Posts
อยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับ ‘ ด้านมืดของตัวเอง ‘ Meet Your Shadow!
เกริ่นก่อนว่ากิจกรรมที่ทำในรายการเป็นการทำงานกับตัวเอง ดีที่สุดถ้าเราจะตอบทุกอย่างอย่างที่เราคิด ไม่ต้องกลัวคนจะตัดสิน
ไม่ต้องกลัวว่าใครจะมาอ่าน ให้มันเป็นของเราคนเดียวเท่านั้น ถ้ามันซื่อตรงมาก เราก็จะเข้าใจตัวเองได้ดีมากขึ้นไปด้วย
- นึกถึงคนที่เราไม่ชอบ คนแรกที่เด้งขึ้นมาในหัวใครที่เรารู้สึกไม่ชอบเขา เจอเขาที่ไรก็รู้สึกไม่สบายใจ หงุดหงิด
- เขียนถึงสิ่งที่เราไม่ชอบในตัวเขา นิสัยแบบไหนของเขาที่เราไม่ชอบ อะไรที่ทำให้เราไม่ชอบเขา อะไรที่เราเห็นในตัวเขาแล้วรู้สึกหงุดหงิดใจ เขียนออกมาใส่กระดาษ
- บนหัวกระดาษให้เขียนชื่อตัวเองลงไป
- เตรียมพบกับด้านมืดของเรา
อธิบายที่มา
ตัวกิจกรรมแรก มาจากแนวคิดที่เชื่อว่า จิตใจเราอะ เลือกแล้วเสมอว่าจะมองอะไร ไม่ว่าเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดีในตัวบุคคล
คนหนึ่งคนจริงๆ มีหลายมุม หลายนิสัยหลายบุคลิกมากๆ แต่เราเลือกที่จะมองสิ่งบางสิ่งเป็นข้อดี
และสิ่งบางสิ่งเป็นข้อเสีย มันแปลว่าอะไรพวกนั้น มีความสลักสำคัญบางอย่างกับตัวเรา
จริงๆ แล้วคนที่เราไม่ชอบ หรือสิ่งที่เราไม่ชอบในตัวคนอื่น คือสิ่งที่เราไม่ชอบในตัวเองด้วย
ทฤษฎีใช้ได้แล้วแต่คน
บางคนที่ทำไปเกิดความรู้สึกหยุดหงิดใจได้ เป็นปกติ แต่อยากให้ลองดูก่อน ลองค่อยๆ ตรองดูว่ามันใช่ไหม
ถ้าไม่ใช่ หรือรู้สึกว่าไม่ตรง ทฤษฎีนี้ก็อาจจะไม่ใช่ทฤษฎีที่เหมาะกับเรา หรือการมองโลกในแบบของเรา ซึ่งมันไม่ผิดเลยทุกคน
Shadow Journal
อีกกิจกรรมจะเป็นการเขียนเหมือนกัน กิจกรรมแรกเรารู้จักว่าด้านมืดของเราหน้าตาประมาณไหน
ทีนี้เราจะมาลองเจาะและทำความเข้าใจเขามากขึ้นกัน อันนี้จะมีลิสต์คำถามที่รวบรวมมา
เพื่อน ๆ เลือกได้ว่าอยากทำข้อไหน หรือทำทั้งหมดก็ได้ แต่มันก็จะเป็นการเขียนที่ชวนเราไปสำรวจตัวเอง
1.เราเคยต้องซ่อนบางส่วนของตัวเราเพื่อให้ได้รับความรักและการยอมรับรึเปล่า สิ่งนั้นคืออะไร
2.ข้อห้ามในครอบครัวหรือในสังคมที่เราอยู่คืออะไร
3.ในอดีต เราได้รับคำชมหรือโดนลงโทษเพราะพฤติกรรมแบบไหน
4.คนแบบไหน หรือสถานการณ์แบบไหนที่ทำให้เราเกิดอารมณ์ที่รุนแรงกว่าปกติ (ทั้งอารมณ์เชิงบวกและลบ)
5.พฤติกรรมไหนที่มักเกิดขึ้นซ้ำๆ ถึงแม้ว่าเราไม่อยากให้มันเกิดขึ้นก็ตาม
6.ส่วนไหนของตัวเองที่เรารู้สึกละอาย ไม่กล้าเปิดเผยให้คนอื่นเห็น
7.อะไรในชีวิต (งาน คนรัก เพื่อน ตัวตนเรา) ที่ทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจ เพราะอะไร
8.เราอิจฉาอะไรในคนอื่น และเพราะอะไรเราถึงทำแบบคนๆ นั้นไม่ได้
9.คุณลักษณะแบบไหนของพ่อแม่เราที่เราพยายามจะหลีกเลี่ยง
10.วันนี้เราได้ตำหนิตัวเองรึเปล่า ตำหนิในเรื่องอะไร
ความหมาย/ทฤษฎี
หลังจากทำกิจกรรมไปแล้ว เราลองมาทำความเข้าใจกันดีกว่าว่า Shadow มันคืออะไร มาจากไหน แล้วทำไปแล้วได้อะไร
ด้านมืด หรือ Personal Shadow Carl Jung ให้นิยามไว้ว่า
มันคือ ส่วนหนึ่งของตัวเราที่เราเก็บกดไว้ เป็นส่วนที่เราไม่ชอบ ไม่อยากรับรู้ หรือทนไม่ได้ที่จะตระหนักถึงมัน
the repressed parts of ourselves, the parts we find unpleasant or cannot tolerate acknowledging (Jung, 1958)
มันเป็นส่วนหนึ่งของตัวเราที่เราไม่อยากให้คนอื่นเห็น และตัวเราเองก้ไม่อยากยอมรับมันเช่นกัน เป็นได้ทั้งบุคลิกภาพบางส่วนของเรา
ลักษณะนิสัย พฤติกรรมบางชนิด ไปจนถึงอารมณ์บางอารมณ์ที่เราไม่ชอบในตัวเอง
มันคือชิ้นส่วนหนึ่งของเราที่อาจไม่ตรงกับสิ่งที่เราคิดว่าเราเป็นหรืออยากจะเป็น (Self image) แล้วเราก็คัดเอาชิ้นส่วนพวกนี้ไปใส่ในห้องดำ ในส่วนลึกของจิตใจเรา
มันก็คือส่วนต่าง ๆ ที่เรายอมรับไม่ได้เกี่ยวกับตัวเองนี้แหละ แล้วเราก้เลยเอาไปซ่อนไว้ในส่วนลึกของจิตใจเรา
ความหมาย Shadow Work
ส่วนกิจกรรมที่เราทำไปตอนต้นอะ เรียกว่า shadow work ก็คือการทำงานกับด้านมืดของเรา
ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบที่ทำร่วมกับจิตแพทย์หรือทำด้วยตัวเอง มีได้หลากหลายวิธีหลากหลายเทคนิค
โดยเป้าหมายหลักของ Shadow Work ก็คือทำให้เราตระหนักรู้ในด้านมืดของเรา และรวมมันเขากับตัวเอง ให้มันเป็นส่วนหนึ่งของเราโดยสมบูรณ์
ทฤษฎี Psyche
Shadow มาจากคอนเซ็ปของแผนที่จิตใจ หรือ Psyche ที่ Carl Jung เป็นคนคิดค้นขึ้น โดยจูงตั้งใจจะอธิบายกระบวนการทำงานของจิตใจเราโดยออกแบบมาเหมือนเป็นแผนที่ของจิตใจ
ซึ่งตัว Psyche จะประกอบไปด้วยสามส่วนใหญ่ ๆ คือ Consciousness จิตสำนึก Personal Unconscious
จิตใต้สำนึกส่วนบุคคล และ Collective Unconscious จิตใต้สำนึกร่วมของมนุษย์
Conscious ก็คือส่วนของจิตใจที่เรายังรับรู้ เข้าใจ และเข้าถึงได้ ใน Conscious จะมีสิ่งที่เรียกว่า Ego
ซึ่งคือตัวตนของเราตามความเข้าใจของเราเอง (มันคือคำตอบของคำถามที่ว่า เราคือใคร)
Personal Unconscious ก็จะคอนเซ็ปคล้ายๆ ฟรอย คือส่วนต่างๆ ที่เราเก็บกด ซ่อน หรือไม่อยากรับรู้
ในนี้ก็จะมี Shadow หรือว่าด้านมืดที่เราคุยกันไป ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่เราฝังไว้ใน Personal Unconscious
มีทั้งที่มาจากประสบการณ์ในวัยเด็ก ปฎิสัมพันธ์ของเรากับคนรอบตัว ประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตของเรา
เลยเป็นสาเหตุตอนต้นที่ให้ทุกคนทำ ถึงมีการถามถึงดีต ถึงครอบครัว ถึงวัยเด็ก เพราะมีส่วนในการสร้างด้านมืดของเราด้วย
ส่วน Collective Unconsciouss จะเป็นอะไรที่ใหม่และก็แตกต่างจากแนวคิดของคนอื่น ๆ
คือ จูงเชื่อว่ามนุษย์มีส่วนของจิตใจที่แชร์ร่วมกันและส่งต่อกันมาจากบรรพบุรุษ
เหมือนเซ็ตติ่งพื่นฐานที่เราจะมีคล้าย ๆ กันตั้งแต่เกิด เหมือนที่ว่าทำไมปลาไหลจึงรู้ว่าต้องเดินทางไปเมอมิวดาในช่วงหนึ่งของชีวิต
หรือที่นกรู้วิธีสร้างรังโดยที่ไม่มีใครสอน ตัวอย่างในมนุษยืก็อย่าง
เช่น วงกลมมันดาลา ที่เป็นงานศิลปะที่พบเจอในหลายวัฒนธรรมแม้ว่าเราจะไม่มีการติดต่อสื่อสารกันมาก่อนก็ตาม
เป็นส่วนหนึ่งของจิตใจที่จูงเชื่อว่ามนุษย์แชร์ร่วมกัน มีเหมือนๆ กัน เหมือน Cloud ส่วนกลางที่ใครมาดร็อปอะไรไว้ทุกคนก็เข้ามาดูได้
เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดที่หลายคนมองว่าแปลกใหม่ แต่ขณะเดียวกันก็ดูแฟนตาซี และหลุดกรอบวิทยศาสตร์เกินไป
การรวมด้านมืดในมุมของจูง/มนุษย์โดยสมบูรณ์
Jung เชื่อว่า ถ้าเราไม่มองด้านมืดของเรา มันก็เหมือนเราไม่รู้จักตัวเองอย่างแท้จริง
พอเราไม่รู้จักตัวเองดีพอ เราอาจปฏิเสธสิ่งที่เราไม่ชอบ เผลอทำร้ายคนรอบตัวโดยไม่รู้ตัว หรือไปโยนสิ่งที่เราไม่ชอบให้คนอื่น (Projection)
ทำให้เรารู้สึกเหนื่อยด้วย เพราะเราเอาพลังงานบางส่วนไปกดทับ หลีกหนีส่วนนั้น ๆ ของตัวเอง
ถ้าเราเข้าใจและยอมรับตัวเองได้ทั้งหมด เราจะรับมือกับตัวเองได้ดีขึ้น นำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นตามมา
และจูงก็เชื่อว่าถ้าเราสามารถดึงด้านมืดของเรามารวมกับส่วนอื่น ๆ ของจิตใจเราได้ จะเป็นการปลดล็อกจิตใจเราและนำไปสู่สักยภาพสูงสุดของตัวเราเอง
งานวิจัย
ข้อดีของการทำ Shadow Work หรือการทำความรู้จักด้านมืดของตัวเอง หลัก ๆ ก็จะช่วยในเรื่องของการตระหนักรู้ในตัวเองและการยอมรับตัวเอง
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่า การบำบัดแบบโดยใช้แนวคิดของจุงโดยมีการใช้ Shadow Work ร่วม
ช่วยส่งเสริมสุขภาพการเป็นอยู่ที่ดี ปรับปรุงทักษะการเข้าสังคม และลดปัญหาสุขภาพกายได้
นอกจากนี้ยังช่วยให้เรา
- สามารถระบุและยอมรับลักษณะนิสัยด้านลบของตัวเองได้ดีขึ้น
- เข้าใจความยากลำบากที่คนอื่นเผชิญกับด้านมืดของตัวเองมากขึ้น
- รับมือกับแผลใจ ความโศกเศร้า และอารมณ์อื่นๆ ที่ยากจะรับมือได้ดีขึ้น
- ไปจนถึงช่วยให้เราเข้าใจคสพ.ระหว่างสังคม วัยเด็ก และองค์ประกอบต่างๆ ที่รวมกันสร้างออกมาเป็นตัวตนของเราเองมากขึ้นด้วย
แต่ยังไงก็แล้วแต่ Shadow Work เป็นอะไรที่วัดได้ยากและก็มีประเด็นเรื่องของความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วย
เลยทำให้ในปัจจุบันมีงานวิจัยที่ศึกษาผลของ Shadow Work ค่อนข้างน้อยน้อย
ส่วนใครที่อยากแชร์กิจกรรมของวันนี้ให้เราอ่านฝากติด #NoteToMyselfep4 #Aljit
หรือจะแท็กเรามาในช่องทางไหนก็ได้ เราจะได้ตามอ่านของทุกคนๆ :))
#NoteToMyselfep4 #Aljit
พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือ Single mom และ Single dad ต้องเผชิญกับปัญหาหลากหลายรูปแบบ จะรับมืออย่างไร
จะสื่อสารกับลูกอย่างไรเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงภายในครอบครัว มาหาคำตอบกันในรายการ พูดคุย X พ.ต.อ พญ. อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล จิตแพทย์ 🙂
การตัดสินใจก่อนเป็น พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว
ก่อนที่จะเป็น Single Mom หรือ Single Dad การตัดสินใจแยกทางหรือหย่าร้างมักมาพร้อมกับ ความเจ็บปวดและคำถามในใจมากมาย เช่น “จะอยู่เพื่อลูกดีไหม?” หรือ “การแยกทางจะส่งผลต่อชีวิตลูกอย่างไร?”
