Posts
Red flags , Green flags ในความสัมพันธ์
Red flags , Green flags ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับเพศไหนหรือความสัมพันธ์ไหนแต่เกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้หญิงและผู้ชายและทุกความสัมพันธ์เลย ไม่ว่าจะเป็น แฟน,เพื่อน,เพื่อนร่วมงาน
Red flags ธงแดง เมื่อเป็นสีแดงเราก็จะนึกถึงความสัมพันธ์ในรูปแบบ Toxic Relationship และ Green flags ขั้วตรงข้ามของธงแดง เป็นความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรต่อสุขภาพจิต
ตัวอย่างของ Red flags , Green flags
Red flags
- การไม่เชื่อใจซึ่งกันและกัน ในทุกความสัมพันธ์ พื้นฐานคือความเชื่อใจถึงจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและแข็งแรงได้
- ควบคุมอีกฝ่ายมากเกินไป ไม่ให้ความเคารพซึ่งกันและกัน
- การทำร้ายร่างกาย
- การนอกใจ และการนอกกาย
- ทำให้เรารู้สึกตัวเล็กลง หรือมีอารมณ์ฉุนเฉียว ทำอะไรไม่ถูกใจก็เลือกที่จะตำหนิมากกว่าปรับแก้ หรือคุยกันดี ๆ
Green flags
- สื่อสารด้วยคำพูดที่ดี มองกันในแง่ดี
- มีขอบเขต ไม่ล้ำเส้นความเป็นส่วนตัวที่ตกลงกันไว้
- มี Feeling validation การยอมรับความรู้สึกกันและกัน มองว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้นของอีกฝ่ายสมเหตุสมผลแล้ว
- ไม่หนีเวลาทะเลาะ หรือใช้ความเงียบมาทำร้ายกัน
- มีความเป็นทีม ความรัก มันต้องเป็นทีม ถ้าเรารู้สึกทำงานเดี่ยว อีกฝ่ายก็จะเผชิญกับความรู้สึกโดดเดี่ยวเหมือนถูกทิ้งให้อยู่คนเดียว
นอกจาก ธงเขียว และ ธงแดง ก็ยังมีธงอื่น ๆ ด้วยนะ
Beige Flags เป็นธงที่เราไม่สามารถตัดสินได้ว่าดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับว่าเราจะพอใจ หรือไม่พอใจมากกว่า เป็นพฤติกรรม หรือนิสัยแปลก ๆ ส่วนตัว
ที่ทำให้คนในความสัมพันธ์รู้สึกขึ้นมาว่า เธอคนนี้แปลกจัง หรือบางคนก็มองว่านิสัยของ เธอคนนี้น่ารักจัง
Yellow Flags เป็นธงที่เรารู้สึกเอ๊ะและเริ่มมีพฤติกรรมบางอย่างที่ทำให้เราไม่มั่นใจความสัมพันธ์ เช่น ความชอบ นิสัยรวมถึงเป้าหมายระยะยาวที่ค่อนข้างต่างกัน
ทำให้ในบางครั้งอาจเกิดความไม่เข้าใจกันไปบ้าง แต่ความไม่เข้าใจถ้ายอมรับและสามารถอยู่ด้วยกันได้ก็ดี แต่ถ้าไม่เข้าใจ ต่อต้าน และสั่งห้ามสามารถพัฒนาไปสู่ธงแดงได้เหมือนกัน
Pink Flag ถึงแม้จะเป็นธงสีชมพู แต่ไม่ได้หมายความว่าหวานเสมอไป ธงชมพู คือเรื่องที่เกิดขึ้น เล็กๆ น้อยๆ ความไม่ลงรอยเบา ๆ ในช่วงเพิ่งเริ่มคบหา
เรื่องเหล่านี้ก็เป็นอะไรที่พอจะมองข้ามไปได้ แต่ยิ่งนานวันเข้า ยิ่งความคลั่งรักเริ่มลดลง ประเด็นเหล่านี้พร้อมจะกลายเป็นประเด็นในการเลิกราไปเลยก็ได้
รับมือยังไงกับ Red flags
- หลีกเลี่ยงหรือลดความสัมพันธ์ เราไม่จำเป็นต้องเป็นทุกอย่างให้กันในความสัมพันธ์ ต้องยอมรับความรู้สึกของเราและสิ่งที่อีกฝ่ายทำกับเราด้วย
- การสื่อสาร การสื่อสารต้องตรงไปตรงมา และไม่จี้อีกฝ่าย ไม่โยนความผิดไปที่อีกฝ่าย
- คบกับคนที่เข้ากับเรา Red Flags สำหรับเราอาจจะไม่ใช่สำหรับคนอื่น เลือกสร้างความสัมพันธ์กับคนที่เราและเขาต่างรับข้อเสียของกันและกันได้
- มอบพลังบวกดี ๆ ให้กับตัวเอง สำหรับการเปลี่ยนแปลง แต่ทุก ๆ การเปลี่ยนแปลงจะมีการเริ่มใหม่ ให้กำลังใจตัวเอง พาตัวเองไปทำอะไรใหม่ ๆ
เชื่อในตัวเองว่าถ้าหมดจากความสัมพันธ์นี้ไปยังมีอะไรที่เข้ากับเราได้มากกว่ารออยู่ เพราะถ้าเราไม่จบธงแดงจากคนปัจจุบัน เราจะเจอธงเขียวในอนาคตได้ยังไง
เพราะฉะนั้นแล้วมีอีกหลากหลายความสัมพันธ์ ที่รอเราอยู่ สุดท้ายไม่ว่าจะ ธงเขียว หรือ ธงแดง ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราเข้ากันได้ไหม เรายอมรับกันได้ไหม :))
Manifest คืออะไร?
