Posts
อยากชวนทุกคนมาสำรวจความรู้สึก สุขภาพจิต ของทุกคนกัน บางครั้งการเราก็กำหนดขอบเขตตัวเราเองว่าการมีสุขภาพจิตที่ดีต้องมีความสุขเท่านั้น
Lisa damour “การมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่ได้หมายถึงว่าต้องมีความสุขตลอดเวลา แต่มันคือการรับรู้และแสดงอารมณ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์รอบตัว
และสามารถจัดการ/รับมือกับอารมณ์เหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม
เป้าหมายที่แท้จริงไม่ใช่การจำกัดความเศร้า ความกังวล หรือความโกรธ แต่เป็นการมองอารมณ์เหล่านี้อย่างเข้าใจและไม่ปล่อยผ่านให้มันมานิยามตัวตนของเรา”
ทุกคนคิดเห็นยังไงกับประโยคนี้บ้าง เคยไหมที่เวลาเจอเรื่องอะไรที่เข้ามากระทบกับจิตใจเรา เหมือนว่าเราจะยอมรับสิ่งนั้นได้
แต่จริง ๆ แล้วในใจเราลึกๆ เรายังยอมรับไม่ได้ เรื่องนั้นยังคอยมาวนเวียนอยู่ในความคิดของเรา บางครั้งสิ่งนั้นก็ทำงานกับจิตใจเรามาก ๆ
จนเรารู้สึกไม่ดี ทั้งที่เรื่องนั้นมันผ่านมาแล้ว แต่เราไม่โฟกัสกับปัจจุบันเองแทนที่เราจะมีความสุขกับสิ่งตรงหน้าแต่เรากลับทุกข์ใจกับเรื่องที่เกิดขึ้นแทน
ความคิดที่ไม่ดีที่เผลอคิดออกมาแบบไม่รู้ตัว
ถ้าสมองของเราคิดแต่เรื่องไม่ดีที่เกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมา ยิ่งพยายามหยุดคิด แต่สิ่งนั้นก็วิ่งกลับมาหาเรา เชื่อว่าไม่มีใครอยากเป็นแบบนี้
และไม่ชอบตอนที่ตัวเองเป็นแบบนี้แน่ ๆ ซึ่งสิ่งที่พูดไปก็คือการที่เราคิดมาก คิดไม่หยุด overthinking คิดวนหาจุดลง จุดสิ้นสุดไม่เจอ
ถึงแม้จะมีภาพรวมกว้าง ๆ ว่าสิ่งที่เราคิดมันไม่ได้มีแต่ข้อที่ไม่ดี ข้อดีก็มีแต่เราก็โฟกัสแต่สิ่งที่ไม่ดีจนความคิดนั้นทำร้ายตัวเราเอง
การคิดมากเป็นกระบวนการธรรมชาติของมนุษย์เรา และการคิดมากก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติเพราะสมองก็มีหน้าที่ในการคิดอยู่แล้ว
แต่ถึงอย่างนั้นการที่เราคิดมากแต่สิ่งที่ไม่ดีก็ไม่ได้เฮลตี้กับสุขภาพจิตของเราอยู่ดี
ทุกคนลองคิดดูนะถ้าเรามีแต่พลังความคิดที่มันลบกับตัวเรา เหมือนเรากำลังเป็นนักสะสมความทุกข์ใจ มวลรอบตัวเราที่แผ่ออกไปคงจะดูซึมมากแน่ ๆ
นอกจากความคิดมากที่ทำร้ายเราแล้ว ก็ยังมีอีกสิ่งนึงที่เรียกว่า Intrusive thoughts หรือ ‘ความคิดแทรกซ้อน’
ซึ่งเป็นความคิดที่รบกวนจิตใจ การใช้ชีวิตประจำวัน และยากที่กำจัดทิ้ง เป็นความคิดที่อยู่ดี ๆ ก็โผล่เข้ามาทักทายให้เราหงุดหงิดใจเล่น ๆ
เช่น ทำไมคนนั้นถึงมองมาที่เราเราทำอะไรผิดรึป่าว ทำไมแฟนไม่โทรมาหาบ้างแฟนต้องมีคนอื่นแน่ ๆ มันคือเสียงในหัวที่เราสร้างจิตนาการถึงสิ่งแย่ๆ
Intrusive Thought เกิดจากการที่สมองพยายามจัดการกับความไม่แน่นอนในชีวิต เป็นกลไกในการวิวัฒนาการของมนุษย์
จากการคิดถึงเรื่องแย่ๆ ไว้ก่อน ในการป้องกันและรับมือกับเรื่องไม่ดีที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต และอาจเกิดขึ้นเมื่อมีภาวะเครียด วิตกกังวล หรือซึมเศร้า
การมีสุขภาพจิตที่ดี?
ถ้าแนวอ้างอิงของ who ที่เคยให้ความหมายของคำว่า สุขภาพจิตที่ดี หมายถึง “ สภาวะแห่งความสมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ
และสุขภาวะทางสังคม ไม่ใช่เพียงการปราศจากโรคภัยไข้เจ็บเท่านั้น”
มันก็คือการที่เรา แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ แข็งแรงในที่นี้ไม่ได้หมายถึงว่าเราจะต้องมีแต่ความสุข แต่หมายถึงถ้าวันไหนมีแรงเสียดทานที่เป็นความทุกข์
หรือความเศร้าเราต้องพร้อมรับมือมันต่างหาก
แต่การมีสุขภาพจิตที่ดีของแต่ละคนอาจจะแตกต่างไปก็ได้นะ ถ้าเรารู้ความหมายที่คนส่วนใหญ่ตั้งไว้กัน
หรือไปถามคนอื่นว่าสุขภาพจิตที่ดีของแต่ละคนคืออะไร แล้วถ้ามันไม่เหมือนของตัวเองเลย
หรือรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้เป็นคนแบบนั้นคนที่สุขภาพจิตดี อย่ากดดันและกังวลกับสิ่งที่เรากำลังเป็นอยู่
ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้มีความสุข เรากำลังเศร้า เราไม่ได้ยิ้ม ไม่ได้แปลว่าเราจะมีสุขภาพจิตที่ดีไม่ได้สะหน่อย ช่วงเวลานี้ที่เกิดขึ้นมันเกิดขึ้นแต่สักวันมันก็จะผ่านพ้นไปเหมือนกัน
1.การอยู่กับปัจจุบัน
ทำไมการอยู่กับปัจจุบัน ถึงสำคัญ ทำไมมายถึงย้ำเตือนบ่อย ๆ
เพราะการอยู่กับปัจจุบันได้จะทำให้เราลดความเครียดที่เกิดขึ้นได้ มนุษย์ anxiety แบบเราที่ขี้กังวลถึงอนาคตมาก ๆ จนไม่อนุญาติให้ตัวเองได้ enjoy the moment
สิ่งตรงหน้าได้ ถ้าเรานับรวม ๆ เวลาในการใช้ชีวิตของเราแล้วเราใช้เวลาในการกลัวในสิ่งต่าง ๆ มากกว่าการมีความสุขหรือเปล่า?
ซึ่งเราฟังแล้วก็รู้สึกว่ามันใช่มาก ๆ เพราะอย่างนั้นแล้วอยากบอกทุกคนว่า ‘อย่าห่วงตัวเองในอนาคตจนหลงลืมตัวเองในปัจจุบัน’
อนุญาตให้ตัวเองมีความสุขกับสิ่งตรงหน้ามาก เราปล่อยให้เวลาทำงานทำหน้าที่ของมันบ้างก็ได้
ถ้าเรามีความกังวลมาก เอเนอจี้ของเราก็ถูกปล่อยออกมาแบบกังวลๆ เราอาจจะเผลอทำกิจกรรมที่ทำให้เราไม่มีความสุข สีหน้า ท่าทางของเรา ค่อยๆฝึก ๆ ค่อยๆ ปรับไปพร้อม ๆ กับมายกันนะ
2. การฝึกสติแบบ mindfulness
mindfulness คือ การฝึกสติ ให้รู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดตัวเอง เป็นสิ่งที่จะช่วยเราได้จากความเครียด ความทุกข์ใจ ความกังวลต่าง ๆ
แต่สิ่งที่อยากคือเราต้องหมั่นฝึกฝนและทำแบบต่อเนื่อง เมื่อเราทำได้แล้ว mindfulness จะพาเราไปสู่การปล่อยวาง
รู้สึกตัวเบาขึ้น จากสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบความรู้สึกของเรา โดยสิ่งที่จำเป็นจะเกี่ยวกับเครื่องมือแรกคือ เราต้องใส่ใจต่อสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะปัจจุบัน
- การสังเกต – การคุยกับตัวเองในหัว ว่ากำลัง คิด รู้สึก อารมณ์แบบไหน
-
Meditation การฝึกทำสมาธิ มันคือวิธีเบสิคที่ทำให้เราอยู่กับปัจจุบัน ให้เวลากับตัวเองสัก 5-10 นาทีในการหลับตาและกำหนดลมหายใจ
- ให้เวลากับความเงียบกับตัวเอง หรือ body scan หาที่เงียบ ๆ แล้วสัมผัสสสิ่งที่อยู่รอบตัวในปัจจุบันเพื่อดึงตัวเองกลับมากับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ไม่คิดมากถึงอดีตและกังวลถึงอนาคต
- ยอมรับและรับรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น และเปลี่ยนสิ่งนั้นให้เป็นแรงขับที่จะพาเราก้าวผ่านไปได้ เช่น เวลาที่เรารู้สึกไม่ดี ..