หลายคนที่เลือกแยกทางมักเผชิญปัญหาความสัมพันธ์ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น ความสัมพันธ์แบบ Toxic Relationship ซึ่งอาจประกอบด้วยการทะเลาะเบาะแว้ง ความรุนแรงทางวาจาหรือ ร่างกาย
ไปจนถึงความเงียบ สงครามเย็นที่ทำลายความสุขในครอบครัว การศึกษาวิจัยพบว่าเด็กที่เติบโตในครอบครัวที่พ่อแม่อยู่ด้วยกันแต่มีความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ มีแนวโน้มจะมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่า
เด็กที่พ่อแม่แยกทางกันแต่ยังคงเลี้ยงดูอย่างใส่ใจ ดังนั้น การแยกทางอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า หากมันช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเต็มไปด้วยความรักให้แก่เด็ก
การสื่อสารกับลูก
เมื่อตัดสินใจแยกทางแล้ว สิ่งสำคัญคือการสื่อสารกับลูกอย่างตรงไปตรงมาและเหมาะสมกับวัย ควรบอกความจริงอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น
อธิบายว่า “พ่อกับแม่จะแยกกันอยู่ แต่ยังคงรักและดูแลลูกเหมือนเดิม” การพูดคุยแบบเปิดใจจะช่วยให้เด็กเข้าใจสถานการณ์และปรับตัวได้ง่ายขึ้น และหมั่นพูดคุยสื่อสารกับลูก
ที่สำคัญคือ อย่าด่า ต่อว่า พ่อแม่ของเขาให้ลูกฟัง อย่าปลูกฝังให้ลูกเกลียดพ่อ เกลียดแม่ เท่ากับเรากำลังสอนให้เขาเกลียดตัวเอง
การสังเกตพฤติกรรมของลูก หลังจากพ่อแม่แยกทาง
สังเกตพฤติกรรมว่าลูก เหงา ซึม หรือเศร้ามากเกินปกติจากที่เป็นไหม เก็บเนื้อเก็บตัว มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป การเรียนแย่ลง โกหก ขโมยของ บางคนอาจแสดงออกด้วยพฤติกรรมก้าวร้าว
หากพบความผิดปกต่าง ๆ ก็สามารถเข้าไปพบผู้เชี่ยวชาญได้
ผลกระทบต่อเด็ก และการปรับตัว
หนึ่งในคำถามที่พบได้บ่อยคือ เด็กที่เติบโตในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวจะมีปัญหาหรือไม่? คำตอบคือ ไม่จำเป็นเสมอไป ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการดูแลและการสนับสนุนจากพ่อแม่
เด็กสามารถเติบโตอย่างแข็งแรงทางอารมณ์ได้ หากพ่อแม่ที่แยกทางยังคงทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่ เช่น การแสดงความรัก ความเข้าใจ และการให้เวลาอย่างเพียงพอ
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่งคือ การใช้ลูกเป็นเครื่องมือในการแก้แค้นอดีตคู่สมรส เช่น การไม่ให้ลูกเจอพ่อหรือแม่อีกฝ่าย การพูดให้ร้ายต่อหน้าลูก หรือการแสดงความโกรธแค้นจนส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็ก
การบอกความจริงกับลูกในแบบที่เหมาะสมกับวัย เช่น การอธิบายว่าพ่อแม่ยังรักลูกเหมือนเดิม แต่จะไม่อยู่ด้วยกันอีกต่อไป การสื่อสารด้วยความจริงใจจะช่วยลดความสับสนและสร้างความมั่นคงทางอารมณ์ให้กับเด็ก
พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว ต้องเตรียมตัวอย่างไร ?
1. เตรียมใจให้เข้มแข็ง
การเลิกกับคู่สมรสและเปลี่ยนบทบาทมาเป็น Single Mom หรือ Single Dad มักนำมาซึ่งความรู้สึกหลากหลาย ทั้งความเศร้า ความผิดหวัง และความกลัว สิ่งสำคัญคือการเยียวยาจิตใจตัวเองให้เข้มแข็ง มั่นคง
เพราะหากพ่อแม่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ การดูแลลูกก็จะยิ่งยากขึ้น
2. วางแผนการเงินอย่างรอบคอบ
เมื่อจากเดิมที่มีสองคนช่วยกันหารายได้ กลายเป็นคุณคนเดียวที่ต้องดูแลค่าใช้จ่ายทั้งหมด การบริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ อาจต้องมองหาแหล่งรายได้เสริม หรือตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
3. วางแผนการเลี้ยงลูก
การเลี้ยงลูกคนเดียวไม่ใช่เรื่องง่าย หากคุณมีญาติสนิทหรือเพื่อนที่พร้อมช่วยเหลือ อย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือในยามจำเป็น หรืออาจพิจารณาจ้างพี่เลี้ยงเด็กเพื่อแบ่งเบาภาระในบางเวลา
4. ลดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตลูก
เมื่อเด็กต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่บ้าน การพยายามรักษาสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ให้คงที่ เช่น โรงเรียนหรือกิจกรรมประจำวัน จะช่วยลดความเครียดและสร้างความมั่นคงทางอารมณ์ให้กับเด็ก
การเริ่มต้นใหม่ในความสัมพันธ์ของ พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว
หลังจากใช้เวลาเยียวยาใจตัวเอง หลายคนอาจต้องการเริ่มต้นความสัมพันธ์ใหม่ อย่างไรก็ตาม ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะการมีแฟนใหม่ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่ตัวเอง แต่ยังรวมถึงลูกด้วย
หากมีคนใหม่เข้ามาในชีวิต สิ่งสำคัญคือการให้เวลาในการปรับตัวระหว่างเขาและ ลูกของเรา ควรใช้เวลาดูใจและมั่นใจว่าเขาสามารถยอมรับลูกได้อย่างแท้จริง ก่อนจะแนะนำให้ลูกได้รู้จัก
การจัดสรรเวลาอย่างสมดุลระหว่างลูกและแฟนใหม่ก็สำคัญ เพราะเด็กอาจรู้สึกว่าความรักถูกแย่งไป หากบริหารจัดการไม่ดี
“ ความรักเป็นเรื่องของคนสองคน ” จริงไหม Alljit Podcast กับรายการ Love Life Balance ที่จะชวนทุกคนพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องความสัมพันธ์ โดย ‘นพ. ณัฏฐชัย รำเพย’
ความรักเป็นเรื่องของคนสองคน จริงหรือไม่ ?
