ใคร ๆ ก็ชอบความสมบูรณ์แบบ แต่โลกนี้ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบไปทั้งหมด เราจะ Perfectionist อย่างไร? ไม่ให้ทำร้ายตัวเองและคนอื่น
Perfectionist คือ
Oxford Language ให้คำนิยาม Perfectionist ไว้ว่า a person who refuses to accept any standard short of perfection. บุคคลที่มักจะปฏิเสธและไม่ยอมรับมาตรฐานใด ๆ ที่ขาดความสมบูรณ์แบบ
Perfectionist แปลเป็นไทย คือ ผู้ที่ชื่นชอบในความสมบูรณ์แบบ คำว่า สมบูรณ์แบบ เป็นความหมายเชิงบวก แต่อะไรที่มากเกินก็ไม่ใช่แค่ส่งผลดี ผู้ที่ชื่นชอบในความสมบูรณ์แบบเขาจะหลงใหลความสมบูรณ์มาก
ประมาณว่าถ้าอะไรผิดไปจากลำดับขั้นตอนชีวิตของเขา เขาจะรู้สึกกังวล กดดัน ตึงเครียด และบางรายอาจจะก่อไปถึงปัญหาสุขภาพจิตถึงขั้นซึมเศร้าได้เลย
จากข้อมูลของ Brandinside บอกว่า
ในช่วงปี 1950 Perfectionist ถูกมองในแง่ลบถูกจัดให้เป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบประสาท ทุกอย่างต้องเป็นไปตามความคิดในอุดมคติของตัวเอง ต้องสามารถแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้
ทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้กลายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ มีการตั้งความหวังกับตัวเองที่มากเกินไป แต่ในยุคถัดมามีการเปลี่ยนมุมมองต่อ Perfectionist จากอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท
เป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพจิต ประเภทเดียวกับความเครียด ความหดหู่ และอาการหมดไฟ ที่เกิดจากการตั้งความหวังกับตัวเองมากเกินไป
ลักษณะ สัญญาณที่บอกว่าเราเป็น Perfectionist
1. ตั้งเป้าหมายที่สูงทำงานหนักเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ และไม่ยอมที่จะตกลงมา จะทำให้ถึงที่สุด แบบสุดโต่ง ถ้าทำแล้วไม่เป็นแบบเป้าหมายก็จะรู้สึกว่าตัวเองผิดหวังมาก ล้มเหลวมาก
2. มีความเข้มงวดกับความไม่สมบูรณ์แบบของตัวเอง ถ้าตัวเองเคยทำสิ่งผิดพลาดจะไม่ปล่อยวางความผิดพลาดนั้น
3. Perfectionist จะมีความรู้สึกกลัวว่าถ้าเขาไปไม่ถึงเป้าหมายหรือสำเร็จน้อยกว่าเป้าหมายที่เขาตั้งไว้คือความล้มเหลว
4. มีการตั้งเป้าหมายที่สูงมาก ๆ จนบางทีเป้าหมายนั้นก็เกินจะเอื้อมถึง เช่น แบบ ต้องมีเงินเก็บภายใน …. ต้องได้สิ่งนั้นภายใน … มีความกดดันตัวเอง
5. Perfectionist จะมุ่งมั่นที่จะทำเป้าหมายให้สำเร็จจนลืมระหว่างทางในการทำให้สำเร็จจนทำให้ระหว่างทางพวกเขารู้สึกว่ามันไม่สนุก ทำด้วยความเหน็ดเหนื่อยไม่มีความสุข
6. การผลัดวันประกันพุ่ง พวกที่เป็น Perfectionist จะรู้สึกว่าถ้าวันนี้มันไม่ดี เขาก็จะไม่ทำเลยเพื่อหลีกเลี่ยงความล้มเหลวที่เกิดขึ้น