3.การขยับร่างกาย
มีงานวิจัยงานนึงบอกว่าคนที่ไม่มีความสุขทางใจจะไม่ค่อยขยับตัว เมื่อร่างกายไม่ขยับตัวทำให้ร่างกายไม่ผลิตฮอร์โมนแห่งความสุขที่เรียกว่าโดปามีน
ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของมนุษย์แบบเราถูกออกแบบมาให้ขยับตัวตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ขยับตัวไปออกอาหาร ขยับตัวสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อหลบภัย
แต่ในปัจจุบันที่เราไม่ต้องไปหาอาหาร หรือสร้างบ้านเองเหมือนเมื่อก่อน ความสะดวกสบายที่เกิดขึ้นก็แลกมากับการที่เราไม่ได้ปฏิสัมพันธ์กับร่างกายเท่าสมัยก่อนเหมือนกัน
ถ้าวันหนึ่งฉันหายไปจากโลกนี้ หรือความรู้สึกที่อยู่ก็ได้ไม่อยู่ก็ดี เคยไหม? ที่มีความรู้สึก ความคิดแบบนี้กัน ทำความรู้จักกับ ภาวะ Passive Death Wish
ภาวะหนึ่ง ที่เรามีความรู้สึกว่า ตายก็ได้ไม่ตายก็ดี อาจจะดูคล้ายกับ Death Inside แต่แตกต่างกัน และไม่ใช่การที่เราอยาก Suicide ตัวเองด้วยเช่นกัน
Passive Death Wish จะเป็นการที่เราถ้าเราอยู่ที่ถนนอยู่บนรถ จะมีแวบนึงที่คิดว่า ถ้ารถชนเราตอนนี้ก็ไม่เป็นไร ถ้าคืนนี้นอนหลับแล้วไม่ตื่นมาอีกเลยก็ดี ให้ชีวิตจบไปตอนนี้ก็ได้ แต่ถ้าให้มีชีวิตต่อก็ได้เหมือนกัน
และความคิดนี้จะไม่ได้อยู่ตลอด มักจะมา ๆ หาย ๆ อาจมาบ่อยในช่วงที่เราดิ่งดาวน์บ้าง ภาวะนี้ก็มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้
แม้ว่าอาจจะฟังดูไม่ได้น่ากลัวเท่ากับอาการอยาก Suicide ที่วางแผนมาแล้ว แต่เส้นแบ่งระหว่างความคิดฆ่าตัวตายแบบ Passive และแบบตั้งใจนั้นไม่ชัดเจน
เปลี่ยนผ่านจากความคิดหนึ่งไปสู่อีกความคิดหนึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ หรือทันทีทันใด และไม่ใช่สิ่งที่ชัดเจนที่จะสังเกตได้ง่าย ๆ
ดังที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ผู้ใหญ่ชาวอเมริกันวัย 18-25 ปีมากกว่าหนึ่งในสิบคน รายงานว่าเคยมีประสบการณ์ความคิดที่จะฆ่าตัวตาย อย่างไรก็ตาม ไม่ควรเข้าใจผิดว่า “ปกติ” เป็น “ยอมรับได้” หรือ “ไม่ร้ายแรง”
และที่สำคัญเลย Passive Death Wish มองยากกว่าโรคซึมเศร้า เพราะใช้ชีวิตปกติเหมือนคนทั่วไป ไม่มีสัญญาณเตือนแต่ทุกความคิดอยู่ในหัวของคน ๆ นั้นอยู่แล้ว
สัญญาภาวะอยากหายไป
– เริ่มรู้สึกว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ ไม่ควรเกิดมาแต่แรก หรือครอบครัวและเพื่อนฝูงจะมีชีวิตที่ดีขึ้นหากไม่มีเราอยู่ในโลกนี้
– เริ่มรู้สึกอยากอยู่คนเดียว ตีตัวออกห่างจากสังคม คนรอบข้างมีปัญหากับความสัมพันธ์รอบตัว
– เริ่มคิดหาวิธีต่างๆ เพื่อจบชีวิตตัวเอง (บางคนอาจมีการเตรียมอาวุธด้วย)
– เริ่มพาตัวเองไปอยู่ในสถานที่อโคจร พึ่งพาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาเสพติดบ่อยมากเกินไป
– มีความวิตกกังวลกับเรื่องเล็กน้อยจนสามารถสังเกตเห็นได้ชัด
– ปฏิบัติกับผู้อื่นราวกับว่าจะเจอหน้ากันเป็นครั้งสุดท้าย เช่น พูดคุยเหมือนเป็นการบอกลา
ถ้ามีความคิดเห็นแบบนี้บ่อย ๆ ควรไปปรึกษาแพทย์ไหม?
ความคิดที่จะฆ่าตัวตาย หรือ ความคิดอยากหายไป เป็นตัวบ่งชี้ปัญหาสุขภาพจิตพื้นฐานที่ต้องได้รับการดูแลและการรักษาอย่างเร่งด่วน
เป็นสัญญาณชัดเจนว่าเราต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าความคิดที่จะฆ่าตัวตายไม่ได้ทำให้เราเป็น “บ้า” หรือ “อ่อนแอ”
แต่หมายความว่าเรากำลังอยู่ในช่วงอารมณ์ที่ท้าทายอย่างรุนแรงซึ่งต้องได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีทางเลือกการบำบัดมากมายที่สามารถแก้ไขสาเหตุของความคิดเหล่านี้ได้
จำไว้ว่า “คุณไม่เหมือนใคร”
คุณอาจคิดว่าโลกไม่ต้องการคุณ แต่โลกต้องการคุณ เพราะคุณไม่เหมือนใคร ไม่มีใครสามารถพูดด้วยเสียงของคุณได้ พูดสิ่งที่คุณเขียน ยิ้มให้กับรอยยิ้มของคุณ
หรือส่องแสงของคุณ ไม่มีใครสามารถแทนที่คุณได้ และ มีเพียงคุณเท่านั้นที่จะเติมเต็มมันได้
ที่มา :
What is Passive Suicidal Ideation?
Passively Suicidal: A Warning Sign You Should Never Ignore
ความสัมพันธ์ ความรักฉบับจิตแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ความเบื่อ ความขัดแย้ง ความ Toxic ไปจนถึงการเลิกรา จะรับมือกับปัญหาหัวใจและดูแลตัวเองอย่างไร
มาหาคำตอบกับรายการพูดคุย Alljit X คุณ ณัฏฐชัย รำเพย จิตแพทย์ 🙂
สามเหลี่ยมแห่งความรัก
Passion: ความรักที่ขับเคลื่อนด้วยอารมณ์
Passion หรือความรักที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้น ความเร้าใจ เป็นองค์ประกอบแรกในความรักที่สเตบอาร์พูดถึง มันคือความรักที่ขับเคลื่อนด้วยโดปามีน
ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกดี ๆ เช่น ความอยากพบกัน ความคิดถึง ความตื่นเต้นเมื่อได้พบเจอ อีกทั้งการสัมผัสและความปรารถนาใกล้ชิด
ในช่วงเริ่มต้นของความสัมพันธ์ Passion มักจะสูงมาก เช่น ความตื่นเต้นในการเจอหน้ากัน ความอยากสัมผัส และความคิดถึงที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่ไม่ได้เจอกัน
แต่หลังจากคบกันไปสักระยะ Passion อาจลดลงได้ เนื่องจากความเคยชินและการเปลี่ยนแปลงของรสนิยมส่วนตัว
Commitment : ความรักที่เกิดจากการตัดสินใจ
การมี Commitment คือการตัดสินใจที่จะรักกันและเลือกที่จะอยู่เคียงข้างกันในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจเป็นแฟน หรือการตัดสินใจแต่งงานและสร้างครอบครัว
ความรักในลักษณะนี้ไม่ได้เกิดจากอารมณ์ชั่วขณะ แต่เกิดจากการสัญญาที่เรามีต่อกัน อย่างไรก็ตาม หากมีเพียงแค่ Commitment โดยที่ขาด Passion และ Intimacy
ความรักนี้อาจจะดูเหมือนว่างเปล่า เป็นแค่ความสัมพันธ์ที่ไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกอะไรใหม่ ๆ ราวกับรักที่ถูกบังคับหรือมีความผูกพันจากภาระที่ต้องรับผิดชอบ
Intimacy: ความผูกพันที่ลึกซึ้ง
Intimacy เป็นความรักที่มีความใกล้ชิดและการผูกพันในระดับลึก มันคือการที่คู่รักอยู่เคียงข้างกันในทุกช่วงชีวิต มีความเข้าใจกันและพร้อมที่จะสนับสนุนซึ่งกันและกัน
เมื่อความสัมพันธ์ยาวนานขึ้น Intimacy อาจจะกลายเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะมันคือการเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตกันและกัน
ความรักในรูปแบบนี้ไม่ได้แสดงออกผ่านความตื่นเต้นหรือการสัมผัสเสมอไป แต่คือการมีอยู่เคียงข้างในยามทุกข์สุข
ความรัก ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลา
เมื่อคบกันไปนาน ๆ ความรักอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ เช่น Passion ที่เคยมีมากในช่วงเริ่มต้นอาจจะลดลง แต่ Intimacy และ Commitment กลับเพิ่มขึ้น
ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่มั่นคงในระยะยาว ความรักไม่จำเป็นต้องคงที่ในรูปแบบเดียวตลอดเวลา การมีความเข้าใจและยอมรับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ช่วยให้ความรักมีความหมายมากยิ่งขึ้น
ปัญหา “ความเบื่อ” ในความสัมพันธ์
บางครั้งคู่รักอาจรู้สึกเบื่อหน่าย หรือความรักอาจดูเหมือนหายไป ซึ่งบ่อยครั้งเกิดจากการที่ Passion ลดลง การคบกันไปนาน ๆ อาจทำให้การพบเจอกันไม่ได้มีความตื่นเต้นเหมือนเมื่อก่อน
นอกจากนี้ความเคยชินและการไม่สนใจรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อาจทำให้ความรักดูจืดจาง การรับมือกับสิ่งเหล่านี้ต้องเริ่มจากการสื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมา
พูดถึงความรู้สึกที่แท้จริงและสิ่งที่ต้องการจากกันและกัน การฟื้นฟู Passion ในความสัมพันธ์อาจมาจากการทำสิ่งใหม่ ๆ หรือการย้อนกลับไปสู่สิ่งที่เคยทำให้เราตื่นเต้นในช่วงแรก ๆ ของความสัมพันธ์
วิธีรับมือกับ “ปัญหาซ้ำซาก” ในความสัมพันธ์
การสื่อสารที่ดีในความสัมพันธ์เป็นเรื่องสำคัญมาก การที่เราจะเข้าใจกันและกันและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ต้องเริ่มจากการพูดคุยอย่างเปิดใจ โดยไม่ทำให้ฝ่ายอื่นรู้สึกถูกโจมตี ต่อว่า
ในกรณีที่เราไม่พอใจหรือ รู้สึก โกรธ เหงา เราควรเริ่มจากการพูดถึงความรู้สึกของตัวเองก่อน ไม่ใช่การกล่าวโทษหรือการมองในแง่ลบกับอีกฝ่าย
เราควรบอกเขาอย่างตรงไปตรงมาว่า “ตอนนี้ฉันรู้สึกแบบนี้” และอย่าลืมว่ามันเป็นความรู้สึกของเราเอง ไม่ได้เป็นการโทษเขาเลย
การเข้าใจความคิดเห็นที่แตกต่างของกันและกันก็เป็นเรื่องสำคัญ บางครั้งเราอาจจะรู้สึกว่าอีกฝ่ายไม่เข้าใจเรา แต่ในขณะเดียวกันเขาก็มีมุมมองของตัวเอง
การยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างจะช่วยให้เราไม่เกิดความขัดแย้งมากมาย และถ้ามันเริ่มเป็นปัญหา ก็สามารถพูดคุยกันตรงๆ ได้ว่า “ในบางครั้งฉันไม่สามารถดูแลตัวเองได้ทั้งหมด ฉันต้องการการสนับสนุนจากเธอ”
การคุยกันเพื่อหาทางออกและแสดงความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมาจะช่วยให้ความสัมพันธ์แข็งแรงและเข้าใจกันมากขึ้นครับ!
