ความทรงจำหลอก

ความทรงจำหลอก

เรื่องAdminAlljitblog

หลายคนอาจจะเชื่อว่าความทรงจำของเราเป็นสิ่งคงทน เป็นหลักฐานสำคัญที่น่าเชื่อถือ

 

แต่อยากชวนทุกคน ทบทวนดูอีกครั้งว่า ความทรงจำเราหน้าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน 

 

 

ปรากฎการร์ความทรงจำหลอกที่เกิดขึ้นในคนจำนวนมากแบบนี้เรียกว่า Mandela Effect

 

Mandela Effect คือปรากฎการณ์ที่คนจำนวนมากจำเหตุการณ์บางอย่างผิดไปจากความเป็นจริงเหมือน ๆ กัน

 

 

  1. สาเหตุแรกของ Mandela Effect หรือความจำหลอก คือ การชักจูง และ Fake News

 

มีงานวิจัย ให้กลุ่มนักศึกษาดูคลิปรถชน หลังจากดูจบให้ทั้งสองกลุ่มที่ดูคลิปเดียวกันบรรยายภาพที่เห็น ทำตอบก็ไม่ได้ต่างกันมาก 

 

เวลาผ่านไปให้ทั้งสองกลุ่มกลับมาบรรยายคลิปที่เห็นอีกครั้ง กลุ่มนึงโดนถามว่า “รถอัดกันแรกแค่ไหน” แทน “รถชนกันแรงแค่ไหน” 

 

ผลปรากฎว่า กลุ่มที่ใช่คำว่า “อัดกัน” จำได้ว่ารถชนกันแรงและเละเทะกว่าคลิปจริงๆ

 

 

2. สาเหตุที่สอง คือ สมองเติมภาพให้เต็ม

กระบวนการจำของสมองเราไม่เหมือนการถ่ายภาพเก็บไว้ แต่เหมือนเป็นการเสฟไฟล์ทับไปเรื่อยๆ ทุกครั้งที่เราระลึกถึง เราประกอบสร้างใหม่

 

รายละเอียดของความทรงจำหายไปเสมอตามกาลเวลา พอเรานึก เราก็จะเติมมันให้เต็มเอง 

 

เช่น ถ้าเราคิดว่า ตอน 6 ขวบเราทำอะไรอยู่ น่าจะตกบันไดนะ สมองก็จะเริ่มจินตนาการภาพออกมา

 

พอผ่านไป มานึกย้อนอีกที่เราก้อาจจะเริ่มเชื่อจริงๆ ว่าตอนหกขวบเราเคยตกบันได (เพราะสมองเคยสร้างภาพไว้แล้ว) แล้วพอยิ่งนึก สมองก็จะยิ่งเพิ่มดีเทล

 

 

3. สาเหตุสุดท้ายคือ ความคาดหวังและภาพจำ – ทฤษฎี Schema

 

สมองเราเติมส่วนที่ขาดหายไปให้ความทรงจำเต็มเรามักจะคาดหวังให้หลายๆ สิ่งเป็นอย่างที่มันควรจะเป็น 

 

บทความอื่น ๆ ที่ Alljit Blog

 

อ้างอิง

ความทรงจำหลอก 

Mandela Effect

การทดลองเกี่ยวกับ Mandela Effect