่อเสียงและความรู้สึกไง”

“ไม่นะ” เสียงแว่วจากมุมที่สี่ที่นั่งฟังเพื่อน ๆ โต้เถียงกันอย่างเงียบ ๆ ได้แทรกขึ้นมาทันทีหลังมุมที่สามพูดจบ มุมที่สี่หลับตาลงและพูดด้วยน้ำเสียงเรียบ ๆ ต่อว่า “ก็ถ้ามันไม่ใช่ความจริง ก็ไม่เห็นต้องโกรธเลย” 

 

สุดท้ายแล้ว จะเป็นความจริงหรือไม่ เราก็มักถูกห้ามไม่ให้รู้สึกโกรธหรือไม่ควรไม่พอใจอยู่ดี…

 

เราควรโกรธความจริงหรือความไม่จริง

 

การที่เราจะโกรธหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเจตนาของผู้พูด ไปจนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเรา หรือสภาพอารมณ์และอคติเราที่มี ณ ตอนนั้น

 

ถ้าเรื่องที่เขาพูดเป็นความจริง เราอาจต้องพิจารณาว่าเรื่องนั้นเป็นประเด็นที่ควรปรับปรุงตัวเองไหม

 

หากเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราพัฒนาตัวเอง การโกรธก็อาจไม่จำเป็น แต่ถ้าเขาพูดความจริงในลักษณะที่ดูหมิ่น เหยียดหยาม หรือทำร้ายจิตใจเรา การโกรธก็อาจเกิดขึ้นได้ และเป็นเรื่องธรรมชาติ

 

ถ้าเรื่องที่เขาพูดไม่เป็นความจริง และพูดโดยไม่มีเจตนาร้าย เช่น เข้าใจผิดหรือไม่รู้จริง การโกรธอาจไม่ช่วยอะไร

 

หากเราสะดวกก็ควรชี้แจงให้เขาเข้าใจ แต่ถ้าเขาตั้งใจพูดโกหกเพื่อทำลายชื่อเสียงหรือทำร้ายเรา การโกรธหรือแสดงออกเพื่อปกป้องตัวเองก็เป็นเรื่องสมเหตุสมผล

 

หรือไม่งั้น ง่าย ๆ เลย ก่อนที่เราจะให้อารมณ์ความรู้สึกโกรธมาครอบงำจิตใจ 

 

ลองถามตัวเองก่อนว่า การโกรธจะช่วยแก้ปัญหาไหม และเราจะสื่อสารหรือจัดการเรื่องนี้ให้เกิดผลที่ดีขึ้นได้ยังไง 

 

เพราะสุดท้ายแล้ว การควบคุมอารมณ์และใช้เหตุผล จะช่วยให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้นในสถานการณ์ที่ยากลำบากซึ่งจะเป็นผลดีต่อตัวเราเอง

 

ไม่ใช่ว่าห้ามโกรธ เราสามารถเกิดความรู้สึกไม่ดีต่าง ๆ ได้ เพียงแค่เมื่อเกิดความรู้สึกขึ้นแล้ว เราต้องยอมรับอย่างซื่อสัตย์และจัดการความรู้สึกนั้นด้วยวิธีที่เหมาะสม

 

 

รับมืออย่างผู้ชนะ

 

เหนือสิ่งอื่นใด เราต่างรู้ดีว่าการรับรู้สิ่งต่าง ๆ อาจจะเป็นเรื่องที่ทั้งหลีกเลี่ยงได้หรือไม่ได้ก็ตาม หัวใจสำคัญของการรับมือ คือ ความคิดความเข้าใจ

 

เราจะปล่อยวางเพื่อรักษาความสุขได้โดยการแยกแยะสิ่งที่ควรใส่ใจ เชื่อมั่นในความจริงของเรา ถ้าข่าวลือไม่ใช่ตัวตนของเรา

 

หรือไม่ได้ทำให้ชีวิตของเราดีขึ้น ก็ปล่อยให้มันผ่านไป อย่าเอาพลังงานของเราไปเสียกับสิ่งที่ไม่สำคัญ

 

เพราะการที่เราเลือกให้ค่ากับข่าวลือมากเกินไป นั่นคือ เรากำลังปล่อยให้เสียงของคนอื่นมามีอำนาจเหนือความคิดความรู้สึกเรา 

 

ดังนั้นการเลือกปล่อยวางไม่ใช่การยอมแพ้ แต่เป็นการให้คุณค่าแก่ตัวเอง และเราจะพบว่า โลกภายนอกไม่สามารถทำลายความสุขในใจเราได้

 

เมื่อเราไม่ปล่อยให้ข่าวลือมากำหนดอารมณ์ของเรา ถึงแม้เราจะควบคุมความคิดคนอื่นไม่ได้เป็นเรื่องปกติ

 

ขอแค่อย่างน้อยเราควบคุมตัวเองได้และสามารถโอบกอดความสงบ ความเป็นตัวเราได้อย่างแข็งแรงก็พอ

 

พร้อมกับทำความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ว่า ทุกคนล้วนมีความคิดเห็น ซึ่งความคิดเห็นเหล่านั้นก็ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงเสมอไป

 

