พอพูดถึง ‘ความรัก’ การที่เราเป็นแฟนกัน ต้องอยู่ใกล้ชิดกันสิ การอยู่ด้วยกัน ตัวติดกัน มันเป็นอะไรที่ดีมาก ๆ เลย แต่ ความใกล้ชิด ที่มากเกินอาจจะ ‘ทำร้าย’ ความสัมพันธ์ที่มีอยู่ก็ได้
เพราะ ความรักคือการต้องอยู่ด้วยกันตลอดเวลา ไม่
ความรักคือการที่ “มีพื้นที่” ส่วนตัวของกันและกัน ใช่
พื้นที่ส่วนตัว กับ ความสัมพันธ์ สำคัญอย่าไร?
Terri Orbuch นักจิตวิทยา ศาสตราจารย์ด้านการวิจัยจากสถาบันวิจัยสังคมแห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน และผู้แต่ง Finding Love Again: 6 Simple
กล่าวว่า “การมีพื้นที่ว่างหรือความเป็นส่วนตัวเพียงพอในความสัมพันธ์ มีความสำคัญต่อความสุขของคู่รักมากกว่าการมีเพศสัมพันธ์ที่ดี” และการให้พื้นที่ส่วนตัว ช่วยยืดความสัมพันธ์ได้
ในการวิจัยนี้ Orbuch ศึกษาเกี่ยวกับการแต่งงานและการหย่าร้าง ตั้งแต่ปี 1990 และมีส่วนร่วมในการศึกษาเรื่องการแต่งงานระยะยาวในสหรัฐอเมริกา
ที่เรียกว่า The Early Years of Marriage Project ซึ่งในโปรเจกต์นี้ ได้ติดตามคู่แต่งงาน 373 คู่มานานกว่า 25 ปี พบว่าคู่รักกว่า 46% ในโปรเจกต์นี้ ได้หย่าร้างกัน
ในระหว่างการวิจัยค้นคว้า พบว่าคู่สมรส 29% กล่าวว่าพวกเขามี “ความเป็นส่วนตัวหรือเวลาสำหรับตนเอง ไม่เพียงพอในความสัมพันธ์”
โดยฝ่ายที่เป็นภรรยากว่า 31% บอกว่ามีพื้นที่ส่วนตัวไม่เพียงพอ และ 11.5% บอกว่า เหตุผลที่ไม่มีความสุขในชีวิตคู่ เพราะขาดความเป็นส่วนตัวหรือไม่มีเวลาให้ตัวเอง
ดร.Orbuch ก็สรุปเอาไว้ว่า การให้พื้นที่ส่วนตัว ช่วยยืดความสัมพันธ์ได้ เนื่องจาก การให้พื้นที่ส่วนตัวนั้น ทำให้มีความสุขมากขึ้น และรู้สึกเบื่อน้อยลง
เพราะเวลาส่วนตัวได้เอาไปประมวลผลความคิด ไปทำงานอดิเรก และผ่อนคลายตัวเอง โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้อื่น ช่วยปลดปล่อยความเครียด และช่วยลดความกดดันในชีวิตคู่ลงได้
John Aiken นักจิตวิทยาด้านความสัมพันธ์และนักประพันธ์ก็รู้สึกเห็นด้วย เพราะการมีระยะห่างในความสัมพันธ์ จะกระตุ้นให้แต่ละฝ่ายไปรักษาความรู้สึกของตัวเอง
และรักษาตัวตนของตัวเองได้ในขณะที่ยังเป็นคู่รักกันอยู่ นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมความเป็นอิสระ และทำให้ความสัมพันธ์เหนียวแน่นมากกว่าการเกาะติดกันตลอดเวลาอีกด้วย
ความใกล้ชิด ในความสัมพันธ์บางทีก็สะท้อนถึงมุมสุขภาพจิต
Separation Anxiety โรควิตกกังวลจากการแยกจาก
อาการที่พบบ่อยในวัยเด็ก แต่ วัยผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นได้เหมือนกัน
หากตอนเด็กเราถูกละเลยหรือถูกทอดทิ้งบ่อย ๆ จะทำให้เราเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยหรือเกิดความไม่ไว้วางใจในตัวพ่อแม่หรือผู้ปกครองคนอื่น ๆ ของเรา
ก็จะนำไปสู่ “Anxious Attachment” หรือ “ความผูกพันแบบกังวล” พอโตขึ้นและมีความรักความสัมพันธ์เป็นของตัวเอง ก็อาจจะกลายเป็นคนขี้กังวลในความสัมพันธ์ได้ เช่น
กลัวถูกแฟนทิ้ง
อยู่คนเดียวไม่ค่อยได้
ต้องการความมั่นใจจากคนรักว่าเขารักเราจริงๆ
พฤติกรรมพึ่งพาคนอื่นมากเกินไป ไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองได้ กลัวการแยกจาก ถ้าอีกฝ่ายต้องจากหรือห่างไปจะรู้สึกไม่สบายใจ
ต้องการการสนับสนุนทางจิตใจ ร่างกาย อยากให้อีกฝ่ายมาซัพพอร์ตไม่มั่นใจในตัวเอง
สามารถกระทบกับความสัมพันธ์ได้อย่างไร . .