Manifest หรือ จิตดลบัลดาล คือ ความสามารถในการสร้างชีวิตที่สมปารถนา ความสามารถในการดึงดูดสิ่งใดก็ตามที่เราอยากได้
อยากให้เข้ามาในชีวิต และทำให้เรากลายเป็นคนเเขียนเรื่องราวของตัวเราเอง แต่ Manifest สามารถทำได้จริง ๆ หรอ…
Manifest มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ควินตัมฟิสิกส์สอนไว้ว่า ทุกอย่างในจักรวาลประกอบด้วยพลังงาน ตัวเราเกิดจากพลังงาน สิ่งที่เหมือนกันจะดึงดูดกัน
ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ก็คือพลังงานถ้าเรามีพลังงานที่ High Vibe (ความรัก ความหวัง ความมั่นใจ ความสุขฯลฯ) ก็จะดึงดูดพลังงานเหล่านั้น
แต่ถ้าเรามี Low Vibe (ความโกรธ สิ้นหวัง เศร้า อิจฉา กลัวฯลฯ) ก็จะดึงดูด สิ่งเหล่านี้ก็เรียกว่า พลังของจักรวาล
“มองภาพให้ชัดเจน”
วิธีแรกคือการมองภาพสิ่งที่อยากให้เกิด สิ่งที่เราอยากเป็น บ้านที่เราอยากอยู่ คนรักที่เราอยากมี ความสำเร็จ เงินในบัญชี เป็นภาพให้ชัดเจนก่อน
การนึกภาพใหชัดเจนและมีประสิทธิภาพ คือ ไม่ใช่แค่นึกเพียงสภาพแต่เราต้องดำดิ่งว่าเราได้ครอบครองสิ่งนั้นด้วย ให้จำไว้ว่า เราดึงดูดสิ่งที่เรารู้สึก
เช่น เราอยากอยู่บ้านหลังนี้ เราต้องนึกว่าเรารู้สึกอย่างที่จะได้อยู่บ้านหลังนั้นจริง ๆ ยิ่งถ้าเรารู้สึกได้ครอบครองจะยิ่งเข้มข้น สิ่งนั้นก้จะมาหาง่ายมากขึ้นเช่นกัน
ซึ่งเวลานึกเราต้องนึกสิ่งที่เราต้องการ และจะเป็นจริง ๆ พยายามตั้งสติเลือกสิ่งที่เราต้องการ
อย่านึกหรือเขียนสิ่งที่เราคิดว่าเราน่าจะต้องการหรือสิ่งที่คนอื่น คนรักเราต้องการแทนเรา ไม่เปรียบเทียบ จิตดลบัลดาล ของเรากับคนอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
“ขจัดความกลัว และความกังขา”
การที่จะทำ Manifest ให้สำเร็จ ต้องมีความเชื่อที่มาจากจิตใต้สำนึกแต่อุปสรรคของความเชื่อ ก็คือ ความกลัว และความกังขา ไม่มั่นใจว่าจักรวาลจะจัดสิ่งเหล่านั้นมาให้จริง ๆ
โดยที่ความกลัวและความกังวลบางทีก็มาในรูปแบบ เพื่อนที่หวังดี ที่คอยบอกเราว่า อย่าหวังไกล อย่าฝันไกล เพราะอาจจะไม่สำเร็จ
เราต้องเชื่อก่อนว่าเรามีค่าควรที่จะได้รับสิ่งนั้น ระบุความกลัว ข้อกังขาให้ชัดเจนแล้วก็หาวิธีขจัด 2 สิ่งนั้นออกไป
เช่น หากเราเติบโตมาแบบไม่ได้รับความรักจากครอบครัว แต่เราอยากมีความรักที่ดี เราอาจจะเชื่อและะตอกย้ำตัวเองว่าชั้นไม่มีวันที่จะมีครอบครัวที่สมบูรณ์หรือความรักดี ๆ
สิ่งเหล่านั้นอาจจะกลายเป็นความเชื่อเราจนทำให้เราคิดแบบนั้นไปถึงแม้ว่าจะอยากมีความรักที่ดีก็จะยั้งตัวเองไว้ตลอดก็ได้
“การลงมือเชิงรุก”
การลงมือเชิงรุกก็ คือ การลงมือทำ เราลิสต์สิ่งที่อยากให้เป็นจริง แต่ถ้าเราไม่ลงมือทำเปิดโอกาสให้ตัวได้ไปเจอ ได้ไปทำ สิ่งนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น
เช่น อยากมีแฟน เราลิสต์ไว้แล้ว แต่ไม่ได้พาตัวเองไปเจอสังคมใหม่ หรือการเล่นแอปเพื่อเกิดโอกาสให้ตัวเอง เปอร์เซ็นที่จะทำให้สำเร็จเรื่องคู่อาจไม่สำเร็จเท่าไหร่
เอาชนะบททดสอบของจักรวาล
แบบทดสอบของจักรวาล มาในรูปแบบอุปสรรค คน สิ่งท้าทาย จำเอาไว้ว่า
“Manifest จะสำเร็จ ต้องเชื่อว่าเรามีคุณค่าที่ควรจะได้รับสิ่งนั้น และแสดงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสิ่งที่ควรจะได้รับ”
เวลาที่เราไม่ได้รับในสิ่งที่เราวาดหวัง ให้เราเชื่อและมั่นใจไว้ว่า จักรวาลรู้ว่าเรามีค่าควรได้รับสิ่งดียิ่งกว่าเราปรารถนา
เช่น ถ้าคนที่เรากำลังคบทิ้งเราไป ให้ยอมรับความจริงว่าเขาไม่ใช่คนที่ใช่สำหรับเรา และขอบคุณสิ่งที่ผ่านไปต้อนรับสิ่งใหม่ที่กำลังเข้ามาหาเรา
โอบรับความสำนึกรู้คุณ โดยปราศจากเงื่อนไข
เราดึงดูดสิ่งที่เรารู้สึกเข้ามา รู้สึกดีก็จะดึงดูดสิ่งดี ๆ เข้ามา เมื่อเรารู้สึก low vibe ก็จะดึงดูดความรู้สึกไม่ดีเข้ามา ซึ่งเมื่อเรารู้สึก low vibe ให้เรานึกถึงความสำนึกรู้คุณ 3 หมวด
- ความสำนึกรู้คุณตัวเอง
- ความสำนึกรู้คุณชีวิต (เช่น งาน ครอบครัว เพื่อน ที่อยู่ ฯลฯ)
- ความสำนึกรู้คุณโลก ใดใดที่เป็นสากล เช่น แสงอาทิตย์ วัฒนธรรม ฯลฯ
วิธีบ่มเพาะและโอบรับความสำนึกรู้คุณ (โดยปราศจากเงื่อนไข)
- ทุกคืนหรือทุกเช้า เขียนสิ่งที่เราซาบซึ้งใจ 3 หมวด หมวดละ 5 เรื่อง
- บันทึกความประทับใจเชิงบวก เขียนสิ่งดีทุกอย่างที่ประสบพบเจอในวันนั้น ๆ
เปลี่ยนความริษยาเป็นแรงบัลดาลใจ
แรงบันดาลใจ เป็นขั้วตรงข้ามของความริษยา
4 ขั้นตอนที่เราต้องทำเพื่อเปลี่ยนความริษยาเป็นแรงบันดาลใจ
- ตระหนักรู้ความริษยา
- รักตัวเอง เห็นอกเห็นใจ เมตตา และไม่ตัดสินตัวเอง
- ตั้งคำถามกับตัวเองว่า การตัดสินผู้อื่นนี้ขับเคลื่อนจากไหน ความกลัวหรือความกังขาใดขับเคลื่อนสิ่งนี้
- เปลี่ยนความริษยาเป็นแรงบัลดาลใจ
การรักตัวเองคือพื้นฐานในทุกขั้นตอนของ Manifest ยิ่งเรารักตัวตนที่แท้จริงที่เราเป็นและที่กำลังจะเป็นมากเท่าไร เราจะถูกกระตุ้นด้วยสิ่งรอบตัวน้อยลงเท่านั้น
ไว้วางใจในจักรวาล
ความไว้วางใจอาจเป็นการล่วงรู้ว่า ถึงแม้เราจะไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เราแค่รู้ว่ามันจะเกิด การล่วงรู้โดยปราศจากข้อกังขาว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เราปรารถนาที่สุดกำลังมาหาเรา
เวลาที่เราไม่วิตกกังวลว่าจะได้อะไรมา เพราะเรารู้ดีว่าเราจะได้มาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เราจะมีสติอยู่กับปัจจุบันได้มากขึ้น
และความไม่อดทนรอคือศัตรูของ Manifesting เวลาที่อะไรบางอย่างไม่เข้ามาหาเราโดยทันที จะเกิดพื้นที่ให้ความคิดเชิงลบ ความไม่มั่นใจ
สัญชาตญาณอาจเอนเอียงไปสู่ความคิดลบ โดยยอมให้ความกลัวและความกังขาเข้ามา
แต่ถ้าเราไว้วางใจในจังหวะเวลาอันเหมาะสม เราจะมีสติอยู่กับปัจจุบันและรู้ว่าทุกอย่างจะคลี่คลายไปในทิศทางที่ควรเป็น
หนังสือเล่มนี้เหมือนไกด์ที่มีวิธีที่ทำให้เราได้ไปปรับใช้ชีวิตจริง เช่น การที่ให้เราเลือกใช้กฎแรงดึงดูดของการทำดี พูดดี
เหมือนเป็นการปลดปล่อยพลังงานในตัวเรา ให้เกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง และรักตัวเอง ในแบบที่เรามี
แล้วจะมีสิ่งที่เข้ากับเรา ดีที่สุดที่เราอยากมีเกิดขึ้นกับเราเมื่อเราเปิดรับพลังงานเหล่านั้น 🙂
Toxic People มีหลากหลายประเภท เราจะมาทำความรู้จักกับ เห็นแก่ตัว
เห็นแก่ตัว
‘เห็นแก่ตัว’ เป็นคำที่เรารับรู้ความหมายการกระทำ ที่คนอื่นกระทำใส่เรา หรือใส่คนอื่น ถ้าคนนี้เขาทำลักษณะของคำว่า เห็นแก่ตัว เราจะรู้ว่านี่แหละคือการเห็นแก่ตัว
Melissa Deuter ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตเวชศาสตร์คลินิก กล่าวว่า ความเห็นแก่ตัวเป็นคำที่ดูน่าเกลียด แต่จริง ๆ แล้วมีความหมายที่แตกต่างกันอยู่สองอย่าง
อย่างแรกคือการเป็นคนใจร้ายและไม่เกรงใจผู้อื่น แต่อีกอย่างหนึ่งคือการที่เราต้องรับผิดชอบต่อการตอบสนองความต้องการของเรา
ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของการเป็น “ผู้ใหญ่” หมายความว่าถ้าเราใช้ความเห็นแก่ตัวในสถานการณ์หรือช่วงเวลาที่ถูกต้อง เราก็จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่นและมีความสุขมากยิ่งขึ้น
ทำไมคนเราถึงเห็นแก่ตัว?
