Skip to content
Alljit Blog
ความเจ็บปวด

ความประทับใจจากนิทรรศการ “Turn Your Scars into Stars” “แม้จะเจ็บปวดแต่คุณก็งดงาม”

รักตัวเอง…เรื่องง่ายที่เราต้องค่อย ๆ เรียนรู้

เราเป็นคนใจร้อนหรือเป็นคนใจเย็น กันแน่

เราเป็นคนใจร้อนหรือเป็นคนใจเย็น กันแน่

NTM7

ถึงตัวฉันในวันที่เจ็บปวด..

ดีสำหรับเรา อาจไม่ใช่สำหรับคนอื่น

คิดถึงใจคนอื่น โดย ‘ไม่คิดแทน’

Pebbling Effect

Pebbling Effect ส่งต่อความรักบนโลกออนไลน์

Alljit Blog
  • พูดคุย
  • คุยกับนักจิตวิทยา
  • Learn & Share
  • จิตวิทยาชีวิตคู่
  • หัวข้ออื่นๆ
    • คุยกับจิตแพทย์
    • จิตวิทยาการทำงาน
    • ฟังก่อนนอน
    • ชีวิตในวัยรุ่น
    • Mini Reader Podcast
    • น่าสนใจ
    • ประชาสัมพันธ์
    • ออลล์จิต
    • สายมู
    • อื่นๆ
  • พูดคุย
  • คุยกับนักจิตวิทยา
  • Learn & Share
  • จิตวิทยาชีวิตคู่
  • หัวข้ออื่นๆ
    • คุยกับจิตแพทย์
    • จิตวิทยาการทำงาน
    • ฟังก่อนนอน
    • ชีวิตในวัยรุ่น
    • Mini Reader Podcast
    • น่าสนใจ
    • ประชาสัมพันธ์
    • ออลล์จิต
    • สายมู
    • อื่นๆ
  • A Chapter
  • Learn & Share
  • Love Life Balance
  • Mini Reader Podcast
  • Note To Myself
  • Recharge
  • Toxic people
  • คุยกับจิตแพทย์
  • คุยกับนักจิตวิทยา
  • จิตวิทยาการทำงาน
  • จิตวิทยาชีวิตคู่
  • ชีวิตในวัยรุ่น
  • น่าสนใจ
  • ประชาสัมพันธ์
  • พลิก a Card , พลิก a Life
  • พูดคุย
  • ฟังก่อนนอน
  • ออลล์จิต
  • อื่นๆ
  • โลกซึมเศร้า
  • ใช้ใจดู

Posts

” Live in Peace ไม่เป็นบ้าไปกับโลก ”  หนังสือที่เหมาะกับการอ่านในวันที่เหนื่อยล้าและสับสน เขียนโดย นิ้วกลม

 

อย่าให้ตัวเราเป็นบ้าไปกับโลกใบนี้ ในปัจจุบันโลกเราก็หมุนเท่าเดิมแต่สิ่งรอบตัวเราต่างหากที่เปลี่ยนไปไว ทำให้เรารู้สึกเบื่อโลกบ้าง ท้อแท้บ้าง

 

ทำไมโลกใบนี้มันใจร้ายกับเราจังเลย แต่หนังสือเล่มนี้ได้ก็ได้เตือนสติของเราไว้ว่า ตัวของเราไม่สามารถหาความหมายในการหายใจบนโลกใบนี้ได้นานเท่าไหร่หรอก

เพราะเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเราจะมีชีวิตอยู่อย่างยาวนานขนาดไหน แต่อย่างน้อย การที่เราได้ใช้ชีวิตอยู่บนโลกใบนี้

ได้มีโอกาสกอดคนที่เรารัก ได้ฟังเพลงเพราะ ๆ ได้กินอาหารที่เราชอบ ก็เป็นเรื่องเพียงพอต่อการขอบคุณที่ยังมีชีวิตอยู่แล้ว 🙂

 

Live in Peace

 

ความรู้สึก “โลกเป็นโรค”

หนังสือได้เกริ่นเป็นคำถาม ให้เราลองคิดว่าเราจะอยู่ยังไงถ้าโลกที่เราอยู่ ตื่นมาก็เจอเรื่องน่าเครียดจากโซเชียล ข่าวที่ชวนให้คิดมาก

 

ออกมาจากบ้านก็เจอรถติด คนบีบแตร หรือคนที่ตะโกนด่าทอกัน ถึงแม้จะไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับตัวของเราเองก็สามารถทำให้เราเครียดได้ใช่ไหม?

 

เรื่องน่าชวนเครียดเหล่านั้นหนังสือได้ไว้ว่า เป็นความเครียดปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามาถควบคุมได้ . . . 

 

ทำความรู้จักเพื่อนสนิทที่ชื่อว่า ‘ความเครียด’ เราทุกคนมีความเครียดภายในมากกว่าที่ตัวเองคาดคิด น้อยคนจะยอมรับว่าตัวเองเครียด

 

หรือบางคนอาจจะยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเรากำลังมีเรื่องเครียดอยู่เหมือนกัน

 

ความเครียดเป็นคำที่ครอบคลุมหมายถึงการมีภาวะอารมณ์และความคิดที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ร่างกายหลั่งสารเคมีที่มีผลทำร้ายอวัยวะต่างๆ ในระยะยาวโดยไม่จำเป็น

คุณหมอโอ คาล ไซมอน ตั้งสมมุติฐานว่า ความเครียดเป็นจุดเริ่มต้นและมีผลต่อการเติบโตของมะเร็ง เพราะมะเร็งเกิดจากความอ่อนแอและเสียสมดุลของร่างกาย

ความเครียดทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง และบางครั้งการที่เราแสดงออกว่าเรากำลังเครียดอยู่ออกมา

ภายในความเครียดนั้นอาจจะมีอะไรบางอย่างแฝงอยู่ เช่น อารมณ์โกรธ เศร้า เสียใจ

 

ฟังแล้วดูเครียดกว่าเดิมไหม?

 

พอเรารู้อย่างนี้แล้วเราไม่อยากเครียดเลยจะทำได้ไหม?

 

ความรู้สึกที่ว่า เราควบคุมชีวิตตัวเองได้ เป็นอะไรที่น่าสนใจนะ . .

 

เรากำลังรู้สึกว่าตัวของเราเองกำลังถูกควบคุมจากปัจจัยภายนอกอยู่รึป่าว? ไม่ว่าจะเป็นการที่ถูกบงการโดยคนอื่น สังคม ที่ทำงาน ครอบครัว

 

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจัยภายนอกมีผลกับตัวเรามาก ๆ หลายอย่างความไม่ยุติธรรมบนโลกที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์มากที่เราควบคุมความเครียดไม่ค่อยได้

 

 

หนังสือก็ให้เราตั้งคำถามกับตัวเองว่า “ตอนที่เรากำลังเครียดอยู่ เรากำลังเครียดจากอะไร และอะไรบ้างที่เราเครียดเกินความจำเป็นหรือเปล่า สาเหตุที่ความเครียดเหล่านั้นที่เข้ามากระทบเราคืออะไร เราสามาถควบคุมได้ไหมเป็นความเครียดที่มาจากตัวเราเองล้วนๆ หรือสิ่งอื่นที่เข้ามากระทบตัวเรา”

 

หนังสือเล่มนี้ไม่ได้มีคำตอบว่าเราทำยังไงถึงเราจะหายเครียดได้เลย แต่คำถามที่กล่าวไปข้างต้นก็ทำให้ตกตะกอนกับตัวเอง

 

ว่าสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกเครียดมันมาจากอะไร บางครั้งเราแก้ปัญหาทีปลายเหตุแต่เราไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ ความเครียดเหล่านั้นมันก็จะไม่หายไปอยู่ดี . . .

 

ประโยคจากที่อยากบอกเล่าจากคนอ่าน

บนโลกของความเป็นจริงเราไม่สามารถทำอะไรทุกอย่างได้ดั่งใจเราได้หรอก สิ่งที่เราคาดหวัง สิ่งที่เราอยากให้เป็น ถึงจะเป็นเรื่องเล็กน้อย

 

ก็มีเปอร์เซ็นที่เราจะผิดหวังได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นพยายามทำหน้าที่ของเราให้ดีให้เต็มที่ ปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมได้

 

ถ้าหากว่ามันผิดหวังก็ไม่เป็นไรเพราะเราก็คือมนุษย์คนนึงที่ความผิดหวังพร้อมจะเข้ามาทักทายตัวเราเสมอเหมือนกัน

เคยไหมที่เราเห็นคนที่มี อารมณ์ขัน แล้วเรารู้สึกว่าทำไมเขาเป็นคนที่น่าเข้าหาจัง

 

อยากเข้าไปทำความรู้จักพูดคุยด้วย หรือบางทีเราก็อยากเป็นแบบนั้นบ้างที่คอยสร้างเสียหัวเราะและรอยยิ้มให้กับคนอื่น ๆ 

 

sense

 

ทำความรู้จักกับอารมณ์ขัน พอกล่าวถึงอารมณ์ขันอาจจะคิดว่าต้องมีแต่แง่ดีแต่จริง ๆ อารมณ์ขันก็เหมือนอารมณ์ทั่วไปที่มีทั้งในแง่บวกและแง่ลบ

 

อารมณ์ขัน สำคัญไหม?