ข่าวลือคือส่วนหนึ่งของธรรมชาติของสังคม ถ้าเรารู้ว่าตัวเองเป็นใครและยืนอยู่บนพื้นฐานของความจริง

 

เราจะไม่รู้สึกสะท้านต่อคำพูดของคนอื่น การโกรธหรือพยายามแก้ไขข่าวลือจะไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นเสมอไป เพราะสุดท้าย เวลาจะเป็นตัวช่วยปรากฏความจริงได้เสมอ

 

“ไม่กล้าไปพบนักจิตวิทยา” ด้วยสังคมที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพจิตมากขึ้น การไปพบผู้เชี่ยวชาญอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่หลายคนสนใจ แต่พอตัดสินใจจะไปจริง ๆ กลายเป็นว่า กลัว ไม่กล้า

 

สาเหตุที่ทำให้เกิด ‘ความกลัวการพบผู้เชี่ยวชาญ’ คืออะไร ? จะรับมืออย่างไร ?

 

สาเหตุของความกลัว “ไม่กล้าไปพบนักจิตวิทยา”

1. ประสบการณ์ในอดีตที่ไม่ดี

 

หลาย ๆ คนอาจจะเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีในการพบปะกับคนแปลกหน้าหรือ ผู้เชี่ยวชาญ เช่น การถูกตัดสิน หรือการไม่รู้สึกว่าได้รับความเข้าใจจากคนที่เราพบ อาจจะเกิดขึ้น

 

จากการที่เราเคยเจอกับคนที่ไม่พอใจหรือทำให้เรารู้สึกไม่ดีในอดีต ดังนั้นเมื่อถึงเวลาต้องพบกับผู้เชี่ยวชาญใหม่ ๆ เราจึงเกิดความกลัวหรือความวิตกกังวลที่จะเผชิญหน้า

 

2. ความรู้สึกกลัวการถูกตัดสิน

 

บางคนอาจจะมีความกลัวที่จะเปิดเผยตัวตนของตนเองหรือปัญหาส่วนตัวให้กับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ เพราะกลัวว่าจะถูกตัดสินหรือไม่ยอมรับ

 

ความกลัวนี้มักจะมาจากความไม่มั่นใจในตัวเอง หรือเคยมีประสบการณ์ในอดีตที่ไม่ดีจากการถูกตัดสินจากคนอื่น เช่น การรู้สึกว่าปัญหาของเราดูไม่น่าสนใจหรือไม่สำคัญต่อผู้อื่น

 

3. การมองไม่เห็นคุณค่าในการพบผู้เชี่ยวชาญ

 

บางคนอาจจะคิดว่าไม่จำเป็นต้องไปพบผู้เชี่ยวชาญ หรืออาจจะไม่เข้าใจว่าการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยได้จริง ๆ

 

การมองไม่เห็นถึงประโยชน์ของการพบผู้เชี่ยวชาญอาจทำให้คนเราตัดสินใจที่จะหลีกเลี่ยงการไปพบจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา

 

4. ความวิตกกังวลในเรื่องของความไม่รู้

 

บางคนอาจจะไม่กล้าไปพบผู้เชี่ยวชาญเพราะกลัวไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้างหรือเกิดอะไรขึ้นระหว่างการพบเจอกับผู้เชี่ยวชาญ

 

ความไม่รู้เกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ  อาจทำให้เรารู้สึกไม่มั่นใจหรือกลัวว่าจะต้องเจอกับสิ่งที่ไม่คุ้นเคย

 

5. ความกลัวการไม่ยอมรับจากสังคม

 

ในบางกรณี คนบางกลุ่มอาจจะไม่กล้าไปพบผู้เชี่ยวชาญเพราะกลัวการถูกมองว่า “บ้า” หรือ “ไม่ปกติ” โดยเฉพาะในสังคมที่ยังมีการตีตราหรือมีทัศนคติที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับการปรึกษา

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตใจ การที่คนรอบข้างไม่เข้าใจ หรือมองว่าการไปหาจิตแพทย์เป็นสิ่งที่ไม่ปกติ อาจทำให้บางคนไม่กล้าไปพบผู้เชี่ยวชาญ

 

6. การหลีกเลี่ยงความรู้สึกที่ไม่สบายใจ

 

บางคนอาจจะรู้สึกว่าการไปหาผู้เชี่ยวชาญนั้นจะทำให้เราต้องเผชิญกับความรู้สึกที่ไม่สบายใจ หรือเปิดเผยตัวเองในเรื่องที่อาจทำให้เราเจ็บปวด อาจจะรู้สึกว่า

 

“ไม่อยากเจาะลึกเรื่องราวในอดีต” หรือ “ไม่อยากเปิดเผยสิ่งที่เจ็บปวด” การที่เรากลัวความรู้สึกเหล่านี้อาจทำให้เราตัดสินใจที่จะไม่ไปพบผู้เชี่ยวชาญ

 

 

วิธีการจัดการ “ไม่กล้าไปพบนักจิตวิทยา”

 

เมื่อเรามองเห็นสาเหตุที่ทำให้เราไม่กล้าไปพบผู้เชี่ยวชาญ เราสามารถเริ่มจัดการกับความกลัวและความวิตกกังวลเหล่านั้นได้ โดยการทำความเข้าใจตัวเองและการเตรียมตัวก่อนที่จะไปพบผู้เชี่ยวชาญ