- การเลี้ยงดู
วิธีการเลี้ยงลูกเป็นสาเหตุหลักของการปลูกฝังนิสัยเห็นแก่ตัวให้กับลูก การเลี้ยงดูแบบตามใจที่มากเกินไป ทำให้ลูกมองตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง
เอาแต่ความต้องการตัวเองเป็นหลัก ก็สามารถทำไปสู่ขาดการเคารพและเห็นอกเห็นใจคนอื่น
- สัญชาตญาณการเอาอยู่รอดของมนุษย์
สัตว์มีความเห็นแก่ตัวเหมือนกับมนุษย์ แต่มนุษย์มีสติปัญหาที่แตกต่างจากสัตว์และเราก็เป็นมนุษย์ที่สามารถสัมผัส รับรู้ ความคิด ความเห็นแก่ตัวได้
และปกติเมื่อมีความรู้สึก กลัว เกิดขึ้น มนุษย์มีจะเกราะป้องกันความรู้สึกนี้ บางครั้งก็อาจเลือกใช้ความเห็นแก่ตัวมาปกป้องการอยู่รอดของตัวเอง
เมื่อไหร่ที่ควร เริ่มเห็นแก่ตัว
- เมื่อต้องการอยู่คนเดียว หรือทำตามใจตัวเอง
เคยไหม? เวลามีเพื่อนมาชวนออกไปข้างนอก แล้วเราอยากจะตอบว่า “ไม่อยากไป เพราะอยากอยู่บ้านมากกว่า” แต่ก็ไม่กล้าพอที่จะพูดออกไป
เพราะกลัวเพื่อนไม่เข้าใจว่าทำไมเราถึงเลือกที่จะอยู่คนเดียวมากกว่าออกไปใช้เวลากับกลุ่มเพื่อน ไม่ต้องรู้สึกผิดหากเราเลือกที่จะใช้เวลากับตัวเอง
มากกว่าที่จะสละเวลาส่วนตัวอันมีค่าให้กับคนอื่น และเราเชื่อด้วยว่าคนที่เขารู้จักเราจริง ๆ จะไม่มองว่าเราเห็นแก่ตัว
- เมื่อถึงเวลาต้องพาตัวเองออกมาจากความสัมพันธ์ งาน และอื่นๆ
ช่วงเวลาที่ยากลำบากของใครหลาย ๆ คนคงจะหนีไม่พ้นช่วงเวลาที่ต้องเลิกกับแฟน หรือลาออกจากงาน
หลายครั้งเรามักจะไม่กล้าก้าวออกมาจากความสัมพันธ์เพราะกลัวจะไปทำร้ายใครบางคน
แต่ถ้าการอยู่ในพื้นที่นั้นทำให้เรารู้สึกแย่ เราก็ต้องกล้าที่จะบอกลา ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ งาน หรืออะไรก็ตาม
เพราะมันคือช่วงเวลาที่เราต้องให้ความสำคัญกับตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก
- เมื่อเรา “ให้” มากกว่า “รับ”
“ความสัมพันธ์ที่ดี เมื่อเป็นผู้รับแล้ว ก็ต้องเป็นผู้ให้ที่ดีด้วย” ลองสังเกตดูว่าตอนนี้เรากำลังอยู่ในความสัมพันธ์ที่มีความสมดุลระหว่างการให้และการรับอยู่หรือเปล่า
ถ้าเราเป็นฝ่ายให้มากกว่าก็ถึงเวลาที่เราต้องทำอะไรสักอย่างแล้ว เช่น เปิดอกพูดคุยกัน หรือตัดคนเหล่านั้นออกไปจากชีวิต
เพราะถ้าเราไม่ทำอะไรและปล่อยไปเฉยๆ ความสัมพันธ์แบบนี้ก็จะทำให้เกิดความเหนื่อยล้าทั้งกายและใจในอนาคตได้
สำหรับคนที่ “ให้” คนอื่นตลอดเวลา จนตัวเองรู้สึกเหนื่อยล้าและเครียดเอง ในบางครั้งเราก็ต้อง “เห็นแก่ตัว” และให้ความสำคัญกับตัวเองบ้าง
เพื่อดูแลสุขภาวะทางร่างกาย อารมณ์ และจิตใจของตัวเอง
“ความเห็นแก่ตัว” เป็นเหมือนดาบสองคม ถ้าเราใช้ในทางที่ถูกต้องมันก็จะให้ประโยชน์แก่ตัวเรา แต่ถ้าใช้ในทางที่ผิดผลลัพธ์ก็จะออกมาตรงกันข้าม
จัดการกับความ เห็นแก่ตัว
การที่เราเริ่มคำนึงถึงสิ่งเล็ก ๆ รอบตัวให้มากขึ้น มันจะทำให้เราใจกว้าง และลดการเห็นแก่ตัวลงไปเองทีละน้อย การสร้างนิสัยไม่เอาแค่ตัวเองหรือคนที่ฉันรัก
เช่น การทำถูกกฎระเบียบของสังคม ซึ่งไม่รู้ว่ามีอะไรมาวัดได้ นั่นก็คือกฎหมาย เมื่อไหร่ที่เราคำนึงถึงส่วนรวมได้มันเหมือนเราตัวเล็กลง แล้วเราจะมีนิสัยไม่เห็นแก่ตัว
‘ตัวเองต้องมีความสุขก่อนที่จะทำให้คนอื่นมีความสุข’ เป็นการเห็นแก่ตัวในแง่ดี ที่ทำให้ตัวเองมีความสุขก่อนเพื่อที่จะสามารถเผื่อแผ่ความสุข
ความอบอุ่นไปถึงคนรอบข้างได้ ก็อยากให้ทุกคนเห็นแก่ตัวแบบมีความสุข และไม่ทำร้ายคนอื่น 🙂
ที่มา :
เห็นแก่ตัวบ้างก็ไม่เป็นไร! รวม 5 ช่วงเวลาที่เราต้องใส่ใจตัวเอง
เคยดูละครดัง เช่น จำเลยรัก,เกมส์ร้ายเกมส์รัก,Beauty and the Beast ทรชนคนปล้นโลก
ที่พระเอกจะร้ายกาจ ทำร้ายจิตใจ ทำร้ายร่างกาย เป็นโจรปล้น แต่ทำไมเรายังรัก เพราะเขาหล่อ หรือเพราะมีเสน่ห์ หรือเพราะเป็นละคร
แต่ในชีวิตจริงมีเกิดขึ้นเหมือนกันนะ มีคำเรียกว่า Stockholm Syndrome
Stockholm Syndrome
แนวคิดพื้นฐานของ Stockholm Syndrome คือ ความรู้สึกดีที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ภายใต้การกดขี่หรือถูกทำร้าย
เป็นอาการของคนที่ตกเป็นเชลยหรือตัวประกันเกิดมีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ คนที่เป็นคนร้ายหลังจากต้องใช้เวลาอยู่ด้วยกันระยะหนึ่ง
โดยความรุนแรงและการกดขี่เหล่านี้อาจมาในรูปแบบของคำพูด การทำร้ายร่างกาย การล่วงละเมิดทางเพศ หรือการลิดรอนสิทธิ์บางอย่างในตัวเหยื่อ