สารบัญ

  • อารมณ์ขัน สำคัญไหม?
    • อารมณ์ขันในแง่บวก 
    • อารมณ์ขันในแง่ลบ
    • ประโยชน์ของอารมณ์ขัน
      • เราจะฝึกให้มีอารมณ์ขันได้อย่างไรบ้าง

The human race has one really effective weapon, and that is laughter. เผ่าพันธุ์ของมนุษย์มีอาวุธที่มีประสิทธิภาพนั่นก็คือ เสียงหัวเราะ – Mark twain

 

ลองนึกภาพถ้าวันนึงโลกของเราไม่มีเสียงหัวเราะ โลกที่ไร้อารมณ์ขัน ทุกคนไม่ได้หัวเราะ โลกของเราจะเป็นยังไง แค่นึกก็ดูเศร้า ดูหดหู่ ดูตึงเครียดเหมือนกันไหม 

 

Sense Of Humor เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่สามารถส่งต่อกันจากรุ่นสู่รุ่นได้ และมีแนวโน้มว่าคนตลกมักจะมี IQs สูงกว่าปกติ 

 

เป็นความฉลาดทางสมองที่ควบคู่ไปกับความเฉียบคมทางอารมณ์ อย่างคนที่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ที่น่าอึดอัด

 

ให้ผ่อนคลายลงได้ด้วยเรื่องตลก ล้วนเป็นคนที่ใช้อารมณ์ขันและปัญญาได้อย่างเฉียบคมทั้งสิ้น ความตลกจึงไม่ใช่แค่เสน่ห์แต่เป็นทักษะในการใช้ชีวิต และเข้าสังคมด้วย

 

 

อารมณ์ขันในแง่บวก 

 

  • อารมณ์ขันแบบเป็นกันเอง

 

อารมณ์ขันที่สร้างบรรยากาศให้ตัวเองและคนรอบข้างมีการละลายพฤติกรรมในทางที่ดี เรื่องตลกที่ไม่ใช่เรื่องที่สร้างความเดือดร้อนให้ตัวเองและคนอื่น

 

มุกตลกหรือการเล่าเรื่องอารมณ์ขันอาจจะมาจากตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่เรายอมรับได้ ไม่เสียดสีตัวเอง หรือเรื่องคนอื่นที่ไม่เสียหายเดือดร้อน

 

ลักษณะร่วมของคนมีอารมณ์ขันแบบเป็นกันเองที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน คือ ชอบพบปะคน ชอบเข้าสังคม ไม่รู้สึกเคอะเขินเมื่อต้องทำความรู้จักคนใหม่ๆ

 

ที่สำคัญที่สุด ไม่เพียงเห็นคุณค่าในตัวเอง (self-esteem) แต่เห็นคุณค่าในตัวคนทุกคน เคารพและให้เกียรติทุกคนเท่ากัน

 

  • อารมณ์ขันแบบส่งเสริมตัวเอง

 

ลักษณะของคนที่มีอารมณ์ขันแบบส่งเสริมตนเอง คือ เป็นคนที่ปรับตัวง่ายและยืดหยุ่น ถึงจะมองโลกตามความเป็นจริง แต่ไม่ลืมมองหาด้านดีในทุกสิ่งที่อยู่รอบตัว

 

พร้อมส่งต่อพลังบวกให้กับคนรอบข้าง รู้จักพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส มองความยากลำบากเป็นเรื่องท้าทายมากกว่าภัยคุกคาม

 

คงจะคล้าย ๆ กับการมองโลกในแง่บวกแต่จะเป็นการมองโลกในความเป็นจริงไปด้วย เป็นการใช้อารมณ์ทางบวกเพื่อลดความเครียด

 

 

อารมณ์ขันในแง่ลบ

 

  • อารมณ์ขันแบบก้าวร้าว

 

อารมณ์ขันแบบก้าวร้าวคือการที่เราเอาปมด้อยคนอื่นมาหยอกล้อ หรือทำให้บุคคลรอบข้างไม่สบายใจ การหัวเราะ เยาะเย้ย โดยไม่สนใจว่าอีกฝ่ายจะรู้สึกยังไง

 

เป็นการระบายอารมณ์ให้ตัวเองรู้สึกดีแต่คนอื่นรู้สึกแย่ เช่น รายการเอามุกตลกมาเล่นในเชิง Bully ซึ่งในรายการฝ่ายที่โดนล้อเขาอาจจะโอเคจริงๆ หรือเปล่า

 

เราไม่รู้แต่ว่าในปัจจุบันเราสามารถสร้างความตลก อารมณ์ขันในการสร้างสรรค์โดยที่ไม่เอาปมหรือสิ่งนั้นมาพูดทำร้ายคนอื่น

 

คนที่มีอารมณ์ขันแบบก้าวร้าวจึงถูกตัดสินว่าเป็นคนไม่มีมารยาทและนิสัยเสีย ถึงกล้าเล่นมุกตลกน่ารังเกียจโดยไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจ

 

ต่อให้มีคนห้ามปรามหรือเตือนด้วยความหวังดี ก็มักแสดงท่าทีแข็งกร้าวไม่รับฟัง เพราะเป็นคนหัวรั้น เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง

 

และไม่เคยนึกถึงใจเขาใจเรา จึงมุ่งร้ายต่อผู้อื่นได้อย่างหน้าตาเฉยและไม่เคยรู้สึกผิด

 

  • อารมณ์ขันแบบล้อเลียนตัวเอง

 

การพูดใช้อารมณ์ขันพูดสบประมาทตัวเองในทางลบ เพื่อพยายามสร้างความสนุกสนานให้กับคนอื่นโดยใช้เรื่องของตัวเอง เหมือนประโยคที่ว่า ‘เล่นตัวเองเจ็บน้อยที่สุด’

 

แต่จริง ๆ แล้วอาจเจ็บมากก็ได้ ซึ่งอารมณ์ขันแบบล้อเลียนตัวเองผู้ที่ใช้แนวทางนี้บ่อยครั้งอาจจะมีความรู้สึกในทางลบ

 

เช่น ซึมเศร้า มีความกังวล มีความไม่มั่นใจ เลยเล่นตลกในเชิงนี้เพื่อให้คนอื่นขำในการล้อเลียนตัวเอง

 

 

ประโยชน์ของอารมณ์ขัน

  1. ช่วยลดความเครียด การที่มีอารมณ์ขัน การล้อเล่นสบาย ๆ ในที่ทำงาน ในระหว่างวันจะช่วยทำให้ลดความเครียด ช่วยให้หลุดพ้นจากความกดดันระหว่างวันได้
  2. การมีอารมณ์ขันจะทำให้การสื่อสารกับคนรอบข้างง่ายมากขึ้น หรือเวลาที่มีเรื่องซีเรียสจริงจังจะคุยกัน สังเกตไหมว่าการที่เราเลือกจะคุยกับใครเราเลือกคนที่มีอารมณ์ขัน ความเป็นกันเอง เพราะเราจะมองว่าคุยกับคนนั้นดูคุยง่ายกว่า 
  3. เสียงหัวเราะที่แบ่งปันทำให้สายสัมพันธ์แน่นแฟ้นขึ้น และเหมือนเป็นการย้ำเตือนว่าการที่เรายังอยู่ด้วยกันคือการที่เราแบ่งปันเสียงหัวเราะ รอยยิ้มให้กัน 
  4. ช่วยแก้สถานการณ์ หรือปัญหาเฉพาะหน้าได้แบบแยบยล 

 

เราจะฝึกให้มีอารมณ์ขันได้อย่างไรบ้าง

  • ฝึกที่จะฟังให้มาก ๆ 

ก่อนที่เราจะเป็นคนที่สื่อสารออกไปได้ เราต้องมีสกิลการฟังที่ดี จับใจความเรื่องที่คุย จับบรรยากาศของการพูดคุยนั้นได้ 

 

  • หมั่นหาความรู้ 

‘Robin Andrew Haigh’ ผู้เขียนหนังสือ ‘Anatomy of Humor’ ได้อธิบายไว้ว่า คนเราจะมีอารมณ์ขันในเรื่องใดได้ ก็ต้องมีความรู้ทั่วไปในเรื่องนั้น ๆ ก่อน 

 

  • สังเกตผู้คน

คนมีอารมณ์ขันจะเข้าใจภาษากายได้ดี และสามารถตรวจจับอารมณ์คนได้ไวจากสีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง ซึ่งทักษะนี้เกิดจากการสังเกตทั้งบุคลิกภายใน ทัศนคติ และความชอบของผู้อื่น ทำให้สามารถสร้างอารมณ์ขันได้ถูกที่ถูกเวลาและถูกคน 

 

ที่มา :

ความตลกขบขันออกเป็น 4 รูปแบบ

Sense of Humor อารมณ์ขันนั้น สำคัญไฉน

 

 

Trust issue ความไว้ใจ บางคนต้องเผชิญกับประสบการณ์เชิงลบที่ไม่ดีในอดีต

 

อาจนำไปสู่ปัญหาเรื่องความไว้ใจ แล้วส่งผลเสียต่อมิตรภาพกับครอบครัว เพื่อน แฟน หรือแม้กระทั่งกับตัวเรา

 

 

Trust issue ปัญหาด้านความไว้ใจ

สารบัญ

  • Trust issue ปัญหาด้านความไว้ใจ
    • สัญญาณของการขาดความไว้วางใจ
    • หวาดระแวง VS ไม่ไว้ใจ
    • ปัญหาใน Trust issue มาจากไหน?
        • ประสบการณ์ในวัยเด็ก
    • สร้างความไว้ใจกลับมาได้ยังไง
        • ที่มา :

“Trust issue” เป็นคำที่ใช้เรียกกันทั่วไป เพื่อบ่งชี้เมื่อมีคนแสดงพฤติกรรมที่ไม่ไว้วางใจเป็นนิสัย

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด ความไม่ไว้วางใจถ้าเป็นระยะยาวจะผลต่อชีวิตประจำวัน กับทั้งตัวเราเองและกับความสัมพันธ์รอบตัว 

 

 

สัญญาณของการขาดความไว้วางใจ

  • ตั้งคำถามถึงการกระทำของคนอื่นที่ปฏิบัติกับเรา เป็นเจ้าหนูจำไมแทบทุกเรื่อง 
  • ถึงแม้ว่าคนอื่นจะใจดีกับเราแต่เราก็สงสัยว่าทำไมเขาถึงใจดีกับเรา เขาต้องการอะไรจากเรากันแน่
  • สงสัยไม่แน่ใจในตัวเอง เป็นความสงสัยที่ทำร้ายตัวเอง
  • ตีตัวออกห่างจากผู้อื่นเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดหวัง
  • Needy Relationship การขัดสนในความสัม เป็นความสัมพันธ์ที่เราต้องการความรักความมั่นใจจากคู่ของเรา ไม่ใช่แค่กับแฟน แต่หมายถึง เพื่อน หรือ ความสัมพันธ์อื่น ๆ ด้วยโดยความต้องการที่มากเกินกว่าอีกฝ่ายจะให้ได้
  • มีช่วงเวลาที่ยากลำบากในการขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น