Move on เป็นวงกลมกับ “ความสัมพันธ์ Toxic”
ความสัมพันธ์ที่เราเห็นว่าเป็น “ท็อกซิก” หรือไม่ดี แต่ยังคงวนเวียนอยู่ในนั้น จริง ๆ แล้วมันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ นไม่ได้เป็นเพียงแค่การรักคนผิดหรือ แค่ไม่รู้ว่าเราควรออกจากความสัมพันธ์นั้น
แต่บางทีเราก็มีความยึดติดหรือเคยได้รับอะไรดี ๆ บางอย่างจากความสัมพันธ์นั้นมาก่อน ทำให้เรามองข้ามสิ่งที่ไม่ดีในปัจจุบัน
การที่เรารู้สึกว่า “เราเป็นคนผิดตลอด” หรือ “คุณค่าของเราเริ่มลดลง” ก็เพราะเราคาดหวังให้ความสัมพันธ์เติมเต็มบางอย่างในชีวิตเรา แต่มันกลับทำให้เรารู้สึกแย่ สิ่งที่เราต้องถามตัวเองคือ
“เราควรจะยังยอมรับการเสียสละนี้หรือไม่” การอยู่ในความสัมพันธ์ที่ทำให้เรารู้สึกแย่ในบางครั้ง มันอาจจะทำให้เราเสพติดความรู้สึกบางอย่างที่เคยมีในช่วงเวลาที่ดี ๆ
แต่ก็ต้องถามตัวเองว่า “มันคุ้มค่ากับสิ่งที่เราต้องสูญเสียหรือไม่
“แฟนเก่า”
สำหรับการกลับไปหาแฟนเก่า แม้จะมีเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้เรามีความคิดแบบนั้น เช่น ความผูกพันที่ยังคงมีอยู่หรือความรู้สึกที่เคยดีมาก ๆ แต่บางทีการกลับไปอาจไม่ได้หมายความว่า
เราจะแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดได้เสมอไป บางครั้งแค่คิดถึงบางสิ่งที่เคยดีในช่วงเวลานั้นก็ทำให้เราคิดถึงคนเก่า แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ควรจะทำถ้าเราไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่จากการแยกทางไปแล้ว
ความรู้สึกที่กลับไปหาคนเก่าไม่ใช่เรื่องผิด แต่ก็ต้องมองให้ชัดเจนว่าเรามีความตั้งใจจริงหรือไม่ หรือแค่เป็นเพราะ “คิดถึง” บางสิ่งที่เคยมีที่อยู่กับคนเก่า การเข้าใจเหตุผลของตัวเองว่าเราอยากกลับไปจริง ๆ
หรือแค่ความรู้สึกชั่วคราวจะช่วยให้เราเลือกได้ว่า “ควรไปต่อ” หรือ “ควรปล่อยให้มันเป็นอดีต”
ถ้ามีแฟนใหม่แล้วไปคิดถึงแฟนเก่า มันอาจเป็นสัญญาณว่าเราไม่ได้ลืมอดีตจริง ๆ หรือเรายังมีแผลบางอย่างที่ยังไม่ได้เยียวยา มันก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะจัดการกับความรู้สึกนี้อย่างไร
ถ้าเราต้องการทำความเข้าใจให้ดีขึ้น การพูดคุยกับแฟนใหม่หรือคนที่เราไว้ใจจะช่วยให้เรามองเห็นภาพชัดเจนขึ้นครับ
“มือที่สาม”
การนอกใจมักจะไม่ได้เกิดขึ้นจากแค่เหตุผลเดียว แต่มักมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่ซ้อนทับกัน ทั้งทางชีวภาพ จิตใจ สังคม หรือแม้แต่ปัญหาความสัมพันธ์เอง ซึ่งสามารถทำให้เกิดการตัดสินใจผิด ๆ ได้
1. ปัจจัยทางชีวภาพ : บางคนอาจมีระดับฮอร์โมนสูงหรือความต้องการทางเพศที่สูง ทำให้ความสัมพันธ์ที่มีอยู่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้ จึงอาจไปหาความพึงพอใจจากภายนอก
2. ปัจจัยทางจิตใจ : บางครั้งคนอาจมีบาดแผลจากอดีต เช่น รู้สึกไม่เป็นที่รักหรือมีปัญหาทางอารมณ์ ซึ่งทำให้พวกเขามองหาความรักหรือความสนใจจากคนอื่น แม้ว่าในปัจจุบันพวกเขาจะมีแฟนแล้วก็ตาม
3. ปัจจัยทางสังคม : การมีสถานะทางสังคมที่ดี เช่น การมีชื่อเสียงหรือเงินทอง อาจดึงดูดความสนใจจากผู้อื่น ทำให้บางคนเกิดการหลงลืมหรือหลุดจากความสัมพันธ์ที่มีอยู่
4. ปัญหาความสัมพันธ์ : เมื่อความสัมพันธ์มีปัญหา เช่น การขาดการสื่อสารหรือความเข้าใจที่ดีระหว่างคู่รัก บางคนอาจหันไปหาคนอื่นเพื่อเติมเต็มความขาดแคลนทางอารมณ์ เช่น การให้ความเอาใจใส่จากคนอื่น
5. สถานการณ์และโอกาส : บางครั้งสถานการณ์ก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการนอกใจ เช่น ความสัมพันธ์ที่อยู่ไกลกันหรือมีโอกาสอยู่ใกล้คนอื่นที่สามารถให้ความรู้สึกที่ดีได้
เราได้ตกลงกันกับคู่รักไว้แล้วว่าไม่ควรทำอะไรที่ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียใจหรือผิดหวัง มักเป็นสิ่งที่เราคาดหวังว่าคนในความสัมพันธ์จะทำตาม อย่างไรก็ตาม
ในที่สุด ความรักไม่ได้แค่ขึ้นอยู่กับ “คำสัญญา” หรือ “การตกลง” แต่ต้องมีการดูแลและพัฒนาความสัมพันธ์ให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลต่อคู่รักทั้งในด้านความรู้สึกและสถานการณ์ต่าง ๆ
“การสิ้นสุด ความสัมพันธ์”
การตัดสินใจออกจากความสัมพันธ์ที่ไม่ดีและทำให้รู้สึกไม่คุ้มค่านั้นมันยากจริงๆ ค่ะ โดยเฉพาะเมื่อเรารู้สึกว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่ยังคงได้จากการอยู่ในความสัมพันธ์นั้นอยู่
ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนทางด้านการเงิน ความรู้สึกได้รับการดูแล หรือแม้กระทั่งแค่ความรักที่เคยมีจากคนนี้
อย่างแรกที่ควรทำคือต้องมานั่งถามตัวเองว่าความสัมพันธ์นี้มัน “ไม่คุ้มค่า” อย่างไร ? สิ่งที่ได้มาและสิ่งที่เสียไปมีอะไรบ้าง? หากสิ่งที่เราได้มามีค่าสำหรับเราในบางแง่มุม
เช่น ความรักหรือการดูแลทางอารมณ์ บางครั้งการตัดสินใจออกจากความสัมพันธ์ก็ หมายถึงการสูญเสียสิ่งเหล่านี้ไปด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
จากนั้น เราควรเริ่มมองหาวิธีที่จะแก้ไขหรือหาทางออกจากสถานการณ์นี้ โดยเริ่มจากการวางแผนล่วงหน้า เช่น ถ้าความสัมพันธ์นี้ทำให้เราได้รับการซัพพอร์ตทางการเงิน เราก็ต้องเตรียมตัวหางานหรือเพิ่มรายได้
เพื่อที่จะสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง หรือถ้าเราได้รับการดูแลทางอารมณ์จากคู่รัก ให้ลองหาวิธีเสริมสร้างการดูแลตัวเอง เช่น หาเพื่อนที่สามารถให้การสนับสนุนเรา หรือฝึกการดูแลจิตใจตัวเองให้เข้มแข็งขึ้น
ถ้ามันเป็นเรื่องของ “ความรัก” ที่เราไม่อยากเสียไป การกลับมาถามตัวเองว่ารักตัวเองมากพอหรือยัง ? หรือรักใครมากกว่ากัน ? การทำเช่นนี้จะช่วยให้เราตัดสินใจได้ว่าเราควรอยู่ในความสัมพันธ์นั้นต่อไปหรือไม่
การออกจากความสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โดยเฉพาะเมื่อความรู้สึกในตอนนี้ยังมีอะไรหลายอย่างที่ทำให้ไม่อยากทิ้งไป แต่การรู้ตัวว่า “สิ่งที่เราแลกไปมันไม่คุ้ม”
และการวางแผนเพื่อความสุขและความมั่นคงในชีวิตในระยะยาว จะทำให้การตัดสินใจออกจากความสัมพันธ์นั้นเป็นทางเลือกที่ดีขึ้นสำหรับตัวเอง
อย่างไรก็ตามคำแนะนำนี้ก็เป็นเพียงแนวทางหนึ่งที่อาจช่วยให้คุณมองเห็นมุมมองที่ต่างออกไป และอย่าลืมว่าในการทำการตัดสินใจที่สำคัญเช่นนี้ เราต้องให้เวลาและพื้นที่กับตัวเองเพื่อคิดทบทวนอย่างรอบคอบ
วิธีรับมือกับความรู้สึกหลัง “การเลิกรา”
การยอมรับและอนุญาตให้ตัวเองเศร้าเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะมันช่วยให้เรารับรู้ความรู้สึกของตัวเอง และไม่ต้องกดดันตัวเองไปในทางที่อาจจะยิ่งทำให้รู้สึกแย่ไปกว่าเดิม
การปล่อยให้ตัวเองเศร้า แต่ต้องอยู่กับความเศร้าในทางที่สามารถดูแลตัวเองได้ ค่อย ๆ เริ่มทำสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกดีขึ้น เป็นการดูแลตัวเองที่สำคัญมาก
บางคนอาจจะรู้สึกดีขึ้นจากการทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบ เช่น การพักผ่อน การเที่ยว หรือการอยู่กับคนที่รักและห่วงใย เช่น ครอบครัว เพื่อน หรือคนที่เป็นกำลังใจให้เรา
สิ่งที่สำคัญมากก็คือหากความเศร้ามันเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของเรา เช่น กระทบกับการทำงาน การเรียน หรือความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ หรือหากความเศร้าทำให้เราอยากทำร้ายตัวเองหรือรู้สึกไม่มีทางออก
ควรหาความช่วยเหลือจากคนรอบข้างหรือจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสมค่ะ การขอความช่วยเหลือไม่ใช่เรื่องผิด แต่เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้