เมื่อพูดถึงความรัก หลายคนมักตั้งคำถามว่า “ความรักเป็นเรื่องของคนสองคนเท่านั้นจริงหรือ ?” หากมองในเชิงอุดมคติ ความรักควรเป็นเรื่องของคนสองคนที่มีความรู้สึกต่อกัน
แบ่งปันชีวิต ความฝัน และความสุขร่วมกัน โดยไม่มีอิทธิพลจากบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ในความเป็นจริง ความรักในชีวิตจริงกลับมีความซับซ้อนมากกว่านั้น
ความรักของคนสองคน แต่แวดล้อมไปด้วยคนในครอบครัว เพื่อน ญาติพี่น้อง และบริบททางสังคมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ปัญหาที่พบบ่อยในความสัมพันธ์ที่เกี่ยวพันกับครอบครัว
1. แม่ผัว-ลูกสะใภ้ และพ่อตา-ลูกเขย
นี่คือปัญหาคลาสสิกที่ปรากฏในชีวิตจริงและในละครแทบทุกยุคทุกสมัย เช่น แม่ผัวที่ไม่ชอบลูกสะใภ้เพราะมองว่าไม่เหมาะสม หรือพ่อตาที่รู้สึกว่าลูกเขยไม่คู่ควรกับลูกสาวของตน
ปัญหาเหล่านี้มักเกิดจากความไม่สมดุลในเรื่องของวัฒนธรรม ความคาดหวัง และการปรับตัว
2. ความคาดหวังจากพ่อแม่ที่มีต่อคู่รักของลูก
พ่อแม่มักมีภาพในใจว่า ลูกควรมีคู่ครองแบบไหน และเมื่อคู่รักของลูกไม่ตรงตามภาพนั้น ความขัดแย้งก็อาจเกิดขึ้นได้
3. การแทรกแซงจากบุคคลที่สาม
ไม่ว่าจะเป็นญาติ เพื่อน หรือแม้แต่คนในสังคม การแทรกแซงเหล่านี้อาจเพิ่มความกดดันให้กับคู่รัก
ความรักกับความเป็นส่วนตัวในยุคปัจจุบัน
ในอดีต ความรักของคู่หนึ่งมักเป็นเรื่องสาธารณะมากกว่าที่เป็นในปัจจุบัน เช่น การแห่ขันหมากที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากครอบครัว ญาติพี่น้อง และชุมชน
การตัดสินใจคบหากันหรือแต่งงานมักถูกชี้นำหรือมีส่วนร่วมจากผู้ใหญ่ แต่ในยุคปัจจุบัน เทรนด์ของความเป็นส่วนตัว (Privacy) ได้รับการยอมรับมากขึ้น
ทำให้คู่รักมีพื้นที่ในการตัดสินใจและบริหารความสัมพันธ์ของตัวเองได้มากกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม แม้ความเป็นส่วนตัวจะเพิ่มขึ้น แต่ความรักก็ยังหนีไม่พ้นความเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น
เช่น ความเห็นของพ่อแม่ ความคาดหวังจากญาติ หรือความกดดันจากสังคม ความรักจึงมักถูกดึงเข้าสู่บริบทที่ใหญ่กว่าคนสองคนเสมอ
จะเลือกใครระหว่างแม่หรือเมีย ปัญหานี้แก้ได้อย่างไร
ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยหลายววิธี ขึ้นอยู่กับว่าใครจะสร้างปัจจัยไหนขึ้นมาได้
ฐานะ พ่อ – แม่
หากคุณแม่เข้าใจได้ว่า ลูกมีชีวิตเป็นของตัวเอง และไม่ว่าแม่จะรักลูกมากแค่ไหน เราจะจากโลกนี้ไปก่อนลูก แต่คนที่จะอยู่เคียงข้างลูกไปจนตายคือคู่ชีวิต
ดังนั้นหากแม่ตระหนักตรงนี้ได้ หน้าที่ของแม่คือ ต้องทำอย่างไรก็ได้ ให้ลูกกับคนที่ลูกเลือก มีความสุขไปตลอด แต่ถ้าแม่ตั้งเป้าว่าลูกต้องเลือกแม่ ในวันที่แม่จากลูกไป
เขาอาจจะต้องตัวคนเดียวหรือ ในวันนั้นที่เขาคิดจะมีใครหลังจากไม่มีแม่ นั่นอาจจะสายไปแล้วก็ได้
“นี่เป็นความรักที่ไม่ควรจะต้องเลือก เป็นกรณีเดียว ที่เราเลือกจะรักได้ทั้งสองคน”
แต่ถ้ากรณีที่แม่มองเห็นว่า คนนี้เข้ามาหลอกลูก (ในกรณีคุณแม่ไม่ได้คิดไปเอง ) คุณแม่มีหน้าที่สู้เพื่อลูกสู้จนถึงจุดที่คุณแม่สู้ไหว เพื่อปกป้องลูก
แต่ในกรณีนี้ คุณแม่ก็ต้องรับความจริง ว่าถึงแม้แม่จะทำเต็มที่แล้ว แต่หากเกินกว่านั้น ให้เป็นประสบการณ์ที่ลูกต้องเจอ และเรียนรู้
ฐานะ คนกลางในความสัมพันธ์
ในความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว บทบาทของคนกลาง เช่น ลูกที่อยู่ระหว่างพ่อแม่และแฟน ถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง คนกลางมีหน้าที่ในการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างความแตกต่างของทั้งสองฝ่าย เช่น
1. เข้าใจจุดร่วมของทุกฝ่าย
คนกลางต้องมองให้ออกว่า ทั้งพ่อแม่และแฟนของเรามี “ความรัก” เป็นจุดร่วม เช่น พ่อแม่รักเราและอยากเห็นเราอยู่ในความสัมพันธ์ที่ดี ในขณะเดียวกัน แฟนก็คือคนที่รักเราและต้องการสร้างอนาคตที่มั่นคงไปด้วยกัน
2. ไม่แสดงความลำเอียงจนเกินไป
คนกลางต้องระวังไม่ให้ตัวเองแสดงความลำเอียงต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไป เพราะจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกไม่เป็นธรรม และอาจเพิ่มความขัดแย้ง
3. สื่อสารให้ดี
คนกลางควรใช้ทักษะการสื่อสารที่ดี เช่น การนำเสนอข้อดีของแต่ละฝ่ายให้อีกฝ่ายหนึ่งเห็น รวมถึงสร้างความเข้าใจในบริบทของแต่ละฝ่าย
ฐานะ แฟน ลูกเขย ลูกละใภ้
1. ก่อนจะดีกับแม่เขา ดีกับลูกเขาให้ได้ก่อน ข้อสำคัญ อย่าเพิ่งไปดีกับแม่เขา ไปดีกับลูกเขาให้ได้ก่อน ถ้าหากเราและแฟนยังไม่ดีกัน ครอบครัวเขาจะมาเกลียดเราก็ไม่แปลก
2. เราอยากเข้าครอบครัวแฟนได้ไหมต้องชัดเจนในตัวเอง เพื่อเป็น Misstion ให้ตัวเองในการเข้ากันได้ดีกับครอบครัว
3. ถามเสมอว่าฝืนตัวเองเกินไปไหม หากฝืนเกินไปสามรถสื่อสารกับแฟนได้ว่า สิ่งที่เราทำเนี่ยมันอาจจะฝืนเกินไป แต่ฉันจะพยายามทำให้เพื่อให้เธอมีความสุขที่สุด
อย่างน้อยสิ่งทีเราทำก็จะทำให้แฟนมีความสุข เตือนตัวเองเสมอ ก่ออนที่จะไปทำใฝห้ครอบครัวมีความสุข ทำยัะงไงให้เรื่องนี้ไม่กระทบแฟนเรา
4. ลองลืมคำว่า พ่อตา แม่ยาย แม่สามี – ลูกสะใภ้ แต่ลองเข้าหาท่านในมุมมองของผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง เพราะในชีวิตเราก็เคยมีประสบการณ์ในการเข้าหาผู่ใหญ่หลากหลายครั้ง
การแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ ความรักเป็นเรื่องของคนสองคน
1. สร้างความเข้าใจและปรับตัว
ทุกฝ่ายควรเรียนรู้ที่จะปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ คู่รัก หรือคนกลาง การปรับตัวไม่ได้หมายถึงการเปลี่ยนตัวเองจนหมด แต่หมายถึงการเปิดใจยอมรับความแตกต่าง
2. สร้างระยะห่างที่เหมาะสม
หากความขัดแย้งยังคงอยู่ การสร้างระยะห่างทางกายภาพ เช่น การแยกบ้าน อาจช่วยลดแรงกดดันได้
3.ขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ
หากปัญหายังคงยืดเยื้อและไม่มีทางออก การปรึกษานักจิตวิทยาหรือที่ปรึกษาครอบครัวอาจช่วยให้ทุกฝ่ายมองเห็นภาพรวมของปัญหาได้ชัดเจนขึ้น
‘เพราะรักจึงหวังดี’ วลีสั้น ๆ ที่ถูกใช้เพื่อแสดงความจริงใจ
เพราะอะไร ความคาดหวังถึงมักเกิดกับคนใกล้ชิด
ความคาดหวัง แท้จริงแล้วมันก็คือ ความต้องการรูปแบบหนึ่ง ความอยากได้อยากมี ซึ่งถ้าถามว่าเรามีความต้องการได้ไหม
เจ้าความคาดหวังก็คือหนึ่งในความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ เพียงแต่บางสถานการณ์มันกลับเป็นความรู้สึกที่ไม่ค่อยน่ารักเท่าไร
และอย่างที่เรารู้กัน ถ้ายิ่งมีความคาดหวังเยอะ มันก็สามารถทำร้ายจิตใจเราได้ง่ายขึ้น
ถ้าลองสังเกตดู หลายคนก็จะเห็นว่าเรามักคาดหวังกับคนที่อยู่ใกล้ตัวเรา ใกล้ชิดเรา ผูกพันกันกับเรา
ไม่ว่าจะครอบครัว คนรัก เพื่อน พี่น้องที่สนิท และก็จะขยายวงโคจรของความสัมพันธ์ที่กว้างออกไป
ซึ่งความใกล้ชิดทางความสัมพันธ์ที่ยิ่งห่าง ความคาดหวังมันก็จะน้อยลงแปรผกผันกับระยะห่างที่เพิ่มมากขึ้น
คาดหวังไม่ได้แปลว่าหวังดี แต่แปลว่าเรารัก ‘แต่’ ตัวเอง ?
ประโยคที่ว่า ‘เราชอบแบบไหนให้ทำแบบนั้นกับคนอื่น แต่อย่าคาดหวังว่าคนอื่นจะรู้ใจตัวเองไปซะหมด’ เพราะคนเราเติบโตมาต่างความคิด ความเชื่อกัน
คำว่าดีสำหรับเรา อาจไม่ได้ดีสำหรับทุกคน ถ้าเมื่อไรที่ความคาดหวังของเราทำให้เขารู้สึกอึดอัด … มันคือสัญญาณที่เราต้องกลับมาทบทวนตัวเองดี ๆ
สิ่งที่เราคาดหวังจากคนอื่นนั้น เป็นไปได้ไหมที่เขาจะทำให้เราได้ หรือเป็นไปได้ไหมที่เราจะทำให้ตัวเอง เริ่มแก้ไขที่ตัวเราเอง
คำว่าคาดหวัง ไม่ได้แปลว่าหวังดีเสมอไป การหวังดี มันคือการหวังดีด้วยความรัก ไม่ใช่เพื่อหวังควบคุมชีวิตอีกฝ่าย
ยิ่งถ้าเราขอร้องแกมบังคับให้ทำ นั่นถือเป็นพฤติกรรมของการเรียกร้อง ไม่ใช่พฤติกรรมของคนที่หวังดี
… ความหวังดี จะเป็นการพยายามเข้าใจและยอมรับตัวตนของอีกฝ่าย และผลของความหวังดี คือ การทำให้อีกฝ่ายเติบโตไปพร้อมกัน