 

 

หวาดระแวง VS ไม่ไว้ใจ

ถ้าเราพูดถึงความไม่ไว้ใจแล้วเหมือนจะมีเส้นบาง ๆ กั้นอยู่คำว่าหวาดระแวง กับ ไม่ไว้ใจ จริง ๆ แล้วสองคำนี้แตกต่างกัน

 

โดยทั่วไปความไม่ไว้วางใจมีรากฐานมาจากความเป็นจริง เราเคยพบเจอกับบางสิ่งที่ทำให้สงสัยในความน่าเชื่อถือของผู้อื่น

 

เช่น การที่โดนพ่อแม่โกหก การโดนเพื่อนแกล้ง การโดนนอกใจ แต่ ความหวาดระแวงหมายถึงความสงสัยและความหวาดระแวงอย่างไม่มีเหตุผล รุนแรง

 

เช่น เคยโดนแฟนเก่านอกใจ ส่งผลให้ระแวงแฟนที่คบอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งคนปัจจุบันยังไม่ได้ทำอะไรใช้ชีวิตปกติสุขกับเราแต่เราก็ไประแวงเขาซะอย่างงั้น

 

Kali Wolken ที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตที่มีใบอนุญาตใน Grand Rapids รัฐมิชิแกนอธิบาย…

 

“ ความไว้วางใจตั้งอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ที่เรียนรู้ ความหวาดระแวงไม่มีที่มา ด้วยความหวาดระแวง จึงไม่มีหลักฐานสนับสนุนความสงสัยที่เกิดขึ้นกับบุคคลหรือประสบการณ์”

 

 

ปัญหาใน Trust issue มาจากไหน?

ประสบการณ์ในวัยเด็ก

ความไว้วางใจเริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงแรก ๆ ของชีวิต สังคมแรกที่เราเจอคือสังคมของครอบครัวเราพึ่งพาพ่อแม่

 

นักจิตวิเคราะห์ เอริค อีริคสัน เรียกช่วงของชีวิตนี้ว่าระยะความไว้วางใจกับความไม่ไว้วางใจและเขาเชื่อว่าระยะนี้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดแนวทางการพัฒนาในอนาคต

 

คนที่เติบโตมากับสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนฝูงที่ให้การสนับสนุนและไว้วางใจได้อาจมีแนวโน้มที่จะเชื่อใจผู้อื่นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่มากกว่าคนที่ไม่มีความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจได้ตั้งแต่เนิ่น

 

คนสำคัญในชีวิตของเราสามารถส่งผลต่อระดับความไว้วางใจของเราในภายหลังได้ ถ้าเราเชื่อใจผู้คนรอบตัวเรา และพวกเขาตอบแทนความไว้วางใจนั้น

 

เราจะใกล้ชิดกับพวกเขามากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากความไว้วางใจนั้นถูกทำลาย เราอาจพบว่าตัวเราเองไว้วางใจผู้อื่นน้อยลงในอนาคต

 

  • ทฤษฎีรูปแบบความผูกพัน

ทฤษฎีรูปแบบความผูกพันแสดงให้เห็นว่าการที่เราผูกพันกับคนที่เราอยู่ด้วยในวัยเด็กส่งผลโดยตรงต่อวิธีสร้างความสัมพันธ์ของเราเมื่อเป็นผู้ใหญ่

 

รูปแบบความผูกพันที่ไม่ปลอดภัยคิดว่าเป็นผลมาจากผู้ปกครองที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการบางอย่างเมื่อเราโตขึ้น

 

เช่น การเลี้ยงดูที่ปล่อยปะละเลย ไม่ใส่ใจ อาจนำไปสู่รูปแบบสัมพันธ์ความผูกพันที่น่ากังวล ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับความกลัวการละทิ้งในภายหลังในชีวิต

 

ในปี 2015 การศึกษาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ซึ่งสืบสวนความไม่ไว้วางใจในความสัมพันธ์แบบคู่รัก พบว่ารูปแบบความผูกพันเกี่ยวข้องโดยตรงกับระดับความไม่ไว้วางใจในความสัมพันธ์

 

ไม่ไว้วางใจพฤติกรรมที่คาดการณ์ไว้ เช่น ความหึงหวง ความรุนแรงที่ไม่ใช่ทางกายภาพ การทำร้ายจิตใจ และพฤติกรรมการสอดแนม

  • การกลั่นแกล้งหรือการปฏิเสธ

ประสบการณ์ระหว่างบุคคลและสังคมส่งผลต่อความไว้วางใจที่เรามีต่อผู้อื่น การถูกรังแกหรือเผชิญกับการถูกปฏิเสธจากสังคมตั้งแต่ยังเป็นเด็ก

 

สามารถนำไปสู่ปัญหาความไว้วางใจได้ หากคนรอบข้างทำร้ายเราซ้ำ ๆ อาจเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อใจใครเป็นผู้ใหญ่เพราะกลัวว่าเราจะเจ็บอีกครั้ง

  • ประสบการณ์ความสัมพันธ์เชิงลบ

ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีทำให้การไว้วางใจผู้อื่นเป็นเรื่องยาก เช่น แฟนที่ใช้ความรุนแรงทางอารมณ์อาจทำให้ยากสำหรับเราที่จะเชื่อใจผู้อื่นในอนาคต

 

เนื่องจากกลัวว่าพวกเขาจะทำร้ายหรือเอาเปรียบเรา หรือการนอกใจก็เป็นประสบการณ์ที่ไม่คาดคิดจนทำลายความสัมพันธ์ได้เหมือนกัน

  • การบาดเจ็บหรือ PTSD

สภาพสุขภาพจิตหรือเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจยังสามารถส่งผลต่อปัญหาความไว้วางใจได้ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อวิธีที่เรามองตัวเองและความสัมพันธ์ของเรากับผู้อื่น

 

ตัวอย่างเช่น ปัญหาความไว้วางใจอาจแสดงออกมาเป็นอาการของโรคความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD)

 

 

สร้างความไว้ใจกลับมาได้ยังไง

การที่จะกลับมาเชื่อใจ วางใจคนอื่นสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องของ Trust issue เป็นเรื่องที่ยาก

 

แต่วิธีการบางอย่างอาจช่วยให้เราเรียนรู้วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นและไว้วางใจได้มากขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ

  • เริ่มต้นสร้างความไว้วางใจจากเรื่องเล็ก ๆ

มองหาวิธีเล็กๆ น้อยๆ ที่จะไว้วางใจผู้อื่น สิ่งที่จะทำให้เราวางใจคนอื่นได้มากที่สุดก็คือตัวเรา เริ่มจากการผลักดันตัวเองให้เชื่อใจผู้อื่นในปริมาณเล็กน้อย

 

จนกว่าเราจะสามารถเชื่อใจบางสิ่งที่สำคัญกว่าได้ เมื่อมีคนพิสูจน์ตัวเองว่าสามารถรับความไว้วางใจจากเราในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เราอาจพบว่าตัวเองสบายใจขึ้นโดยขึ้นอยู่กับพวกเขามากยิ่งขึ้น

  • คิดในแง่บวก

พยายามมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับผู้อื่น เริ่มจากความเชื่อที่ว่ามีคนที่ใจดีที่มองอะไรดี ๆ ให้เราจริง ๆ การเปิดใจ เปิดกว้าง และทัศนคติในแง่ดีอาจช่วยลดความไม่ไว้วางใจผู้คนโดยทั่วไปได้

  • ไว้วางใจอย่างระมัดระวัง

การเชื่อใจง่ายเกินไปอาจทำให้ผิดหวังได้ เริ่มต้นด้วยการเรียนรู้ที่จะไว้วางใจผู้คนในระดับที่ต้องการ เช่น กับกลุ่มเพื่อนคนนี้เราพูดเรื่องนี้ไ

 

ด้ กับอีกกลุ่มเราสามารถเลือกวางใจในเรื่องนี้ได้ ซึ่งบุคคลในชีวิตเราอาจต้องพิสูจน์ตัวเองว่าเป็นคนที่เชื่อถือได้ ซื่อสัตย์ และคู่ควรแก่ความไว้วางใจของเรา

 

  • ให้โอกาส

คนทุกคนเวลาทำผิดถ้าเขายังอยากที่จะมีเราอยู่ในชีวิตเขาย่อมต้องปรับปรุงตัว ถ้ามีสถานการณ์นี้เกิดขึ้นเราลองวางใจและให้โอกาสเขา 

 

  • พูดคุยกับนักบำบัด

การขาดความไว้วางใจในผู้คนส่งผลต่อความสามารถในการทำงานได้ตามปกติหรือทำให้เกิดความทุกข์ ลองพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต

 

วิธีบำบัดที่แตกต่างกันหลายวิธีสามารถช่วยค้นพบและแทนที่ความคิดเชิงลบที่ซ่อนอยู่ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถในการไว้วางใจ

 

 

ที่มา :

How to Cope When Trusting Is a Challenge

 

พฤติกรรม ชอบส่อง ชอบดู ชอบแชร์โพสต์ของคนที่เราไม่ชอบ ไม่ว่าจะเป็น แฟนเก่า เเฟนเก่าของแฟนใหม่  เพื่อนที่เลิกคบกันไป

 

รวมไปถึงดาราคนมีชื่อเสียง รู้สึกไม่ชอบแต่ก็ยังอยากจะดู อยากจะอ่าน อยากจะรู้เขาเป็นยังไง ทำไมเราถึงชอบส่อง รู้แล้วสบายใจจริงหรอ

 

ชอบส่อง

 

นิสัย ชอบส่อง คืออะไร?