สมองเน่า เป็นธรรมเนียมที่ทุกช่วงสิ้นปี พจนานุกรมภาษาอังกฤษ Oxford Dictionary จะประกาศ ‘ศัพท์แห่งปี’ คำว่า Brain Rot หรือ สมองเน่า จากการใช้เวลาอยู่บนโลกออนไลน์มากเกินไป Learn & Share จะมาพูดคุยกัน
การเลือกคำศัพท์แห่งปีนั้น Oxford จะอ้างอิงจากหลักฐานการใช้งานที่นำมาจากคลังคำศัพท์กว่า 26,000 ล้านคำที่อัปเดตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนำมาจากแหล่งข่าวต่าง ๆ ทั่วโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษ
โดยมีแนวคิดเพื่อการสะท้อนอารมณ์และบทสนทนาที่ได้หล่อหลอมปี 2024 ช่วงสิ้นปีพจนานุกรมภาษาอังกฤษ Oxford Dictionary จะประกาศคำเด็ดๆ ที่ยกให้เป็น ‘ศัพท์แห่งปี’
และสำหรับปี 2024 คำศัพท์ที่มหาชนพร้อมใจกันโหวตให้ก็คือคำว่า Brain Rot เอาชนะศัพท์ฮอตที่เหลืออีก 5 คำ แต่ที่คำว่า Brain Rot ชนะเพราะได้รับเลือกโหวตจากคนบนโลกออนไลน์
และคำว่าสมองเน่ามีเปอร์เซ็นการใช้เยอะกว่าคำอื่นๆถึง 230% ทำให้ชนะผลใน oxford dictionary นั่นเอง ทำให้เห็นว่าคนบนโลกออนไลน์ก็เห็นด้วยกับคำนี้
Oxford Dictionary ให้นิยามความหมายของ Brain Rot ว่าเป็น ‘การเสื่อมถอยของสภาพจิตใจหรือสติปัญญาของบุคคล’ ซึ่งเกิดจากการเสพคอนเทนต์ที่ไร้ประโยชน์หรือ ไม่ประเทืองปัญญามากเกินไป
สมองเน่า เกิดขึ้นได้อย่างไร
การเสพคอนเทนต์ที่ไม่มีคุณภาพทางเนื้อหา ทุกวันโดยไม่รู้ตัว แบบไร้จุดหมาย อีกทั้งจดจ่ออยู่กับหน้าจอมากเกินไปแทนที่จะออกไปใช้ชีวิตจริง
จนสมองของเราไม่ได้พัก หรือทำงานหนักและเต็มไปด้วยข้อมูลขยะ การเล่นโซเชียลที่นานเกินไปทำให้ตัวเองไม่โฟกัสกับสิ่งตรงหน้า สิ่งที่อยู่กับปัจจุบัน
พฤติกรรมการเล่นโซเชียล
แคทเธอรีน มาร์ติน (Katherine Martin) ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของออกซ์ฟอร์ด กล่าว “ มีความวิตกกังวลเกิดขึ้นเกี่ยวกับการรักษาสมดลุที่เหมาะสมระหว่างโลกออนไลน์
และการไม่ได้สัมผัสกับโลกแห่งความเป็นจริง ” อีไล อาร์วูด (Eli Harwood) นักจิตวิทยาบำบัดกล่าวไว้สิ่งนี้เน้นย้ำถึงปัญหาร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบทางด้านปัญญาและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
เนื่องจากสมองของเด็กและวัยรุ่น นั้นมุ่งเป้าไปที่การเรียนรู้จากสิ่งรอบตัวและใส่ใจกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล นักจิตวิทยาหลายท่านจึงเป็นห่วง พฤติกรรมการใช้โซเชียลของวัยรุ่น
ดร. จูเลีย โคแกน (Julia Kogan) ดูเหมือนว่าปัญหาที่แท้จริงจะอยู่ที่ผลกระทบต่อความนับถือตัวเองและภาพลักษณ์ของร่างกาย ซึ่งอินเตอร์เน็ตต่างพากันยกย่องและนำเสนอภาพชีวิตในอุดมคติอยู่เสมอ
ด้วยเหตุนี้การเสพสื่อมากเกินไปอาจทำให้เกิดความไม่พอใจในตนเองและเชื่อว่าตนเองไม่ดีพอ และทำให้เราแข่งขัน
เช็คลิสต์อาการ
– ความจำแย่ลง: ลืมสิ่งต่างๆ ได้ง่าย ทั้งที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน
– สมาธิสั้นลง: ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ๆ
– คิดวิเคราะห์ได้ไม่ดี: ตัดสินใจได้ยาก แก้ปัญหาได้ไม่ดีเท่าที่ควร
– ขาดความคิดสร้างสรรค์: คิดอะไรใหม่ๆ ไม่ค่อยออก
– วิตกกังวล และซึมเศร้า: เนื่องจากได้รับแต่ข้อมูลด้านลบ และขาดปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก
ห่างไกล สมองเน่า
– ตั้งเวลาการเล่นโทรศัพท์ ถ้าหากเราเล่นเกินเวลาจะมีแจ้งเตือน
– หากิจกรรมอื่น ๆ ทำบ้าง เช่น อ่านหนังสือ ออกไปเจอเพื่อน
– เลือกเสพคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ ปัดผ่านสิ่งที่ไม่สนใจ
– ฝึกคิดว่าสิ่งที่เห็นมันจริงหรือเปล่า หรือเป็นประโยชน์กับเราหรือไม่สำหรับข้อมูลนี้
การใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติช่วยลดผลกระทบด้านลบของการใช้เวลาอยู่หน้าจอมากเกินไป เช่น อาการปวดตา ปวดเมื่อย และปัญหาด้านสมาธิ มีงานวิจัยพบว่า
ผู้ที่ใช้เวลา 120 นาทีต่อสัปดาห์อยู่ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติจะมีสุขภาพที่ดีขึ้นและมีสุขภาพจิตที่ดีกว่าผู้ที่ไม่ได้สัมผัสกับธรรมชาติหรือผู้ที่ใช้เวลาน้อยกว่าสองชั่วโมงต่อสัปดาห์
ที่มา :
‘Brain rot’ named Oxford Word of the Year 2024
ปรากฏการณ์สมองเน่า ในยุคโซเชียล
การใช้เวลาดูเนื้อหาบนโลกออนไลน์ที่มี ‘คุณภาพต่ำ’
เพราะมนุษย์เราไม่ได้มีญาณวิเศษที่จะทำให้รู้อนาคตได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ทำให้ความคิดที่ว่า ‘ถ้ารู้อย่างนี้ น่าจะ…’ นั้นเกิดขึ้นเสมอ
เพราะสุดท้ายชีวิตเราก็ต้องเลือกสักทางอยู่ดี แล้วทางไหนจะเจ็บปวดกว่ากัน ระหว่าง “คิดไว้แต่ไม่ได้ทำ” หรือ “ทำลงไปโดยไม่คิด”
เพราะคำว่า ‘ถ้า’ ทำให้ชีวิตเปลี่ยน
ความเสียดาย เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อรู้สึกพลาดโอกาสบางอย่างหรือทำในสิ่งที่ส่งผลไม่ดีตามมา
ทำให้เกิดความครุ่นคิดถึงความเป็นไปได้ที่ดีกว่าความเป็นจริง แม้ว่าเราจะตัดสินใจเลือกเส้นทางหนึ่งไปแล้ว
แต่มนุษย์เราก็สามารถสร้างจินตนาการที่แตกต่างออกไปจากสิ่งที่ตัดสินใจเลือกแล้วได้มากมายหลายร้อยรูปแบบ
และเกิดการเปรียบเทียบว่า ถ้าเราเลือกทางอื่น ถ้าทำในสิ่งที่ต่างออกไป ชีวิตเราจะเป็นยังไงกันนะ
เพราอะไรคนเรามักติดกับดักกับคำว่า ‘ถ้า’ “ถ้าเป็นอย่างที่คิดก็ดีสิ” “ถ้าวันนั้นเลือกอีกทางหนึ่ง เราจะเหนื่อยขนาดนี้มั้ยนะ”
แต่ถึงอย่างนั้นความเสียดายก็ทำให้รสชาติความเป็นมนุษย์เราเข้มข้นขึ้น ในความเสียดายอาจมีความเสียใจ ความผิดหวังซ่อนอยู่
เป็นอารมณ์ความรู้สึกที่ซ้อนทับกันไปมา จนบางครั้งก็สานต่อไปยังความเศร้า ความหงุดหงิดให้กับเรา
และมีความเป็นไปได้ที่จะติดตรึงใจเราไปหลายช่วงเวลา แต่นั่นก็ทำให้เรารู้ซึ้งถึงการเป็นอยู่ของชีวิตในแต่ละครั้ง
ประเภทของความรู้สึกเสียดายออกเป็น 4 ประเภท
ประเภทแรก แทบจะเรียกว่าเป็นความเสียดายที่เบสิคมาก นั่นคือเรื่องของความมั่นคง
เช่น เสียดายที่ไม่ตั้งใจเรียนให้มากกว่านี้ / น่าจะดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีกว่านี้ หรือ น่าจะเริ่มเก็บหอมรอมริบตั้งแต่เนิ่น ๆ
โดยหนังสือแนะนำว่า หากเราไม่อยากให้เกิดความเสียดายประเภทนี้ สิ่งที่เราควรทำคือ วางแผนชีวิตให้รอบคอบ และเริ่มลงมือทำในสิ่งที่จำเป็นค่ะ
ประเภทที่สอง เสียดายที่ขาดความกล้า การไม่ได้ทำอะไรบางอย่าง หรือการพลาดโอกาสบางอย่างไป เพราะกลัวความเสี่ยงที่จะตามมา
ประมาณว่า น่าจะเที่ยวตั้งแต่ตอนอายุน้อย ตอนที่ยังมีแรง / น่าจะเรียนในสิ่งที่ชอบแทนที่จะเรียนตามคนอื่น / เสียดายที่แคร์คนอื่นมากไปจนไม่เป็นตัวของตัวเอง
ดังนั้น ความจริงใจและความซื่อสัตย์กับตัวเอง คือ สิ่งที่สะท้อนสอนเราในความเสียดายประเภท
ประเภทที่สาม เสียดายความสัมพันธ์ อาจเพราะความห่างเหินที่ถูกกำหนดด้วยการผันเปลี่ยนของห้วงเวลา
ทำให้เกิดความเสียดายไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการไม่ได้ปรับความเข้าใจผิดกับคนใกล้ชิดที่เราอาจคิดไปเองว่าเขาคงไม่อยากคุยกับเราแล้ว
ความเสียดายที่ไม่ได้บอกรักหรือแสดงออกความรักให้มากกว่านี้…เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้มักย้ำเตือนกับเราว่า หากยังมีเวลาก็จงทำในสิ่งที่ยังทำได้ในทันที
แต่หากความสัมพันธ์นั้นจบลงไปแล้ว ก็จงรักษาความสัมพันธ์ที่ยังมีอยู่ให้ดียิ่งขึ้นเพื่อไม่ให้เสียดายหรือเสียใจภายหลัง
และประเภทสุดท้าย บ่อยครั้งที่เราเลือกทำสิ่งที่ง่าย เลือกทำตามสัญชาตญาณ หรือทำเพราะอารมณ์ชั่ววูบแล้วเกิดความละอายใจในศีลธรรม
อยากแก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาดไปแล้วในภายหลัง เช่น ไม่น่าแกล้งเพื่อนตอนสมัยเรียนเลย / ไม่น่านอกกายหรือนอกใจคนรักเลยจริง ๆ
เสียดายที่ไม่ตั้งใจทำหน้าที่ตอนยังมีโอกาสอย่างเต็มที่ อาจจะฟังดูเป็นความเสียดายที่พบได้น้อยกว่าความเสียดายประเภทอื่น