เมื่อเรามอบความหวังดีให้แล้ว เขาจะทำหรือไม่ ก็ไม่ได้มีผลอะไรกับจิตใจเรา ต่างจากความคาดหวังที่เรามีความอยากให้เขาทำในสิ่งที่เราต้องการสูง
ถ้าเขาไม่ทำ เราจะกลับมาผิดหวังเจ็บปวดกับตัวเอง…
เหมือนที่ในหนังสือ The Awakened Heart (ฮาร์ท) ของ Dr. Gerald May ได้บอกไว้ว่า
ความคาดหวัง (expectation) อาจจะมีนัยเชิงลบและไม่ค่อยดีต่อสุขภาพเท่าความหวัง (hope)
ความคาดหวังเป็นเรื่องของการยึดติด ในความคาดหวังมักมีความผิดหวังแฝงอยู่ในตัวเอง และเมื่อความคาดหวังไม่เป็นอย่างที่คาด
ผลที่เกิดขึ้น ก็คือความไม่พอใจและความไม่สบายใจอย่างที่เราเป็น
การจะอยู่ในความสัมพันธ์ไม่ว่าจะความสัมพันธ์ใดก็ตาม ความหวังดีเปรียบเสมือนดาบสองคมเสมอ
เราควรหวังดีให้ถูกเรื่อง ถูกคน และถูกเวลาในระดับที่พอดี ถ้าเราหวังดีแต่อีกฝ่ายไม่ต้องการ
ความหวังดีที่เรามีแม้จะเป็นการทำเพื่อตัวเขาจริง ๆ มันก็จะกลับกลายเป็นเพียงความรำคาญที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นกำแพงในความสัมพันธ์
ซึ่งความจริงแล้ว การที่คนเราจะอยู่ด้วยกัน ถึงเราจะตั้งใจไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่าเราจะไม่คาดหวังในตัวคน ๆ นี้
แต่สุดท้ายแล้ว แม้เราก็ทำเต็มที่แล้วที่จะไม่คาดหวัง แต่อย่าลืมว่า ความหวังดีหรือความปรารถนาดีที่จริงใจของเรา
มันสามารถเกิดขึ้นแทนได้เพราะความรักที่เรามี และขอให้จงมีต่อไป ไม่ว่าจะปรารถนาดีต่อตนเองหรือคนอื่นก็ตาม
เพราะอย่างน้อยหากเราเปลี่ยนความคาดหวังเป็นความหวังดี อาจฟังดูเข้าท่าและน้อมรับได้ง่ายกว่าความคาดหวัง
หากเขาเพิกเฉยต่อความหวังดีนั้น เราก็จะสามารถรักตัวเองต่อไปได้โดยไม่รู้สึกว่าเราผิดหวังเท่าไรนัก
เพราะฉะนั้น ก่อนเราจะบอกความหวังดีหรือความคาดหวังของเราไป เราต้องหยุดคิดไตร่ตรองดี ๆ ว่า
ถ้าเขาทำให้เราไม่ได้ เราจะโอเคไม่เป็นอะไรหรือเราจะไม่พอใจรึเปล่า แล้วเรารักตัวเองมากพอที่จะทำใจยอมรับได้ไหม
เพื่อที่เราจะแยกออกได้ว่าสิ่งนี้คือหวังดีหรือความคาดหวังที่มีต่อตัวเขา ที่สำคัญ อย่าเอาความผิดหวังที่ไม่ได้ดั่งใจมาทำให้เรากลายเป็นคนไม่น่ารัก
ลดความคาดหวังไปพร้อมกับการรักตัวเอง
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการที่เราจะขับเคลื่อนตัวเองไปข้างหน้าได้ นั่นก็คือ การปรับความคิดซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่การกระทำ
คงเคยได้ยินประโยคนี้บ่อย ๆ คำที่บอกว่า ‘ไม่คาดหวัง ไม่ผิดหวัง’ หรือ ‘ลดความคาดหวังลงสิ จะได้ไม่เจ็บมาก’
การลดความคาดหวังมันเป็นยังไง ฟังดูพูดง่ายแต่การลงมือทำนี่สิ มันต้องทำยังไง…
อาจเพราะความคาดหวังมันเป็นเรื่องของความรู้สึกนึกคิดของจิตใจ ทำให้เราอาจจะมองไม่ออกว่าแล้วเราควรลดมาถึงระดับไหนกัน
ไม่ใช่ว่าเราต้องห้ามมีความคาดหวังเลยในชีวิตเลย เราถึงจะมีความสุข ความคาดหวังก็ถือเป็นสิ่งที่นำพาเราให้ไปสู่ความสำเร็จในอีกรูปแบบหนึ่งเช่นกัน
ความคาดหวังของเราก็อาจจะไม่ได้รับการตอบสนองที่เติมเต็มจนเราอาจน้อยใจ หงุดหงิด หรือไม่พอใจ…การที่เราจะเปลี่ยนใครสักคนหนึ่ง
สิ่งหนึ่งที่เราต้องกลับมาทำความเข้าใจก่อน นั่นคือ เราเปลี่ยนใครไม่ได้ และยิ่งถ้าเขาเป็นคนแบบนั้นมาตั้งแต่ทีแรกและเรารู้อยู่แล้ว
แต่เป็นเราเองที่คาดหวังในตัวเขาเพิ่มมากขึ้น แม้จะเป็นการคาดหวังเพื่อให้เขาเป็นคนที่ดีขึ้นไม่ใช่แค่เพราะความพอใจของเรา
เขาก็อาจจะตอบสนองให้เราไม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบอย่างที่เราตั้งเป้าไว้อยู่ดี เรื่องความเท่ากันของความคาดหวังในความสัมพันธ์
รู้สึกเราและพอดีในความรู้สึกเขา หาเวลามาพูดคุยกันเรื่อย ๆ บางทีการลดความคาดหวังลงมา
อาจจะเป็นเพียงแค่การสนุกไปกับสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างทางมากขึ้นพร้อมประคองสมดุลให้มันอยู่ในระดับที่เหมาะสม
ระดับที่เรารู้สึกพอดี พอใจ ระดับที่เรารู้ตัวว่าหากเกิดความผิดหวังขึ้นมา มันก็อาจจะเจ็บนิดหน่อยเป็นธรรมดา แต่เราจะไม่เป็นไรก็เท่านั้นเอง
สื่อสารความคาดหวังอย่างลดแรงกระแทก
เราจะสื่อสารความต้องการของเรายังไงไม่ให้กระทบความรู้สึกอีกฝ่ายมากไป อาจจะอยู่ที่คำพูดตอนที่สื่อสารออกไป
เราควรระวัง หลีกเลี่ยงการใช้คำที่สื่อถึงการบังคับให้ทำ เช่น “เราต้องการให้เธอลงสตอรี่ไอจีถึงเราบ้าง”
ลองเปลี่ยนเป็น “เรารู้สึกดีเวลาที่เธอลงสตอรี่เกี่ยวกับเรา เรารู้สึกสำคัญสำหรับเธอ”
หรือวิธีที่คุณยุนแดฮยอน ได้แนะนำไว้ในหนังสือ คือ ใช้ประโยคคำถามปลายเปิดแทนประโยคบอกเล่า
เช่น เปลี่ยนจาก “กลับบ้านดึกจัง (ซึ่งเป็นประโยคบอกเล่า) หรือ ไหนบอกจะกลับเร็ว ทำงานเกินเวลาอีกแล้วใช่มั้ย”
เป็นคำถามปลายปิด ให้ลองเปลี่ยนเป็น “ช่วงนี้งานเป็นไงบ้าง เห็นว่ากลับบ้านดึกบ่อย ๆ”
คำถามปลายเปิดจะช่วยให้คนที่ฟังเปิดใจพูดคุยได้มากกว่าการตอบแค่ใช่/ไม่ใช่ และช่วยลดความกดดันได้
เพราะเรามุ่งถามความเห็นของอีกฝ่ายด้วยกัน ทำให้เขาจะต่อต้านน้อยลง
และอาจนำไปสู่การร่วมกันแก้ไขปัญหา ซึ่งเขาก็จะยอมรับทำตามได้ง่ายขึ้นเพราะเป็นทางออกที่ตัดสินใจร่วมกัน
เพราะการสื่อสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ต้องใช้เวลาในการอดทนรอคอย
และตระหนักไว้ว่า ถึงจะเป็นคำพูดที่ดีหรือถูกต้องแค่ไหน แต่ถ้าคนที่ฟังรู้สึกกดดันมากไป
เกิดความรู้สึกว่าเขากำลังถูกคาดหวังให้ทำอะไรบางอย่างอยู่ เขาอาจจะตีความเป็นความรู้สึกเชิงลบและต่อต้านตามสัญชาตญาณได้
ถ้าเรารู้ว่าสิ่งที่เรากำลังคาดหวังอยู่นั้น เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงยาก เราก็อาจจะต้องใช้เวลาปรับตัวเพื่ออยู่กับสิ่งนั้นให้ได้
แต่หากเป็นสิ่งที่เราคาดหวังได้ เปลี่ยนแปลงได้ เราก็ต้องเตรียมพร้อมรับมือในวันนึงที่เราอาจจะผิดหวังกับสิ่งนั้นขึ้นมาด้วยเช่นกัน
เวลาทำความเข้าใจไปไม่มีอะไรสามารถได้ดั่งใจเราไปหมดทุกอย่าง ขนาดคาดหวังให้ตัวเองได้ดั่งใจตัวเอง บางทียังทำได้ยากเลย
เราก็มีชีวิตของเรา เขาก็มีชีวิตของเขา แต่ละเรื่องก็มีเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เราควบคุมไม่ได้ บางทีเราแค่ยอมรับมัน ไม่ต้องไปถามหาเหตุผลก็ได้
ทุก ๆ ความสัมพันธ์ล้วนต้องการระยะห่าง การมีพื้นที่ของตัวเอง เลิกผูกความสุขเราไว้กับคนอื่น เพื่อใจเราเองที่จะเบาขึ้น สบายขึ้น
แล้วเราจะเห็นว่าเราเสียเวลาทุกข์ใจเรื่องคนอื่นไปแล้วกี่เรื่อง ขณะเดียวกัน ถ้ามันจะเกิดอารมณ์เชิงลบก็ให้มันเกิดขึ้น
อย่าต่อต้านหรือปฏิเสธเลย ขอแค่เราได้ฝึกทำความเข้าใจอาการตัวเอง และรู้ว่าต้องจัดการตัวเองยังไง
บางทีการรับฟังเสียงหัวใจตัวเอง ก็คือ การให้ตัวเองกลับคืนเหมือนกัน หรือบางครั้งพอไม่คาดหวัง เราก็อาจจะเจอความสุขที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะได้เจอก็ได้
คนอีโก้สูง เป็นอุปนิสัยรูปแบบหนึ่งที่หลาย ๆ คนมองว่าเป็นปัญหา เพราะคนเหล่านี้จะมาพร้อมกับการไม่รับฟังใครและ ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง
ในทางจิตวิทยาอธิบายคนที่มี Ego สูงอย่างไร มาหาคำตอบกันในรายการ พูดคุย X คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก 🙂
อีโก้ คืออะไรและทำไมทุกคนถึงมี
อีโก้เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ทุกคนมีอีโก้ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย การมีอีโก้ช่วยสร้างตัวตนและ การตัดสินใจในชีวิต แต่เมื่ออีโก้สูงเกินไป อาจทำให้เราไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง และมักจะคิดว่าความคิดและวิธีการของตัวเองดีที่สุดจนไม่เปิดรับความคิดเห็นของผู้อื่น
การที่คนเหล่านี้แสดงออกถึงความต้องการที่ต้องเป็นผู้นำหรือ มีอำนาจสูงในกลุ่ม บางครั้งอาจมาจากความไม่มั่นคงภายในตัวเอง การมีอีโก้สูงเป็นกลไกป้องกันตัวเองจากความรู้สึกอ่อนแอ หรือกลัวจะล้มเหลว