สารบัญ

  • นิสัย ชอบส่อง คืออะไร?
    • นิสัย ชอบส่อง มีประโยชน์ไหม? 
    • ทำไมถึงหยุดส่องไม่ได้?
      • ข้อสังเกต ข้อมูลจาก Medium
    • อยากหยุดพฤติกรรม ชอบส่อง ทำอย่างไร ..
      • เริ่มจากเล็ก ๆ น้อย ๆ
      • เปลี่ยนจุดโฟกัสจากโฟกัสคนอื่น มาที่ตัวเราเอง 
        • ที่มา :

Hate-Stalking พฤติกรรมการตามส่องดูคนที่เราไม่ชอบในโซเชียลมีเดีย ถึงแม้ว่าจะรู้สึกไม่ชอบ บางครั้งก็รู้สึกเกลียด

 

แต่ก็เลิกส่อง เลิกดูไม่ได้ ไปทำไปมาก็รู้สึกมีความสุข รู้สึกสะใจถ้าคนที่เราชอบส่องมีความทุกข์ใจ พฤติกรรม ชอบส่อง เปรียบเสมือนการระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง

 

นิสัย ชอบส่อง มีประโยชน์ไหม? 

พฤติกรรมดังกล่าวเป็นนิสัยที่พบได้ทั่วไป เป็นการระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง มักจะไม่เป็นอันตรายในระยะสั้น แต่ก็เป็นกิจกรรมที่ไม่เกิดประโยชน์ใด  ๆ  กับชีวิต 

 

เกี่ยวกับฮอร์โมน อารมณ์ความรักและความเกลียดชังต่างถูกกระตุ้นจากสมองในส่วนเดียวกัน ส่งผลให้ความรู้สึกพึงพอใจหลั่งไหลออกมาแบบเดียวกัน

 

เมื่อคนเรารู้สึกเกลียดจึงสร้างความรู้สึกพึงพอใจได้ พอทำบ่อย ๆ จะทำให้เราเสพติดความสุขจากการ Hate-Stalking คนอื่น ๆ ในอนาคตได้

 

ดร.เมแกน กล่าวว่า การที่เราระบายความรู้สึกเชิงลบออกไปในโลกโซเชียลบ้าง สามารถช่วยลดความเครียด ความเศร้า หรือความวิตกกังวลได้อย่างรวดเร็ว

 

และการเติมอีโก้ของตัวเองด้วยการตัดสินผู้อื่นผ่านโลกออนไลน์ สามารถกระตุ้นให้สมองปล่อยสาร “โดปามีน” ที่ให้ความรู้สึกดีออกมาได้

 

ดังนั้นหลายคนจึงตกหลุมพรางบ่มเพาะพฤติกรรม ชอบส่อง ได้ง่าย ๆ จนติดเป็นนิสัย

 

 

ทำไมถึงหยุดส่องไม่ได้?

  • พฤติกรรมชอบส่องเหมือนกับนิสัยการเสพติดอื่น ๆ เป็นนิสัยที่เกิดเพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง อาจจะมีเหตุผลบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในพฤติกรรมนี้ ถ้าอยากหยุดพฤติกรรมส่อง เราต้องรู้ตัวก่อนว่า เพราะอะไรเราถึงส่องอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เราส่องคน ๆ นี้ เช่น คนนี้ทำให้เรารู้สึกไม่ดีใช่ไหม? เราเลยเลิกส่องเขาไม่ได้ หรือว่าโกรธ หรือว่าอิจฉา หรือว่าเราอยากรู้ว่าชีวิตคนอื่นเป็นยังไงถ้าไม่มีเรา

 

  • โซเชียลมีเดียทำให้เราสามารถรู้ว่าเพื่อนของเรากำลังทำอะไรอยู่ทุกช่วงเวลาของวันแบบเรียลไทม์ 

 

  • เพราะเวลาเราส่องคนที่ไม่ชอบแล้วเรารู้ว่าเรามีชีวิตที่ดีกว่าเขาทำให้เรามีความสุข หรือรู้ว่าตอนนี้เขากำลังเศร้าก็ทำให้เรามีความสุข หลายคนจึงตกหลุมพรางบ่มเพาะพฤติกรรม ชอบส่อง ได้ง่าย ๆ จนติดเป็นนิสัย

 

 

ข้อสังเกต ข้อมูลจาก Medium

  1. เราทุกคนจะมีคนที่เราแอบตามดู แอบตามส่อง มีบางสิ่งบางอย่างที่อยากแสดงออกไปแต่แสดงออกมาไม่ได้ เช่น ไปชายหาดอยากแต่งตัวบิกินี่แต่ไม่มั่นใจ เลยไปตามดูคนที่ใส่บิกินี่สวย ๆ เพื่อสนองความต้องการที่เราทำไม่ได้
  2. คนที่เราติดตาม คนที่มีความสนใจคล้ายกันมากกับเราหรือทำสิ่งที่เราอยากทำกับชีวิตของเรา
  3. เราอาจจะไม่ได้เกลียดพวกเขา จริง ๆ แล้วเราอาจรู้สึกชื่นชมสิ่งที่พวกเขาทำอยู่ เราชอบส่องเพราะเขามีอะไรบางอย่างที่ทำให้เราชอบ

 

 

อยากหยุดพฤติกรรม ชอบส่อง ทำอย่างไร ..

เริ่มจากเล็ก ๆ น้อย ๆ

พฤติกรมม ชอบส่อง ที่เราทำจากที่เราทำแบบเล็ก ๆ น้อย ๆ  ถ้าเราทำเรื่อย ๆ จนกลายเป็นชีวิตประจำวันนั้นจะกลายเป็นความ Toxic กับตัวเรา เมื่อเราเริ่มรู้สึกว่าไม่ปกติ

 

เราไม่อยากส่องแล้ว เราต้องค่อย ๆ มีสติกับตัวเอง การฝึกใจตัวเองให้ควบคุมว่าห้ามส่องนะ เริ่มจากวันนี้แล้วไปทีละวัน การส่องก็ยอมรับว่าถ้ามันไม่ได้ทำให้เราบั่นทอนหรือรู้สึกไม่ดีถึงขั้น

 

กระทบกับความรู้สึกเราขนาดนั้นก็ต้องยอมรับว่ามันคือเรื่องปกติ แต่ถ้าถึงขั้นนั้นเมื่อไหร่คือต้องพอ

 

เปลี่ยนจุดโฟกัสจากโฟกัสคนอื่น มาที่ตัวเราเอง 

เราชอบส่องเพราะเขาน่ารักเราลองเอาสิ่งที่เราชื่นชม เอามาปรับปรุงตัวเอง ผลักดันตัวเอง  หรือไม่ก็ถ้าเรา

 

Toxic กับตัวเราเองกับนิสัยชอบเราเราเฟดตัวเองออกมาก็เป็นสิ่งที่ดีก่อนที่เราจะรู้สึกแย่กับตัวเอง

 

 

ที่มา :

Why do we keep tabs on people we can’t stand?

Why Are You Obsessed With Her Instagram?

‘Hate-Stalking’ ทำไมมีความสุขเวลาตามส่องคนที่เราไม่ชอบบนโซเชียล?

Passion ในทางจิตวิทยาหมายความว่าอย่างไร จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตประจำวันมากแค่ไหน

 

เมื่อเรามี Passion ที่แตกต่างไปจากค่านิยมของสังคม จะรับมือกับความรู้สึกกดดันที่ตามมาอย่างไร

 

passion

 

Passion คือ . .

สารบัญ

  • Passion คือ . .
    • ไม่มี Passion แปลกไหม . . .
    • Passion กลับมาทำร้ายตัวเอง
      • หมด Passion ในชีวิต 

การที่คน ๆ นึงมีความชื่นชอบจนเอาเวลาและพลังงานไปทุ่มเทกับสิ่งนั้น Passion ในแต่ละคนจะมีลักษณะความรู้สึกที่ต่างกัน บางคนชื่นชอบมากมีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำ

 

บางคนไม่ได้ชอบแต่ถ้ามีเวลาก็แบ่งมาทำเป็นแรงจูงใจที่ทำให้สบายใจ แต่บางคนเวลาที่ทำสิ่งนั้นก็จะหลุมหลงถ้าไม่ได้ทำจะไม่มีความสุขเลย

 

หรืออีกรูปแบบเป็น Passion ที่สังคมกำหนดมา ถ้าไม่ได้ทำจะรู้สึกไม่มีความสุข

 

เช่น Passion ที่สังคมนำมาเป็นบรรทัดฐานว่าต้องประสบความสำเร็จขั้นไหน มีเงินเก็บกี่บาทถึงเรียกว่าประสบความสำเร็จ

ไม่มี Passion แปลกไหม . . .