แต่หากเกิดขึ้น คงเป็นความเสียดายที่ฝังลึกมากที่สุดเลย เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเกิดเรื่องอะไรที่ทำให้เราเคลือบแคลงใจก็ตาม สิ่งที่ควรทำที่สุด คือ ให้เราเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้องก็พอ
ตัดสินใจยังไงให้ไม่เสียดายทีหลัง
การตัดสินใจเลือกในแต่ละสถานการณ์ก็มีความยากง่ายแตกต่างกัน เพราะทุกเส้นทาง ย่อมมีความสำคัญในแง่มุมต่าง ๆ
การถามเพื่อทบทวนตัวเองจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญก่อนการตัดสินใจ
โดยเราอาจเริ่มพิจารณาจากคุณค่าและความสำคัญของแต่ละเหตุการณ์ ชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสีย ผลดีผลเสียซึ่งจะสะท้อนให้เห็นว่าเราให้ความใส่ใจกับสิ่งใดมากที่สุด
เนื่องจากสิ่งที่เราต้องการแสดงความใส่ใจนั้น อาจส่งผลต่อชีวิตเรา หรือความสัมพันธ์ในระยะยาวของเรา
ถามตัวเองถึงความรู้สึกในระยะยาว ลองจินตนาการว่าหลังจากผ่านเหตุการณ์ไปแล้ว เราจะเสียใจไหมหากไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง
หรือจะเสียใจทีหลังมั้ยถ้าไม่ทำตอนนี้ รวมถึงเรายังจะชอบตัวเองอยู่รึเปล่าถ้าตัดสินใจทำลงไปแล้ว
ขณะพิจารณา เราก็อาจจะยังไม่รู้ได้ชัดเจนว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบตัวเองในอนาคต แต่คนที่รู้จักตัวเราดีที่สุดก็คือตัวเราเอง
เพราะฉะนั้น หากทบทวนและได้คำตอบชัดเจนแล้ว ก็เลือกเส้นทางนั้นได้เลย และอย่าลืมว่า การตัดสินใจไม่มีถูกผิด
เพราะมันขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราให้คุณค่าและความสำคัญขณะนั้นมากที่สุด
แต่ในกรณีที่หากทางเลือกทั้งสองมีบุคคลอื่นมาเกี่ยวข้องและเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจ ก็จะมีเรื่องของการปรึกษาและสื่อสาร
การบอกเล่าความรู้สึกภายในใจเพิ่มขึ้นมาหลังจากที่เราทบทวนลำดับความสำคัญในข้อแรกได้แล้ว
ในขั้นนี้สำหรับเพื่อน ๆ บางคน อาจฟังดูลำบากใจที่จะพูดคุยกันกับอีกฝ่าย แต่การสื่อสาร อาจทำให้เกิดทางเลือกที่นำไปสู่ความประนีประนอมได้
เช่น ขอเลื่อนแพลนนี้ไปก่อนหากเป็นไปได้ เพราะอีกแพลน เป็น แพลนที่บังคับเข้มงวดกว่า ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจเลือกอีกทางได้อย่างเต็มที่
จากนั้นลองประเมินถึงผลกระทบความสัมพันธ์ ถ้าเป็นทางเลือกที่มาเจอกันตรงกลาง เราสามารถเลือกทั้งสองทางได้ คงดีไม่ใช่น้อยเลย
แต่หากต้องเลือกทางใดทางหนึ่งโดยฝั่งที่ไม่ได้ถูกเลือกอาจเกิดความเสียใจ ก็ให้อธิบายเหตุผลให้พวกเขาเข้าใจ
หรือพยายามแสดงความใส่ใจในรูปแบบอื่นก็ได้ เช่น หาทางร่วมกิจกรรมในครั้งหน้าแทน … และสุดท้ายก็ถามความรู้สึกตัวเองในระยะยาวเช่นเดิมว่าเราจะรู้สึกดีกับทางเลือกไหนมากกว่ากัน
ความรู้สึกเสียดาย ทำให้รู้ว่าเสียงในใจมีค่า
ความเสียดายจะลดลง หากเราไม่ปล่อยให้ถูกบดบังด้วยความกลัวหรือความลังเลที่จะทำด้วยข้อมูลที่มีขณะ
เพราะความรู้สึกเสียดายทำให้รู้ว่าเสียงภายในใจนั้นสำคัญแค่ไหน ดังนั้นขอให้เรารับรู้และสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง
ดีกว่าวิ่งหนีจากความรู้สึกชั่วคราวเพราะสุดท้ายเราก็จะวิ่งหนีมันไม่พ้นอยู่ดี เราจะกลับมารู้สึกเสียดายมันใหม่และวนลูปแบบนี้ไปเรื่อย ๆ
หากเราไม่ยอมรับสักที ความรู้สึกแย่กับตัวเองมันก็จะกดเราจนจมไปกับกองน้ำตาแห่งความเสียใจ เสียดาย
อีกทั้งความรู้สึกแย่ ๆ เหล่านั้นก็ไม่ได้มีคาถาเวทมนตร์อะไรที่ทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่กลายเป็นเราเองค่ะที่จะถูกบั่นทอนทั้งความคิดแและจิตใจ
ให้มองว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่เราต้องเลือกระหว่างสิ่งสองสิ่ง ซึ่งการเลือกแค่เพียงหนึ่ง มันอาจจะทำให้เราเจ็บปวดนิดหน่อยหรือสุขใจมากแค่ไหนก็ตาม
แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องโทษตัวเองที่เลือกทางนี้หรือเลือกทิ้งอีกเส้นทาง เพราะตัวเราในวันนั้น ถือเป็นตัวเราที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์นั้นโดยตรง
ไม่ใช่เราในอนาคตที่มองกลับมาเห็นและรู้ทุกอย่างว่าจะเกิดอะไรขึ้น การตัดสินใจของตัวเราในวันนั้น เป็นการตัดสินใจอย่างเหมาะสมที่สุดแล้ว
และบางครั้ง การตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุดอาจเป็นสิ่งที่เรารู้สึกว่า ‘ถูกต้อง’ สำหรับเรา ไม่ได้มาจากเหตุผลใด ๆ ก็ได้…ในอีกมุมหนึ่ง
พลังของความรู้สึกเศร้าเสียดายก็สามารถผลักดันให้ครั้งต่อไป เราจะใช้เวลาไตร่ตรองการกระทำของเรามากขึ้นเพื่อเลือกทางที่ตัวเองจะไม่รู้สึกพลาด
ไม่รู้สึกเสียดายภายหลัง เผลอ ๆ บางที เราอาจจะรู้สึกซาบซึ้งถึงสิ่งที่มีอยู่ตอนนี้มากขึ้นจากการตัดสินใจครั้งนี้ก็ได้ค่ะ
และไม่ว่าท้ายที่สุดเราจะเลือกทางใดก็ตาม อย่างน้อยประโยชน์ที่เกิดกับตัวเรา นั่นก็คือการได้เรียนรู้ชีวิตในส่วนอื่น ๆ จากเรื่องราวครั้งนั้น
ทุกวันนี้เรายังโบยตีตัวเองกันอยู่ไหม ถ้าใช่ ไม่แน่ว่า สิ่งที่เราต่อว่าตัวเองในทุกๆ วันนั้น อาจมาจากคำพูดของคนอื่นก็ได้ Learn & Share EP นี้ ขอชวนทุกคนมาทำความเข้าใจ “การตีตรา” หรือ Stigma ว่าคืออะไร
Stigmatization
กระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยได้นิยาม ‘การตีตรา (Stigma)’ เป็นเรื่องของทัศนคติ ความคิด ความเชื่อที่มีต่อการกระทำหรือพฤติกรรมของบุคคลในสังคมที่มีพฤติกรรมแตกต่างไปจากบรรทัดฐานทางสังคม
นำไปสู่การไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม การปฏิบัติที่แสดงถึงการรังเกียจ กีดกัน ทั้งทาง สายตา คำพูด การกระทำ ทำให้บุคคลเหล่านั้นถูกแบ่งแยก ถูกจำกัดพื้นที่ทางสังคม หรือที่เราเรียกว่า การเลือกปฏิบัติ
เช่น คนป่วยจิตเวช”ทุกคน” เท่ากับคนบ้า แล้วก็ถูกรังเกียจ ถูกด่าทอ ถูกกรีดกัน ถูกมองว่าไม่เสมอภาคเท่าเทียมกับผู้อื่น หรือ ผู้ติดเชื่อ HIV คือ คนที่ใช้ชีวิตไม่ดี มักมากทางเพศ น่ารังเกียจ ถูกกีดกัน
ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น
ผลเสียของการที่เราไปตรีตราคนอื่นโดยเฉพาะในเรื่องอาการป่วย หลัก ๆ คือการเข้าใจผิด นำไปสู้การปฎิบัติต่อเขาอย่างไม่ถูกต้อง เกิดความรังเกียจ ดูแคลน กรีดกันทางสังคม
ซึ่งก็ส่งผลให้เจ้าตัวรู้สึกโดดเดี่ยว บางคนเมื่อถูกตีตรามายาวนาน จึงรู้สึกแย่กับตัวเอง ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง สุดท้ายคก็จะมีแนวโน้มมาเข้ารับการรักษาน้อยลง มันก็มีแต่จะทำให้แย่กับแย่ลง
บางครั้งเสียงที่เราต่อว่าตัวเองก็มาจากคนอื่น
บางครั้งคำเหล่านั้นที่เราโบยตีตัวเอง อาจจะไม่ได้เกิดมาจากเราแต่เป็นคำที่คนอื่นพูดกับเรา หนึ่งเหตุผลมาซับพอร์ต คือ Social identity ข้อมูลจาก Verywellhealth
อัตลักษณ์ทางสังคม : ผู้คนสร้างอัตลักษณ์ของตนเองตามกลุ่มเฉพาะที่ตัวเองอยู่ จึงมองว่าคนของกลุ่มอื่นไม่ดี การตีตราสมาชิกของกลุ่มอื่นอาจเป็นวิธีหนึ่งในการอ้างสิทธิ์เหนือผู้อื่นของกลุ่มตัวเอง
หรืออีกเหตุผลคือ การติดป้ายให้คนๆ หนึ่งว่า “ดี” หรือ “ไม่ดี” เป็นวิธีธรรมชาติในการหลีกเลี่ยงความพยายามทำความเข้าใจ ความยากของชีวิตคนอื่น หรือประสบการณ์ของคนอื่น
การตีตรากระทบต่อใจควรทำอย่างไร
สิ่งแรกที่สามารถทำได้เลยนั้น คือ ถอยห่าง หรืออยุดความสัมพันธ์ กับคนที่ตีตราเรา เพราะสุดท้ายคนที่เจ็บปวดและต้องดูแลหัวใจเราได้ดีที่สุดคือตัวเราเอง
สิ่งสำคัญอีกข้อ คือการสร้างความมั่นคงในจิตใจให้กับตัวเอง สิ่งที่เราเป็นมันคือเรา เรามีคุณค่า เรารู้ว่าเราเป็นใคร และเรากำลังทำอะไรอยู่ เรามีคุณค่าเสมอ
ที่มา :
โกรธ เสียใจ มีความสุข คือความรู้สึกที่คุ้นชิน แต่เมื่อ ความเบื่อ เกิดขึ้นแล้วไม่รู้จะทำอย่างไรดี?