 

1. ทำความเข้าใจกับความกลัวของตัวเอง


การทำความเข้าใจกับสาเหตุที่ทำให้เรากลัวจะช่วยให้เราเตรียมตัวรับมือกับความรู้สึกนั้นได้ การรู้ว่าความกลัวของเรามาจากประสบการณ์ที่ไม่ดีหรือ

 

การกลัวการถูกตัดสินจะช่วยให้เราผ่อนคลายมากขึ้น เพราะเราจะรู้ว่าเราไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่ทำให้เรากลัวจริง ๆ

 

2. หาคำแนะนำจากคนที่มีประสบการณ์


การพูดคุยกับคนที่เคยไปพบผู้เชี่ยวชาญแล้วอาจช่วยให้เรารู้สึกมั่นใจขึ้น พวกเขาอาจจะแบ่งปันประสบการณ์หรือให้คำแนะนำในการเตรียมตัวสำหรับการไปพบผู้เชี่ยวชาญ

 

3. ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน


ก่อนที่จะไปพบผู้เชี่ยวชาญ ควรตั้งเป้าหมายว่าเราต้องการอะไรจากการไปพบ เช่น การเข้าใจตัวเองมากขึ้น การหาทางออกจากปัญหาที่กำลังเผชิญ

 

หรือการได้รับคำแนะนำในการแก้ไขปัญหาชีวิตเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้เรามีแรงจูงใจในการตัดสินใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

 

4. เริ่มจากการปรึกษาผ่านทางออนไลน์


หากกลัวที่จะไปพบผู้เชี่ยวชาญตัวต่อตัว อาจเริ่มต้นจากการปรึกษาผ่านทางออนไลน์หรือโทรศัพท์ เพื่อให้เราค่อย ๆ ปรับตัวและคุ้นเคยกับการพบผู้เชี่ยวชาญ

 

5. เปิดใจและมองในแง่บวก


การเปิดใจและมองการพบผู้เชี่ยวชาญเป็นโอกาสในการเติบโตและพัฒนาตัวเองจะช่วยให้เราลดความกลัวและความกังวลลงได้

 

อย่าลืมว่าเป้าหมายหลักของการไปพบผู้เชี่ยวชาญคือการได้รับการช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาหรือการดูแลสุขภาพจิตของตัวเอง

 

การไม่กล้าไปพบผู้เชี่ยวชาญอาจจะเกิดจากความกลัว ความวิตกกังวล หรือประสบการณ์ในอดีตที่ไม่ดี แต่การจัดการกับความรู้สึกเหล่านี้

 

และการทำความเข้าใจตัวเองจะช่วยให้เราก้าวข้ามความกลัวนั้นไปได้ และสามารถเลือกที่จะได้รับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญที่สามารถช่วยให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้นและหาทางออกจากปัญหาชีวิตได้

 

 

บทความอื่น ๆ ที่ Alljit Blog

 

เข้าใจเรื่อง ความตาย เพศ และ มาตรฐานความงามของสังคม ผ่าน หนังสือนิทาน จากสำนักพิมพ์ Bookscape

 

 

ความตายของเจ้าหนอนผีเสื้อ

หลังจากที่เราสูญเสียใครสักคนไปเราจะมีหลายความรู้สึกที่เกิดขึ้น ช็อค โกรธ ขอให้อีกฝ่ายฟื้นขึ้นมา เศร้า ยอมรับ แล้วจึงใช้ชีวิตต่อไปได้

 

ทั้ง 5 ความรู้สึกนี้เรียกว่า 5 ระยะ การก้าวผ่านความสูญเสีย ซึ่งเมื่อเราสูญเสียใครไป 5 ความรู้สึกนี้จะเกิดขึ้น

 

มันอาจจะไม่เรียงแต่อาจจะวนแบบสลับกัน แต่สุดท้ายเราก็จะเหมือนเพื่อน ๆ ของหนอนผีเสื้อ

 

เมื่อเวลาผ่านพ้นไปความเจ็บปวดจะค่อย ๆ ลดลง ถึงมันจะไม่มีวันหาย แต่ความรู้สึกนั้นสักวันนึงก็จะเปลี่ยนไป

เงือกน้อยจูเลียน 

เงือกน้อยจูเลียนใช้วิธีการเล่าเรื่องเปรียบเปรย Drag ในเรื่องว่าเป็นแก๊งนางเงือก อาจจะดูธรรมดาแต่แฝงด้วยความหมาย

 

นอกจากนั้นแล้วหนังสือนิทานเล่มนี้ ชวนให้เราโอบรับความหลากหลาย ความชอบ และสิ่งที่เราเป็น และอยากจะเป็น

 

คุณแม่มดสวยปิ๊ง !!