มนุษย์ดำรงชีวิตแบบมีเป้าหมายเป็นพื้นฐานกันอยู่แล้ว แต่เป้าหมายที่เรามีไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นหมายที่ต้องเป็นรูปธรรมในเชิงที่สังคมกำหนด บริบทของสังคมพยายามเข้ามากำหนดเรา

 

ถ้าอยากมีความสุขต้องทำแบบนั้นแบบนี้ ต้องการยอมรับจากสังคมทำให้เรามี Passion ที่ทำร้ายตัวเอง เป้าหมายก็เปรียบเสมือนกับดาบสองคม

 

Passion กลับมาทำร้ายตัวเอง

ลองถามตัวเองว่าจริง ๆ แล้วตัวเราต้องการอะไร สิ่งที่เราต้องการที่แท้จริง ระหว่างเดินไปแบบมีความสุข กับเดินไปแบบห่อเหี่ยวรอให้สำเร็จ หากถ้าเราคิดว่าเรากำลังหลงทางอยู่ ไม่มีคำว่า หลงทาง เพราะนั้นคือการเลือกที่ดีที่สุดแล้ว ณ วินาทีนั้น

 

 

หมด Passion ในชีวิต 

สาเหตุที่เราหมด Passion บางครั้งอาจจะเกิดจากบริบทเปลี่ยน การเรียนรู้เปลี่ยนค้นพบว่าเราควรไปอีกทางมากกว่าทางเดิม หรือบางครั้ง Passion อาจจะไม่ได้หายไป แต่เราแค่เหนื่อยลองให้เวลาตัวเองได้พักก่อน

 

 

“ อารมณ์จะกลายเป็นพิษถ้าคุณซ่อนไว้ และเป็นยารักษาใจถ้าคุณยอมรับมัน ”

สารบัญ

  • “ อารมณ์จะกลายเป็นพิษถ้าคุณซ่อนไว้ และเป็นยารักษาใจถ้าคุณยอมรับมัน ”
    • สามเหลี่ยมอารมณ์
    • ความเหงา
    • ข้อคิดที่ชอบ

อารมณ์

 

 

หนังสือเรื่อง อย่าเก็บอารมณ์ไว้ให้ใจเจ็บปวด หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับอารมณ์ 

 

หนังสือเล่มนี้พูดถึงอารมณ์ การจัดการอารมณ์ วิธีรับมือกับอารมณ์ต่าง ๆ เขียนโดย ดร.หลิวเพ่ยเซียน และแปลโดย คุณ ชัยชาญ นวลมณี

สามเหลี่ยมอารมณ์

สามเหลี่ยมอารมณ์ เป็นเครื่องมือที่ทำให้เราเข้าใจอารมณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมากขึ้น สามเหลี่ยมอารมณ์จะเป็นสามเหลี่ยมคว่ำ

 

ตรงยอดปลายคว่ำจะเป็นอารมณ์หลัก เช่น ความสุข ตื่นเต้น กลัว เสียใจ รังเกียจ ความโกรธ สิ่งที่เป็นอารมณ์หลักคือสิ่งที่เรารู้สึกและต้องเผชิญ

 

ฝั่งซ้ายของสามเหลี่ยมคือ กลไกลป้องกัน  เป็น พฤติกรรมที่ปกป้อง ปิดกั้นไม่ให้เรารู้สึก เบี่ยงเบนความรู้สึกที่เราควรจะรู้สึก

 

ฝั่งขวาของสามเหลี่ยมคือ อารมณ์ที่ถูกระงับ อารมณ์ที่ควรจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแต่เราเลือกปิดกั้นระงับอารมณ์ไว้

 

เรามักจะแยก อารมณ์ ความคิด ความรู้สึกไม่ค่อยออกเวลากำลังเผชิญกับความรู้สึก เช่น ถ้าเราโดนแฟนบอกเลิกมาเราจะทำอะไรต่อ หลายคนคงจะตอบว่าออกไปหาเพื่อน

 

ออกไปหากิจกรรมอย่างอื่น แต่ไม่ค่อยมีใครตอบว่าให้เวลากับตัวเอง ได้ปลอดปล่อยอารมณ์เสียใจออกมา เรามักจะเห็นในหนัง หรือกับชีวิตจริงที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ

 

ทำไมช่วง 1-2 อาทิตย์แรกถึงรู้สึกอยู่ได้แต่พอหลัง ๆ ความเสียใจได้ก่อตัวทรมานขึ้นเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นลองไม่ปฏิเสธความรู้สึกของตัวเอง ไม่ใช้กลไกลการปกป้อง

 

ไม่ทำให้อารมณ์ที่ควรเกิดขึ้นถูกระงับ เมื่อรู้สึกอย่างไรลองหายใจลึก ๆ แล้วจับอารมณ์นั้นให้ถูกแล้วปลดปล่อยอารมณ์เหล่านั้นออกมา

 

 

 

ความเหงา

เราจะสนิทกันได้ยังไงถ้าเราไม่เผยในมุมที่อ่อนแอ ความเหงาเป็นความรู้สึกที่เฉพาะตัว ไม่มีใครเข้าใจ ความเหงาไม่เท่ากับการอยู่คนเดียว

 

และไม่ได้ขึ้นว่ามีคนอยู่รอบตัวทั้งหมดกี่คน มีคนหลายคนที่กำลังเที่ยวหรือกำลังปาตี้แต่ในใจก็ยังมีความรู้สึกเหงาอยู่ดี

 

หรือแม้แต่คนที่แต่งงานกับคนรักมา 10 ปีแต่พอกลับมาบ้านก็รู้สึกเหมือนอยู่กันคนแปลกหน้า และเหงาอยู่ดี

 

ความเหงาเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อยเกินไปความเหงาจะเหมือนการสูบบุหรี่ห้ามวนต่อวัน 

 

หนังสือเล่มนี้ได้บอกว่าความเหงานั้นไม่เกี่ยวกับว่าเราใช้เวลากับคนอื่นมากน้อยแค่ไหน

 

แต่เกี่ยวกับคุณภาพความสัมพันธ์ที่เราเต็มใจปล่อยให้ตัวเองอ่อนแอเมื่ออยู่กับคนอื่นหรือเปล่า

 

อ่อนแอในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเราจะอยู่กับคนอื่นแค่เพียงช่วงเวลาเศร้า แต่หมายถึงทุกความรู้สึกที่เราเต็มใจปล่อยออกมาโดยไม่มีอะไรการปิดกั้น

 

หรือกลไกลการเบี่ยงเบนความรู้สึกเรายินดีที่จะแสดงข้อด้อย และยินดีที่จะแสดงตัวตนที่แท้จริง

 

ข้อคิดที่ชอบ

“เรารับผิดชอบอารมณ์ของตัวเราเองเท่านั้น ความผิดหวังและความเศร้าของอีกฝ่าย ไม่ควรมีใครต้องแบกรับหรือดูแล”

 

ในความเป็นจริงเราต้องรับผิดชอบความรู้สึกของตัวเอง การที่เราแชร์ความรู้สึกกับการที่เราอยากให้คนอื่นมารับผิดชอบความรู้สึกไม่เหมือนกัน

 

การที่เราแชร์หมายถึงว่า ถ้าหากว่าเศร้าก็ระบายให้เพื่อนฟังแต่ไม่ได้อยากให้เพื่อนมาทำอะไรบางอย่างให้เรารู้สึกดีขึ้น

 

หรือว่าตัวเราต้องไม่มองคนอื่นเป็นสนามอารมณ์ที่จะทิ้งอารมณ์ใส่เพื่อให้ตัวเองรู้สึกดี 

คำพูดของการ Gaslighting ในความสัมพันธ์ที่ได้พบเห็นคำบ่อย ๆ

 

“เพราะเธอนั้นแหละ เราเลยทะเลาะกันแบบนี้”
“เรื่องแค่นี้เอง คิดมากทำไม”
“ไม่จริงนะ ไม่เคยพูดแบบนี้ มั่วแล้ว”
“เธอ sensitive เกินไปรึป่าว”

 

gaslight

 

Gaslighting

สารบัญ

  • Gaslighting
    • ที่มา Gaslight
    • Gaslight สัญญาณว่าเรากำลังโดนปั่น
    • Gaslight ในรูปแบบต่าง ๆ ของความสัมพันธ์
    • ถ้าเราเป็นตกเป็นเหยื่อ . . .
      • ที่มา 

 

Gaslighting เป็นรูปแบบพฤติกรรมรูปแบบนึงที่พยายาม Emotional Abuse หรือเรียกว่า ทำร้ายจิตใจ หรือ ล่วงละเมิดทางความรู้สึกคนอื่น

 

ที่ไม่มีใครควรที่จะเผชิญกับพฤติกรรมแบบนี้ โดยพฤติกรรม Gaslighting หรือที่เราเรียกกันว่า การปั่น การบงการ ถ้าเราโดนเราจะเริ่มสับสนกับตัวเอง เริ่มไม่มั่นใจ

 

จากที่เราคิดว่าเราทำถูก กลายเป็นว่าเรามองว่ามันผิด เรามองว่าคุณค่าในตัวเราเองมันลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งพฤติกรรม Gaslight ไม่ได้เกิดกับความสัมพันธ์ในรูปแบบแฟนเพียงอย่างเดียว

 

ยังสามารถเกิดได้ทั้งความสัมพันธ์แบบเพื่อน ครอบครัวก็ได้ และพฤติกรรมนี้เป็นหนึ่งในความสัมพันธ์ Toxic relationship อีกด้วย 

 

 

ที่มา Gaslight

 

ศัพท์คำว่า “Gaslighting” มีต้นกำเนิดมาจาก บทละครโดย Patrick Hamilton ปี 1938 ที่ชื่อว่า Angel Street เป็นบทละครที่โด่งดังมากในประเทศอังกฤษ

 

จน Hollywood ซื้อลิขสิทธิ์แล้วเอามาทำเป็นหนังชื่อ Gaslight ในปี 1944 ซึ่งเป็นเรื่องราวของคู่สามีภรรยาคู่หนึ่งที่ฝ่ายสามีพยายามจะปั่นหัวภรรยาให้คิดว่าตัวเองเสียสติ

 

ด้วยวิธีการชวนเขย่าประสาทเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น หรี่ตะเกียงน้ำมัน (อันเป็นที่มาของชื่อเรื่อง Gaslight) ทำให้ภรรยาเข้าใจว่า คิดไปเองคนเดียว

 

พยายามปลุกปั่นให้ภรรยาตัดขาดจากสังคมรอบข้าง และค่อย ๆ ทำให้ภรรยาคิดว่าตัวเองเสียสติจริง ๆ

 

 

Gaslight สัญญาณว่าเรากำลังโดนปั่น

 

การ Gaslight เป็นการกระทำที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล และอาจส่งผลให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตอื่น ๆ อีกด้วย 

 

สัญญาณเตือนที่สามารถพิจารณาได้ทั้งตัวเราเองกำลังเป็นเหยื่อไหม หรือ ตัวเราเองได้ทำพฤติกรรมแบบนี้กับใครหรือเปล่า

 