“ความเบื่อ” ในทางการแพทย์
ไม่อยากทำอะไรเลย ทำให้เรามีความรู้สึกไม่อยากตอบสนองต่อมัน ความเบื่อเป็นความรู้สึกที่ไม่อยากตอบสนอง
หรือ สมาธิไม่อยู่ตรงนั้น ใจไม่อยู่นิ่ง เบื่อสิ่งที่ต้องทำก็ทำให้รู้สึกเบื่อได้
“ความเบื่อ” ส่งผลต่อสุขภาพจิต
เบื่อ เป็นภาวะที่ไม่มีการกระตุ้นถ้าสะสมไปเรื่อย ๆ สามารถส่งผลต่อสุขภาพจิตด้วย
แต่ไม่ใช่แค่ความเบื่อส่งผลอย่างเดียวอาจมีความรู้สึกอื่นที่ผสมมาด้วย เช่น เบื่อมากๆ จนรู้สึกเศร้า
วิธีรับมือกับ “ความเบื่อ”
- ถ้าความเบื่อมารบกวนเรา เราต้องไปแก้มันตรง ๆ เช่น การทำสิ่งใหม่ ๆ เพื่อช่วยลดความเบื่อ จุดเล็ก ๆ ที่เราพอทำได้ที่่ช่วยให้หายเบื่อ
- ทบทวนความชอบของตัวเอง สิ่งชอบ คนที่ชอบ
เบื่อชีวิต
เป็นความรู้สึกสภาวะปัจจุบันที่เกิดขึ้นกับตัวเองเลย อาจเบื่อบริบทที่เราเป็น เช่น การเป็นพ่อ แม่ หรือลูก
หรือเบื่องานที่ทำอยู่ สิ่งที่ต้องทำคือถามตัวเองให้ลึกซึ้งถึงความเบื่อนั้น สิ่งที่เราพึงพอใจจริง ๆ ทำยังไงให้มันขยายขึ้นให้เราพอใจแล้วความเบื่อมันน้อยลง
เมื่อยิ่งรัก กลับยิ่งเจ็บปวด มันจริงไหม ? เมื่อเรายิ่งรักใครสักคนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ต่างฝ่ายต่างเจ็บปวดกันมากเท่านั้น
ทุกคนมาทำความรู้จักแนวคิด Hedgehog’s Dilemma ที่เปรียบความสัมพันธ์ของมนุษย์กับเม่นสองตัวกลางฤดูหนาว
Hedgehog’s Dilemma คืออะไร
Hedgehog แปลว่าเม่นและคำว่า Dilemma แปลว่า อะไรที่ก้ำกึ่ง กลืนไม่เข้าคายไม่ออก จะว่าดีก็ไม่จะว่าแย่ก็ไม่ จะว่าถูกผิดก็ไม่แน่ใจ
Hedgehog’s Dilemma เป็นแนวคิดเชิงปรัชญาที่มีมานานละ ตั้งแต่ ปี ค. ศ. 1851 ใช้เปรียบเทียบความสัมพันธ์ของคนกับเม่นกลางฤดูหนาว -แนวคิดนี้เชื่อว่ายิ่งมนุษย์ใกล้กัน ก็จะยิ่งทำร้ายกัน แต่ห่างกันก็ไม่ได้
นักปรัชญาเขาได้เปรียบไว้กับกลุ่มเม่นที่ต้องการความอบอุ่นในฤดูหนาว พวกมันเลยเดินเข้าหากันเพื่อสร้างความอบอุ่นแต่ยิ่งใกล้กัน มันก็ยิ่งเจ็บปวดด้วยหนามอันแหลมคมที่ทิ่มแทงกันเอง
เช่นเดียวกันกับมนุษย์เราอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ แต่ยิ่งเราเข้าใกล้กันมากเท่าไหร่ มันก็เลี่ยงไม่ได้ที่เราจะทำร้ายกันทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว
อาจเห็นได้ว่าเป็นมุมมองต่อความสัมพันธ์ในแง่ลบพอสมควร โดยการเชื่อว่า ความรักและความชิดใกล้=เจ็บปวด หรือเราเหมาะกับการอยู่คนเดียว ไม่เหมาะกับการมีความรักหรืออยู่กับใคร
เมื่อยิ่งรัก กลับยิ่งเจ็บปวด ต้องทำใจ?
เราแค่ต้องเชื่อว่ารักครั้งต่อไปที่เราจะมี มันจะไม่เจ็บปวด เราต้องมีความหวังในความรัก มันอาจจะลงเอยว่ามันแย่เหมือนที่ผ่าน ๆ มา แต่เราก้ต้องเดินหน้าต่อไป จนกว่าจะเจอคน ๆ นั้นจริง ๆ
มีความหวังได้ แต่อยู่ในโลกความเป็นจริงด้วย หมั่นทำ Reality check เพื่อไม่มองข้ามสัญญาณแห่งความเจ็บปวดไป
ASMR ทำให้ผ่อนคลายจริงไหม เพราะไม่ว่าจะเปิดแพลตฟอร์มไหน ก็จะต้องมีคลิปแนว ASMR ขึ้นหน้าฟีดอยู่เสมมอ เสียง ASMR คืออะไร ทำไมคนถึงชอบฟังกัน มันมีประโยชน์อย่างไร
ASMR คืออะไร
ASMR ย่อมาจากคำว่า Autonomous Sensory Meridian Response แปลว่า การตอบสนองต่อประสาทที่รับความรู้สึกอัตโนมัติ ที่ทำให้รู้สึกสงบ ผ่อนคลาย อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงกับความทรงจำได้
ไม่ว่าจะถูกกระตุ้นด้วย การมองเห็น เช่น การตัดสบู่ เล่นทราย วาดรูป หรือจริง ๆ แม้แต่การที่เรานั่งพักโดยปล่อยให้สายตาได้มองดูผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมาแบบไม่คิดอะไรแล้วรู้สึกผ่อนคลาย ก็ใช่ค่ะ
การถูกกระตุ้นด้วยการสัมผัส เช่น การเขียนหลัง การถูกลูบหัวลูบแขน และอีก รูปแบบที่นิยมก็คือ ถูกกระตุ้นเสียง โดยเป็นไปได้ตั้งแต่เสียงธรรมชาติ
เช่น เสียงฝนตก เสียงลม เสียงคลื่นกระทบฝั่ง จนถึงเสียงที่เกิดจากการกระทำของคน เช่น เสียงเคี้ยวอาหาร เสียงพูดกระซิบ เสียงจากการสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ
จุดเริ่มต้นของเสียง ASMR
ข้อมูลจาก CMKL University กล่าวว่า จุดเริ่มต้นเริ่มมาจากเว็บบอร์ดด้านสุขภาพของต่างประเทศเมื่อมีคนมาตั้งคำถามว่า ‘ทำไมเวลามีคนมาตัดเล็บให้แล้วมันรู้สึกอบอุ่นแบบบอกไม่ถูก’
‘ทำไมได้ยินเสียงคนกระซิบกันแล้วรู้สึกผ่อนคลาย’ แต่ ณ ตอนนั้นเรายังไม่รู้จักกันว่าสิ่งนั้นเรียกว่าอะไร ต่อมาได้มีคลิปของจิตรกรและนักสอนศิลปะชื่อ Bob Ross
ซึ่งบางคนถึงกับบอกว่าคุณ Bob เป็น ASMR Creator ผู้มาก่อนกาลเพราะตอนเขาทำคลิป ศัพท์ ASMR นี้ก็ยังไม่เกิดขึ้นค่ะ โดยคลิปของเขาได้ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของแนว ASMR
เพราะคลิปสอนวาดภาพวิวด้วยสีน้ำมันของเขามันไม่มีเสียงดนตรีอะไรประกอบ มีแค่เสียงแปรงเสียดสีกับผ้าใบไปมา และเสียงนุ่ม ๆ ของคุณ Bob เท่านั้นเลย
แต่ดันดึงดูดคนให้ดูเพลิน ๆ จนจบได้แบบสบายใจ แต่ขอย้ำอีกทีว่าสมัยนั้นก็ยังไม่มีใครรู้จักคลิปแนว ASMR นี้ เหมือนในปัจจุบัน
รูปแบบ ASMR
– เสียงธรรมชาติ เช่น เสียงฝนตก เสียงลำธาร
– เสียงจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การตัดเล็บ การแคะหู
– เสียงจากภายในห้อง
– เสียงที่ช่วยเพิ่มสมาธิ เช่น เสียงดินสอฝนกับกระดาษ เสียงเขียนหนังสือ เสียงพิมพ์คีย์บอร์ด
– เสียงกระซิบ
– เสียงเพลง Ambient Music เป็นการบรรเลงดนตรีช้า ๆ ซ้ำ ๆ และใช้เสียงธรรมชาติเข้ามาเสริม เช่น เสียงหยดน้ำกระทบผิวน้ำในทำนองเพลงของเปียโน
ASMR ทำให้นอนหลับง่ายขึ้น
จริง ๆ แน่นอนว่า เมื่อพูดถึงเสียง ASMR ประโยชน์ข้อแรกที่ทุกคนต้องนึกถึง คือ ช่วยให้นอนหลับ แต่ข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ช่วยลดความเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพมากมาย
ทั้งเรื่องภูมิคุ้มกันต่ำ ปวดหัวเรื้อรัง เมื่อร่างกายและจิตใจไม่เครียด ระบบการไหลเวียนของเลือด ระบบย่อยอาหารก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
เสียง ASMR ยังช่วยเพิ่มสมาธิให้มีจิตใจจดจ่อกับสิ่งที่ทำมากขึ้น โดยจะเห็นว่ามีหลายคลิปที่นำเสียงธรรมชาติมาใส่ White Noise เป็นคลื่นเสียงบำบัดที่ช่วยกระตุ้นระบบความจำ สร้างสมาธิได้
ซึ่ง White Noise เกิดจากเสียงที่มีคลื่นความถี่สูง-กลาง-ต่ำมาควบรวมกัน มีความถี่สม่ำเสมอ ทำให้ฟังแล้วรู้สึกถึงความสงบ ส่วนใหญ่จะเป็นเสียงจากธรรมชาติ
ASMR ทำให้ผ่อนคลายได้จริงไหม
อ้างอิงจากงานวิจัยปี 2018 ของสาขาวิชาจิตวิทยาสหราชอาณาจักร ได้ทำการทดลองโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ดูคลิป ASMR และกลุ่มที่ไม่ได้ดูคลิป ASMR
พบว่ากลุ่มที่ดูคลิป ASMR จะมีอัตราการเต้นของหัวใจลดลงและรู้สึกสงบผ่อนคลายมากขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ดู
นอกจากนี้ ยังมีผลการวิจัยเกี่ยวกับคลื่นสมอง จากกลุ่มที่ได้ดูคลิปหรือฟังเสียง ASMR มีความเครียดลดลง และสร้างอารมณ์ในเชิงบวกได้คล้ายกับการฟังเพลง
ซึ่งความรู้สึกดีหรือภาวะสงบที่เกิดขึ้นนี้ เป็นผลมาจากสารสื่อประสาทอย่าง Endorphin ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เรารู้สึกสงบ ผ่อนคลาย ปลอดภัย พร้อมกับช่วยบรรเทาความเจ็บปวด
มีข้อดี ก็มีข้อควรระวัง
แน่นอนว่าทุกสิ่งในโลกย่อมมีทั้งข้อดีและ ข้อเสีย การฟัง ASMR บ่อยหรือมากเกินไป ก็ส่งผลในแง่ลบ ไม่ว่าจะเป็นการที่เราต้องพึ่งพาการฟังเสียงต่าง ๆ เพื่อให้นอนหลับในทุกคืน
กลายเป็นคนที่นอนหลับด้วยตัวเองยาก ก็อาจจะทำให้เรามีความลำบากหากวันนึง เราอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถใช้เสียงเหล่านี้ช่วยในการนอน
เช่น ถ้าเป็นวัยเรียนก็อาจจะต้องไปเข้าค่าย ถูกเก็บโทรศัพท์ หรือการเปลี่ยนสถานที่นอนที่ไม่เอื้อต่อการเปิดคลิปเสียงฟัง
หรือ บางคนอาจจะเริ่มตอบสนองต่อระดับความเข้มเสียงปกติได้น้อยลง ทำให้ต้องเพิ่มความดัง ความเข้มของเสียงในการนอน ก็อาจส่งผลต่อระบบประสาทหรือสมองที่จะตื่นตัวเวลานอนอยู่เสมอ
ที่มา :
ASMR” แบบไหนที่เหมาะกับผู้ที่ “นอนไม่หลับ” ?