แม่มด กับยักษ์ ที่รักกัน จีบกัน สองสิ่งที่แตกต่างแต่รักกันได้ หนังสือเล่มนี้สอนให้เราได้เรียนรู้ที่จะต้องฟังเสียงของตัวเองก่อนเสียงของคนอื่น

 

 และ 2 ประเด็นหลักของนิทานเรื่องนี้ คือ 1. เรื่องของความงามในบิวตี้แสตนด์ดาร์ดที่สังคมตั้งไว้

 

2. Self- Esteem หรือการมองเห็นคุณค่าในตัวเองการรับรู้ว่าตนเองมีคุณค่าจากการมองตนเอง โดยรวมการเห็นคุณค่าในตนเอง

 

สิ่งเหล่านี้ช่วยสร้างความมั่นคงให้เรา แล้วเราจะไม่หวั่นไหว ต่อสังคมที่บอกว่า ความสวยต้องเป็นแบบไหน 

 

อุปาทานหมู่ คืออะไร เพราะอะไรคนบางกลุ่มถึงเกิดแสดงอาการบางอย่างเหมือน ๆ คล้ายกับจะติดต่อกันได้ และทำไมมนุษย์ไม่กล้าแตกแถว

 

ชวนทุกคนมาทำความเข้าใจ “อุปทานหมู่” ที่ว่ากันว่า  เป็นโรคติดต่อทางจิตวิทยา

 

อุปาทานหมู่ คืออะไร

 

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งมีความค่อนเกี่ยวกับจิตสังคม คือ มักจะเกิดขึ้นกับบุคคลตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ในกรณีที่กลุ่มบุคคลนั้นมีความคิด

 

ความเชื่อว่าตนเผชิญปัญหาเดียวกันจึงแสดงอาการออกมาแบบเดียวกัน

 

ซึ่งถ้าทำการตรวจทางการแพทย์ ก็จะไม่พบสิ่งผิดปกติทางร่างกายที่อธิบายอาการต่าง ๆ เหล่านี้ได้ สาเหตุอาจเกิดจากความเครียดหรือ ความกดดันทางใจ

 

ยกตัวอย่าง ในยุคกลาง เป็นยุคที่มีความตึงเครียดทางศาสนาสูง เรื่องความเชื่อทางสาสนามีอิทธิพลต่อคนมาก บวกกับช่วงนั้นโรคระบาดและความคลาดแคลนทางอาหารก็สูง

 

คนเครียดกันมาเป็นเวลานาน และแล้วก็มีหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ ๆ ก็เป็นโรคหยุดเต้นไม่ได้ จะเต้นอยู่อย่างนั้นจนเป็นลม

 

แล้วก็ติดต่อกัน (คำอธิบายนึงก็คือในหมู่บ้านนี้นับถือ St. Vitus ที่เชื่อกันในหมู่บ้านว่าสั่งให้คนเต้นได้)

 

 

อุปาทานหมู่ โรคติดต่อทางจิตวิทยา ?   

 

หากอิงตามคู่มือการแพทย์อย่าง DSM-5 ก็ยังไม่ใช่โรค  เป็น Conversion Disorder = เป็นภาวะที่อารมณ์ส่งผลต่อร่างกายโดยที่ไม่มีสาเหตุทางกายภาพ

 

เป็นอาการทางจิตที่ทำให้ร่างกายแสดงออกเหมือนมีปัญหาจริง  ๆ ทั้งที่ร่างกายไม่มีอะไรผิดปกติ

 

จากข้อมูล British historian and Fortean researcher Mike Dash ศึกษาพบว่ามีองค์ประกอบ 6 ข้อที่บ่งชี้ว่าเกิดกรณี อุปาทานหมู่ขึ้น

 

1. มีปัจจัยเหนี่ยวนำ เช่น ความเชื่อในท้องถิ่น

 

2. การแพร่กระจายของข้อมูล ความเชื่อ

 

3. ขาดความเชื่อถือในตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการรับและการแปลข้อมูลที่ผิด

 

4. ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นที่แต่ละภูมิภาคนับถือ

 

5.  ถูกกระตุ้นจาก 1 คนเป็น 2 คน และเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ

 

6. การระบาดของอาการอย่างผิดปกติ จนต้องมีหน่วยงานเข้าไปดูแล เพราะอุปทานหมู่จะเกิดเมื่อคนหนึ่งเจ็บป่วยหรือมีภาวะเครียด

 

ซึ่งคนอื่นก็จะแสดงอาการคล้าย ๆ กันออกมา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดหัว

 

อุปาทานหมู่ ไม่ใช่โรคติดต่อทางจิตวิทยา ไม่ใช่โรคทางจิตเวช แต่เป็นอาการที่เกิดจากความคิด ความเชื่อ “แพร่ระบาดทางความคิด”

 

ซึ่งวิธีรักษาก็คือ แค่นำคนเหนี่ยวนำหรือตัวกระตุ้น ออกจากกลุ่มจนกว่าอาการจะปกติถึงจะนำกลับเข้าสังคมได้ ถ้าภาษาทางจิตวิทยา คือ

 

การทำจิตบำบัด เพื่อให้เห็นถึงปัญหาที่แท้จริงและแก้ได้อย่างตรงจุด อาการก็จะดีขึ้นไว

 

 

ทำไมมนุษย์ไม่กล้าแตกแถว

 

ทฤษฎี Peer pressure  หรือ ความกดดันทางสังคม

 

โซโลมอน แอช เคยทำการทดลองเกี่ยวกับการให้หน้าม้าหลาย ๆ คนตอบคำถามผิดติดต่อกันเพื่อดูว่าผู้ร่วมทดลองจะตอบผิดด้วยไหม

 