  • สงสัยในความรู้สึก และความเป็นตัวของเราเอง เช่น ถ้าคน ๆ นั้นพูดอะไรมาถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ผิดแต่เราก็คิดว่าไม่ใช่หรอก เขาก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้นนี่นา เป็นเพราะเรา คิดมากอ่อนไหวมากเกินไป
  • กลัวที่จะแสดงความรู้สึกออกมา เลยเลือกที่จะเงียบ ในบางกรณีบางคนอาจเคยแสดงออกมาแล้วแต่ได้รับการโต้ตอบที่ไม่ดี เลยเป็นความกลัวที่จะสื่อสารออกมา
  • รู้สึกถึงคามผิดปกติบางอย่าง แต่ไม่รู้ว่าอะไร
  • รู้สึกอ่อนแอ หมดความเชื่อมั่นในตัวเอง และอาจมีภาวะซึมเศร้า เครียด กังวล เพิ่มเติมมาด้วย
  • รู้สึกว่าตัวเองโดดเดี่ยว ดีไม่พอ
  • สงสัยว่าอะไรคือความจริงกันแน่ และสงสัยว่าเราเป็นแบบที่คนที่เป็นฝ่าย Gaslight บอกมาจริง ๆ เช่น เป็นคนไม่เก่ง ไม่เป็นคนอ่อนไหว
  • เป็นฝ่ายขอโทษอยู่ตลอดเวลา
  • อีกฝ่าย ทำเป็นเฉยเมย ไม่รู้ไม่ชี้กับสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อหลีกหนีความผิด

 

อีกอย่างที่สำคัญคือ ผู้กระทำจะพยายามทำยังไงก็ได้ให้สุดท้ายชีวิตเราเหลือแต่เขา และต้องพึ่งพาเขา เหลือเขาอยู่คนเดียวในชีวิต กันเราออกจากคนรอบตัว 

 

Gaslight ในรูปแบบต่าง ๆ ของความสัมพันธ์

 

ในรูปแบบของแฟน

“เพราะเธอไม่มีเวลา ฉันเลยไปมีคนอื่น”

แฟนมีคนอื่น แต่บอกว่าเป็นพราะว่าตัวเราเองที่เป็นคนไม่มีเวลา ไม่ใส่ใจ จนเราคิดว่าเป็นเพราะตัวของเราที่ทำให้สัมพันธ์ของชีวิตคู่เป็นแบบนี้

 

จนลืมถึงความจริงไปว่ามันมีทางออกอื่นอีกนะที่แฟนไม่ต้องไปมีมือที่ สาม การมีมือที่สามไม่ควรเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ 

 

รูปแบบของครอบครัว

ในกรณีที่พ่อแม่มีคำพูดอยากให้เราทำบางสิ่งบางอย่าง โดยอ้างว่าเป็นเพราะพ่อแม่นะลูกถึงมีทุกอย่างอย่างวันนี้

 

การกระทำนี้ไม่ใช่การปั่นแต่เป็นแนวโน้มให้เรารู้สึกแย่ถ้าเราจะเลือกทำอีกทางนึงที่ไม่ใช่สิ่งที่พ่อแม่ต้องการ

 

รูปแบบของที่ทำงาน

ความรู้สึกที่เราเหมือนคนไร้ความสามารถในที่ทำงาน ทำเท่าไหร่ก็ไม่ดีพอไม่ได้รับคำชมจากเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้า ๆ ทั้งที่ในความเป็นจริงเราทำได้ดีที่สุดแล้ว

 

 

ถ้าเราเป็นตกเป็นเหยื่อ . . .

ฝึกฟังเสียงของตัวเองให้มาก ๆ

พยายามมีสติอยู่เสมอ ช่วงเวลาในการโดนปั่น เรามักจะกังวล ประหม่า ไม่เชื่อถือในตัวเอง สับสน อยากที่จะควบคุมตัวของตัวเอง

 

เพราะฉะนั้นเราอาจจะจะต้องลองหาใครสักคนที่เราสามารถแชร์เรื่องนี้ได้เพื่อให้เขาคอยคอนเฟิร์มถึงความจริง และดึงสติให้เรา

 

เก็บหลักฐาน 

เมื่อเรารับรู้ถึงความจริง แต่ผู้กระทำก็ทำให้เราตั้งคำถามกับตัวเราเอง เราต้องพยายามรักษาสิ่งที่เป็นความจริง หลักฐานที่เรามี คำพูด การกระทำต่าง ๆ

 

ที่เราสามารถมาดูในภายหลังได้เพื่อให้ไม่ให้ตัวเราของเราเองถูกปั่นไปเพียงเพราะคำพูดหรือการกระทำของเขา

 

กำหนดขอบเขต

การกำหนดขอบเขตความสัมพันธ์ก็สำคัญเหมือนกัน เมื่อเรารู้ว่าสิ่งไหนที่ทำให้เรารู้สึกแย่ในความสัมพันธ์เราขีดเส้นให้ตัวเรา

 

เพื่อไม่ให้เขาก้าวข้ามขอบเขตมาทำให้เรารู้สึก Toxic

 

พาตัวเองออกมาจากความสัมพันธ์นั้น

เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกแย่มากพอ แล้วเข้าใจแล้วว่าความสัมพันธ์นี้ไม่ควรไปต่อ เราลองพักจากความสัมพันธ์นั้นมาเพื่อรักษาความรู้สึกของตัวเราเอง

 

ที่มา 

What Are the Signs of Gaslighting?

Red Flags of Gaslighting in a Relationship

Gaslighting and How to Respond

รักต่างวัย หลาย ๆ ครั้งอาจจะตามมาด้วยปัญหา เช่น สายตาสังคม การสื่อสารระหว่างกัน จะรักษาความสัมพันธ์อย่างไรให้รักยืนยาว

 

มาหาคำตอบกันในรายการพูดคุย X พ.ต.อ พญ. อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล จิตแพทย์ 🙂

ความรักกับอายุสัมพันธ์กันอย่างไร ?

สารบัญ

  • ความรักกับอายุสัมพันธ์กันอย่างไร ?
  • จะรับมืออย่างไรกับสายตาสังคม ?
  • ช่วงอายุที่ต่างกันในความสัมพันธ์ส่งผลอย่างไร ?  
  • รักต่างวัย จะสื่อสารอย่างไรให้เข้าใจกัน ?
  • ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการรักษาความสัมพันธ์ ?

เวลาเรารักใครซักคน เปรียบเหมือนเราตาบอด เรามักจะไม่ได้สนอายุของอีกฝ่าย หรือเขาจะเป็นใครมาจากไหน ความรักมีอนุภาคร้ายแรงทำให้เรามองข้ามบางสิ่งไป และบางสิ่งจะได้รับข้อยกเว้นไปเพียงเพราะรัก 

 

 

จะรับมืออย่างไรกับสายตาสังคม ?

เนื่องจากค่านิยมในสังคม เวลามีคู่ ควรมีอายุที่ใกล้เคียงกัน ผู้ชายควรมีอายุที่มากกว่า ผู้หญิงอายุน้อยกว่า  แต่เนื่องด้วในปัจจุบันด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป 

 

เริ่มมีความอิสระ เเละ เสรี กรอบทางสังคมเริ่มจางลง เมื่อพบเจอใครที่พูดคุยกันรู้เรื่อง มีความคิดแนวทางเหมือนกัน หรือที่เรียกว่าเคมีตรงกันก็สามารถคบหากันได้อย่างเปิดเผย

 

เมื่อถึงวัยอายุ 20 ปีขึ้นไป ถือว่าบรรลุนิติภาวะ ถือว่าเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่ง เมื่อไปคบกับผู้ใหญ่ที่อาจจะมีอายุ 31 หรือ 41 ก็ ถือว่า ผู้ใหญ่ 2 คนมาทำความรู้จักหรือคบหากัน 

 

 

ช่วงอายุที่ต่างกันในความสัมพันธ์ส่งผลอย่างไร ?  

ช่องว่างระหว่างวัย 

 

ยกตัวอย่างเช่น วัยเกษียณ คบหากับ วัยทำงาน  อีกคนหนึ่งต้องวุ่นวายกับการทำงาน สร้างเนื้อสร้างตัว แต่อีกคนอาจจะมีชีวิตที่มีเวลาว่าง สบาย ๆ ก็จะต้องปรับเวลาเข้าหากันมากขึ้น

 

ในเรื่องของมุมมองและทัศนคติก็เช่นกัน แต่หากมีช่วงวัยที่ใกล้เคียงกันก็จะมีความใกล้เคียงกันด้านต่าง ๆ มากกว่า ปรับตัวเข้าหากันได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

 

รักต่างวัย จะสื่อสารอย่างไรให้เข้าใจกัน ?

รักต่างวัย ควรยอมรับซึ่งกันและกัน เราไม่สามารถเปลี่ยนเขาได้ ในขณะเดียวกันเขายังเปลี่ยนเราไม่ได้เช่นเดียวกัน

 

แต่ค่อย ๆ ปรับตัวพูดคุยเข้าหากันเพื่อรักษาความสัมพันธ์ เพราะความรักไม่สามารถทำให้เราทนได้ทุกอย่าง 

 

 

ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการรักษาความสัมพันธ์ ?

“ดูแลซึ่งกันและกัน” ไม่ว่าจะเรื่องของจิตใจ ร่างกาย ชีวิตและ ความเป็นอยู่  และ “ยอมรับข้อจำกัดของกันและกัน”  

 

 

สามารถติดตามความอื่น ๆ ได้ที่ Alljit Blog

การร้องไห้เป็นพฤติกรรมหนึ่งที่คนแสดงออกเมื่อเสียใจ แต่หลาย ๆ ครั้งเรากลับไม่รู้สาเหตุว่าเพราะอะไรเรา ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ

 

เกิดจากอะไร จะรับมืออย่างไร มาหาคำตอบกับ ดร. ทศพิธ รุจิระศักดิ์ นักจิตวิทยาการปรึกษา

 

 

ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ

 

ร้องไห้ โดยไม่มีสาเหตุเกิดจากอะไร?

สารบัญ

  • ร้องไห้ โดยไม่มีสาเหตุเกิดจากอะไร?
    • ร้องไห้บ่อยผิดปกติหรือไม่ ?
    • การร้องไห้มีข้อดีอย่างไร?
    • สามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญได้หรือไม่? 

