คุยไม่เก่ง ไม่กล้าคุย… ยิ่งในเวลาที่เราต้องไปอยู่ในสังคมใหม่ ๆ สถานที่ใหม่ ๆ แต่พบว่าตัวเองอึดอัด ทำตัวไม่ถูก เราจะเริ่มคุยกับคนอื่นอย่างไรดี
การสื่อสารสำคัญอย่างไร
ทักษะทางสังคม คือ การแสดงออกผ่านคำพูดและการกระทำเพื่อสื่อสารกับผู้อื่น สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ผ่านค่านิยม วัฒนธรรม ความเชื่อต่างๆ เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและพัฒนาได้ตลอดชีวิต
โดยทั่วไปแล้วเด็กเรียนรู้และเข้าใจ “ทักษะทางสังคม” ผ่านประสบการณ์ที่สะสมมาของตนเอง และรับรู้ว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ซึ่งมีความสำคัญมาก ๆ เช่นกัน
ทักษะของการสังคมมีหลายทักษะมาก ๆ แต่การที่เราจะเริ่มทำความรู้จักกับใครสักคน อย่างแรกคือการพูดคุย ที่จะทำให้เรารู้จักเขา รู้จักเราถึงจะไม่ใช่การรู้จัก ลึกสนิทในครั้งแรกแต่ก็ทำให้เหมือนเป็น
First impression แรก ๆ ว่าเราอยากคุยกับเขาต่อไหมด้วย ซึ่งทักษะการเข้าสังคมสามารถฝึกได้ เข้าใจมาก ๆ เรื่องความขี้ อายไม่มั่นใจ ไม่กล้าจะคุยกับคนอื่นอย่างไรดี
คุยไม่เก่ง อะไรทำให้เราไม่กล้าเริ่มต้นบทสนทนา
1. ขี้อาย
สำหรับบางคนความเขินอาย ขี้อาย อาจเป็นอุปสรรคในการเข้าสังคม และไม่รู้จะทำอย่างไรกับสถานการณ์ทางสังคมบางอย่าง บางคนมือสั่น หน้าแดง ใจเต้นรั่ว เมื่อจะต้องเจอคนใหม่ ๆ คุยกับคนใหม่ ๆ
2. กลัวการถูกตัดสิน low self-esteem
จากความกลัวที่จะพูดในสิ่งที่ผิดหรือถูกตัดสิน คนอื่นอาจรู้สึกอายเพราะไม่รู้จะพูดอะไร ถ้าพูดไปเขาจะคิดอย่างไร จะพูดผิดไหม คนอื่นจะชอบไหม เขาจะคิดกับเราไม่ดีหรือเปล่า
3. รู้สึกถึงความไม่เข้ากันบางอย่างกับคนใหม่ ๆ
ในบางกรณี เรามองหน้าใครแล้วเรารู้สึกว่าไม่อยากคุยด้วยเลย ไม่กล้าคุยด้วยเลย กับคนนี้จะคุยอย่างไรดี เหมือนมีฟิลเตอร์บางอย่างเกิดขึ้นมาอาจทำให้เกิดอคติบางอย่างเกิดขึ้น
4. Introvert
ไม่ใช่ว่า คน Introvert จะไม่กล้าคุย แต่เขาต้องใช้พลังอย่างมากมายในการที่จะพูดคุยกับใครซักคนในระยะเวลายาวนานนั่นเอง
5. ปัญหาทักษะทางสังคมบางอย่าง
เราเกิดมาก็จะเรียนรู้ทักษะทางสังคมผ่านการสังเกตและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยเฉพาะการเล่นกับเพื่อน การไปโรงเรียน การทำกิจกรรมกับครอบครัว
ในช่วงวัยหนึ่งหากเราเป็นคนชอบอยู่บ้านมาก หรือเล่นแต่เกมส์ ติดโซเชี่ยล จนไม่มีเวลาออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ทักษะการเข้าสังคมเราอาจจะไม่ได้ถูกพัฒนา
การเปิดเผยตัวตน
ในข้อมูลจาก the matter บอกว่า คนที่คุยกันเรื่องอื่นที่ไม่ใช่เรื่องงานมีแนวโน้มจะเป็นเพื่อนกันได้มากกว่า ข้อนี้รู้สึกว่าเออใช้ เพราะถ้าเทียบกับเพื่อนสมัยเรียน เพื่อนทำงาน ความเรียนเราคุยกันได้ทุกเรื่อง ประสบการณ์
ชีวิตต่าง ๆ พอมาเป็นเพื่อนที่ทำงาน เหมือนว่า topic อะไรก็ต้องเรื่องงาน เรื่องเจ้านาย มีบ้างที่เป็นเรื่องการใช้ชีวิต ซึ่ง ข้อมูลได้บอกว่า การที่เราจะสนิทกันคนๆนึงได้ต้องมีขึ้นตอน
Self-disclosur การเปิดเผยตนเอง หมายถึง การที่คน ๆ นึงปิดเผยความคิด ความรู้สึก รวมถึงข้อมูลของตนเองต่อผู้อื่น เพื่อให้เกิดความเข้าใจและไว้วางใจกับระหว่างบุคคล ซึ่งนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
How to เริ่มต้นการสนทนาของฝ่ายที่ไม่กล้าคุย