ปรากฏว่า เกินครึ่งตอบผิดตามหน้าม้าถึงจะเห็นอยู่แล้วว่าคำตอบที่ถูกต้องคืออะไรแต่ก็เลือกที่จะตอบผิดตาม แต่อีกห้องที่ไม่มีหน้าม้า กลับตอบถูกตามสิ่งที่ตัวเองเห็นปกติ

 

แอชจึงสรุปว่าความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและการตัดสินใจของมนุษย์ มากกว่าหลักฐานที่เป็นรูปธรรม 

 

หลังการทดลอง ผู้เข้าร่วมการทดลองเขาก็บอกว่า กลัวจะแปลกแยกถ้าตอบต่างจากคนอื่น ถึงแม้จะไม่ได้เชื่อหน้าม้าแต่ก็ยอมผิดตาม

 

ยิ่งถ้าจำนวนคนที่เชื่อมั่นในสิ่งหนึ่งมากเท่าไร เราที่อยู่ในสังคมนั้นก็จะเชื่อตาม เพียงแต่ไม่ได้มีอาการทางกายอะไรที่แสดงออกมาชัดเจนเหมือนอุปาทานหมู่

 

 

บทความอื่น ๆ ที่ Alljit Blog

 

ที่มา :

(Mass hysteria) คืออะไร? – นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช.

โซโลมอน แอสช์ : ทำไมมนุษย์จึงไม่กล้าแตกแถว แม้เดินบนเส้นทางที่ผิด

 

ความยากของนักจิตวิทยา หนึ่งคำถามสำคัญของสายอาชีพเกี่ยวกับสุขภาพจิต คือ การทำงานเป็นนักจิตวิทยามีความยากอย่างไร ? ต้องพบเจอเรื่องราวแบบไหน ?

หาคำตอบได้จาก Alljit x  คุณวันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยาการปรึกษา

ความยากของนักจิตวิทยา สำคัญที่สุดไม่ใช่แค่การจัดการกับเคสของคนอื่น แต่คือการจัดการกับตัวเอง

 

และต้องสามารถแยกแยะความรู้สึกของเราออกจากความรู้สึกของผู้ที่เรากำลังช่วยเหลือ

เพื่อที่จะทำงานได้เต็มที่ในทุก ๆ วินาที การฝึกฝนและ การทำงานกับตัวเองอย่างต่อเนื่องเป็นกุญแจสำคัญในการประสบความสำเร็จในอาชีพนี้ โดยการมี 3 ตัวตนในการทำงาน

1.ตัวตนที่รับฟังเคส

2.ตัวตนที่รับรู้ความรู้สึกของตัวเอง

3. ตัวตนที่วิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถดูแลทั้งตัวเองและเคสได้อย่างสมดุล

ความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นจากการทำงานอย่างเต็มที่ในทุก ๆ เคสแต่ถ้าเราเข้าใจและรับรู้คุณค่าในความเหนื่อยนั้น พร้อมกับการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง

ความเหนื่อยและความยากที่เกิดขึ้นจะไม่ทำให้เราหมดแรง แต่กลับเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ช่วยให้เราเติบโตและมีความสุขในอาชีพนี้

แม้จะเหนื่อยและเครียดจากการทำงาน แต่ก็มีความสุข จากการได้เห็นคนที่เราช่วยเหลือเติบโตและเรียนรู้ที่จะเผชิญหน้ากับความรู้สึกของตัวเองได้

นี่คือลักษณะของความสำเร็จ  ที่ไม่วัดจากผลลัพธ์ที่ชัดเจน แต่วัดจากการเติบโตทางอารมณ์และ จิตใจของผู้เข้ารับคำปรึกษา

ความยากในการทำงานด้านจิตวิทยา คือ การเข้าใจความรู้สึกของตัวเองและคนอื่น และการเรียนรู้การควบคุมอารมณ์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำงานได้เต็มที่และมีประสิทธิภาพสูงสุด

สิ่งที่สำคัญในการทำงานในอาชีพนี้คือการมี Awareness  ในทุกช่วงเวลาที่ทำงาน เราต้องสามารถแยกแยะระหว่างความรู้สึกของตัวเองและของคนที่เราทำงานด้วย

ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถเผชิญหน้ากับความยากของแต่ละเคสได้โดยไม่ให้ความรู้สึกส่วนตัวมารบกวน  นอกจากนี้ การฝึกฝนและเรียนรู้จากประสบการณ์จริงจะทำให้สามารถพัฒนาตัวเอง

 

บทความอื่น ๆ ที่ Alljit Blog

อยากชวนทุกคนมาสำรวจความรู้สึก สุขภาพจิต ของทุกคนกัน บางครั้งการเราก็กำหนดขอบเขตตัวเราเองว่าการมีสุขภาพจิตที่ดีต้องมีความสุขเท่านั้น

 

 

 Lisa damour  “การมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่ได้หมายถึงว่าต้องมีความสุขตลอดเวลา แต่มันคือการรับรู้และแสดงอารมณ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์รอบตัว

และสามารถจัดการ/รับมือกับอารมณ์เหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม

เป้าหมายที่แท้จริงไม่ใช่การจำกัดความเศร้า ความกังวล หรือความโกรธ แต่เป็นการมองอารมณ์เหล่านี้อย่างเข้าใจและไม่ปล่อยผ่านให้มันมานิยามตัวตนของเรา”

 

 

ทุกคนคิดเห็นยังไงกับประโยคนี้บ้าง เคยไหมที่เวลาเจอเรื่องอะไรที่เข้ามากระทบกับจิตใจเรา เหมือนว่าเราจะยอมรับสิ่งนั้นได้

 

แต่จริง ๆ แล้วในใจเราลึกๆ เรายังยอมรับไม่ได้ เรื่องนั้นยังคอยมาวนเวียนอยู่ในความคิดของเรา บางครั้งสิ่งนั้นก็ทำงานกับจิตใจเรามาก ๆ

 

จนเรารู้สึกไม่ดี ทั้งที่เรื่องนั้นมันผ่านมาแล้ว แต่เราไม่โฟกัสกับปัจจุบันเองแทนที่เราจะมีความสุขกับสิ่งตรงหน้าแต่เรากลับทุกข์ใจกับเรื่องที่เกิดขึ้นแทน 

 

ความคิดที่ไม่ดีที่เผลอคิดออกมาแบบไม่รู้ตัว

 

ถ้าสมองของเราคิดแต่เรื่องไม่ดีที่เกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมา ยิ่งพยายามหยุดคิด แต่สิ่งนั้นก็วิ่งกลับมาหาเรา เชื่อว่าไม่มีใครอยากเป็นแบบนี้

 

และไม่ชอบตอนที่ตัวเองเป็นแบบนี้แน่ ๆ ซึ่งสิ่งที่พูดไปก็คือการที่เราคิดมาก คิดไม่หยุด overthinking คิดวนหาจุดลง จุดสิ้นสุดไม่เจอ

 

ถึงแม้จะมีภาพรวมกว้าง ๆ ว่าสิ่งที่เราคิดมันไม่ได้มีแต่ข้อที่ไม่ดี ข้อดีก็มีแต่เราก็โฟกัสแต่สิ่งที่ไม่ดีจนความคิดนั้นทำร้ายตัวเราเอง

 

การคิดมากเป็นกระบวนการธรรมชาติของมนุษย์เรา และการคิดมากก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติเพราะสมองก็มีหน้าที่ในการคิดอยู่แล้ว

 

แต่ถึงอย่างนั้นการที่เราคิดมากแต่สิ่งที่ไม่ดีก็ไม่ได้เฮลตี้กับสุขภาพจิตของเราอยู่ดี

 

ทุกคนลองคิดดูนะถ้าเรามีแต่พลังความคิดที่มันลบกับตัวเรา เหมือนเรากำลังเป็นนักสะสมความทุกข์ใจ มวลรอบตัวเราที่แผ่ออกไปคงจะดูซึมมากแน่ ๆ 

 

นอกจากความคิดมากที่ทำร้ายเราแล้ว ก็ยังมีอีกสิ่งนึงที่เรียกว่า Intrusive thoughts หรือ ‘ความคิดแทรกซ้อน’

 

ซึ่งเป็นความคิดที่รบกวนจิตใจ การใช้ชีวิตประจำวัน และยากที่กำจัดทิ้ง เป็นความคิดที่อยู่ดี ๆ ก็โผล่เข้ามาทักทายให้เราหงุดหงิดใจเล่น ๆ

 

เช่น ทำไมคนนั้นถึงมองมาที่เราเราทำอะไรผิดรึป่าว ทำไมแฟนไม่โทรมาหาบ้างแฟนต้องมีคนอื่นแน่ ๆ มันคือเสียงในหัวที่เราสร้างจิตนาการถึงสิ่งแย่ๆ

 

Intrusive Thought เกิดจากการที่สมองพยายามจัดการกับความไม่แน่นอนในชีวิต เป็นกลไกในการวิวัฒนาการของมนุษย์

 

จากการคิดถึงเรื่องแย่ๆ ไว้ก่อน ในการป้องกันและรับมือกับเรื่องไม่ดีที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต และอาจเกิดขึ้นเมื่อมีภาวะเครียด วิตกกังวล หรือซึมเศร้า

 

 

การมีสุขภาพจิตที่ดี?

ถ้าแนวอ้างอิงของ who ที่เคยให้ความหมายของคำว่า สุขภาพจิตที่ดี หมายถึง “ สภาวะแห่งความสมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ

 

และสุขภาวะทางสังคม ไม่ใช่เพียงการปราศจากโรคภัยไข้เจ็บเท่านั้น

 

มันก็คือการที่เรา แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ แข็งแรงในที่นี้ไม่ได้หมายถึงว่าเราจะต้องมีแต่ความสุข แต่หมายถึงถ้าวันไหนมีแรงเสียดทานที่เป็นความทุกข์

 

 

หรือความเศร้าเราต้องพร้อมรับมือมันต่างหาก 

 

 

แต่การมีสุขภาพจิตที่ดีของแต่ละคนอาจจะแตกต่างไปก็ได้นะ ถ้าเรารู้ความหมายที่คนส่วนใหญ่ตั้งไว้กัน

 

 

หรือไปถามคนอื่นว่าสุขภาพจิตที่ดีของแต่ละคนคืออะไร แล้วถ้ามันไม่เหมือนของตัวเองเลย

