Trust issue เพราะปมในใจทำให้ไม่กล้าไว้ใจใคร

เรื่องAdminAlljitblog

Trust issue ความไว้ใจ บางคนต้องเผชิญกับประสบการณ์เชิงลบที่ไม่ดีในอดีต

 

อาจนำไปสู่ปัญหาเรื่องความไว้ใจ แล้วส่งผลเสียต่อมิตรภาพกับครอบครัว เพื่อน แฟน หรือแม้กระทั่งกับตัวเรา

 

 

Trust issue ปัญหาด้านความไว้ใจ

“Trust issue” เป็นคำที่ใช้เรียกกันทั่วไป เพื่อบ่งชี้เมื่อมีคนแสดงพฤติกรรมที่ไม่ไว้วางใจเป็นนิสัย

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด ความไม่ไว้วางใจถ้าเป็นระยะยาวจะผลต่อชีวิตประจำวัน กับทั้งตัวเราเองและกับความสัมพันธ์รอบตัว 

 

 

สัญญาณของการขาดความไว้วางใจ

  • ตั้งคำถามถึงการกระทำของคนอื่นที่ปฏิบัติกับเรา เป็นเจ้าหนูจำไมแทบทุกเรื่อง 
  • ถึงแม้ว่าคนอื่นจะใจดีกับเราแต่เราก็สงสัยว่าทำไมเขาถึงใจดีกับเรา เขาต้องการอะไรจากเรากันแน่
  • สงสัยไม่แน่ใจในตัวเอง เป็นความสงสัยที่ทำร้ายตัวเอง
  • ตีตัวออกห่างจากผู้อื่นเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดหวัง
  • Needy Relationship การขัดสนในความสัม เป็นความสัมพันธ์ที่เราต้องการความรักความมั่นใจจากคู่ของเรา ไม่ใช่แค่กับแฟน แต่หมายถึง เพื่อน หรือ ความสัมพันธ์อื่น ๆ ด้วยโดยความต้องการที่มากเกินกว่าอีกฝ่ายจะให้ได้
  • มีช่วงเวลาที่ยากลำบากในการขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น

 

 

หวาดระแวง VS ไม่ไว้ใจ

ถ้าเราพูดถึงความไม่ไว้ใจแล้วเหมือนจะมีเส้นบาง ๆ กั้นอยู่คำว่าหวาดระแวง กับ ไม่ไว้ใจ จริง ๆ แล้วสองคำนี้แตกต่างกัน

 

โดยทั่วไปความไม่ไว้วางใจมีรากฐานมาจากความเป็นจริง เราเคยพบเจอกับบางสิ่งที่ทำให้สงสัยในความน่าเชื่อถือของผู้อื่น

 

เช่น การที่โดนพ่อแม่โกหก การโดนเพื่อนแกล้ง การโดนนอกใจ แต่ ความหวาดระแวงหมายถึงความสงสัยและความหวาดระแวงอย่างไม่มีเหตุผล รุนแรง

 

เช่น เคยโดนแฟนเก่านอกใจ ส่งผลให้ระแวงแฟนที่คบอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งคนปัจจุบันยังไม่ได้ทำอะไรใช้ชีวิตปกติสุขกับเราแต่เราก็ไประแวงเขาซะอย่างงั้น

 

Kali Wolken ที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตที่มีใบอนุญาตใน Grand Rapids รัฐมิชิแกนอธิบาย…

 

“ ความไว้วางใจตั้งอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ที่เรียนรู้ ความหวาดระแวงไม่มีที่มา ด้วยความหวาดระแวง จึงไม่มีหลักฐานสนับสนุนความสงสัยที่เกิดขึ้นกับบุคคลหรือประสบการณ์”

 

 

ปัญหาใน Trust issue มาจากไหน?

ประสบการณ์ในวัยเด็ก

ความไว้วางใจเริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงแรก ๆ ของชีวิต สังคมแรกที่เราเจอคือสังคมของครอบครัวเราพึ่งพาพ่อแม่

 

นักจิตวิเคราะห์ เอริค อีริคสัน เรียกช่วงของชีวิตนี้ว่าระยะความไว้วางใจกับความไม่ไว้วางใจและเขาเชื่อว่าระยะนี้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดแนวทางการพัฒนาในอนาคต

 

คนที่เติบโตมากับสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนฝูงที่ให้การสนับสนุนและไว้วางใจได้อาจมีแนวโน้มที่จะเชื่อใจผู้อื่นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่มากกว่าคนที่ไม่มีความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจได้ตั้งแต่เนิ่น

 

คนสำคัญในชีวิตของเราสามารถส่งผลต่อระดับความไว้วางใจของเราในภายหลังได้ ถ้าเราเชื่อใจผู้คนรอบตัวเรา และพวกเขาตอบแทนความไว้วางใจนั้น

 

เราจะใกล้ชิดกับพวกเขามากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากความไว้วางใจนั้นถูกทำลาย เราอาจพบว่าตัวเราเองไว้วางใจผู้อื่นน้อยลงในอนาคต

 

  • ทฤษฎีรูปแบบความผูกพัน

ทฤษฎีรูปแบบความผูกพันแสดงให้เห็นว่าการที่เราผูกพันกับคนที่เราอยู่ด้วยในวัยเด็กส่งผลโดยตรงต่อวิธีสร้างความสัมพันธ์ของเราเมื่อเป็นผู้ใหญ่

 

รูปแบบความผูกพันที่ไม่ปลอดภัยคิดว่าเป็นผลมาจากผู้ปกครองที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการบางอย่างเมื่อเราโตขึ้น