ทุกคนมีอีโก้ เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ และอีโก้ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดหรือ น่ากลัวโดยธรรมชาติ แต่เมื่ออีโก้สูงจนเกินไป จะเกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
ทำให้เกิดความตึงเครียดในที่ทำงานและ ในชีวิตส่วนตัว โดยเฉพาะในสังคมที่ต้องการการทำงานร่วมกันและความยืดหยุ่น การมีอีโก้สูงอาจทำให้การทำงานเป็นทีมเป็นไปได้ยากและเกิดความขัดแย้ง
อึดอัดที่จะต้องอยู่กับคนอีโก้สูง
เมื่อเราอยู่กับคนที่มีอีโก้สูง ให้ลองทบทวนกับตัวเองดังนี้
เรารู้สึกอึดอัดเพราะอะไร ? การทำความเข้าใจถึงสาเหตุของความรู้สึกของตัวเอง จะช่วยให้เราจัดการกับสถานการณ์ได้ง่ายขึ้น
การคิดแบบนี้มีประโยชน์หรือไม่ ? การคิดซ้ำ ๆ ว่าคนคนนั้นมีอีโก้สูงจะไม่ช่วยแก้ปัญหา ถ้าเราเห็นว่าความคิดนั้นไม่มีประโยชน์ ก็ถึงเวลาที่เราต้องพักความคิดนั้น และมองหาสิ่งอื่นที่ช่วยทำให้เราสบายใจขึ้น
การสื่อสารกับคนอีโก้สูง
การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญในการสร้างความเข้าใจและ ลดความขัดแย้ง การพูดคุยกับคนที่มีอีโก้สูงอาจเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทักษะและการเตรียมตัว
เราควรสื่อสารด้วยความจริงใจและไม่ตัดสิน ไม่ใช้คำที่เป็นการโจมตี แต่เน้นการบอกความรู้สึกของเราเอง ตัวอย่างเช่น
- แทนที่จะบอกว่า “คุณไม่เคยฟังใครเลย” ซึ่งเป็นการตัดสิน ควรพูดว่า “ฉันรู้สึกว่าบางครั้งเวลาที่เราคุยกัน ความเห็นของฉันอาจไม่ได้รับการพิจารณามากเท่าที่ควร”
- การระบุพฤติกรรมที่เห็นได้ชัดเจน เช่น “เวลาประชุม ฉันสังเกตว่าเราไม่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเต็มที่” จะช่วยให้การสื่อสารชัดเจนและไม่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามรู้สึกว่าถูกโจมตี
การยอมรับว่าทุกคนมีอีโก้และ เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงผู้อื่นได้ถ้าเขาไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง เป็นก้าวแรกที่สำคัญในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
การที่เราทำหน้าที่ของเราเองให้ดีที่สุด พูดถึงความรู้สึกและความต้องการของเราอย่างตรงไปตรงมา และไม่คาดหวังว่าฝ่ายตรงข้ามจะเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ช่วยรักษาความสงบสุขของใจ
อยู่ร่วมกับ คนอีโก้สูง
หากเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการอยู่ร่วมกับคนที่มีอีโก้สูงได้ การดูแลจิตใจของตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ :
1. ยอมรับความจริง : การเข้าใจว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงใครได้ถ้าเขาไม่อยากเปลี่ยนแปลง การยอมรับความจริงนี้จะช่วยลดความคาดหวังและ ความกดดันที่มีต่อตัวเอง
2. ฝึกการปล่อยวาง : ถ้าพฤติกรรมของคนอื่นไม่ได้เป็นสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ การฝึกการปล่อยวางและ โฟกัสในสิ่งที่เราควบคุมได้คือ สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกมีความสุขและสงบสุขมากขึ้น
3. สร้างพื้นที่ส่วนตัว : ดูแลชีวิตส่วนตัวและความสงบสุขในพื้นที่ของตนเอง เช่น การทำกิจกรรมที่ชอบและใช้เวลาให้กับสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกดี จะช่วยให้จิตใจของเรายังคงแข็งแรงและพร้อมเผชิญกับสถานการณ์
Silent Treatment เป็น Emotional manipulation เป็นพฤติกรรมชักจูงทางจิตวิทยาอย่างนึง
เป็นการควบคุมหรือครอบงำความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่นให้เป็นไปในแบบที่ตัวเองต้องการ
Silent Treatment การเงียบเพื่อก่อสงครามในความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ เพื่อน เพื่อนร่วมงาน แฟน
เคยไหมที่ตอนเด็ก ๆ เราอยากได้ของเล่นแต่พ่อไม่ให้เราเลยเลือกใช้วิธี ‘ดื้อเงียบ’ เพื่อที่จะได้ของเล่นมา
ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้เรียกว่าเป็นการ ปฏิเสธที่จะสื่อสารทางคำพูดกับอีกฝ่าย ซึ่งเป็นการแสดงออกแบบ Passive aggressive ใน Toxic relationship
อ้างอิงจาก Hall-Flavin พฤติกรรมแบบ Passive aggressive เป็นการแสดงออกอารมณ์ทางลบอ้อม ๆ
เป็นการกระทำและสิ่งที่พูดจะไปคนละทาง เช่น การงอนเงียบ เมิน สร้างบรรยากาศตึง ๆ หน่วง ๆ แต่บอกว่า ‘ไม่ได้เป็นอะไร’
เมื่อคนคนหนึ่งถูกใช้ Silent Treatment เพื่อการลงโทษ ไม่ว่าจะในระดับไหนก็ตาม มันสามารถสร้างความรู้สึกว่าพวกเขาถูกขับออก
และตัดขาดจากสังคมที่เขามีความต้องการเป็นส่วนร่วม ซึ่งเป็นความต้องการสำคัญของสัตว์สังคม
จนนำไปสู่ความรู้สึกล้มเหลวในตัวเอง และคนที่โดนเงียบใส่บ่อย ๆ ก็จะเครียด ความมั่นใจในตัวเองน้อยลง เศร้า จนไปถึงซึมเศร้าได้เหมือนกัน
เช่น พ่อแม่ เพิกเฉยความต้องการของลูก
การโดนเพื่อนเมิน ไม่พูดด้วย โดนแบน
การไม่ถูกรวมกลุ่มในสังคมที่ทำงาน
การโดนแฟนงอน
เงียบแบบไหนที่เรียกว่า Silent Treatment
เพราะบางคนอาจจะเป็นคนเงียบอยู่แล้วอย่างที่บอก
- ถูกเมินเฉยใส่หลายวันหรืออาจเป็นเดือน
- ปฏิเสธไม่คุย สบตา กดรับสาย หรือตอบข้อความ
- กลับไปเงียบใส่เหมือนเดิมทุกครั้งที่อะไรหลายๆ อย่างไม่เป็นไปตามหวัง
- ใช้ Silence Treatment เป็นการลงโทษ เวลาที่หงุดหงิด
- ต้องการให้ขอโทษหรือให้ความสนใจ
การศึกษาพบว่า การถูกเพิกเฉยจะกระตุ้นสมองส่วนเดียวกับเวลาได้รับความเจ็บปวดทางร่างกาย
ทำให้เมื่อคนเราถูกปฏิบัติอย่างเย็นชา ไม่ได้รับการใส่ใจ ไม่ได้รับการตอบสนอง ไม่ว่าจะจากคนรักหรือศัตรู ความเจ็บปวดของการถูกเพิกเฉยนั้น จึงแทบจะไม่ต่างกัน
วิธีแก้ไข
ความเงียบเหมือนดาบสองคม บางสถานการณ์เราใช้ได้ เช่น ถ้าเราเป็นคนคุมอารมณ์ไม่อยู่ ถ้าเราพูดคุยไปเลยมันอาจจะมีผลเสียมากกว่าผลดี
ตอนนั้นเราเลือกเงียบได้นะ แต่เราก็ควรบอกอีกฝ่ายก่อนหน้านั้นในช่วงที่เราอารมณ์คงที่ ว่าเราเป็นคนแบบนี้นะ
ไม่ได้เงียบเพื่อหนีปัญหาหรือเจตนาที่ไม่ดี แต่ถ้าหากว่าเราเงียบเพราะเรามีเจตนาที่อยากทำร้ายอีกฝ่ายจริง ๆ
เราคงต้องกลับมาดูตัวเองว่าสาเหตุที่เราทำคืออะไร ทำเพื่อเอาชนะ อยากให้เขาสนใจ แน่นอนว่าผลลัพธ์ที่กว่าจะให้เขาสนใจ
ภาระที่อมไว้ คายมันออกมานะ หนังสือที่รวมเทคนิคสั้น ๆ ที่ทำให้เรามีพื้นที่ว่างในใจมากขึ้น
ความน่ารักของหนังสือเล่มนี้คือ เจ้าหนูแฮมสเตอร์ แต่ถ้าสังเกตดี ๆ เจ้าหนูแฮมสเตอร์ตัวนี้มีน้ำตานะ
หนูแฮมเตอร์ที่แก้มตุ่ย ๆ การ ‘กักตุน’ อาหารที่มากเกินไปจนเกิดเป็นความไม่สบายตัว . .
หนูแฮมสเตอร์ที่กักตุนอาหาร ถ้าเปลี่ยนจากอาหารเป็นกักตุน ความเครียด หละ?
ก็เหมือนกับคนถ้าเราเก็บทุกสิ่งอย่างมาไว้กับตัวมากเกินไป เราก็คงไม่สบายใจและไม่สบายตัว
หนังสือเล่มนี้เป็น how to ที่มีเทคนิคการฮีลใจในทางเชิงจิตวิทยาที่นำมาใช้ได้จริง เขียนโดย คุณ ไนโต โยะชิฮิโตะ แปลโดย คุณ อทิตยา ทรงศิริ
หนังสือเล่มที่มีทั้ง 6 บท และ 198 เทคนิคที่ทำให้เราสบายใจสบายตัวมากขึ้น เป็นเทคนิคสั้น ๆ และวิธีการใช้ที่ใช้ได้จริง
จึงขอหยิบยกมา 2 บทที่ชอบและอยากมาบอกต่อ :))
การมองอารมณ์ของตัวเองผ่านมุมมองคนนอก
มุมมองคนนอกคือการที่เราไม่เอาตัวเองไปยืนในจุดที่ไปเกี่ยวข้อง เป็นมุมมองจากการสังเกตระยะไกล
หลาย ๆ คนคงคิดว่าการตอบกลับและการปล่อยผ่านอย่างเหมาะสมคือเรื่องที่ดี
แต่สิ่งที่อยากบอกคือ บางครั้งเราไม่ต้องจริงจังมากก็ได้ เอาตัวเองออกมาไม่ต้องตอบโต้ทันที
ถ้าตอนนั้นเรากำลังโต้เถียงหรือทะเลาะกับใครบางคนอยู่ ให้เราออกมาเป็นคนนอกดู
เพราะการที่เราเป็นคนนอกเรามักจะแก้ปัญหาได้มากกว่าเป็นคน ฝึกฝนได้ มีสติมาก ๆ
การมองตัวเองโดยใช้มุมมองคนนอกจะทำให้เราควบคุมอารมณ์ด้านลบได้
เขียนข้อดีของตัวเองออกมา
เพราะถ้าเราคิดถึงแต่ข้อไม่ดีของตัวเอง เราจะมีความสุขได้ยังไง..
