ความเหงา ไม่ได้แย่อย่างที่คิด ถ้าอยู่คนเดียวไม่ได้เป็นคนขี้เหงาไหม ผิดไหมที่อยู่ ๆก็เหงาขึ้นมา จริง ๆ แล้วความเหงาเกิดจากอะไร บางครั้งอยู่กับเพื่อนเยอะ ๆ แต่เหงาขึ้นมาได้ จะทำยังไงไม่ให้เหงาดี
บทความนี้ Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก
ความเหงา คืออะไร
อารมณ์และความรู้สึกหนึ่งที่เกิดขึ้นในมนุษย์ ในความรู้สึกเหงาอาจมีความรู้สึกอื่นร่วมด้วย เช่น รู้สึกไม่ปลอดภัย รู้สึกไม่สบายใจ รู้สึกอ้างว้างโดดเดี่ยว
ความเหงา มาในรูปแบบไหนบ้าง
1.อยู่กับตัวเองแล้วเหงา
2.อยู่กับสังคมแล้วเหงา
ตัวอย่างสาเหตุของ ความเหงา
- คิดถึงบางสิ่งบางอย่าง
- ความรู้สึกต้องพึ่งพาคนอื่น
- ไม่มั่นใจในตัวเอง
อยู่กับเพื่อนมากมาย ทำไมยังรู้สึกเหงา ?
ความรู้สึกยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของที่ ตรงนั้น ยังไม่ถูกยอมรับ จึงเกิดเป็นความรู้สึกเหงาขึ้น
มีแฟนแล้วรู้สึกเหงา ?
- แฟนตอบสนองเราไม่มากพอตามที่เราต้องการ
- เขาไม่สามารถสร้าง Emotional Support ให้เราได้มากเพียงพอจึงเกิดเป็นความเหงาขึ้น
ข้อดีของ ความเหงา ตามมุมมองของนักจิตวิทยา
1.เวลาที่เราเหงา หมายถึง เราได้อยู่กับตัวเอง
เราสามารถเป็นตัวของตัวเองได้ในช่วงเวลาเหงา เช่น อยากจะนอนบนเตียงฟังเพลงที่เราชอบ ออกไปนั่งที่ร้านกาแฟที่เราอยากไป เวลาเราอยู่คนเดียวก็มีความสุขกลับมาในรูปแบบของการอยู่กับตัวเอง
2.เวลาที่เราเหงา คือ ช่วงเวลาที่สงบ
เราสามารถกลับอยู่กับตัวเองโดยไม่ต้องวิ่งตามใคร ไม่ต้องคิดถึงใคร อาจจะเหงาบ้างแต่ได้ใช้ชีวิตกับตัวเอง สำคัญที่สุดคือ เราได้ทำความรู้จักตัวเองในช่วงเวลานี้
ข้อเสียของ ความเหงา ตามมุมมองของนักจิตวิทยา
ความเหงาไม่ได้เป็นอารมณ์แรกที่เกิดขึ้น แต่เป็นอารมณ์ที่ตามมาหลังจากที่เรารู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ความรู้สึกไม่มีที่พึ่งพิง จึงก่อเกิดความโดดเดี่ยว ความเศร้า
และก่อเกิดเป็นความเหงาขึ้นมา ข้อเสียจึงขึ้นอยู่กับว่าความเหงานั้นเกิดขึ้นในรูปแบบไหน
เช่น รู้สึกอยู่คนเดียวไม่ได้ อาจทำให้ เราต้องพึ่งพาคนอื่นอยู่ตลอดเวลา และเห็นคุณค่าของตัวเองลดลงจนขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
การอยู่คนเดียวไม่ได้หมายความว่าเราเป็นคนขี้เหงา ?
การอยู่คนเดียวไม่ได้ ไม่ได้หมายความว่าเป็นคนขี้เหงาเพราะต่างคนต่างมีสาเหตุที่แตกต่างกัน เช่น บางคนที่ชอบอยู่กับเพื่อนเพราะสนุก
บางคนมีประสบการณ์กับการอยู่คนเดียวในด้านที่ไม่ดี เช่น อันตรายบางอย่าง
คำจำกัดความของคนขี้เหงา
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าทุกคนมีความเหงา เวลาที่เราพูดว่าคนนี้ ”ขี้เหงา” ก็ต้องสังเกตว่าคนนี้เป็นคนอย่างไร ถึงจะให้นิยาม “ขี้เหงา” ของเขา
เช่น การที่เขาอยู่คนเดียวไม่ได้เลย ต้องออกไปอยู่กับเพื่อนตลอดเวลา ไม่ได้หมายความว่าเขาขี้เหงา แต่เขาแค่ต้องการเติมเต็มความรู้สึกบางอย่าง
ความเหงาทำให้เราเป็นโรคซึมเศร้าได้ไหม ?
ในความเหงาอาจมีความรู็สึกบางอย่างซ่อนอยู่ เช่น ความเศร้า และเมื่อไหร่ที่เราเศร้ามาก ๆ และจัดการอารมณ์ได้ไม่ได้จึงนำไปสู่ความคิดว่า ตัวเองดีไม่พอ
จนความเหงาก่อตัวเพิ่มขึ้นก็อาจมีภาวะอื่น ๆ ทางอารมณ์ ไม่ใช่แค่ซึมเศร้าตามมาด้วย
Introvert เหงาไหม ?
ทุกคนมีโอกาสเหงา ได้เหมือน ๆ กัน แค่คนที่มีบุคลิกภาพ introvert มีความสุขกับความเงียบ กับเพื่อนแค่ไม่กี่คน ไม่ได้แปลว่าเหงา หรือไม่เหงา
Extrovert เหงากว่าปกติไหม ?
Extrovert ไม่ได้แปลว่าเขาเหงากว่าคนอื่น แต่หมายถึง การใช้ชีวิตกับเพื่อน การเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั่นเป็นความสุขของเขา และเขารู้สึกดีที่ได้ใช้ชีวิตแบบนี้
จำเป็นต้องค้นหาสาเหตุความเหงา เพื่อแก้ไขและจะไม่ต้องเหงาอีกต่อไป
สุดท้ายแล้วความเหงาจะยังคงอยู่ เพราะความเหงาเป็นอารมณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นกับมนุษย์
แต่ การเข้าใจกับความเหงาที่เกิดขึ้นกับตัวเองก็เป็นสิ่งที่ดี ทำได้โดยการกลับมาคุยกับตัวเองเมื่อไหร่ที่พบเจอความเหงา แล้วอะไรที่เป็นสาเหตุของความเหงานั้น และจัดการกับสาเหตุ
“หากเกิดความเหงาขึ้น เอาช่วงเวลาของความเหงา ไปใช้ชีวิตของตัวเอง ทำอะไรก็ได้ที่เกิดความสุขขึ้นกับตัวเอง”
Post Views: 2,938