1. Break the ice
เป็นสำนวนภาษาอังกฤษ แปลว่า การละลายพฤติกรรม หรือก็คือเราอาจจะทำให้บรรยากาศในการพูดคุมมีความสบาย ๆมากขึ้น ชวนกันไปทำกิจกรรมที่ต่างคนต่างชอบเพื่อละลายพฤติกรรม
2. Small talk
ถ้ายังไม่สนิทกันอาจเริ่มจากการ small talk เล็กๆ เพื่อให้อีกฝ่ายรับรู้ว่าเราอยู่นี้น้า ซึ่งหลักของการ small talk คืออย่ารีบพูดเรื่องส่วนตัวมากเกินไป
3. ทั่วไปแล้วค่อยลงลึก
เริ่มจากคุยเรื่องสัพเพเหระ ดินฟ้า อากาศก่อน แล้วค่อย ๆ แชร์ความเป็นตัวเอง ความส่วนตัว ถ้าเราเปิดเผยก่อนจะทำให้อีกฝ่ายมีความไว้วางใจ และเริ่มเปิดเผยของฝั่งตัวเองเหมือนกัน
4. แชร์ความชอบ
การหาหัวข้อ topic ที่ชอบเหมือนกันทำให้บทสนทนาไหลลื่นได้
How to เริ่มต้นการสนทนาอยากชวนคนขี้อายคุย
อย่าถือเอาความเงียบของคนอื่นมารบกวนจิตใจตัวเอง
คนขี้อายหรือเงียบทุกคนเคยมีประสบการณ์ที่คนอื่นจะรำคาญเขา เพราะพวกเขาเป็นคนเก็บตัวและไม่ช่างพูด เป็นเพียงสิ่งที่พวกเขาทำ พวกเขาอยู่เฉย ๆ และไม่พูดมาก
ไม่ใช่เพราะพวกหยิ่ง หรือทำลายบรรยากาศสนุกสนานในห้อง หรือมันเป็นสไตล์เขาที่จะนั่งชม นั่งฟัง นั่งดู เฉย ๆ
อย่าชี้ให้เห็นสัญญาณทางกายภาพที่แสดงถึงความประหม่าหรืออายของพวกเขา
“เธอกำลังหน้าแดง!” เป็นอะไร ทำไมไม่ค่อยพูดเลย เขินหรอ ไม่ต้องเขินหรอก เห็นได้ชัดว่าสิ่งนี้จะทำให้รู้สึกกระวนกระวายใจมากกว่าเดิม
เป็นผู้นำในการสนทนา
บางคนพูดน้อยเพราะพวกเขารู้สึกเขินอายและคิดไม่ออกว่าจะพูดอะไร การเป็นผู้เริ่มต้นบทสนทนาก็ช่วยได้ เช่น
- เริ่มต้นด้วยคำถามปลายเปิดกว้าง ๆ
- ชวนคุยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วยอารมณ์ขัน
ระวังหัวข้อที่พูดคุย
ความเขินอายหรือนิสัยสันโดษอาจมาพร้อมกับสิ่งต่าง ๆ เช่น ไม่มีประสบการณ์ด้านความรัก หรือ การมีเพื่อนไม่มาก
ให้เวลาพวกเขาวอร์มเครื่องหน่อย
คนขี้อายต้องพูดคุยกับใครสักคนเป็นครั้งแรก พวกเขามักจะรู้สึกกังวล ต้องให้เวลาเพื่อคลายความระแวดระวังก็จะจางหายไปแค่รอสักครู่ เพื่อให้ความรู้สึกไม่สบายหายไป
นอกจากจะคุยแล้วยังต้องเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย
การเป็น “ผู้ฟังที่ดี” สิ่งที่ง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็ควรทำ การที่รู้ว่าเวลาไหนควรฟัง เวลาไหนควรพูดหรือถาม เวลาที่อีกฝ่ายกำลังพูดหรือเล่าเรื่องของตัวเอง เราก็ควรรอฟังให้จบ ไม่ควรพูดแทรกเรื่องของตัวเองไปกลางคัน
และที่ต้องย้ำสุด ๆ คือการที่เราเอาแต่เล่าเรื่องของตัวเอง โดยที่ไม่ถามถึงเรื่องของอีกฝ่ายเลย ทั้งน่าเบื่อ ทั้งแสดงให้เห็นว่าเราไม่สนใจอยากรู้เรื่องของเขาเลย อาจจะทำให้คนที่เราคุยด้วยไม่อยากคุยกับเราก็ได้
Selective mutism
ไม่พูดบางสถานการณ์ (Selective Mutism) คือ การที่ไม่ยอมพูดในสถานการณ์บางอย่าง ทั้ง ๆ ที่สามารถพูดได้ปกติในสถานการณ์อื่น ถึงแม้ว่าจะไม่พูด ก็จะมีการสื่อสารโดยวิธีอื่น เช่น ภาษาท่าทาง วาดรูป พยักหน้า ส่ายหัว เป็นต้น
คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการที่เด็กกลุ่มนี้ไม่พูดเพราะโกรธที่ถูกตำหนิหรือถูกลงโทษ เมื่อบังคับให้พูด ก็ดูเหมือนเด็กยิ่งไม่ให้ความร่วมมือ ทั้ง ๆ ที่การไม่พูด ก็เป็นเพียงแค่วิธีหนึ่งที่เด็กใช้เพื่อลดความเขินอายและความวิตกกังวลในการเข้าสังคม
Post Views: 2,387