บางทีเราก็ไม่ชอบนิสัยของตัวเอง เอาตัวเองไปเปรียบเทียบจนเห็นข้อเสียของตัวเองมากมาย
เห็นข้อเสียมากกว่าเห็นข้อดี เพราะฉะนั้นของแก้ไขโดยการเขียนจุดแข็งและข้อดีของตัวเองที่เราชอบตัวเอง ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเรื่องใหญ่ก็ได้
เพราะการที่เราเขียนข้อดีของตัวเองบ่อย ๆ จะทำให้เราปลูกฝังข้อดีของตัวเองและความคิดลบ เกี่ยวกับตัวเองจางลงไปด้วย
สำหรับใครที่สนใจหนังสือเล่มนี้
ความสำเร็จ การบรรลุเป้าหมาย , ชัยชนะ , เห็นผล ที่พูดมาทั้งหมดก็คือความหมายของคำว่าสำเร็จ
การที่เราทำตามเป้าหมายไว้ให้เป็นจริง เป้าหมายที่เรากำหนดไว้ตั้งแต่ตอนเด็กที่ครูถามว่าอยากเป็นอะไร หรือเป้าหมายที่เราวาดไว้ในใจเมื่อเราโตขึ้น
นิยามของคำว่า สำเร็จของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
แน่นอนว่าชีวิตมันไม่ง่ายกว่าที่เราจะสำเร็จ หรือบรรลุเป้าหมายที่เราวางไว้ บางครั้งที่เราเหนื่อยเราก็ล้มเลิกไปบ้าง
ขอย้อนไปที่ตอนเกริ่นตอนแรกว่า นิยามของคำว่า สำเร็จ ของแต่ละคนคืออะไร? ถ้าสำหรับมาย ความสำเร็จที่มายนิยามไว้ตอนนี้
คือ การที่รู้สึกชอบตัวเอง ชอบในสิ่งที่ตัวเองทำ และชอบวิถีที่ตัวเองใช้ชีวิต ถ้าตอนเด็กมายก็มีความฝันคืออยากทำงานในโรงบาลค่ะ
หมอ พยาบาล หรือแผนกไรก็ได้ เพราะเราชอบกลิ่นของโรงบาล แล้วเวลาไปหาหมอแล้วหายเราชอบความรู้สึกตอนนั้น แต่ปัจจุบันก็ไม่ได้ทำ
อันนี้ก็เรียกว่าไม่สำเร็จตามเป้าหมายเหมือนกันนะ เพราะเรารู้ตัวเองด้วยว่าเราไม่ไหวกับการเรียน การอ่านหนังสือหนัก ๆ
ตอนนั้นก็คิดว่าไอการที่เราอยากเป็น แต่มันแฝงมาด้วยความรู้สึกทุกข์ใจ เราจะสามารถมีความสุขได้จริง ๆ ใช่ไหม
แต่ไม่ได้แปลว่ามันถูกทั้งหมดนะความคิดมาย คนเรามีขีดความฝืนไม่เหมือนกัน บางคนก็สามารถฝืนได้เพื่อให้ตัวเองบรรลุเป้าหมายเหมือนกัน
ตัดภาพมาที่ตอนนี้ที่เป็นอยู่ มายก็มีความสุขดีนะ อาจจะไม่ใช่การประสบความสำเร็จแบบ 100% แต่เราก็ชอบที่เราใช้ชีวิตแบบนี้ ได้มาอัดพอดแคส ได้มาอ่านคอมเม้นของทุก ๆคน
แต่ที่อยากบอกสำหรับคนที่กดดันกับชีวิตตัวเอง หรือคนที่กำลังคิดว่าทำไมเราไม่ประสบความสำเร็จสักที
เพราะอาจจะเพราะสภาพสังคมของประเทศเรา เมื่ออายุเยอะมากขึ้น การที่คนนึง ๆไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ไม่มีบ้าน ไม่มีรถ ไม่มีครอบครัว ไม่แต่งงาน
ไม่เป็นเจ้าคนนายคน ถูกมองว่า ไม่ประสบความสำเร็จ บางครั้งเราโหนความสำเร็จเราไว้ตรงนั้นจนเราลืมไปว่า ตอนนี้ชีวิตของฉันก็มีความสุขดีนี่นา
ไม่ว่าเลือกที่จะประสบความสำเร็จแบบไหนอย่าลืมว่าเป้าหมายชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน อย่าเอามาตรฐานหรือภาพความสำเร็จของตัวเองไปตัดสินคนอื่น
หรือเอาของคนอื่นมาตัดสินตัวเอง บางคนเขาอาจจะมีความสุขกับการเป็นคนธรรมดาแบบไม่ต้องขวนขวายอะไรมากมายก็ได้
ความสำเร็จอาจจะแค่การได้กินอะไรอร่อย ๆ กินอิ่ม นอนหลับ เลี้ยงหมา เลี้ยงแมว อาจจะคือความสำเร็จที่สุดจะเรียบง่ายที่สุดของแล้วก็ได้
อยากให้ทุกคนมองหาการประสบความสำเร็จด้วยความสุข ยอดพีระมิดการใช้ชีวิตเหนือความสำเร็จ ยังมีความสุขอยู่
อยากให้ทุกคนตามหาสิ่งที่ทำให้ตัวเองมีความสุขให้เจอไม่ว่าจะวัยไหน
เชื่อว่าความสุขมันเปลี่ยนไปแต่ละช่วงวัย แต่ละ step ของการใช้ชีวิต อย่าลืมตรวจสอบว่าระหว่างทางที่เรากำลังทำตามเป้าหมายให้สำเร็จ
เรามีความสุขอยู่หรือเปล่า หรือกำลัง สำเร็จด้วยความทุกข์ อยู่ ทำตามเกณฑ์สังคม มีบ้าน มีรถ มีแฟน มีครอบครัวของตนเอง
มีเงินเก็บ มีความมั่นคงมั่งคั่ง ที่พูดมาทั้งหมดไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดี เป็นคำว่าสำเร็จสูตรบรรทัดฐานที่ใครก็อยากมี
แต่เราก็อย่าลืมว่าอย่าผลักดันตัวเองมากเกินไปจนความขาดสมดุลในการใช้ชีวิต
และถ้าหากวันนึงเรากลายเป็นไม่ประสบความสำเร็จขึ้นมาแล้ว เรามองว่าเราล้มเหลว
อยากจะบอกว่าคำว่าล้มเหลวไม่มีอะไรเจ้าบเท่าเรามองว่าตัวเองล้มเหลวนะ อย่าลืมว่าระหว่างทางการที่เราจะพยายามทำอะไรสักอย่าง
เหนื่อยแค่ไหนมีเพียงเราคนเดียวที่รู้ คนอื่นไม่รู้ คนอื่นจะมองว่าแค่ตอนทำเสร็จว่าผลงานเรามันออกมาดีหรือไม่ดี สิ่งที่ว่าดีหรือไม่ดีมีอะไรเป็นตัววัด
การวัดของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันอีก เพราะฉะนั้นอย่ามองว่าตัวเองล้มเหลวเลยที่ทำอะไรไม่สำเร็จ
แต่ละคนมีจังหวะชีวิตหรือโอกาสที่เข้ามาแตกต่างกัน ตราบใดที่เรายังมีชีวิตและหายใจอยู่ มันสามารถเริ่มต้นใหม่ได้ทุกวันนะ
ยินดีกับความล้มเหลวของตัวเอง
อย่าลืมว่าในชีวิตของเราทุกคน มักมีช่วงเวลาที่เราล้มเหลว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงาน ความรัก หรือเป้าหมายส่วนตัว
เพราะความล้มเหลวเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นบนโลกกับมนุษย์ มายเข้าใจที่เวลาล้มเหลวเราจะเสียใจและผิดหวัง
แต่คืนนี้มายก็มีมุมมองใหม่ๆ ที่อยากชวนให้ทุกคนมายินดีกับความล้มเหลวค่ะ
ความล้มเหลวคือบทเรียน
ความล้มเหลวคือบทเรียนที่ทำให้เราเรียนรู้จากความผิดพลาด และรู้จักปรับปรุงตัวเอง การยอมรับความล้มเหลวทำให้เราเติบโต และเข้าใจตัวเองมากขึ้น
ความล้มเหลวคือความแข็งแกร่ง
การเผชิญกับความล้มเหลวช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งในใจ เมื่อเราผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้
เราจะรู้สึกมั่นใจมากขึ้นในการเผชิญกับความท้าทายในอนาคต การรู้ว่าตัวเองสามารถผ่านสถานการณ์ที่ไม่ดีได้ จะทำให้เราเป็นคนที่เข้มแข็งและอดทน
เปิดโอกาสใหม่
บางครั้ง ความล้มเหลวอาจเป็นการเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ที่เรายังไม่เคยคิดถึง มันอาจนำเราไปสู่เส้นทางที่ดีกว่า
หรือทำให้เราได้ค้นพบความสนใจใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยรู้มาก่อน การยอมรับความล้มเหลวจะทำให้เราไม่กลัวที่จะลองทำสิ่งใหม่
เปลี่ยนความคิด
แทนที่จะมองว่าความล้มเหลวคือความสูญเสีย ลองมองมันเป็นความสำเร็จในรูปแบบหนึ่ง เพราะเรามีความกล้าที่จะพยายามและเสี่ยง
แม้จะไม่สำเร็จในครั้งแรก แต่การพยายามก็เป็นสิ่งที่ดี อยากให้ทุกคนใช้ชีวิตด้วย ความหวัง ไม่ใช่ ความคาดหวัง
ความคาดหวังคือสิ่งที่เราคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีความแน่นอนหรือแนวโน้มว่ามันจะเกิดขึ้นได้สูง
ในขณะที่ความหวังคือการมีความฝันหรือเป้าหมายที่เราตั้งใจจะไปถึง แต่ไม่ยึดติดกับผลลัพธ์ที่ชัดเจน มันทำให้เรามีจิตใจที่เปิดกว้าง และยอมรับกับทุกสิ่งที่เกิดขึ้น
เมื่อเรามีความหวัง เราจะรู้สึกมีแรงบันดาลใจในการก้าวเดินต่อไปในชีวิต ไม่ว่าจะเจออุปสรรคหรือความท้าทาย
ความหวังช่วยให้เรามองโลกในแง่ดี และมีความมุ่งมั่นในการทำสิ่งที่รัก หรือตามความฝันของเราการสร้างความหวังสามารถทำได้หลายวิธี
เช่น การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือแม้กระทั่งการหมั่นฝึกจิตใจให้มองโลกในแง่ดี และเปิดรับโอกาสใหม่ ๆ ที่เข้ามาในชีวิต
การสร้างความหวังไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหญ่โต เริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ
เช่น อ่านหนังสือเล่มใหม่ หรือออกไปสำรวจสถานที่ใหม่ ๆ ความสำเร็จในสิ่งเล็ก ๆ จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ
และเปิดโอกาสให้เรามองเห็นความหวังในอนาคต ให้เราทุกคนจงใช้ชีวิตด้วยความหวัง ไม่ใช่ความคาดหวัง แล้วเราจะค้นพบว่าชีวิตนี้เต็มไปด้วยโอกาสที่รอเราอยู่
นักจิตวิทยาที่เราเลือกเหมาะกับเราไหม เพราะนักจิตวิทยามีให้เลือกมากมายในสายอาชีพ แต่ละคนจะมีความถนัดและ บรรยากาศในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป
เราจะรู้ได้อย่างไรว่านักจิตวิทยาที่เราคุยอยู่ ‘ใช่’ ? มาหาคำตอบกับรายการพูดคุย Alljit x คุณวันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยาการปรึกษา
นักจิตวิทยาที่เราเลือกเหมาะกับเราไหม
1. ความรู้สึกของผู้รับคำปรึกษา
ความรู้สึกเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยบอกได้ว่าการปรึกษานั้นตอบโจทย์เราหรือไม่ เช่นเดียวกับการที่เราไปทานอาหารร้านหนึ่งแล้วรู้สึกว่าอยากกลับไปอีก
ถ้าเรารู้สึกอยากกลับไปคุยกับนักจิตวิทยา นั่นหมายความว่าการพบปะครั้งนั้นเป็นประโยชน์และทำให้เรารู้สึกสบายใจ
2. ความลึกซึ้งในการเข้าใจปัญหาของผู้ให้คำปรึกษา
นักจิตวิทยาที่ดีต้องสามารถเข้าใจปัญหาของผู้รับคำปรึกษาได้อย่างลึกซึ้ง ไม่ใช่เพียงแค่ฟังอย่างผิวเผิน แต่ยังต้องสามารถเชื่อมโยงประเด็นต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นในการสนทนาให้เป็นภาพรวมเดียวกันได้ นี่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการวิเคราะห์และการเข้าใจอย่างแท้จริง
3. การเชื่อมโยงประเด็นต่าง ๆ
การเชื่อมโยงประเด็นที่ผู้รับคำปรึกษาเล่ามาเป็นเรื่องราวเดียวกันจะช่วยให้ผู้รับคำปรึกษามองเห็นภาพรวมของปัญหาและรู้สึกว่ามีการก้าวหน้าทางจิตใจ
การฟังและถามคำถามที่เหมาะสมจากนักจิตวิทยาจะเป็นการสะท้อนให้ผู้รับคำปรึกษาเห็นความเชื่อมโยงของปัญหา
4. ประโยชน์ที่ได้รับ
หลังจากการเข้าพบนักจิตวิทยา เราควรรู้สึกว่ามีความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้นเกี่ยวกับปัญหาของเรา หากผู้รับคำปรึกษา
รู้สึกว่าได้รับการช่วยเหลือและเห็นถึงความก้าวหน้าทางจิตใจ นั่นเป็นสัญญาณที่ดีว่าการพบปะนั้นมีประโยชน์