ทุก ๆ การร้องไห้ย่อมมีสาเหตุ แต่สาเหตุนั้นเจ้าตัวจะรับรู้ถึงสาเหตุได้มากน้อยแค่ไหน . . . 

 

อยากให้ลองตั้งคำถามกับตัวเองว่า “เวลาที่มีคลื่นความเศร้าถาโถมเข้ามาในใจ ระหว่างนั้นเรากำลังนึกถึงเรื่องอะไรอยู่…?”

 

คลื่นความเศร้ามาพร้อมความ ดิ่ง ๆ ดาวน์ ๆ รู้สึกเหมือนกับว่าตัวเราเหนื่อยจัง ในขณะนั้นเราไม่ได้รู้สึกเศร้าเสียใจเพียงอย่างเดียว

 

แต่มีความเหนื่อยล้าเข้ามาด้วย จริง ๆ แล้วในช่วงเวลานั้นหาให้เจอว่า เรากำลังเศร้าหรือเหนื่อย ความรู้สึกไหนที่เข้ามากระทบมากกว่ากัน 

 

และพอเมื่อเรารู้สึก เศร้า เสียใจ จะมีเสียงในใจที่บอกว่าไม่เป็นไร พอเรามีเสียงนี้แทรกเข้ามาทำให้เราได้ยินเสียงความเศร้า ความเหนื่อยล้าได้ชัดน้อยลง เราเลยฟันธงไปว่ามันไม่มีสาเหตุ 

 

ความเศร้ามีที่มาแต่หลายครั้งไม่ได้ถูกรับฟัง ความเศร้าก็เหมือนเพื่อนของเราคนนึง แต่ก็มีเพื่อนอีกคนนึงที่บอกว่าอย่าไปฟังความเศร้า

 

ถ้าเสียงของความเศร้าได้แสดงออกมาเต็ม ๆ เราก็จะได้รับสารของความเศร้าที่พยายามสื่อออกมาได้อย่างชัดเจน 

ร้องไห้บ่อยผิดปกติหรือไม่ ?

ถ้าการร้องไห้ไม่ได้เข้ามารบกวนการใช้ชีวิตประจำวันถือว่าไม่ผิดปกติ แต่ในสายตาคนอื่นที่เห็นว่าเราร้องไห้บ่อย อาจจะตัดสินว่าเราร้องไห้บ่อยเกินไป

 

วิธีรับมือกับสายตาคนอื่นที่มองมาที่เรา เช่น สถานะความสัมพันธ์ในคู่รักจะมีอีกฝ่ายที่อ่อนไหว และรู้สึกมากกว่า ถ้าเรารู้สึกแบบนั้นเราก็ควรสื่อสารให้เขารู้

 

ถ้าเขารับมือกับเราได้ มีวิธีที่จะอยู่กับเรา เราก็จะเดินหน้าต่อไปได้ แต่ถ้าแฟนเรามีวิธีที่ไม่ได้เห็นความสำคัญกับสิ่งที่เราเป็น

 

อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าความสัมพันธ์นี้อาจจะมีปัญหาบางอย่างในการไปต่อ

การร้องไห้มีข้อดีอย่างไร?

 

เวลาเราเกิดอารมณ์ทางลบอยู่ในใจแล้วเรากดอารมณ์ไม่อนุญาตให้ตัวเองร้องไห้เลย สามารถส่งผลเสียทางร่างกายได้

 

  • สามารถทำให้สภาพร่างกายเป็นพิษได้ แต่ถ้าเรามีช่องให้ร่างกายได้ร้องไห้บ้างจะทำใ้ร่างกายเราสามรถเคลียร์ตัวเองได้เหมือนกัน
  • รักษาสมดุลทางอารมณ์ได้มากขึ้น อนุญาตให้ตัวเองมีความรู้สึกทางลบได้บ้าง

สามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญได้หรือไม่? 

ถ้าหากว่าเราลองพูดคุยกับตัวเองแล้ว ปรึกษาคนอื่นแล้ว แต่เราจัดการไม่ได้ เราสามารถไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญหาทางออก

 

ช่วยเหลือเราในอีกทางหนึ่งได้เหมือนกัน เพราะเรื่องบางเรื่องการที่มีใครบางคนที่เข้ามาช่วยเหลือคงจะดีกว่าการที่เราพยายามหาทางออกอยู่เพียงคนเดียว 🙂

ตัดสินคนอื่น หรือกลัวว่าเขาจะคิดยังไงนะ เขาจะมองเรายังไงนะ เคยมีคำถามแบบนี้กับตัวเองหรือเปล่า หลายคนไม่กล้าลงมือทำ ไม่กล้าตัดสินใจ ไม่กล้าเป็นตัวเองตัวเอง

 

เพราะกลัวสายตาของคนอื่นว่าจะตัดสินอย่างไร จะรับมืออย่างไร มาหาคำตอบกันใน รายการพูดคุย X คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก 🙂

 

 

เคยกลัวการถูกตัดสิน หรือไม่ ?

สารบัญ

  • เคยกลัวการถูกตัดสิน หรือไม่ ?
  • การตัดสินคนอื่น เกิดจากอะไร?
  • การ ตัดสินคนอื่น ควรหรือไม่ควรทำ? 
  • จะรับมืออย่างไรเมื่อกลัวการตัดสิน ?
  • จะทำอย่างไรถ้าอยากตัดสินน้อยลง ?

 

ความกลัวเป็นธรรมชาติ มักเกิดในสถานที่ไม่คุ้นเคย ที่ตรงนั้นไม่มั่นคงปลอดภัย เราอาจจะคิดว่าตรงนั้นจะเป็นยังไง คนอื่นจะมองเราอย่างไร 

 

 

การตัดสินคนอื่น เกิดจากอะไร?

การตัดสินคือ พื้นฐานที่เราจะต้องตัดสินใจ เพื่อเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง ในขณะเดียวกันความไวในการตัดสินมากกว่าที่ส่งผลกระทบต่อตัวบุคคล

 

โดยผ่านการกรองและ ประสบการณ์ของตัวเอง เราจะมีไม้บรรทัดคำว่าดีกับแย่เป็นของตัวเอง แต่ไม่ได้แปลว่าสิ่งนี้ใช้ได้กับทุก ๆ คน 

 

การ ตัดสินคนอื่น ควรหรือไม่ควรทำ? 

ตัดสินคนอื่นเราควรพิจารณาว่าทำแล้วเหมาะสม หรือไม่เหมาะสม เราทำแล้วดี หรือไม่ดี  การจะพูดถึงใครซักคนจะเป็นผลดีมากกว่า เราก็สามารถพูดออกไปได้ แต่ควรจะอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่ใช่ อคติ 

 

การจะบอกว่าสิ่งนี้อยู่บนพื้นฐานของความเหมาะสม เราควรดูที่  Norm หรือ คนส่วนใหญ่ที่เขาคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ความเป็นจริง ไม่ใช่มาจากความคิดเห็นตัวเรา

 

จะรับมืออย่างไรเมื่อกลัวการตัดสิน ?

การที่เรากังวลว่าเขาพูดนั้น หมายความว่าอย่างไร เช่น ถ้าเรารู้ว่าเรากังวล และกังวลกับอะไร  ลองต้งคำถามกับตัวเอง สิ่งที่เขาพูดถึงเรา เป็นเรื่องจริงไหม ?

 

และถ้าเราเป็นแบบนั้นจริง มันแย่มากไหม  แย่อย่างไร แล้วเราสามารถแก้ไขได้อย่างไร เพื่อไม่เกิดเรื่องแย่ที่สุดที่เรานึกถึงได้ 

 

ทุกคนต้องพูดถึงเรา แต่ในอีกมุมหนึง อย่าลืมว่าเราไม่ได้สำคัญกับทุกคนขนาดนั้น เราไม่ใช่จุดสนใจเท่าที่เรารู้สึกกังวล บางที่ความกังวลอาจมาจากแค่ตัวเอง 

 

ถ้ามีคนพูดถึงเราจริง ๆ เราต้องมีตัวกรองว่า คำพูดนั้นของเขาจริงไหม แล้วทำอย่างไรได้บ้าง และพิจารณาว่าเราไม่ใช่จุดศูนย์กลางที่ทุกคนสนใจ เราจะได้กังวลน้อยลง ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น 

 

 

จะทำอย่างไรถ้าอยากตัดสินน้อยลง ?

ทันความคิดของตัวเองให้ได้ 

 

ความคิดอัติโนมัติ มักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เวลาที่เราเห็นสิ่งที่ไม่พอใจ และรู้สึกว่าไม่ถูกไม่ควร เราจะตัดสินอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นเราต้องทันความคิดของตัวเอง ซึ่งไม่ใช่การพูดทุกอย่างที่คิดออกมา 

 

แต่ต้องตัดสินใจได้ว่าสิ่งไหนควรพูด หรือไม่ควรพูด และจะเชื่อหรือไม่เชื่อในความคิดของตัวเอง เราไม่ไม่จำเป็นต้องพูดถึงคนอื่น 

 

เท่าทันความคิดของตัวเองให้ได้ แล้วเราจะไม่วิ่งตามความคิด แต่เราจะตรวจสอบความคิดของและไม่ Action กับทุกความคิดและอคติของตัวเอง 

 

 

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ คลิก

 

หลายคนมองว่าการปฏิเสธจะทำให้อีกฝ่ายไม่พอใจและสูญเสียความสัมพันธ์ ทำให้หลาย ๆ คนกลัวและ ไม่กล้าปฏิเสธ

 

แต่นั่นเป็นเหตุผลเดียวจริงหรือ จริง ๆ แล้วการไม่กล้าปฏิเสธมีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง และจะปฏิเสธอย่างไรให้ไม่กระทบความสัมพันธ์


ปฏิเสธคนไม่เป็น

ไม่กล้าปฏิเสธ มีสาเหตุมาจากอะไร?