สิ่งเหล่านี้เกิดได้ทุกวันและอาจต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จึงอาจเพิ่มรอยแผลและความบอบช้ำทั้งทางร่างกายและจิตใจให้กับเหยื่อได้
แต่เมื่อผู้ที่กดขี่แสดงความเห็นใจ แม้จะเล็กน้อยก็อาจทำให้เหยื่อรู้สึกถึงความดีและ เจตนาที่ดีของผู้กระทำจนทำให้เกิดความผูกพันหรือความรักในที่สุด
ดังนั้น Stockholm Syndrome อาจไม่ใช่เรื่องไกลตัวสักเท่าไร
Stockholm เป็นกลไกในการรับมือกับสถานการณ์ที่ถูกคุมขังหรือถูกทารุณกรรม ซึ่งคน ๆ นึงสามารถพัฒนาเป็นความรู้สึกเชิงบวกต่อผู้จับกุมหรือผู้ทารุณกรรม
ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หลายคนถือว่าความรู้สึกเชิงบวกของเหยื่อที่มีต่อผู้ทำร้ายนั้นเป็นการตอบสนองทางจิตใจ
เป็นกลไกในการรับมือ ที่พวกเขาใช้เพื่อเอาตัวรอดจากบาดแผลทางใจหรือถูกทารุณกรรมเป็นเวลาหลายวัน หลายสัปดาห์ หรือแม้แต่หลายปี
ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าอาการตกหลุมรักหรือผูกพันอาการนี้อาจค่อย ๆ เกิดขึ้นตามระยะเวลาที่ถูกลักพาตัวหรือถูกทำร้าย
โดยทั้งเหยื่อและผู้ร้ายอาจเกิดความผูกพันหรือเกิดความเห็นใจซึ่งกันและกันจากระยะเวลาที่ได้อยู่ร่วมกัน
ทำไมถึงชื่อ Stockholm Syndrome
Stockholm Syndrome ถูกพบและตั้งชื่อครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1973 ณ เมืองสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เมื่อเกิดเหตุการณ์ปล้นธนาคาร
และโจรได้จับตัวประกันไว้ 4 คน แต่เมื่อคดีถูกสะสาง ตัวประกันที่ถูกลักพาตัวไป ปฏิเสธในการเป็นพยาน
รวมทั้งหาเงินเพื่อสนับสนุนผู้ก่อเหตุอีกด้วย นับแต่นั้นมาอาการที่เหยื่อเกิดความเห็นใจหรือรู้สึกทางบวกกับผู้ก่อเหตุจึงมักเรียกกันว่า Stockholm Syndrome
โดยเป็นไปได้ว่าความสัมพันธ์ในรูปแบบนี้อาจมีมานาน แต่ไม่ได้มีนิยามหรือการตั้งชื่อเรียกที่ชัดเจน
อาการของ Stockholm Syndrome
Stockholm เป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนและมักเข้าใจผิด Stockholm ไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นภาวะสุขภาพจิต
ตามคู่มือการวินิจฉัยและสถิติความผิดปกติทางจิต สมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (APA) มองว่านี่เป็นการตอบสนองทางจิตใจและอารมณ์แทน
- พัฒนาความรู้สึกเชิงบวกต่อบุคคลที่จับพวกเขาไว้เป็นเชลยหรือทำร้ายพวกเขา
- มีความรู้สึกด้านลบต่อตำรวจ เจ้าหน้าที่ หรือใครก็ตามที่อาจพยายามช่วยพวกเขา หลุดพ้นจากผู้จับกุม พวก เขาอาจปฏิเสธที่จะร่วมมือกับผู้จับกุมด้วยซ้ำ
- เหยื่อเริ่มรับรู้ความเป็นมนุษย์ของผู้จับกุมและ เชื่อว่าพวกเขามีเป้าหมายและค่านิยมเดียวกัน
สถานการณ์
ในที่ทำงาน
ในบริบทนี้ อาจหมายถึงความผูกพันทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง แม้ในสถานการณ์ที่นายจ้างผิด หรือแสวงหาผลประโยชน์ก็ตาม
ในที่ทำงานอาจรู้สึกติดอยู่ในงานเนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจหรือในทางปฏิบัติอื่น ๆ และอาจต้องพึ่งพานายจ้างทางอารมณ์
อาจนำไปสู่การที่พนักงานระบุตัวตน และปกป้องนายจ้างได้ แม้ว่าจะเผชิญกับการปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสมหรือการละเมิดก็ตาม
ในครอบครัว
เกิดขึ้นได้ในบางครอบครัว เพราะว่าบางครั้งพ่อแม่ พี่น้องอาจจะทำร้ายจิตใจ หรือถึงขั้นทำร้ายร่างกาย แต่พอเขาทำดีกับเรา หรือใช้เหตุผลว่ารัก เป็นห่วง เราก็จะยอม เราก็จะรู้สึกดี
ในความสัมพันธ์
ลองนึกถึงละคร จำเลยรัก ที่ตอนแรกนางเอกโดนขืนใจทั้งร่างกายและได้รับคำพูดที่กระทบจิตใจ แต่พอเรารู้ถึงที่มาสาเหตุว่าทำไมเขาเป็นแบบนั้น
กลับอ่อนใจและรักหลงรัก ทั้ง ๆที่การกระทำที่เขาทำมาคือการกระทำที่รุนแรง ไม่ว่าจะเป็นเพราะความรัก ความหวาดกลัว ทำให้บางทีผู้ถูกกระทำลืมไปว่าเรากำลังตกเป็นเหยื่อ
ที่มา :
Stockholm Syndrome สต็อกโฮล์มซินโดรม ความสัมพันธ์จากความเจ็บปวด
The Stockholm Syndrome: From Victim to Survivor
How did Stockholm syndrome get its name?
การซุบซิบ นินทา คือส่วนหนึ่งของมนุษย์ .. ?
แบบไหนถึงเรียกว่า นินทา
ความหมายคำว่า “นินทา” ความหมายจาก ราชบัณฑิตยสถาน (น. คําติเตียนลับหลัง. ก. ติเตียนลับหลัง.)