หากหลังจากการเข้าพบ 3-4 ครั้ง ยังไม่มีการก้าวหน้าหรือยังรู้สึกว่าปัญหายังคงอยู่ อาจจำเป็นต้องพิจารณาว่าการปรึกษานั้นได้ผลหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการเห็นผลอาจขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของปัญหาและการปรับตัวระหว่างนักจิตวิทยากับผู้รับคำปรึกษา
โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) อีกครั้งและมาลงลึกถึงรายละเอียดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น 3 ระดับของความวิตกกังวล กลุ่มโรคในร่มเดียวกัน
ไปจนถึงกลไกการเกิดภาวะวิตกกังวล แล้วมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันว่า โรควิตกกังวล โฟเบีย และแพนิคเหมือนหรือแตกต่างกันยังไง
Anxiety Disorder “เป็นภาวะที่ประชาชนมักเข้าใจผิดกันบ่อย คิดว่าผู้ป่วยแกล้งทำ หรือคิดว่าเกิดมาจากตัวเอง
ไม่ได้เจ็บป่วย จึงไม่ไปพบแพทย์ หรือจิตแพทย์ เพื่อรักษาแก้ไขที่ต้นเหตุ ซึ่งโรคนี้มียารักษา และต้องใช้วิธีบำบัดร่วม เพื่อปรับความคิดและพฤติกรรม ”
ซึ่งจากหนังสือจิตเวชศาสตร์รามาธิบดี ได้อธิบายว่า Anxiety เกิดเมื่อมีความเครียดเข้ามากระทบจิตใจของเรา นั่นหมายความว่า Anxiety ก็พัฒนาต่อมาจากความเครียดนั่นเอง
ลักษะของ Anxiety Disorder
ทางใจ : สับสน เครียด กังวล วิตก ตื่นเต้น ไม่มีความสุข
ทางกาย : มือสั่น ตัวสั่น ปัสสาวะบ่อย ปั่นป่วนในท้อง แน่นหน้าอก ลุกลี้ลุกลน
ความวิตกเป็นอาการที่เกิดได้กับคนปกติก็จริง แต่จะถือว่าผิดปกติหรือเป็นโรคเมื่อเกิด 4 ข้อนี้
1. ความวิตกที่เกิดขึ้นมากเกินกว่าจะอธิบายด้วยความเครียดที่มากระตุ้น (รู้สึกมากกว่าสถานการณ์ที่เกิด)
2. ความวิตกกังวลที่เกิดมีอาการรุนแรงมาก
(ไม่ได้แน่นหน้าอกธรรมดา แต่แน่นจนหายใจลำบาก หรือ รู้สึกว่านั่งเฉย ๆ ไม่ได้ ต้องวิ่ง ต้อนหนีเดี๋ยวนั้น)
3. อาการยังคงอยู่แม้สิ่งเร้าจะไปแล้ว
4. อาการที่เกิดขึ้นรบกวนกิจวัตรประจำวันและหน้าที่การงาน
ระดับความ วิตกกังวล
1. ระดับต่ำ Mild Anxiety
ระดับนี้พบได้ทั่วไป เช่น การตึงเครียดจากการดำรงชีวิตประจำวัน เป็นระดับที่ทำให้บุคคลเกิดความตื่นตัว กระตือรือร้นที่จะเอาชนะปัญหา มีการรับรู้ที่ว่องไว ความจำดี สมาธิดี
อารมณ์และการกระทำไม่เปลี่ยนจากปกติมากนัก รวมถึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระเนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติถูกกระตุ้น เช่น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ม่านตาขยาย ฝ่ามือมีเหงื่อออก
การเคลื่อนไหวเร็วขึ้น บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับต่ำนี้ยังสามารถควบคุมตนเองได้ โดยอาจต้องการความช่วยเหลือบ้าง เช่น ต้องการ รเรียนรู้ลดลง อาจมีอาการทางสรีระ
เช่น หายใจเข้าออกแรง รู้สึกปั่นป่วนในกระเพาะอาหาร ปวดศีรษะ บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับปานกลางนี้ยังสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองได้
2. ระดับรุนแรง Severe Anxiety
ระดับนี้มีผลทำให้ประสาทสัมผัสและการรับรู้แคบลง ทำให้หมกมุ่นในรายละเอียดมากจนเกินไป ไม่สามารถจับสาระสำคัญของเรื่องใดได้ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาลดลงและทำงานได้ไม่เต็มสมรรถภาพ
เกิดความสับสน มีพฤติกรรมที่แสดงออกเพื่อปกป้องตนเองมากขึ้น และมักเป็นพฤติกรรมซ้ำ ๆ ที่สังเกตเห็นได้ เช่น กระวนกระวาย หงุดหงิด โมโหง่าย เรียกร้องเกินกว่าเหตุ ต่อต้าน ตื่นกลัว
ตัวสั่น เกร็ง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ท้องเดิน หรือท้องผูก นอนไม่หลับ บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับรุนแรงนี้ต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น
3. ระดับรุนแรงมาก Panic Level Anxiety
ระดับนี้มีผลทำให้บุคคลเกิดความกลัวอย่างรุนแรงมาก หรือเป็นความกลัวสุดขีด ทำให้บุคคลขาดการควบคุมตนเอง และแสดงออกถึงพฤติกรรมที่ไม่มีในสภาวะปกติ เช่น กรีดร้อง
วิ่งหนีไปอย่างไรจุดหมาย หรือตกตะลึงแน่นิ่งหมดสติทันทีทันใด บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับรุนแรงมากนี้ จะสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองและไม่สามารถทำภารกิจเหมือนปกติได้
โรคกลัวต่าง ๆ เชื่อมโยงกับภาวะวิตกกังวล
1. Separation Anxiety Disorder : เป็นโรคที่มีความวิตกกังวลในเรื่องการแยกจาก (กลัวการแยกจาก)
2. Selective Mutism : เงียบใบ้ พูดไม่ได้แบบเฉพาะเจาะจงสถานการณ์
3. Specific Phobia: กลัวมากกว่าปกติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แบบเจาะจง
4. Social Anxiety Disorder (Social Phobia) : กลัวสถานการณ์ที่คนจ้องมองมาที่ตนเอง
5. Panic Disorder: อาการวิตกทั้งกายและใจแบบไม่มีสิ่งกระตุ้น แล้วก็กลัวว่าจะเป็นอีก
6. Agoraphobia : กลัวว่าสิ่งไม่ดีจะเกิดขึ้น และกลัวว่าจะหนีไม่ทัน
7. Generalized Anxiety Disorder : กลัวมากในเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
กลไกการเกิด ภาวะวิตกกังวล
ความวิตกกังวล ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม จะมีกลไก ขั้นตอนการเกิดในลักษณะที่เหมือน ๆ กัน ซึ่ง Peplau 1989 แบ่งไว้ตามนี้
ขั้นที่ 1. คนเรามีความคาดหวัง และต้องการ
ขั้นที่ 2. เกิดอุปสรรค หรือภาวะคุกคามใดใด
ขั้นที่ 3. มีความรู้สึกหวั่นไหว สับสน คับข้องใจ คุณค่าในตัวเองลดลง
ขั้นที่ 4. มีการเปลี่ยนแปลงทั่วไป
4.1 ด้านจิตใจ อารมณ์ – เครียด กระวนกระวายใจ หงุดงิด โมโห
4.2 ด้านชีวเคมี – ท้องผูก นอนไม่หลับ ปั่นป่วนในกระเพราะ
4.3 ด้านร่างกาย – เกร็งกล้ามเนื้อ เหงื้อแตก กรีดร้อง
ขั้นที่ 5. แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ
5.1 คลี่คลายปัญหาได้ ค่อย ๆ ดีขึ้น
5.2 หลีกเลี่ยงปัญหา ความวิตกกังวลก็ยังคงอยู่
The Road Not Taken บนถนนที่เราไม่ได้เลือกเดิน
The Road Not Taken มาจากกวีในชื่อเดียวกันของ Robert Frost
ที่เขียนเพื่อล้อเลียนเพื่อนตัวเองที่เวลาเดินป่าจะชอบตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกเส้นทางไหน แล้วพอเลือกไปแล้วก็จะชอบบนว่าตัวเองน่าจะเลือกอีกเส้นทางดีกว่า
หลังจากนั้น Edward Thomas คนที่ Robert เขียนล้อเลียน ก็เอากวีที่เพื่อนแต่งเพื่อแซวตัวเขาเองไปอ่านให้นักศึกษาฟัง
กลายเป็นว่านักศึกษาที่ฟังกวีบทนี้ไม่ได้มองว่ามันเป็นกวีล้อเลียน แต่เป็นกวีที่ลึกซึ่งและชวนให้คิดไม่ตก
และแม้ว่ากวีบทนี้จะถูกเขียนตั้งแต่ปี 1915 แต่ก็เป็นกวีที่ถูกจัดว่าคลาสสิคและถูกพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง สาเหตุเพราะมันสามารถตีความได้หลากหลายแบบ หลากหลายประเด็น
เมื่อป่าใหญ่ให้ทางไปต่างแห่ง
ทางสองแพร่งแบ่งสายเป็นซ้ายขวา
ฉันยืนหยุดดูจุดหมายสุดสายตา
เสียดายว่าฝ่าได้…แค่สายเดียว
มีทางหนึ่งซึ่งเยี่ยมทัดเทียมเท่า
พงหญ้าเล่าเข้าประดูรกเขียว
รอผู้คนพ้นผ่านมานานเชียว
เส้นทางเปลี่ยวเลี้ยวลดจรดใด
ใบไม้คลุมสุมเท่ายามเช้าตรู่
ไม่มีผู้รู้ย่างย่ำทางไหน
ทางโล่งนั้นครั้นเล่ามิเข้าไป
ขอเก็บไว้ในตอน…เผื่อย้อนมา
ถอนหายใจไม่หยุดถึงจุดแบ่ง
ทางสองแพร่งแหล่งใดเดินไปหา
ขอเลือกทางต่างกันในมรรคา
ทางที่ว่าหาใช่…คนใฝ่เดิน…
ความหมายของกวีก็ตีความได้หลากหลายแบบมากๆ สามารถตีความถึงมนุษย์เราเองที่มักจะเสียดายกับอะไรที่เราไม่ได้เลือก
และมักจะละเลยคุณค่าของสิ่งที่เรามีหรือได้มา ในที่นี้ก็คือถนนที่เราไม่ได้เลือกเดิน
ขณะเดียวกันมันก็สะท้อนอีกว่ามนุษย์เรามักยืนอยู่บนทางแยก เราต้องเลือกและตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา
ในทางที่หลายๆ ครั้งเราก็ไม่รู้ว่าจะไปจบที่ตรงไหน หรือปลายทางมีอะไรรออยู่ เราเลยจำเป็นต้องเลือกและยอมรับในผลของการตัดสินใจนั้นๆ ของเรา
เส้นทางที่แตกต่างจะนำเราไปสู่การเติบโต
อีกการตีความนึงจากคุณ วลัยลักษณ์ ผดุงเจริญ บนเว็บ GotoKnow
กวีนี้อาจชี้แนะว่าการเลือกเดินบนเส้นทางที่คนสวนใหญ่ไม่เดินกันย่อมนำไปสู่ผลลัพธ์ที่แตกต่างไปจากคนอื่น
ไม่แน่ว่าการเลือกเส้นทางที่คนส่วนใหญ่ไม่เดินนั้น อาจสะท้อนถึงการเลือกในสิ่งที่เราให้คุณค่า
หรืออะไรที่ท้าทายไปจากเดิม และแน่นอนว่าเมื่อเราเลือกอะไรที่แปลกใหม่และท้าทาย เราจะเติบโตและเรียนรู้อะไรต่างๆ มากมาย
ความสุขกับ Hedonic Adaptation
คุณ Ryder พูดถึงว่าทำไมบ่อยครั้งคนเราประสบความสำเร็จ ถึงเป้าหมายที่อยากจะไป แต่กลับไม่มีความสุข
มันก็มีหลักการทางจิตวิทยามาอธิบายว่ามันเกิดจากสิ่งที่เรียกว่า Hedonic adaptation
หมายถึงแนวโน้มที่คนเราจะกลับสู่ระดับความสุขหรือความทุกข์ที่คงที่ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในชีวิตก็ตาม
คงที่คือตรงไหน
และถ้าถามว่าระดับคงที่ของความสุขอยู่ตรงไหน คำตอบก็คือแล้วแต่คน
ประเด็นเรื่องความสุขยังเป็นอะไรที่กำลังถูกศึกษาอย่างต่อเนื้องและยังไม่มีคำตอบใดๆ ที่ชัดเจน
แต่นักจิตวิทยาบางส่วนเชื่อว่า ความสุขพื้นฐาน หรือ Set Point ของแต่ละคนไม่เท่ากันโดยมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมและพื้นบุคลิกภาพของเราเอง
Some psychologists believe that as much as half of our happiness comes from an inherited genetic “set point”. Happy events, or negative experiences, affect us only for a short while. Then we return to a level of contentment mostly dependent on our personality.