สารบัญ

  • ไม่กล้าปฏิเสธ มีสาเหตุมาจากอะไร?
    • ไม่กล้าปฏิเสธทำให้กลายเป็น People Pleaser จริงหรือไม่?
    • เกรงใจอย่างไรให้พอดี?
    • ปฏิเสธอย่างไรให้ไม่กระทบความสัมพันธ์?
    • จะรับมืออย่างไรเมื่อปฏิเสธแล้วสูญเสียความสัมพันธ์?

การที่เราปฏิเสธคนอื่นไม่ค่อยได้ เกิดมาจากความรู้สึกที่เรามีความเชื่อที่ต้องรับผิดชอบทุก ๆ อย่างในโลกใบนี้

 

พอเรามีความเชื่อที่ต้องรับผิดชอบและดูแลคนอื่น ๆ เลยทำให้เราไม่กล้าปฏิเสธ

 

แนวโน้มที่เราไม่กล้าปฏิเสธเพราะเราเห็นความสำคัญของคนอื่นมากกว่าตัวเอง กลัวว่าถ้าปฏิเสธไปเราอาจจะไม่ได้รับการยอมรับ

 

เสียความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เราอาจจะต้องดูว่า เราปฏิเสธไม่เป็นเพราะไม่กล้าปฏิเสธ หรือเรากล้าที่จะปฏิเสธแต่ไม่กล้าสื่อสารเป็นคำพูด 

 

 

ไม่กล้าปฏิเสธทำให้กลายเป็น People Pleaser จริงหรือไม่?

การที่เราไม่กล้าปฏิเสธไปเรื่อย ๆ แล้วเห็นว่าคนรอบข้างมองว่าเราดูโอเค ดูเป็นคนสำคัญ

 

อาจกลายเป็นคนที่ ‘อะไรก็ได้อะไรก็ยอม’ ก็ได้ เพราะเราเห็นผลตอบรับจากการที่เราไม่ได้ปฏิเสธ 

 

 

เกรงใจอย่างไรให้พอดี?

การมีน้ำใจเป็นเรื่องที่ดี แต่ความมีน้ำใจที่ดีไม่ควร ล้นมากเกิน ถ้าการมีน้ำใจที่เรามีกลายเป็นการทำตามความคาดหวังคนอื่นนั้นไม่ใช่เรื่องดี

 

การกำหนดขอบเขตของตัวเองเราจะค่อย ๆ ปฏิเสธคนอื่นได้ดีขึ้น เรื่องไหนที่เราอยากจะช่วย เรื่องไหนที่เราอยากจะอาสา

 

ถ้าเราเรียนรู้ว่าปฏิเสธบ้างก็ไม่ได้แย่ เราจะเริ่มเป็นคนที่ปฏิเสธเป็นโดยที่เรายังมีน้ำใจในขอบเขตของเราด้วย

 

 

ปฏิเสธอย่างไรให้ไม่กระทบความสัมพันธ์?

ไม่มีใครเหมือนเดิมทุกวัน เริ่มจากการรับฟังว่าอีกฝ่ายต้องการแบบไหน เราสามารถปฏิเสธได้โดยการหาทางออกร่วมกัน บอกขอบเขตที่เราสามารถทำได้ 

 

อย่าลืมว่าสิ่งที่เขาเอามาให้เราช่วยคือปัญหาของเขา ถ้าหากเขาจะเปลี่ยนไปในความสัมพันธ์ก็เป็นส่วนของเขา ที่เขาต้องรับผิดชอบความรู้สึกของตัวของเขาเอง

 

 

จะรับมืออย่างไรเมื่อปฏิเสธแล้วสูญเสียความสัมพันธ์?

เราไม่สามารถรับผิดชอบความรู้สึกของคนทั้งโลกได้ รวมไปถึงความรู้สึกของคนอื่นด้วย เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าถ้าเราช่วยเขาไปแล้วเขาจะรู้สึกดีจริง ๆ ไหม

 

ถ้าเราเริ่มเข้าใจเราจะเริ่มตั้งหลักกับตัวเองได้ ทุกคนที่หน้าที่รับผิดชอบและจัดการกับความรู้สึกของตัวเอง ถ้าเราปฏิเสธใครแล้วอยู่ ๆ เขาเปลี่ยนไป

 

แปลว่าบางทีเขามองเห็นเราเป็นเครื่องทำงานบางอย่างให้เขาเท่านั้นเอง สิ่งสำคัญที่สุดหลังจากที่เราได้พูดหรือเราได้ปฏิเสธไปแล้ว

 

เราต้องฟังเสียงของตัวเราเองให้มาก ๆ ความต้องการของเราคือสิ่งสำคัญถ้าหากทำแล้วรู้สึกแย่การปฏิเสธคงจะดีกว่าการทำให้ตัวเองรู้สึกไม่ดี

 

 

“ความคาดหวัง”  เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน บางครั้งก็สร้างแรงบันดาลใจ แต่หลายครั้งก็นำมาซึ่งความทุกข์และความกดดัน จะรับมืออย่างไร

 

มาหาคำตอบกันใน รายการพูดคุย  X ดร. ทศพิธ รุจิระศักดิ์ นักจิตวิทยาการปรึกษา 🙂

 

ความหวังกับความคาดหวังแตกต่างกันอย่างไร ?

สารบัญ

  • ความหวังกับความคาดหวังแตกต่างกันอย่างไร ?
  • จัดการความคาดหวังอย่างไรให้พอดี ?
  • รับมือกับความคาดหวังจากคนอื่นอย่างไร ?
  • เป็นไปได้หรือไม่ที่จะไม่มีความคาดหวัง ?

 

ความหวังและความคาดหวังมักมาพร้อม  ๆ กัน  เมื่อเรามีความคาดหวังกับอะไรซักอย่าง นั่นหมายความว่าเราต้องการสิ่งเหล่านั้น หรือคน ๆ นั้นอยู่

 

 

จัดการความคาดหวังอย่างไรให้พอดี ?

 

แต่ละสถานการณ์ที่เราคาดหวังก็จะมีรายละเอียดของความคาดหวังที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเหตุการณ์  

 

สมมุตว่าเราเลิกกับแฟน  เรารู้สึกเสียใจ ความเสียใจตรงนี้ถูดยึดโยงกับความคาดหวังว่าเธอยังจะต้องอยู่กับในสถานะแฟนเช่นเดิม

 

ในกรณีนี้แนวทางการจัดการความคาดหวังมีหลากหลาย แต่จะขอยกตัวอย่างหนึง คือ สำรวจความคาดหวัง ว่ามีอะไรที่อยู่เบื้องหลังความคาดหวังนั้น  

 

เมื่อพบคำตอบเราก็ลองเข้าไปจัดการด้วยวิธีที่ช่วยเติมเต็มความรู้สึกของเราได้เป็นวิธีที่เราสะดวกสบายใจ ซึ่งอาจจะไม่ได้ช่วยเติมเต็มทั้งหมด แต่อย่างน้อยการที่เราได้เติมเต็มขึ้นมา ก็จะลดความทรมานลงได้บ้าง

 

 

รับมือกับความคาดหวังจากคนอื่นอย่างไร ?

 

คนอื่นมีความคาดหวังกับเรา แล้วเขาเอาความคาดหวังมาใส่ให้เรา แต่ไม่ว่า คนอื่นจะพยายามยัดเยียดความหวังใส่เรา แล้วเราเลือกจะ Say No ความคาดหวังก็จะไม่มาหนักในใจเรา 

 

แต่ถ้าคนอื่นเอาความคาดหวังมาใส่ให้เรา แล้วเราเลือกที่จะ Say yes ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร  สิ่งที่สังเกตเห็นได้คือ เราก็มีความคาดหวังในใจที่อยากจะให้อีกฝ่ายสมหวังในตัวเรา 

 

 

 

เป็นไปได้หรือไม่ที่จะไม่มีความคาดหวัง ?

 

ความคาดหวัง และความต้องการมักจะเชื่อมโยงกับสิ่งที่เราให้ความสำคัญ  เราจะไม่คาดหวังในคน หรือในสิ่งที่เราไม่ให้ความสำคัญ 

 

ถ้าเราจะกลายเป็นคนไม่มีความคาดหวังเลย นั่นหมายถึงเราจะเป็นคนที่ไม่ให้ความสำคัญกับอะไรเลย  แต่เราจะอยู่แบบไม่คาดหวังก็ได้นะ แต่เราจะเป็นคนที่ไม่ให้คุณค่ากับอะไรเลย 

 

ดูเผิน ๆ การไม่ให้คุณค่ากับสิ่งใด จะทำให้ไร้ทุกข์ แต่อีกมุมอาจเป็นทุกข์อีกรูปแบบหนึง “การใช้ชีวิตแบบไม่มีความทุกข์เลย อาจจะไม่ใช่ทางเลือกเสมอไป”

 

เราสามารถใช้ชีวิตแบบที่มีความคาดหวัง และมีความทุกข์ที่พวงโยงมากับความคาดหวังได้  แต่อย่างน้อยเราก็สามารถ ค้นพบความหมายของชีวิตเราตรงนี้ได้ ก็จะทำให้เรามีความทุกข์อย่างมีความหมาย

 

มีค่าพอที่เราจะแบกความคาดหวังนี้ไว้ได้  เพราะฉะนั้นความทุกข์จะยังมีอยู๋ แต่จะมีความหมาย และคุณค่าและช่วยให้เราทนเผชิญหน้าของความคาดหวังได้มากขึ้น 

 

ดัั่งคำพูดที่ว่า  One who has a why can endure anyhow.จาก Friedrich Nietzsche  แปลคร่าว ๆ ได้ว่า

 

การใช้ชีวิตของเราอาจไม่จำเป็นต้องพุ่งไปไปที่การไรทุกข์ก็ได้  แต่การค้นพบความหมายของความทุกข์ จะทำให้เราเผชิญหน้ากับความทุกข์ได้อย่างไม่ทรมาน

 

 

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ 

 

 

แนะแนวเรื่อง

เรื่องที่เก่ากว่า
เรื่องที่ใหม่กว่า
logo_footer
  • Home