White Noise เสียงสีขาว ช่วยกล่อมนอนสบาย
เคยไหม ? ที่โดนคนใกล้ชิดบีบให้เรารู้สึกผิด จากที่เคยมั่นใจว่าตัวเองถูก ทำความเข้าใจกับการถูกบีบบังคับให้รู้สึกผิด หรือ Guilt Trip กับ รายการ Toxic People
Guilt Trip เป็นการใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อบังคับให้อีกฝ่ายรู้สึกผิด และยอมทำตาม แม้ว่าเขาคนนั้นจะไม่ได้เป็นฝ่ายผิดก็ตาม
เป็นการกดดันทั้งทางอารมณ์ คำพูด หรือการกระทำเพื่อให้บุคคลรู้สึกว่าตนเองเป็นฝ่ายผิด เป็นฝ่ายที่ทำให้ผู้ควบคุมนั้นต้องเสียใจ หรืออาจเป็นฝ่ายที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงของความสัมพันธ์ในทุกรูปแบบ
ดังนั้นจึงมักเกิดขึ้นกับความสัมพันธ์ที่มีความใกล้ชิด หรือความสัมพันธ์ที่ส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลได้ง่าย เช่น ครอบครัว เพื่อนสนิท คนรัก
หรือความสัมพันธ์บางรูปแบบที่ต้องอาศัยความรู้สึกร่วม เช่น ศิลปินและแฟนคลับ บุคคลหนึ่งอาจใช้เพื่อครอบงำทางความคิดและพฤติกรรมของบุคคลอื่นเพื่อผลประโยชน์
Shane Birkel นักจิตบำบัด กล่าวว่าเป็นพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงการไร้ความสามารถในการสื่อสาร ด้วยวิธีที่สร้างสรรค์และวิธีที่ดีต่อสุขภาพจิต
ลองอ่านประโยคเหล่านี้ แล้วรู้สึกอย่างไร
พูดเล่นแค่นี้เองทำไมอ่อนไหวจัง !!!
เรื่องแค่นี้ทำไมงี่เง่าจัง !!
เธอนั่นแหละที่คิดมากไปเอง !!
เหนื่อยมาทั้งวันก็ทำเพื่อเธอนั่นแหละ !!
เคยบอกไปแล้วว่าอย่าทำแบบนี้นิ !!!
นี่ฉันทำทุกอย่างในบ้าน ยังต้องมาล้างรถอีก เธอนอนสบายเลยนะ
คราวที่แล้วฉันก็ไปเป็นเพื่อนเธอ คราวนี้ไปกับฉันไม่ได้หรือไง
ฟังแล้วรู้สึกผิดกันไหม ? เพราะความรู้สึกผิด เป็นหนึ่งในความรู้สึกที่มีพลังในการชักจูงพฤติกรรมของคนอื่น ในบางครั้งเมื่อเรารู้สึกว่าเราทำผิด หรือทำให้คนอื่นเสียใจ โดยเฉพาะคนที่มีความสำคัญกับเรา
เราก็จะยอมทำทุกวิถีทางเผื่อให้อีกฝ่ายรู้สึกดีขึ้น ไม่ว่าวิธีนั้นจะส่งผลดีกับเราหรือไม่ หลายครั้งที่ความสนิทสนมทำให้เรารู้สึกว่ายิ่งต้องให้ความสนใจในความรู้สึกของกันและกันมากขึ้น
นั่นอาจเป็นโอกาสให้ฝ่ายควบคุมในความสัมพันธ์ใช้เทคเนิคเหล่านี้เพื่อทำให้คนคนหนึ่งยอมทำตามสิ่งที่ตนต้องการได้ด้วยวิธีทำให้รู้สึกผิด
GuiltTriper ต้องหยุดเดี๋ยวนี้
การนึกไว้เสมอว่าสิ่งที่เราทำอยู่นั้น เรากำลังกระทำกับคนที่รักเรา และการที่โดนกระทำเรื่อย ๆ ความรัก ความห่วงใย ความอดทน ก็มีวันหมดได้เช่นกัน
วิธีการสื่อสารสำคัญมาก มีหลายวิธีในการสื่อสารโดยที่ไม่ใช้การบีบ กดดัน อีกฝ่าย เปลี่ยนจากการทำให้อีกฝ่ายรู้สึกผิด เป็นการลื่อสารที่ดี โดยไม่มีใครต้องเจ็บตัว
เช่น เปลี่ยนจากที่การทำหน้าเคร่งเครียด คำพูดตึง ๆ ให้อีกฝ่ายทำตามใจ เปลี่ยนไปเป็นคำพูดเชิงบวก หรือ สีหน้ายิ้มแย้ม และบอกกล่าวสิ่งที่ต้องการดี ๆ
สุดท้ายเราเข้าใจว่ามันยากที่อยู่ดี ๆ จะเปลี่ยนพฤติกรรม เพราะบางคนก็ใช้การ ทำให้รู้สึกผิด จนกลายเป็นนิสัยไปแล้ว
ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกบังคับให้รู้สึกผิด
1. รู้จักพฤติกรรมนี้ในทางจิตวิทยาเบื้องต้น ว่ามันคืออะไร พฤติการเป็นแบบไหน โดยปกติเราใช้ชีวิตไป ทำงาน กลับบ้าน เจอเพื่อน ไปเรียน
เราอาจพบเจอใครบางคน ที่พูดอะไรบางอย่างที่ลดทอนความคิด กดดัน ทำให้เราตะหงิด ๆ บางอย่าง ถ้าเรารู้ไว้ เราอาจคิดขึ้นได้ว่านี่คือพฤติกรรมที่เข้าข่าย Guilt Trip
2. รู้ตัวเอง เเราเป็นใคร ทำอะไร รู้สึกอย่างไรต่อเรื่องราวนี้ ส่งผลกระทบอย่างไรบ้างกับพฤติกรรมนี้ แล้วเราแก้ไขได้ด้วยรูปแบบใด
3. พูดคุยเปิดอกอย่างตรงไปมา ว่ากำลังรู้สึกแบบนี้ สามารถเปลี่ยนวิธีสื่อสารกับคนเราได้ไหม เพื่อประคองความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาว
ที่มา:
อ่อนไหวเกินไป…หรือใครกำลังบีบให้รู้สึกผิด?