พอรู้ถึงความหมายสิ่งที่เป็นความหมายหลักคือ คำว่า ‘ลับหลัง’
“มนุษย์ทุกคน นินทา เวลามีใครพูดถึงเราในทางที่ไม่ดีลับหลัง เราจะมักจะมองว่าเขานินทาเรา
ในทางกลับกันเวลาเราพูดถึงผู้อื่นในทางที่ไม่ดีลับหลัง เรามักจะมองว่าเราไม่ได้นินทา เราพูดเรื่องจริง”
แต่การนินทาก็มีมุมที่ดี มีผลการศึกษาวิจัยบอกว่า การนินทาจะช่วยจัดระเบียนสังคมให้ดีขึ้น หรือทำให้สังคมที่อยู่รอบตัวดีขึ้นได้
หรือการที่เราได้เห็นหรือได้ยินสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคนใกล้ตัว เมื่อเรารับรู้แล้วเราสามารถรับสารนั้นไปบอกคนใกล้ตัวของเรา เพื่อ ‘เตือน’ ได้
จัดการอารมณ์ที่ต้องเจอคน Gossip
หากเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ซุบซิบนินทา เช่น สถานที่ทำงาน กลุ่มเพื่อน หากเราไม่ชอบการที่เราถอยออกมาเป็นสิ่งที่ดีกับตัวเรา
แต่หากเราไม่สามารถถอยออกมาได้ ให้เราทำงานกับความรู้สึกตัวเอง พยายามทำความเข้าใจว่า การนินทา มีอยู่ทุกสังคม
สร้างสภาวะความมั่นคงทางอารมณ์ให้กับตัวเอง ฟังได้แต่ไม่ไหลตามไปสังคม
จริง ๆ แล้วเหตุการณ์ Toxic อาจไม่ได้เกิดจากคนไม่ดี Toxic ใส่คนดี
แต่อาจเป็นคนดี 2 คนมาอยู่ด้วยกันแล้วมีพฤติกรรมที่ไม่เข้ากันก็เลยกลายเป็น Toxic ของกันและกันก็ได้
เพราะเราทุกคนล้วนมีมุม Toxic เพราะเราล้วนทำให้คนอื่น รู้สึกว่าเรา Toxic ไม่มากก็น้อย 🙂
Peter Pan Syndrome หนังของดิสนีย์ที่เราเคยดูกันแต่เด็ก ๆ
เรื่องราวของเด็กคนนึงที่มีมนต์วิเศษที่เลือกได้ว่าไม่ต้องโต เป็นเด็กตลอดกาล ท่องเที่ยวในเนเวอร์แลนด์
Peter Pan Syndrome
Peter Pan Syndrome เป็นคำศัพท์ ‘Pop- Psychology’ ที่ใช้อธิบายผู้ใหญ่ที่มีปัญหาในการ ‘เติบโต’ เป็นภาวะซับซ้อน ที่ผู้ใหญ่ยังคงยึดติดกับแนวโน้มในวัยเด็ก
อาการจะพบได้ชัดหลังจากที่เราเรียนจบมหาลัย เราจะเริ่มมีความคิดว่าไม่อยากโต อยากเรียนต่อไปเรียน ๆ ไม่อยากรับผิดชอบ
แทนที่เราจะพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ทางสังคมและอารมณ์มีความรับผิดชอบ แต่ Peter Pan Syndrome ยังคงอยู่ในวัยเด็กไม่อยากมีความเสี่ยงในด้านใด ๆ
แม้ว่าจะไม่สามารถวินิจฉัยทางการแพทย์ได้ แต่ถ้าไม่แก้ไขอาการนี้ตั้งแต่แรกเริ่มอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้กลายเป็นภาวะทางจิต เช่น ซึมเศร้า
Peter Pan Syndrome เป็นคำที่บัญญัติโดย ดร. แดน ไคลีย์ (Dr. Dan Kiley) ซึ่งปรากฏในหนังสือ ‘The Peter Pan Syndrome: Men Who Have Never Grown Up’
ในปี 1983 และแม้จะไม่ได้ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคโดยตรง แต่ได้กลายเป็นคำที่นักจิตวิทยาใช้เรียกคนที่มีอาการไม่อยากโตจนถึงปัจจุบัน
ปีเตอร์ แพนส์ มีความขี้เล่น สนุกสนาน แต่กลับขัดกับการมีส่วนร่วมในหน้าที่ของชีวิต เป็นเสน่ห์แบบเด็กผู้ชายที่ทั้งน่าหลงใหลและน่ารำคาญ
Peter Pan Syndrome อาการ
- กลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่อยากรับผิดชอบชีวิตตัวเอง
- ระเบิดอารมณ์เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่ตึงเครียด,เศร้า,ก้าวร้าว
- มีแนวโน้มที่จะแก้ตัวและตำหนิผู้อื่นเมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น กลัวการถูกตำหนิ วิจารณ์
- ไม่อยากโต
- ความคาดหวังที่จะได้รับการดูแลจากพ่อแม่ตลอดไป
สาเหตุมาจากอะไร?
1. รูปแบบการเลี้ยงดูแบบที่ตามใจ ‘มากเกินไป’
2. การเลี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไป การเลี้ยงดูที่ไม่ได้ปล่อยให้ลูกไปเจออิสระ หรือสถานการณ์ที่ลูกต้องเจอปัญหาแล้วแก้ไขด้วยตัวเอง ทำให้ติดล่มต้องขอความช่วยเหลือจากพ่อแม่เมื่อโตขึ้น
3. ความวิตกกังวลสามารถมีบทบาทให้เกิดการพัฒนาเป็นภาวะปีเตอร์แพนได้ ในวัยผู้ใหญ่ เราถูกคาดหวังให้จัดการกับปัญหา
4. ความเหงาอาจทำให้ร่างกายอ่อนแอลงและอาจบีบให้เราต้องถอยกลับไปสู่ช่วงต้นของชีวิต (วัยเด็ก) เพื่อรู้สึกถึงความรักและได้รับการปกป้อง
5. ความกลัวการผูกมัดเป็นลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของโรคปีเตอร์แพน บุคคลที่เป็นโรคปีเตอร์แพนจะกลัวการตัดสินใจ
6. ความรู้สึกหลงทาง ความกดดันจากครอบครัวหรือคนที่เรารัก ที่ทำให้รู้สึกว่าต้องพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
Peter Pan syndrome ผลกระทบกับการทำงาน
- ตกงาน เนื่องจากขาดความพยายาม ทำงานล่าช้า หรือโดดงาน
- ใช้ความพยายามเพียงเล็กน้อยในการหางาน หรือทำงาน
- ออกจากงานบ่อย ๆ เมื่อพวกเขารู้สึกเบื่อ ถูกท้าทาย หรือเครียด
- ทำงานนอกเวลาเท่านั้น ไม่มีความสนใจในการแสวงหาโอกาสในการเลื่อนตำแหน่ง
Peter Pan syndrome ผลกระทำกับความสัมพันธ์
- ให้แฟนวางแผนทุกอย่างและตัดสินใจเรื่องสำคัญได้
- ละเลยงานบ้าน และความรับผิดชอบในการดูแลเด็ก
- ชอบที่จะ “มีชีวิตอยู่เพื่อวันนี้” และแสดงความสนใจเพียงเล็กน้อยในการวางแผนระยะยาว
- แสดงสัญญาณของความไม่พร้อมทางอารมณ์ เช่น ไม่มีความชัดเจนในความสัมพันธ์
- ใช้จ่ายเงินอย่างไม่ฉลาดและมีปัญหาอื่น ๆ เกี่ยวกับการเงิน
- หลีกเลี่ยงการแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิผล อย่างสม่ำเสมอ
ที่มา :
Peter Pan Syndrome: When People Just Can’t Grow Up
What Is Peter Pan Syndrome, and Could It Be Hurting Your Relationship?