เช่น พอเรามีแฟนแฟนขอไปเที่ยวกับเพื่อน เราให้แฟนไปแต่ก็ขอไปกับแฟนด้วย ในครั้งแรกแฟนก็ให้ไปด้วย แต่ในความรู้สึกจริง ๆ เขาจะมีความพะวงว่าเราจะเบื่อไหม
เราจะสนุกไหม หรือจริง ๆ แล้ว แฟนขอไปกับเพื่อนเพราะว่าแฟนอยากไปใช้เวลาอยู่กับเพื่อนจริง ๆ ถ้าทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ การที่พึ่งพาแฟนมากเกินไป
โดยที่ไม่มีพื้นที่ส่วนตัวให้เขา พื้นที่สังคมให้กับเขาเลยอาจจะส่งผลให้กลายเป็น Toxic Relationship ได้ ลองนึกภาพว่าความสัมพันธ์เป็นวงกลมซ้อนทับกัน
วงกลมที่ซ้อนทับคือสิ่งที่เรามีเวลาร่วมกัน และก็ยังมีเสี้ยววงกลมของตัวเองทั้งคู่ พยายามอย่าให้วงกลมมันทับสวมรอยกัน เพราะนั้นอาจจะเป็นอะไรที่มากเกินไปของทั้งสองฝ่าย
ห่างแบบไหนถึงไม่ห่างเหิน
เราจะมีพื้นที่ส่วนตัวยังไงให้เรารักตัวเองไปด้วยและรักคนของเราไปด้วย
รักษาความสัมพันธ์ เวลามีแฟนเรามักจะตัวติดกับแฟนจนบางทีเราก็หลงลืมความสัมพันธ์กับรอบตัวไปด้วย เราต้องรักษาระดับความสัมพันธ์กับแฟนและคนรอบตัว เพื่อนสนิท พ่อแม่ของเรา
คุยกันอยู่เสมอ คุยกันอยู่เสมอที่ไม่ได้แปลว่าคุยกันตลอดเวลา แต่เป็นการพูดคุยกันเพื่อให้เข้าใจตรงกันในความสัมพันธ์ เปิดใจคุยกัน
รักษาความรักให้เหมือนใหม่อยู่เสมอ ถึงแม้ว่าจะคบกันมายาวนานอย่าลืมที่จะคอยหยอด หรือพูดหวาน ๆ ใส่กัน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ อาจจะเป็นการให้กำลังใจให้รู้สึกว่าเรามีอีกฝ่ายอยู่ข้าง ๆ เสมอนะ
สุดท้ายมันเป็นคุณค่าของแต่ละคนที่ให้กับสิ่งหนึ่ง มันไม่มีผิดหรือถูก มันอาจจะเป็นแค่ว่าคุณค่าของเรามันตรงกับคุณค่าของอีกคนหรือเปล่า
อีกคนยอมรับได้กับคุณค่าที่เราให้หรือเปล่า ถ้าเห็นไม่ตรงกันก็อาจจะทำให้อึดอัด แต่ถ้าเห็นตรงกันต่างคนมันก็ต่างยอมรับได้และอยู่ด้วยกันได้ 😀
ที่มา :
Separation Anxiety
Staying Compatible by Staying Yourself
Post Views: 863