 

 

หรือรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้เป็นคนแบบนั้นคนที่สุขภาพจิตดี อย่ากดดันและกังวลกับสิ่งที่เรากำลังเป็นอยู่

 

 

ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้มีความสุข เรากำลังเศร้า เราไม่ได้ยิ้ม ไม่ได้แปลว่าเราจะมีสุขภาพจิตที่ดีไม่ได้สะหน่อย ช่วงเวลานี้ที่เกิดขึ้นมันเกิดขึ้นแต่สักวันมันก็จะผ่านพ้นไปเหมือนกัน

 

1.การอยู่กับปัจจุบัน

 

ทำไมการอยู่กับปัจจุบัน ถึงสำคัญ ทำไมมายถึงย้ำเตือนบ่อย ๆ

 

เพราะการอยู่กับปัจจุบันได้จะทำให้เราลดความเครียดที่เกิดขึ้นได้ มนุษย์ anxiety แบบเราที่ขี้กังวลถึงอนาคตมาก ๆ จนไม่อนุญาติให้ตัวเองได้ enjoy the moment

 

สิ่งตรงหน้าได้ ถ้าเรานับรวม ๆ เวลาในการใช้ชีวิตของเราแล้วเราใช้เวลาในการกลัวในสิ่งต่าง ๆ มากกว่าการมีความสุขหรือเปล่า?

 

ซึ่งเราฟังแล้วก็รู้สึกว่ามันใช่มาก ๆ เพราะอย่างนั้นแล้วอยากบอกทุกคนว่า ‘อย่าห่วงตัวเองในอนาคตจนหลงลืมตัวเองในปัจจุบัน’

 

อนุญาตให้ตัวเองมีความสุขกับสิ่งตรงหน้ามาก เราปล่อยให้เวลาทำงานทำหน้าที่ของมันบ้างก็ได้

 

ถ้าเรามีความกังวลมาก เอเนอจี้ของเราก็ถูกปล่อยออกมาแบบกังวลๆ เราอาจจะเผลอทำกิจกรรมที่ทำให้เราไม่มีความสุข สีหน้า ท่าทางของเรา ค่อยๆฝึก ๆ ค่อยๆ ปรับไปพร้อม ๆ กับมายกันนะ

 

2. การฝึกสติแบบ mindfulness

 

mindfulness คือ การฝึกสติ ให้รู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดตัวเอง เป็นสิ่งที่จะช่วยเราได้จากความเครียด ความทุกข์ใจ ความกังวลต่าง ๆ

 

แต่สิ่งที่อยากคือเราต้องหมั่นฝึกฝนและทำแบบต่อเนื่อง เมื่อเราทำได้แล้ว mindfulness จะพาเราไปสู่การปล่อยวาง

 

รู้สึกตัวเบาขึ้น จากสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบความรู้สึกของเรา โดยสิ่งที่จำเป็นจะเกี่ยวกับเครื่องมือแรกคือ เราต้องใส่ใจต่อสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะปัจจุบัน 

 

 

  1. การสังเกต – การคุยกับตัวเองในหัว ว่ากำลัง คิด รู้สึก อารมณ์แบบไหน 
  2.  Meditation การฝึกทำสมาธิ  มันคือวิธีเบสิคที่ทำให้เราอยู่กับปัจจุบัน ให้เวลากับตัวเองสัก 5-10 นาทีในการหลับตาและกำหนดลมหายใจ

  3. ให้เวลากับความเงียบกับตัวเอง หรือ body scan หาที่เงียบ ๆ แล้วสัมผัสสสิ่งที่อยู่รอบตัวในปัจจุบันเพื่อดึงตัวเองกลับมากับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ไม่คิดมากถึงอดีตและกังวลถึงอนาคต
  4. ยอมรับและรับรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น และเปลี่ยนสิ่งนั้นให้เป็นแรงขับที่จะพาเราก้าวผ่านไปได้ เช่น เวลาที่เรารู้สึกไม่ดี ..

 

3.การขยับร่างกาย

 

มีงานวิจัยงานนึงบอกว่าคนที่ไม่มีความสุขทางใจจะไม่ค่อยขยับตัว เมื่อร่างกายไม่ขยับตัวทำให้ร่างกายไม่ผลิตฮอร์โมนแห่งความสุขที่เรียกว่าโดปามีน

 

ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของมนุษย์แบบเราถูกออกแบบมาให้ขยับตัวตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ขยับตัวไปออกอาหาร ขยับตัวสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อหลบภัย

 

แต่ในปัจจุบันที่เราไม่ต้องไปหาอาหาร หรือสร้างบ้านเองเหมือนเมื่อก่อน ความสะดวกสบายที่เกิดขึ้นก็แลกมากับการที่เราไม่ได้ปฏิสัมพันธ์กับร่างกายเท่าสมัยก่อนเหมือนกัน

 

 

ถ้าวันหนึ่งฉันหายไปจากโลกนี้ หรือความรู้สึกที่อยู่ก็ได้ไม่อยู่ก็ดี เคยไหม? ที่มีความรู้สึก ความคิดแบบนี้กัน ทำความรู้จักกับ ภาวะ Passive Death Wish

 