“Stuck in Neverland”: Understanding the Peter Pan Syndrome
Are you in a relationship with ‘Peter Pan’? Here’s how to tell
Manipulate
- ควบคุมอีกฝ่ายเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง (Cambridge Dictionary)
- ทางตรง คือ การบังคับ / ทางอ้อม คือ การตะล่อม
- ใช้วิธีการต่าง ๆ (เช่น การโน้มน้าว การหลอกลวง หรืออื่น ๆ) เพื่อควบคุมให้อีกฝ่ายและสถานการณ์เป็นอย่างที่ต้องการ
ในความสัมพันธ์ มีหลากหลายรูปแบบ อาจจะอยู่ในรูปแบบของการโน้มน้าว เช่น สื่อสารว่าควรทำแบบนั้นแบบนี้เพราะ…
หรืออาจจะอยู่ในรูปแบบของการหลอกลวง เช่น ถ้าไม่… จะมีปัญหา 1 2 3
และในกรณีร้ายแรงอาจใช้การ Blackmail เช่น ข่มขู่ว่าถ้าไม่…จะ… ปล่อยรูปภาพ ปล่อยวิดีโอ แฉให้เกิดความเสียหาย ซึ่งทั้งหมดทำไปเพื่อ… ครอบงำอีกฝ่าย
การกระทำที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นคำพูดที่หลอกหลวงคนอื่น ผลคือเราอยากได้
Advice for victim
- สื่อสาร เพราะ Manipulator มีทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว ถ้ารู้ตัว ถ้าเขาตั้งใจที่จะควบคุม เป็นผลมาจากหลายสาเหตุ อาจเป็นการเลี้ยงดู ประสบการณ์ ความต้องการ หรือปัจจัยอื่น ๆ ทำให้เขากลายเป็น Manipulator
- ครอบครัว เพื่อน แฟน ถ้าไม่รู้ตัว การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญ ให้สื่อสารว่า เรารู้สึก… กับ… พูดย้อนกลับเข้าหาตัวเอง เช่น เรารู้สึกเสียใจที่เธอ… เพราะถ้าพูดจี้ไปที่อีกฝ่าย เช่น ทำไมเธอทำแบบนี้ ทำไมเธอ… จะยิ่งทำให้อีกฝ่ายป้องกันตัวเอง ไม่รับฟัง ไม่ยอมรับ
- การขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง ในกรณี Blackmail อาจจะต้องแจ้งตำรวจ แจ้งครอบครัว แจ้งคนรอบข้าง เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง
การ Manipulator สามารถใช้ในแง่ดีได้นะ เช่น แบบเราพูดโน้มน้าวให้อีกฝ่ายเปลี่ยนนิสัย เช่น แฟนเราทำนิสัยไม่ค่อยน่ารัก แต่เราก็โน้มน้าวให้เขาลองเปลี่ยนนิสัยดู
หรือการ manipulator เขาจะไม่ใช่วิธีการพูดตรง ๆ แต่จะเป็นการพูดอ้อม ๆ ออกคำสั่งแบบอ้อมๆให้้้อีกฝ่าย ทำตามโดยคนบงการไม่รู้สึกผิด หรือดูแย่
Advice for manipulator
- สิ่งสำคัญคือสำรวจตัวเองว่าพฤติกรรมอะไรที่ทำให้ความสัมพันธ์มีปัญหา
- พูดคุยสื่อสารกับอีกฝ่ายเพื่อหาทางออกร่วมกัน
สุดท้ายแล้วเมื่อเรารู้ว่าอะไรที่ไม่ดีก็ไม่ควรทำ ถ้าเราโดนทำบ้างเราก็ไม่พอใจ และรู้สึกไม่ดีเหมือนกัน 🙂
ปรึกษาใครดีเวลาเครียด เศร้า หรือความรู้สึกทางลบอื่น ๆ ทางเลือกมีหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการหันหน้าเข้าหา คนใกล้ตัว หรือ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อน vs นักจิตวิทยา vs Life coach
มีวิธีการให้คำปรึกษาที่แตกต่างกันอย่างไร มาพูดคุย Alljit x คุณวันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยาการปรึกษา
ปรึกษาใครดีเวลาเครียด? ตัวเลือกแรก = เพื่อน ?
ปรึกษาใครดีเวลาเครียด เพื่อนคือตัวเลือกแรก ๆ เพราะเราจะได้ความสบายใจ ความสนิทใจ แต่บางครั้งอาจผิวเผิน เนื่องจากความซับซ้อนในปัญหาที่มีนั้น
เพื่อนอาจไม่สามารถเจาะลึกลงไป หรือโฟกัส และเข้าใจปัญหาได้อย่างแท้จริง แต่หากเพื่อนมีความสามารถในการให้คำปรึกษาก็อาจจะทำให้เราเข้าใจปัญหาได้
การคุยกับ นักจิตวิทยา เหมือนกับการได้คุยกับเพื่อนคนหนึ่ง ?
แต่การคุยกับนักจิตวิทยายังไงก็ต้องต่างจากการคุยกับเพื่อน เพราะ นักจิตวิทยา ต้องพูดคุยให้เห็นถึงโครงสร้างของปัญหา และเห็นถึงความเชื่อมโยงภายในจิตใจ
และสะท้อนโครงสร้างของปัญหาที่เกิดขึ้นในตัวเราได้อย่างลึกซึ้ง นี่จึงเป็นความแตกต่างที่การปรึกษาเพื่อนอาจให้ไม่ได้
ปรึกษาใครดีเวลาเครียด ? คุยกับ Life Coach ได้ไหม ?
อีกบริบทหนึ่งที่น่าสนใจ คือ Life Coach จะทำหน้าที่พาผู้รับริการไปสู่การบรรลุเป้าหมาย โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
ไม่ได้มีหน้าที่บำบัดหรือรักษา ตามข้อกำหนดในใบอนุญาติประกอบวิชาชีพที่เขียนไว้ในต่างประเทศ
แต่บางครั้งเมืองไทยอาจจะยังขาดภาพที่ชัดเจนในความหมายของ เช่น เมื่อเราเจอใครซักคนที่พูดคำคมได้ จะเป็นที่ปรึกษาที่ดีให้กับเราได้
แต่การที่เราเข้าใจสิ่งหนึ่งเราจะมีความสามารในการช่วยเหลือหรือให้คำปรึกษา จนบางครั้งเราเกิดความเข้าใจกันไปว่า Life Coach แก้ไขปัญหาชีวิตได้
การให้คำปรึกษาตามแบบฉบับ นักจิตวิทยา มีจุดเด่นอย่างไร ?