Hedonic adaptation จึงอาจเป็นสาเหตุที่ว่าทำไม เราจึงโหยหาความ สุขซ้ำๆ และไม่เคยมีความสุขที่มากพอในระยะยาว
จบที่ข้อสรุปว่า บางทีความสุขอาจมาจากการกระทำมากกว่าเป้าหมาย เพราะฉะนั้นแล้ว การตามหาสิ่งที่มีคุณค่า
มีความหมายและสำคัญกับเราต่างหากที่จะนำไปไปสู่ความสุขในระยะยาวได้ ซึ่งก็เป็นแนวคิดอิงมาจากปรัชญาแนว Eudaimonism
หลักจิตวิทยาเบื่องหลัง
The Road Not Taken หลักการคล้ายกับกระบวนการทางจิตวิทยาที่เรียกว่า Visualization ครับ
Visualization คือกระบวนการของการสร้างภาพจิตใจ ความรู้สึก หรือกระบวนการทำงานต่างๆ ของใจเราผ่านการใช้จินตนาการ
ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในเชิงจิตวิทยาเพื่อให้เราทำความเข้าใจและทำงานกับจิตใจของเราเอง
The Road Not Taken ซึ่งก็จะเป็นกิจกรรมที่จะชวนเพื่อนๆ ลองจินตนาการว่าตัวเองเป็นนักเดินทางที่กำลังยืนอยู่บนสองทางแยก
และชวนให้เราจินตนาการถึงชีวิตของเราทั้งสองแบบว่าจะเป็นยังไงและจบลงตรงไหน
ที่มา :
Robert Frost: “The Road Not Taken”
The Road Not Taken เส้นทางนี้ที่ไม่เลือก…
The Road Not Taken ทางที่ไม่ถูกเลือก
Visualization: Definition, Benefits, and Techniques
การที่เรานอนไม่หลับตอนกลางคืน หรือไม่อยากนอนจริง ๆ แล้วมีที่,kสาเหตุหลากหลายมาก
นอกความเครียด คิดมาก ก่อนนอนแล้วอยากพาทุกคนไปรู้จักกับ การนอนที่เราไม่อยากนอน
การนอนดึกเพื่อล้างแค้น
พฤติกรรม “นอนดึกเพื่อล้างแค้น” เป็นการตัดสินใจที่จะสละเวลานอน เพื่อที่ตัวเองจะได้มีเวลาว่างไปทำสิ่งต่างๆ
เป็นผลมาจากความยุ่งจากการทำงานจนไม่มีเวลาในระหว่างวัน ความเครียดหรือความคิดที่ว่า “ยังไม่ได้มีเวลาเป็นของตัวเองเลย”
หลายคนในวัยทำงาน เราได้ใช้เวลา ส่วนใหญ่หมดไปกับการทำงานพอกลับมากว่าจะเดินทางถึงห้อง ที่พัก กว่าจะถึงก็ต้องกินข้าวอาบน้ำ
ขึ้นเตียงไปเล่นมือถือ ตามข่าว ตามกระแสที่เราพลาดไปในระหว่างทำงานการนอนดึกเพื่อล้างแค้น
เป็นสาเหตุให้หลายคนใช้ชีวิตในช่วงเวลาก่อนนอน แม้ว่าจะง่วง เหนื่อย เพลียมากเพียงใด แลกกับความสุขเล็ก ๆ น้อย
Night Owls ไนท์ อาว
“ชาวนกฮูก” (Night Owls) ทุกคนอาจจะเป็นกัน เพราะคนในยุคนี้การทำงานมีหลากหลายมากขึ้น การทำฟรีแลนซ์
หรือบางคนที่ทำงานที่เกี่ยวกับ Creative มักจะใช้เวลากลางคืน ยิ่งดึกยิ่งคึก สมองยิ่งแล่น มีความคิดสร้างสรรค์
ผุดขึ้นมาในเวลากลางคืน ตรงกันข้ามกับ “นกที่ตื่นเช้า” (Early Birds) ที่นอนเร็ว ตื่นเช้า ตื่นตัวในเวลากลางวัน
เรียนหรือทำงานได้ดีในเวลาฟ้าสว่าง และพักผ่อนในเวลากลางคืน อันนี้ก็เป็นสาเหตุที่ไม่ยอมนอนได้เหมือนกัน
ไม่ยอมนอนเพราะเสียดายเวลา
อาจดูคล้ายๆ การนอนดึกเพื่อล้างแค้น แต่มันคือ การผลัดเวลาเข้านอน การนอนหลับพักผ่อนเพียงอย่างเดียว
ไม่สามารถคลาย “ความเครียด” สำหรับบางคนได้ จึงตัดสินใจที่จะใช้ “เวลานอน” เพื่อผ่อนคลายหรือหาความบันเทิงให้กับตัวเอง
ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม ดูซีรีย์ ใช้เวลาอยู่กับเพื่อน ๆ ซึ่งการกระทำเหล่านี้ ไปเบียดกับช่วงเวลานอน ทำให้เราต้องผลัดเวลาเข้านอน
มีเวลานอนน้อยลง หรือถึงขั้นอดนอนนั่นเอง พฤติกรรม “ผลัดเวลาเข้านอน” แตกต่างจาก “โรคนอนไม่หลับ”
อย่างการข่มตานอนแต่หลับไม่ลงจากความเครียด หรือมีคลื่นไฟฟ้าจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รบกวนจนทำให้นอนหลับไม่สนิท
แต่เกิดจากจิตใจของเราล้วน ๆ ว่า “ยังไม่อยากนอน อยากเอาเวลาไปทำอย่างอื่นแทน” ซึ่งหากเกิดขึ้นต่อเนื่อง ก็จะส่งผลกับร่างกาย และ สุขภาพจิตได้
ภาวะ การนอนไม่หลับ
เราพอจะรู้ถึงสาเหตุที่เราไม่ยอมนอนกันไปบ้างแล้วว่ามีอะไรบ้าง นอกจากสาเหตุที่เราไม่ยอมนอนแล้ว คือ ความรู้สึกของเรา
เคยไหมที่นอนไม่หลับเพราะ ความรู้สึกที่ค้างคาใจก่อนนอน …
คิดมาก เครียด แบบรู้ตัวว่าเครียดอะไร จนนอนไม่หลับ
การที่เรารู้ตัวว่าเราเครียด เราคิดมากเรื่องอะไร ก่อนอน คือในความเครียดยังมีข้อดีตรงที่เรารู้สาเหตุ
เราต้องลองคิดว่า สาเหตุที่ทำให้เราเครียดนั้น เราสามารถจัดการได้ไหม
ถ้าจัดการได้ขั้นตอนการจัดการจะเป็นยังไง อาจทำให้เราหายเครียดหรือความเครียดมันจางลงได้บ้าง
การ เครียด คิดมาก แบบไม่รู้ตัว จนนอนไม่หลับ
เพราะทุกวันนี้มีหลายอย่างเข้ามาในชีวิตของเรา ทั้งเรื่องของตัวเอง และเรื่องที่ไม่ใช่ของตัวเอง แล้วเรา ‘เผลอ’ คิดเรื่องของคนอื่น
จนเกิดความเครียด คิดมาก หรือบางทีเราก็คิดเรื่องของเรานี่แหละ เราอาจคิดว่าเราไม่เครียดแต่เราเครียดอยู่
ซึ่งการที่เราเครียดมาก ๆ แต่ไม่รู้ว่ากำลังเครียดอะไรอยู่ มีชื่อเรียกว่า ‘Micro stress’ เป็นเรื่องเล็กน้อยที่เราไม่รู้ตัวว่ามันกำลังต่อตัวเป็นภัยเงียบให้กับเราอยู่
ถ้าเทียบความเครียดทั่วไปแล้วที่เราเห็นเป็นก้อนความเครียด แบบเราสามารถจับก้อนนั้นได้ แต่ Micro-Stress
จะเป็นเหมือนก้อนเล็ก ๆ ที่เราค่อย ๆ สะสมไปเรื่อย ๆ จนถึงวันที่มันก้อนใหญ่ให้เรา เพราะ Micro-Stress สมองไม่รับรู้เรื่องสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ว่าเป็นความเครียด
และกลายเป็นเรื่องตกค้างที่เราไม่สามารถจัดการได้ง่าย ๆ เช่น เราโดนตำหนิจากเพื่อนร่วมงาน เราทะเลาะกับที่บ้านเรื่องเดิม ๆ
เรื่องที่เคยเกิดขึ้น แล้วเราเคยรับมือกับมันได้ สมองเราก็จะคิดว่าเราจัดการได้แต่จริง ๆ มันไม่ได้หายไปมันถูกกดไว้
เพราะฉะนั้นแล้วถ้าเรากำลังเครียดแบบไม่รู้ตัวอยู่ ลองลิสต์ออกมาว่า ในแต่ละวันเราต้องเจอกับใคร ต้องคุยกับใครเป็นหลักบ้าง
เพื่อสำรวจว่า คนเหล่านั้นคือแหล่งต้นทางที่ทำให้เราเกิดความเครียดรึเปล่า และมายอยากให้ลองลิสต์รูปแบบของความเครียดที่เจอแบ่งออกมา
‘หากไม่รู้ว่าจะจัดการอะไรต่อไป ลองนอนดูสักตื่น พอตื่นมาเรื่องราวเหล่านั้นอาจเบาบางลงก็ได้’ การที่เรานอนไม่หลับ หรือยังนอนไม่ได้
เป็นเพราะสมองเรายังคิด วน หยุดคิดไม่ได้ ลองหาวิธีที่เราพอจะหลับได้และไม่ฝืนเกินไป เมื่อเราตื่นแล้ว สิ่งเหล่านั้นอาจจะเบาบางลง
และเมื่อเราตื่นเราอาจจะมีวิธีแก้ไขสิ่งเหล่านั้นก็ได้นะ :))