เราก็มักจะได้ยินหรือเห็นประโยคที่ว่า ส่งท้ายปีเก่า เริ่มต้นสิ่งใหม่กัน ทุกคนทิ้งอะไรไว้ในปีที่แล้วบ้าง
และได้ตั้งเป้าหมายอะไรไว้ในปีนี้บ้าง เพราะด้วยเทศกาลปีใหม่ เลยทำให้เรารู้สึกสดชื่น เหมือนอะไรที่เคยเศร้าหมองกลับสดชื่นขึ้นมา
พอปีใหม่มาถึงเลยเหมือนเป็นโอกาสให้เราได้ยินดีกับอะไรใหม่ ๆ ตั้งอะไรใหม่ ๆ เพื่อให้ตัวของเรารู้สึกมีความสุขตั้งแต่เริ่มต้นปีจนท้ายปี 🙂
แต่ก่อนที่จะเริ่มต้นใหม่ ทุกคนคงเคยเดินผ่านจุดที่สิ้นสุดกันมาของปีที่แล้ว ทุกคนคงมีหลากหลายความรู้สึก บางคนปีที่แล้วก็เป็นปีที่ดีมาก ๆ
บางคนปีที่แล้วอาจจะเป็นปีที่เศร้ามาก ๆ เหมือนกัน ไม่ใช่แค่เหตุการณ์หมดปี แต่หมายถึงจุดสิ้นสุด
ในบางอย่างไม่ว่าจะเป็นการลาออก การที่ต้องจากลากับใครบางคน เรียนจบ เหตุการณ์ที่เป็นจุดสิ้นสุด
บางครั้งเราก็ไม่อยากให้มันจบเพราะมันทั้งสุข เศร้า เสียใจ แต่จะเรียกว่าเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องเจอในชีวิต
การเริ่มต้นมาพร้อมกับความกลัว
เวลาที่เราจะเริ่มต้นใหม่กับอะไรสักอย่าง ความรู้สึกที่พ่วงมาด้วย คือความกลัว กลัวว่าจะไม่ดีแบบเก่า กลัวว่าทำไปแล้วจะเฟล
บางครั้งความกลัวก็เหนี่ยวรั้งเรา หรือที่เราเรียกกันว่ากับดักของเซฟโซน บางทีเจ้าความกลัวก็ทำให้เราอยู่กับอะไรเดิม ๆ ที่ไม่ใช่กับเราขนาดนั้น
สิ่งสำคัญของความกลัวก็คือเจ้าที่เรียกว่า ความเปลี่ยนแปลง
ทำไมเราถึงกลัวการเปลี่ยนแปลง
เพราะเราเป็นมนุษย์ เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนจะกลัวการเปลี่ยนแปลง ที่เรากลัวเพราะเราไม่มีทางคาดเดาได้ว่าทางข้างหน้าที่เรากำลังเดินต่อไปจะเป็นแบบไหน
จะดีหรือไม่ดี บางครั้งเราเลยเซฟตัวเองด้วยการที่ถ้ามีใครสักคนไปเป็นเพื่อนก็คงดี แต่พอเราโตแล้วบางสถานการณ์เราไม่สามารถทำแบบนั้นได้แล้ว
‘อย่าทิ้งความฝันถ้าไม่มีใครไปเป็นเพื่อน’ หลายความฝัน หลายสิ่งที่อยากทำ เราก็ทิ้งมันไปเพราะเรากลัวไม่มีใครไปเป็นเพื่อนเราจริง ๆ
แล้วเราก็มารู้สึกเสียดายที่ไม่ได้ทำในสิ่งที่อยาก ไม่อยากให้ทุกคนมาเสียดายที่ไม่ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ ถึงแม้ว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นมันดีอยู่แล้ว
แต่ถ้าใครกำลังกลัวการเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างอยู่ ลองฮึบความกลัวแล้วลงมือทำกัน เพื่อว่าจะได้เจอทางที่โอเคกับตัวเองมากกว่าตอนนี้
และนอกจากการเริ่มต้นใหม่ที่กลัวการเปลี่ยนแปลง เราก็ยังกลัว ความล้มเหลว ความผิดหวัง ที่เกิดขึ้นหลังจากเริ่มต้นใหม่เหมือนกัน
แต่เชื่อไหม ความล้มเหลวมันคือสิ่งที่เราต้องเจอ เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ บางเรื่องเราไม่เจอก็ดีแต่บางเรื่องมันเกิดขึ้นได้จริง ๆ
ฟังดูแล้วอาจดูใจร้าย แต่ในโลกความเป็นจริงก็คงเป็นแบบนี้ ท้ายที่สุดมันหนีไม่ได้ตลอด มันจะเกิดก็ต้องเกิด
ความล้มเหลวถ้าให้มองในแง่ดีมันก็สอนอะไรเราหลายอย่างเหมือนกัน สอนให้เราโตขึ้น สอนให้เราระวังมากกว่า
สอนให้เรารู้ว่าบางอย่างเราก็ต้องใจร้ายบ้าง หรือบางครั้งก็สอนให้เราเห็นแก่ตัว เอาตัวเองมาก่อนบางสิ่ง
ไม่เป็นไรนะทุกคนที่บางครั้งความล้มเหลวมันจะมาทักทายเราบ้าง ถึงตอนนี้เราจะล้มเหลวแต่มันไม่ได้อยู่กับเราตลอดไป จะมีวันที่เราลุกขึ้นยืนได้เหมือนกัน
เมื่อจบอะไรเก่า ๆ แล้วอาจทำให้เจออะไรใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเดิม
เพราะการก้าวผ่านอดีต หรือเหตุการณ์ที่แย่เป็นเรื่องที่ดี เรื่องราวเหล่านั้นสอนให้เราเข้มแข็งและแข็งแกร่งมากขึ้น
เหตุการณ์บางเหตุการณ์เดินทางมาถึงจุดสิ้นสุดเพื่อนำพาให้เราไปพบสิ่งใหม่ที่ดีกว่า
การบอกตัวเองให้คิดในแง่บวก ถึงแม้บางครั้งอาจจะทำยาก แต่หากเราฝึกคิดบวกทุกวัน ทำไปเรื่อยๆ
เมื่อเวลาผ่านไป หากเราเจอเหตุการณ์แย่ๆ เราจะสามารถคิดบวกได้โดยอัตโนมัติ
และการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่คิดบวกก็สำคัญเหมือนกัน ถ้าเราคิดอยู่คนเดียว แต่คนรอบตัวตั้งแง่ว่า จะดีหรอ ตัดสินใจแบบนี้จะไม่เสียใจทีหลังหรือยังไง
ถ้าเราอยู่ที่รอบตัวที่คิดแบบนี้มันก็ส่งผลกับตัวเราเหมือนกัน คนที่อยู่รอบตัวเรามีผลต่อความคิดของเราเป็นอย่างมาก
หากเราอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไหน อาจหล่อหลอมให้เรากลายเป็นคนแบบนั้นได้
ยอมรับความจริงแล้วก้าวต่อไป
ไม่ยึดติดกับสิ่งที่จบไปแล้ว เรื่องในอดีตที่มันจบไปแล้ว เราพยายามไม่ยึดติดหรือเปรียบเทียบกับสิ่งที่ผ่านมาแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ดีก็ตาม เปลี่ยนจากการยิดติดเปรียบเทียบเป็นเราได้เรียนรู้ ได้บทเรียน
ข้อคิดอะไรจากสิ่ง ๆ นั้น เราสามารถนำปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตมาเป็นบทเรียน และปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้หรือเปล่า
ถ้าได้ได้ยังไงบ้าง และทำให้ยังไงเหตุการณ์เหล่านั้นไม่เกิดขึ้นอีก เพื่อให้การเริ่มต้นใหม่นี้ดีกว่าเดิม
และการที่เราหันกลับมายอมรับความจริงจะทำให้เราอยู่ได้ง่ายมากขึ้น ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว
การยอมรับเหมือนกับการเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ชีวิตของเราไปต่อได้
มีใครเป็นไหมเวลาที่ได้รับคำชมเรามัก ไม่กล้ารับคำชม หรือว่าไม่มีความมั่นใจในตัวเอง
ไม่มั่นใจในตัวเอง เกิดจากอะไร?
ความไม่มั่นใจคือมุมมองที่เรามีต่อตัวเองว่าเราอาจจะยังดีไม่พอเราอาจจะยังเก่งไม่พอ เราอาจจะรู้สึกว่ายังไม่พอดีสำหรับอะไรเลย
พอเราเชื่อมั่นว่าเราดีหรือยังเราเก่งหรือยังเราก็จะเริ่มไม่อยากทำอะไร พอเราไม่มั่นใจในตัวเองเราก็จะไม่กล้าทำอะไร
แม้แต่การที่เราจะทำอะไรบางอย่างก็ยังตั้งคำถามกับตัวเองว่าแบบนี้จะดีไหม อันนี้จะทำได้หรือเปล่า
จะดีพอแล้วหรือยังในการที่เราจะทำซึ่งพอเรามาด้วยความเชื่อหรือมุมมองบางอย่างที่มีต่อตัวเอง มันจะทำให้ความมั่นใจเรามันน้อยลงแล้วก็จะเริ่มกังวลว่าที่ทำออกมา
จะออกมาเป็นแบบไหนก็จะเริ่มกลัวกับผลลัพธ์ของมัน แล้วก็เริ่มไม่แน่ใจว่าอยากจะทำมันหรือเปล่ามากไปกว่านั้นเลยคือความไม่มั่นใจในตัวเอง
มันถูกซ่อนด้วยการที่เราต้องการความรักและการยอมรับจากคนอื่น เพราะถ้าเราเชื่อว่าเราทำได้ดีเราก็รู้อยู่แล้วว่าทุกคนต้องยอมรับได้
แต่พอเราไม่มั่นใจมันอาจมาจากการที่ตัวเราเองมองว่ามันอาจจะไม่ดีมันอาจจะแย่ ถ้ามันไม่ดีมันแย่เท่ากับคนอื่นอาจจะไม่ยอมรับมันก็ได้คนอื่นอาจจะรู้สึกไม่ดีกับเราก็ได้
ความไม่มั่นใจของแต่ละคนที่แตกต่างกัน มาจากประสบการณ์ของตัวบุคคล เค้าอาจจะโตมาแบบการที่ทำอะไรก็มักจะถูกตัดสินถูกต่อว่าถูกตำหนิหรือแม้กระทั่งการถูกเปรียบ
ถ้าคนสำคัญในชีวิตมองไม่เห็นถึงความพยายามถึงการทำดีแล้วเราโตมาด้วยความเชื่อกับตัวเองว่าเราดีไม่พอ หรือไม่เชื่อในศักยภาพหรือความสามารถของตัวเอง
พอเราโตมาในวัยนึงเราก็จะไม่มั่นใจในตัวเอง
ไม่มั่นใจในตัวเอง เกี่ยวกับ Imposter Syndrome ไหม?
Impostor Syndrome คือการที่เรายอมรับคำชมจากคนอื่นไม่ได้
อาจไม่ได้แปลว่าเราไม่เชื่อแต่ว่าเรารู้สึกขัดแย้งในจิตใจของตัวเอง
เพราะว่าเราเชื่อกับตัวเองมาโดยตลอดว่าเราดีไม่พอเราไม่ได้เก่งอะไรเลย
เราไม่ได้มีความสามารถอะไรเลยพอมีคนมาบอกว่ามันดีแล้วนะมันเก่งมากพอแล้ว
เราก็จะสงสัยแล้วเราก็จะแบบรู้สึกลังเลใจว่าเราเป็นแบบนั้นจริงไหม
เพราะเราเชื่อว่าเราดีไม่พอแล้วเราเก่งไม่มากพอเวลามีคนมา ชมมันก็จะขัดแย้งรู้สึกกระวนกระวายที่จะรับคำชม
จะกลับมาเริ่มรับคำชมอย่างไรดี?
อย่าเพิ่งไปปฏิเสธว่าคำชมที่ได้รับไม่เหมาะ ไม่เข้ากับตัวเองลองรับคำชมมาก่อนก็ได้ การที่เราโดนชมแปลว่าคนอื่นเห็นศักยภาพในตัวของเรา
พอเรารับคำชมด้วยการยิ้มรับ หรือคำขอบคุณหรือคำพูดอะไรกลับไปก็ตาม เราก็ค่อยๆอินไปกับความรู้สึกนั้นของเราสักเล็กน้อย
เพื่อเพิ่มประสบการณ์อารมณ์ทางบวกกับการที่คนอื่นมองเห็นศักยภาพจริงๆของตัวเราเองว่าคนอื่นก็ยังมองเห็นเลยมันอาจจะเก่งก็ได้
เสริมสร้างความมั่นใจให้กับตัวเราได้ยังไงบ้าง
ถ้าเกิดว่าคำชมเหล่านั้น ทำให้เรารู้สึกว่ามันจริงหรือเปล่า จะมั่นใจจากคำชมนี้ได้ยังไง
จริง ๆ ความไม่มั่นใจมาจากการที่เราต้องการให้มันดีที่ที่สุดสมบูรณ์แบบที่สุด
เพราะฉะนั้นให้เข้าใจตัวเองก่อนว่าคนที่ไม่มั่นใจมัน คือการที่เรานั่นต้องการความสมบูรณ์แบบ
แต่ถ้าเราเข้าใจว่าชีวิตมันไม่ได้สมบูรณ์แบบขนาดนั้น พราะฉะนั้นการมองหาความสุขในสิ่งที่ตัวเองทำ
การมองหาข้อดีของตัวเองในสิ่งที่ตัวเองมีอะไร เราก็จะมีความสุขกับตัวเองได้ง่ายมากขึ้น