นักจิตวิทยา สามารถทำหลายกระบวนการได้ภายในเวลาเดียวกันได้ เช่น ในขณะที่ร่างกายและสายตามองผู้รับคำปรึกษา หูก็รับฟัง สมองประมวลผล ตีความรวมถึงคิดถึงภาพล่วงหน้าว่า
เราควรจะจัดการสถานการณ์ตรงหน้านี้อย่างไรดี ต่อเนื่องด้วยการวิเคราะห์ และตีความต่อไปด้วยว่า ถ้าจัดการด้วยวิธีดังนี้ ผู้รับคำปรึกษาจะได้รับอะไรกลับไป โดยที่ทักษะเหล่านี้ต้องไม่กระทบต่อผู้เข้ารับคำปรึกษา
Burn toast theory หรือ ทฤษฎีขนมปังไหม้
everything happens for a reason, don’t let silly little inconveniences ruin your day.. stay unbothered queens
ทุกอย่างที่เกิดขึ้นมักมีเหตุผลเสมอ อย่าปล่อยให้ความไม่สะดวกเล็กน้อยหรือเรื่องไร้สาระมาทำลายวันของเรา
ทฤษฎีขนมปังไหม้เหมือนให้เราคิดมุมกลับว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นมักมีเหตุผลและข้อดีอยู่เสมอ ให้ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นและควบคุมไม่ได้ เช่น เราตื่นมาปิ้งขนมปังตอนเช้าก่อนไปทำงาน อาจทำให้เราเสียเวลาไปทำงาน 5-10 นาที แต่อาจจะช่วยให้เราไม่ต้องเจออุบัติเหตุบางอย่างที่ร้ายแรงก็ได้ หรือการที่เราไม่ได้ในสิ่งนั้น อาจจะทำให้เราได้สิ่งที่ดีกว่าในวันข้างหน้าก็ได้ ทฤษฎีขนมปังไหม้สนับสนุนให้เรายอมรับแนวคิด แม้แต่ความพ่ายแพ้เล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตก็สามารถนำทางเราไปสู่สิ่งที่ดีกว่าได้ มันผลักดันให้ผู้คนรับมุมมองใหม่ และมองหาความสำคัญในสิ่งที่ดูเหมือนไร้เหตุผลซึ่งเกิดขึ้นกับพวกเขาในแต่ละวันข้อดีของ ทฤษฏีขนมไหม้
- เป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับคนคิดมาก
- การเห็นคุณค่าในตัวเอง
- การเคารพตัวเอง
- ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
แต่โลกนี้ก็ไม่ง่ายเหมือน ทฤษฎี ทำความรู้จัก คิดบวกจนเป็นภัย Toxic Positivity
Toxic Positivity คือ สภาวะที่เราคิดบวกจนเกินไปทำให้ชีวิตเสียศูนย์ โดย Laura Gallagher นักจิตวิทยาจากสถาบัน Gallaher Edge ได้ให้คำนิยามของความคิดบวกเป็นพิษ (Toxic Positivity) ไว้ว่า เป็นสภาวะที่เราพยายามกดอารมณ์ ความรู้สึก และความคิดทางลบ ไว้ด้วยความคิดบวกแบบสุดโต่ง จนก่อให้เกิดปัญหาตามมา เช่น ปัญหาความสัมพันธ์ การถูกเอาเปรียบ เมื่อเกิดเหตุร้าย ๆ หรือเหตุรุนแรงขึ้นมาในสังคม คนที่มองโลกในแง่ดีจนเป็นพิษ ก็จะเลือกที่จะไม่รับรู้เหตุการณ์หรือสถานการณ์นั้น ๆ สุดท้ายแล้วเราจะคิดบวกยังไงให้พอดี?- เปิดใจให้กว้าง และมองโลกในความเป็นจริง ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นก็มีข้อดีและข้อเสียตามมา
- ยอมรับความจริง เราไม่สามารถควบคุมทุกอย่างไร
- รับรู้ภาวะอารมณ์ที่แท้จริงของตัวเอง ว่าตัวเองรู็สึกอย่างไรกับเรื่องที่เกิดขึ้น
TikTok’s Burnt Toast Theory Is All About Embracing Life’s Frustrations
From Burnt To Best: Embracing The Burnt Toast Theory For Empowerment
The Burnt Toast Theory: Navigating Life’s Detours
ในปัจจุบันที่สังคมหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพจิต “นักจิตวิทยา” จึงกลายเป็นอาชีพหนึ่งที่ถูกพูดถึง นักจิตวิทยา คือใคร ? ทำหน้าที่อะไ ร? แต่ละสาขาแตกต่างกันอย่างไร ?
มาหาคำตอบกับรายการพูดคุย Alljit x คุณวันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยา
พารู้จักกับอาชีพ “นักจิตวิทยา”
นักจิตวิทยา เป็นอาชีพที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และ เหตุผลที่รองรับได้ในหลากหลายมิติ เช่น เชิงสังคม เชิงปัจเจก สรีระ
โดยทำการทดลอง เก็บข้อมูล การสำรวจ หรือจากประสบการณ์ความชำนาญในการทำงาน
เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม และยังมีเรื่องที่วิทยาการทางวิทยาศาสตร์ไปไม่ถึง เช่นถ้าวันนี้ฉันเป็นซึมเศร้า สรุปแล้วสารเคมีในสมองสร้างความซึมเศร้าขึ้นมา
หรือซึมเศร้าก่อนแล้วสารเคมีเป็นตัวอธิบายความเศร้าที่เกิดขึ้น
นักจิตวิทยามีสาขาอะไรบ้าง ? ทำหน้าที่อะไรบ้าง ?
1. นักจิตวิทยาการปรึกษา
มุ่งเน้นการให้บริการกับบุคคลทั่วไป ที่ไม่มีความผิดปกติ การทำงานจะเอื้ออำนวยให้ผู้รับบริการเข้าใจปัญหา
2. จิตวิทยาคลินิก
จะให้ความสำคัญการช่วยเหลือผู้ที่มีสภาวะผิดปกติคืนสู่สภาวะปกติ สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างราบรื่น
3. จิตวิทยาพัฒนาการ
ศึกษาพัฒนาการตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ เพื่อทำความเข้าใจ และอธิบายพฤติกรรม
4. นักจิตวิทยาองค์กร
ศึกษาเกี่ยวกับบุคคลและสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงาน เพื่อนำความรู้ไปพัฒนา เช่น สร้างแรงจูงใจ หรือพัฒนาบุคคล เพื่อนำไปสู่เป้าหมายขององค์กร
นักจิตวิทยาทำงานข้ามสาขาได้หรือไม่ ?
สามารถทำได้ แต่จะต้องทำตามความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น นักจิตวิทยาการปรึกษาสามารถเข้าไปดูแลบุคลากรในองค์กร ที่เกิดความรู้สึกวิตกกังวล จนส่งผลกระทบต่อการทำงานได้
นักจิตวิทยาคลินิก และ นักจิตวิทยาการปรึกษา แตกต่างกันอย่างไร ?
จิตวิทยาคลินิก เป็นศัพท์ทางการแพทย์ รูปแบบหนึ่งจึงมีรายละเอียดเฉพาะตัว เช่น การทำงานเชิงคลินิก การเก็บข้อมูล การทดลองเชิงคลินิค ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ
เพราะฉะนั้นอาจไม่จำเป็นต้องอยู่เฉพาะในคลินิก สามารถไปทำงานในโรงเรียน ในองค์กรได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับเนื้องาน และประสบการณ์
ส่วนจิตวิทยาการปรึกษา เน้นในทักษะของการรับฟัง วิเคราะห์ปัญหา และนำไปสื่อสาร คุยกับผู้เข้ารับคำปรึกษา และสามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้
จะรู้ได้อย่างไรว่าควรเลือกไปหานักจิตวิทยาสาขาไหน ?
เลือกตามจุดประสงค์ของตัวเอง เช่น หากคุณไม่ได้ป่วย อยากได้รับคำปรึกษาที่ชัดเจน ก็เข้าไปพบนักจิตวิทยาการปรึกษา
อยากเช็ค อยากตรวจประเมินสุขภาพจิต เลือกเข้าพบนักจิตวิทยาคลินิก หรืออยากปรึกษาเรื่องของลูก ก็สามารถเข้าไปพบ นักจิตวายาพัฒนาการได้
ความรักที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและจบความสัมพันธ์แบบทันที เป็นความสัมพันธ์ที่มีได้ในยุคปัจจุบันนี้
ความรู้สึกชอบ หลง รัก แตกต่างกันหรือไม่?
มีความแตกต่างกัน ตามทฤษฎีสามเหลี่ยมความรัก
- Intimacy ความชอบ ความใกล้ชิด สนิทคุ้นเคยกัน
- Passion ความลุ่มหลง เสน่หา ความคลั่งไคล้
- Commitment การผูกพัน ตกลงที่จะเป็นแฟนหรือคู่ชีวิตกันและกัน
ความชอบก็เหมือนการคุยกันแล้วถูกใจ เป็นเพื่อนกันซึ่งต่างจากความลุ่มหลงคือคลั่งไคล้ ทำอะไรก็ดูดี เขาดีไปหมดทุกอย่าง
เป็นปกติเมื่อเจอกันแรก ๆ ก็จะมีความชอบและคลั่งไคล้กันมาก แต่พอผ่านไปนาน ๆ ความเสน่หาก็ลดลง
แต่ความผูกพันก็จะเพิ่มขึ้นและไปสู่การตกลงว่าจะอยู่ในความสัมพันธ์แบบไหนต่อไป
นิยามของความรักคืออะไร?