ภาวะหนึ่ง ที่เรามีความรู้สึกว่า ตายก็ได้ไม่ตายก็ดี อาจจะดูคล้ายกับ Death Inside แต่แตกต่างกัน  และไม่ใช่การที่เราอยาก Suicide  ตัวเองด้วยเช่นกัน

 

Passive Death Wish จะเป็นการที่เราถ้าเราอยู่ที่ถนนอยู่บนรถ จะมีแวบนึงที่คิดว่า ถ้ารถชนเราตอนนี้ก็ไม่เป็นไร ถ้าคืนนี้นอนหลับแล้วไม่ตื่นมาอีกเลยก็ดี ให้ชีวิตจบไปตอนนี้ก็ได้ แต่ถ้าให้มีชีวิตต่อก็ได้เหมือนกัน

 

และความคิดนี้จะไม่ได้อยู่ตลอด มักจะมา ๆ หาย ๆ อาจมาบ่อยในช่วงที่เราดิ่งดาวน์บ้าง ภาวะนี้ก็มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้

 

แม้ว่าอาจจะฟังดูไม่ได้น่ากลัวเท่ากับอาการอยาก Suicide  ที่วางแผนมาแล้ว แต่เส้นแบ่งระหว่างความคิดฆ่าตัวตายแบบ Passive  และแบบตั้งใจนั้นไม่ชัดเจน

 

เปลี่ยนผ่านจากความคิดหนึ่งไปสู่อีกความคิดหนึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ หรือทันทีทันใด และไม่ใช่สิ่งที่ชัดเจนที่จะสังเกตได้ง่าย ๆ 

 

ดังที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ผู้ใหญ่ชาวอเมริกันวัย 18-25 ปีมากกว่าหนึ่งในสิบคน รายงานว่าเคยมีประสบการณ์ความคิดที่จะฆ่าตัวตาย อย่างไรก็ตาม ไม่ควรเข้าใจผิดว่า “ปกติ” เป็น “ยอมรับได้” หรือ “ไม่ร้ายแรง”

 

และที่สำคัญเลย Passive Death Wish มองยากกว่าโรคซึมเศร้า เพราะใช้ชีวิตปกติเหมือนคนทั่วไป ไม่มีสัญญาณเตือนแต่ทุกความคิดอยู่ในหัวของคน ๆ นั้นอยู่แล้ว

 

 

สัญญาภาวะอยากหายไป

 

–  เริ่มรู้สึกว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ ไม่ควรเกิดมาแต่แรก หรือครอบครัวและเพื่อนฝูงจะมีชีวิตที่ดีขึ้นหากไม่มีเราอยู่ในโลกนี้

 

–  เริ่มรู้สึกอยากอยู่คนเดียว ตีตัวออกห่างจากสังคม คนรอบข้างมีปัญหากับความสัมพันธ์รอบตัว

 

–  เริ่มคิดหาวิธีต่างๆ เพื่อจบชีวิตตัวเอง (บางคนอาจมีการเตรียมอาวุธด้วย)

 

–  เริ่มพาตัวเองไปอยู่ในสถานที่อโคจร พึ่งพาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาเสพติดบ่อยมากเกินไป

 

–  มีความวิตกกังวลกับเรื่องเล็กน้อยจนสามารถสังเกตเห็นได้ชัด

 

–  ปฏิบัติกับผู้อื่นราวกับว่าจะเจอหน้ากันเป็นครั้งสุดท้าย เช่น พูดคุยเหมือนเป็นการบอกลา

 

 

ถ้ามีความคิดเห็นแบบนี้บ่อย ๆ ควรไปปรึกษาแพทย์ไหม?

 

ความคิดที่จะฆ่าตัวตาย หรือ ความคิดอยากหายไป เป็นตัวบ่งชี้ปัญหาสุขภาพจิตพื้นฐานที่ต้องได้รับการดูแลและการรักษาอย่างเร่งด่วน 

 

เป็นสัญญาณชัดเจนว่าเราต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าความคิดที่จะฆ่าตัวตายไม่ได้ทำให้เราเป็น “บ้า” หรือ “อ่อนแอ”

 

แต่หมายความว่าเรากำลังอยู่ในช่วงอารมณ์ที่ท้าทายอย่างรุนแรงซึ่งต้องได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ  ซึ่งมีทางเลือกการบำบัดมากมายที่สามารถแก้ไขสาเหตุของความคิดเหล่านี้ได้

 

จำไว้ว่า “คุณไม่เหมือนใคร”

 

คุณอาจคิดว่าโลกไม่ต้องการคุณ แต่โลกต้องการคุณ เพราะคุณไม่เหมือนใคร ไม่มีใครสามารถพูดด้วยเสียงของคุณได้ พูดสิ่งที่คุณเขียน ยิ้มให้กับรอยยิ้มของคุณ

 

หรือส่องแสงของคุณ ไม่มีใครสามารถแทนที่คุณได้ และ มีเพียงคุณเท่านั้นที่จะเติมเต็มมันได้  

 

 

บทความอื่น ๆ ที่ Alljit Blog

 

ที่มา :

“Passive Suicidal” 

What is Passive Suicidal Ideation?

Passively Suicidal: A Warning Sign You Should Never Ignore

Managing Suicidal Ideation