7. การแสดงออกถึงความไม่สมบูรณ์แบบค่อนข้างจะเป็นสิ่งที่น่าเจ็บปวดสำหรับ Perfectionist พวกเขาจึงมักจะมีการเติบโต้หรือแรงตั้งรับเสมอสำหรับคำวิจารณ์ที่ได้รับ
8. Perfectionist จะมีความวิจารณ์ตัวเอง ลดคุณค่าในตัวเอง เวลาที่ตัวเองล้มเหลว การ Low Self-Esteem สิ่งนี้อาจส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสุขภาพจิตได้
9. ชอบอะไรที่สามารถคาดการได้ล่วงหน้า
ประเภทของ Perfectionist
มีทั้งหมด 3 ประเภท
1. Self-oriented Perfectionist คือ Perfectionist ที่ตั้งมาตรฐานความสมบูรณ์แบบให้กับตัวเอง คาดหวังว่าตัวเองจะต้องทำทุกอย่างให้ดีที่สุด แต่ไม่ได้ไปกดดันคนอื่นให้ทำตามมาตรฐานของตัวเอง
2. ประเภทที่สองคือ Socially Prescribed Perfectionist คือ Perfectionist ที่เชื่อว่าคนอื่นๆ ในสังคมจะยอมรับถ้าตัวเองมีความสมบูรณ์แบบ
3. Other-oriented Perfectionist คือ Perfectionist ที่ตั้งความหวังกับคนรอบตัวว่าจะต้องสมบูรณ์แบบ ไร้ที่ติ ไร้ข้อผิดพลาด ซึ่งแน่นอนว่า Perfectionist ประเภทนี้ย่อมส่งพลังในแง่ลบสู่คนอื่นได้ง่าย
ทำไมถึงเป็น Perfectionist
1. กลัวการตัดสิน
กลัวว่าคนอื่นจะตัดสินในความผิดพลาด ทำให้เป็น Perfectionist ได้ ถึงภายนอกจะดูเป็นคนที่มุ่งมั่น มีเป้าหมาย แต่ในความกระหายความสำเร็จลึก ๆ ได้ซ่อนความกลัวไว้
กลัวว่าแบบนั้น กลัวว่าแบบนี้เลยมีความสุดโต่งกับตัวเองไปเลยว่าเราต้องทำสิ่งนี้ให้สำเร็จ
2. บาดแผลในวัยเด็ก (Childhood trauma)
การถูกปลูกฝัง เลี้ยงดู ความคาดหวังของพ่อแม่ ได้สร้างบาดแผลในวัยเด็ก ส่งผลให้พอเติบโตมากลายเป็น Perfectionist
3. มีปัญหาทางจิต เช่น ย้ำคิดย้ำทำ (OCD)
Perfectionist กับ OCD จะมีความคล้ายคลึงกันคือจะทำสิ่งนั้นย้ำ ๆ บ่อย ๆ จนกว่าจะเกิดความพึงพอใจ เช่น ถ้า Perfectionist ที่รักในความสะอาดก็จะถูพื้นบ่อย ๆ ไล่เก็บเส้นผมที่ร่วงบนพื้นถึงแม้จะมีเพียงเส้นเดียวที่หล่น
4. เคยถูกเพิกเฉย ไม่ได้รับความสนใจ
พื้นฐานของคนเราต้องการการมีสังคม การที่ถูกละเลยไม่ได้รับความสนใจในวัยเด็กก็เป็นหนึ่งสาเหตุที่กระตุ้นให้เราหันมาพัฒนาตัวเอง เพื่อให้เป็นจุดสนใจได้รับความรักและคำชื่นชม
5. ความคาดหวังจากครอบครัวและตัวเอง
ครอบครัวอาจจะคาดหวังและสร้างเงื่อนไข เพื่อให้ลูกประสบความสำเร็จ ลูกก็จะทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองประสบความสำเร็จ จนเขากลัวความผิดพลาด
เด็กเป็น perfectionist ได้
เช่น คาดหวังกับตัวเองสูง โฟกัสที่คนอื่นว่าจะมองตัวเองยังไง แพ้ไม่เป็น หวั่นไหวง่าย จัดลำดับความสำคัญของตัวเองไม่เป็น
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า เด็กที่ติดความสมบูรณ์แบบมาจาก สองอย่างหลัก ๆ คือ ติดสมองเด็กมาตั้งแต่เกิด และ จากการเลี้ยงดู ซึ่งการที่เด็กเป็น Perfectionist ส่วนใหญ่จะมาจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่