ความรักก็เป็นอารมณ์รูปแบบหนึ่งของมนุษย์ มีการคิดแยกแยะ เกิดเป็นความรัก ความรู้สึกที่ซับซ้อน
ความรักก็เป็นเรื่องที่คนสองคนชอบพอกัน มีความรู้สึกตรงกัน อยากอยู่ด้วยกัน ดูแลกันและกัน เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความต้องการต่อกัน
เวลาเป็นปัจจัยสำคัญหรือไม่?
เมื่อเจอคนที่ใช่บางครั้งเวลาก็ไม่สำคัญ แต่ความเข้าใจกันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องศึกษากันและกัน
บางครั้งตอนนี้ใช่ แต่ผ่านไปสักพักอาจไม่ใช่ ก็แยกย้ายกันไปตามเส้นทางของแต่ละคน
สาเหตุของรักไว เลิกไว?
ยุคสมัยปัจจุบันที่มีความการติดต่อสื่อสารง่ายมากขึ้น ทำให้เจอกันง่าย รักกันง่าย ทำให้เราเจอคนหลายคนมากขึ้น
มีทางเลือกเยอะขึ้น หากความรักของแต่ละคนไม่แนวแน่ก็มีสิทธิ์ที่จะเลิกกันง่าย การพบเจอกันเป็นเรื่องง่าย แต่การประคองความสัมพันธ์ให้ยาวนานยากกว่าการเลิกกัน
รักษาความสัมพันธ์อย่างไรให้ยืนยาว?
เลือกคนรักให้ถูก รสนิยมคล้ายกัน รับเราได้ในแบบที่เราเป็น ต้องประคองความรักด้วยการปรับตัวเข้าหากัน พูดคุยกัน
การสื่อสารสำคัญต่อความสัมพันธ์มาก ๆ หากไม่พูดคุยกันก็อาจมีปัญหาต่อความสัมพันธ์ได้ มีการให้อภัยต่อกัน เข้าใจกันและกัน
รับมือกับความสัมพันธ์ที่จบลงอย่างไร?
อาจต้องใช้เวลาในการทำใจ เวลาจะเยียวยาใจเราได้เสมอ จากปกติเราต้องแบ่งเวลา แบ่งหัวใจความรักให้กับคนอีกคน แต่เมื่อไม่มีเขาเราดึงตัวเองกลับมารักตัวเอง
ให้เวลากับตัวเองอย่างเต็มที่ ยอมรับความจริงในสิ่งที่เกิดขึ้น ค่อยทำใจได้พร้อมที่จะเริ่มต้นใหม่ ระยะทำใจของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
มุมมองพลังบวกก็มีผลต่อการทำใจ การมองสิ่งดีๆในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นได้
โดยส่วนใหญ่การนอกใจมักมาจากคนที่มีนิสัยเจ้าชู้ แต่การนอกใจไม่เท่ากับคนเจ้าชู้ บางคนก็อาจนอกใจได้แม้จะไม่ได้เป็นคนที่เจ้าชู้
เจ้าชู้ เป็นอาการทางจิตเวชหรือไม่?
คนที่เจ้าชู้มีได้หลายแบบ เป็นรสนิยมส่วนตัวที่ชอบมีคนรักหลายคนหรือมีคู่นอนหลายคน แยกได้หลายแบบ
บางคนก็เจ้าชู้ ชอบหยอกล้อ แตะเนื้อต้องตัว แต่เมื่อมีแฟนก็จะหยุดเจ้าชู้หรือบางคนก็มีการนอกกายและนอกใจ
คู่รักแบ่งได้หลายแบบ
- Monogamy การมีคู่สมรสคนเดียว มีแฟนคนเดียว มีคู่นอนคนเดียว
- Non-Monogamy การมีคู่สมรสหลายคน ไม่ได้มีคู่เดียว มีภรรยาหลายคน
- Open relationship ความสัมพันธ์อิสระ ต่างคนต่างมี โดยไม่ได้มีความสัมพันธ์กัน
สำคัญที่สุดคือเลือกคนที่มีรสนิยมตรงกัน เพื่อความสัมพันธ์ที่เข้าใจกันและกัน
วิธีสังเกต คนเจ้าชู้
อาจต้องลองให้เวลาศึกษากันและกัน คนเจ้าชู้มักเผื่อเลือก จะคุยกับใครหลายคน ต้องใช้เวลาในการคุยกัน สังเกตพฤติกรรมของเขาแบบไม่ตัดสินแบบเข้าข้างเขา
จะรับมืออย่างไร เมื่อถูกนอกใจ?
ควรมีหลักฐานที่ชัดเจนว่าถูกนอกใจจริง ๆ ไม่คิดระแวงเอง เมื่อถูกนอกใจเป็นปกติที่จะเกิดอาการ ‘ตกใจและปฏิเสธความจริง (shock and denial)’
และเริ่มโกรธ ต้องใช้ความรุนแรงระบายออกมา จึงเริ่มต่อรองให้อภัย อยากไปต่อกับความสัมพันธ์ สุดท้ายเกิดเป็นความเศร้า ค่อย ๆ ยอมรับความจริงว่าเขานอกใจจริง ๆ
เราควรดูแลรักษาจิตใจของตัวเองในช่วงเวลาที่เจอกับความยากลำบากจากการโดนนอกใจ ควรจัดการกับความรู้สึกของตัวเอง
ทบทวนและตอบตัวเองให้ชัดเจนว่าอยากไปต่อหรือหยุดความสัมพันธ์ไว้ หาทางออกของความสัมพันธ์ให้เจอ ว่าเราต้องการอะไร อย่างน้อยก็ควรเลือกในสิ่งที่เราสบายใจที่สุด
รับมือกับความรู้สึกที่มีต่อมือที่สามอย่างไร?
ความจริง ความคิด ความแค้น ต่อมือที่สามก็เหมือนยิ่งสานต่อปัญหาของความสัมพันธ์ ให้ยุ่งยากทำร้ายจิตใจตัวเอง
หากมือที่หนึ่งจับมือที่สองแน่นพอ มือที่สามจะไม่สามารถแทรกได้ เพราะปัญหาอาจเกิดจากคนสองคน ทำให้ดึงอีกคนเข้ามา
ควรคุยกับเขาให้ชัดเจนว่าเป็นคนแบบไหน ชอบอะไร ต้องการอะไรในความสัมพันธ์เพื่อความชัดเจนของความสัมพันธ์
รับมือกับความหวาดระแวงอย่างไร?
หากเลือกที่จะให้อภัยและไปต่อกับความสัมพันธ์ที่เคยโดนนอกใจมาก่อน ต้องยอมรับและอยู่กับความระแวงให้ได้
เพราะการนอกใจมีความไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่เกิดขึ้นเลยได้เสมอ ควรอยู่กับปัจจุบัน ศึกษากันไปเรื่อย ๆ ปล่อยให้เป็นเรื่องของอนาคต
หากคบกันแล้วไม่มีความสุข ก็ควรถอยออกมา อย่าเสียเวลา ทนฝืนต่อไป เสียดายเวลาอดีต
แต่อย่าลืมเวลาอนาคตที่เราจะเสียไปกับการไม่มีความสุข กับคนที่ไม่ใช่ กลับมาดูแลจิตใจตัวเอง
จะออกจากความสัมพันธ์อย่างไร?
ในความสัมพันธ์ที่คบกันอยู่ ลองทบทวนว่าชีวิตเราโอเคหรือเปล่า ควรกลับมารักและเห็นคุณค่าของตัวเอง หากเราเห็นคุณค่าของตัวเอง
จะเลือกตัวเองและเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้เสมอ หากยังไม่มั่นใจ มีสิ่งที่ติดค้างต่อกัน ทุกอย่างอาจเป็นเพียงข้ออ้างในการอยู่กับความสัมพันธ์ต่อไป
เราเลือกเส้นทางของตัวเองได้เสมอ เราเลือกแบบไหน ควรรับผิดชอบในสิ่งที่เราเลือก