 

เช่น การเลี้ยงดูที่ปล่อยปะละเลย ไม่ใส่ใจ อาจนำไปสู่รูปแบบสัมพันธ์ความผูกพันที่น่ากังวล ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับความกลัวการละทิ้งในภายหลังในชีวิต

 

ในปี 2015 การศึกษาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ซึ่งสืบสวนความไม่ไว้วางใจในความสัมพันธ์แบบคู่รัก พบว่ารูปแบบความผูกพันเกี่ยวข้องโดยตรงกับระดับความไม่ไว้วางใจในความสัมพันธ์

 

ไม่ไว้วางใจพฤติกรรมที่คาดการณ์ไว้ เช่น ความหึงหวง ความรุนแรงที่ไม่ใช่ทางกายภาพ การทำร้ายจิตใจ และพฤติกรรมการสอดแนม

  • การกลั่นแกล้งหรือการปฏิเสธ

ประสบการณ์ระหว่างบุคคลและสังคมส่งผลต่อความไว้วางใจที่เรามีต่อผู้อื่น การถูกรังแกหรือเผชิญกับการถูกปฏิเสธจากสังคมตั้งแต่ยังเป็นเด็ก

 

สามารถนำไปสู่ปัญหาความไว้วางใจได้ หากคนรอบข้างทำร้ายเราซ้ำ ๆ อาจเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อใจใครเป็นผู้ใหญ่เพราะกลัวว่าเราจะเจ็บอีกครั้ง

  • ประสบการณ์ความสัมพันธ์เชิงลบ

ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีทำให้การไว้วางใจผู้อื่นเป็นเรื่องยาก เช่น แฟนที่ใช้ความรุนแรงทางอารมณ์อาจทำให้ยากสำหรับเราที่จะเชื่อใจผู้อื่นในอนาคต

 

เนื่องจากกลัวว่าพวกเขาจะทำร้ายหรือเอาเปรียบเรา หรือการนอกใจก็เป็นประสบการณ์ที่ไม่คาดคิดจนทำลายความสัมพันธ์ได้เหมือนกัน

  • การบาดเจ็บหรือ PTSD

สภาพสุขภาพจิตหรือเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจยังสามารถส่งผลต่อปัญหาความไว้วางใจได้ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อวิธีที่เรามองตัวเองและความสัมพันธ์ของเรากับผู้อื่น

 

ตัวอย่างเช่น ปัญหาความไว้วางใจอาจแสดงออกมาเป็นอาการของโรคความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD)

 

 

สร้างความไว้ใจกลับมาได้ยังไง

การที่จะกลับมาเชื่อใจ วางใจคนอื่นสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องของ Trust issue เป็นเรื่องที่ยาก

 

แต่วิธีการบางอย่างอาจช่วยให้เราเรียนรู้วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นและไว้วางใจได้มากขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ

  • เริ่มต้นสร้างความไว้วางใจจากเรื่องเล็ก ๆ

มองหาวิธีเล็กๆ น้อยๆ ที่จะไว้วางใจผู้อื่น สิ่งที่จะทำให้เราวางใจคนอื่นได้มากที่สุดก็คือตัวเรา เริ่มจากการผลักดันตัวเองให้เชื่อใจผู้อื่นในปริมาณเล็กน้อย

 

จนกว่าเราจะสามารถเชื่อใจบางสิ่งที่สำคัญกว่าได้ เมื่อมีคนพิสูจน์ตัวเองว่าสามารถรับความไว้วางใจจากเราในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เราอาจพบว่าตัวเองสบายใจขึ้นโดยขึ้นอยู่กับพวกเขามากยิ่งขึ้น

  • คิดในแง่บวก

พยายามมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับผู้อื่น เริ่มจากความเชื่อที่ว่ามีคนที่ใจดีที่มองอะไรดี ๆ ให้เราจริง ๆ การเปิดใจ เปิดกว้าง และทัศนคติในแง่ดีอาจช่วยลดความไม่ไว้วางใจผู้คนโดยทั่วไปได้

  • ไว้วางใจอย่างระมัดระวัง

การเชื่อใจง่ายเกินไปอาจทำให้ผิดหวังได้ เริ่มต้นด้วยการเรียนรู้ที่จะไว้วางใจผู้คนในระดับที่ต้องการ เช่น กับกลุ่มเพื่อนคนนี้เราพูดเรื่องนี้ไ

 

ด้ กับอีกกลุ่มเราสามารถเลือกวางใจในเรื่องนี้ได้ ซึ่งบุคคลในชีวิตเราอาจต้องพิสูจน์ตัวเองว่าเป็นคนที่เชื่อถือได้ ซื่อสัตย์ และคู่ควรแก่ความไว้วางใจของเรา

 

  • ให้โอกาส

คนทุกคนเวลาทำผิดถ้าเขายังอยากที่จะมีเราอยู่ในชีวิตเขาย่อมต้องปรับปรุงตัว ถ้ามีสถานการณ์นี้เกิดขึ้นเราลองวางใจและให้โอกาสเขา 

 

  • พูดคุยกับนักบำบัด

การขาดความไว้วางใจในผู้คนส่งผลต่อความสามารถในการทำงานได้ตามปกติหรือทำให้เกิดความทุกข์ ลองพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต

 

วิธีบำบัดที่แตกต่างกันหลายวิธีสามารถช่วยค้นพบและแทนที่ความคิดเชิงลบที่ซ่อนอยู่ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถในการไว้วางใจ

 

 

ที่มา :

How to Cope When Trusting Is a Challenge