เช่น การได้รับคำชม การได้รับคำชมมันดีมาก ๆ เลย แต่อะไรที่มันมากเกินไปหรือชมในทางที่มันผิด อาจจะทำให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเองจนไม่กล้าตกลงมาจากที่สูงที่ที่เขาอยู่เลย
ในอีกกรณีนึงคือการแบกความคาดหวังของพ่อแม่ การเลี้ยงลูกที่เลี้ยงเพื่อตอบสนองความต้องการของพ่อแม่เอง เลี้ยงลูกเพื่อคลายปมในใจของพ่อแม่ในวัยเด็กก็ทำให้ลูกกลายเป็น Perfectionist ได้
พ่อแม่และคนอื่นๆ ควรมีความคาดหวังที่สมเหตุสมผลและให้ความสำคัญกับความพยายามของลูกมากกว่าผลลัพธ์ ชมในสิ่งที่เขาทำได้ดี แนะนำในสิ่งที่เหมาะสม
ข้อดี
1. มีความละเอียด รอบคอบ เช่น เวลาทำงาน คนที่เป็น perfectionist งานของเขาจะมีความเป๊ะ และสมบูรณ์แบบมาก ๆ
2. มีเป้าหมาย ทำให้มีเปอร์เซ็นต์ประสบความสำเร็จสูง
3. ถูกรับเลือกให้เป็นหัวหน้า ผู้นำ
หัวหน้าส่วนใหญ่จะเป็น Perfectionist เขาจะมีความสามารถในการประคับประคองโปรเจคให้สำเร็จได้ หรือ สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
Perfectionist จะละเอียดรอบคอบมาก เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความแม่น ความเป๊ะสูง
ข้อเสีย
1. Perfectly Hidden Depression (PHD)
จากข้อมูลของเว็บไซต์พญาไทย.com บอกไว้ว่า ติดความเนี๊ยบมากเกินไปอาจจะเสี่ยง Perfectly Hidden Depression (PHD) กลุ่มอาการซึมเศร้าที่มาจากการเสพติดความสมบูรณ์แบบ
กลุ่มอาการนี้จะมีอาการแสดงออกที่ไม่รุนแรง ไม่มีความรู้สึกจมดิ่ง ไม่เคยมีความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย เพราะเขาจะเก็บซ่อนความหดหู่เอาไว้ภายใต้ความสำเร็จ ความเครียดที่สะสมจะทำร้ายเรา
จากทั้งความคาดหวังจากตัวเอง ครอบครัวและสังคม เขาจะไม่เปิดโอกาสให้ตัวเองได้มีอิสระหลุดจากรอบของความสมบูรณ์แบบ มีแต่ความรู้สึกว่าต้องทำได้ดีกว่านี้ วนลูปไปเรื่อย ๆ
สิ่งนี้อาจจะนำไปสู่อาการซึมเศร้าแฝงได้โดยไม่รู้ตัว
2. คนรอบข้างอึดอัด
หากเราอยู่กับคนที่ตรงเป็นไม้บรรทัดมากเกินไป แน่นอนว่ามันจะตามมาด้วยความรู้สึกที่อึดอัด การที่ตึงมากเกินไป ทำอะไรเป็นลำดับขั้น เพื่อให้มันออกมาสมบูรณ์แบบมันคือข้อดี
แต่ถ้ามันมากเกินไปมันก็ไม่ถือว่าดีที่สุดอยู่ดีเพราะฉะนั้นต้องมีความยืดหยุ่นบ้าง อาจจะไม่ใช่ทุกเรื่อง แต่ต้องดูสถานการณ์ เพื่อให้การใช้ชีวิตและความสัมพันธ์ของคนรอบตัวมีความ Healty และ balance
3. เมื่อเจอกับสิ่งที่ไม่ตรงตามมาตรฐานจะอึดอัดใจ
เหมือนมีบางอย่างไม่ถูกปลดล็อค หรือถ้ามี Process การทำงานที่มันเปลี่ยนไปจากเดิมที่เราวางแผนไว้จะไม่สบายใจ กังวลมาก ๆ ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร
แต่เอาเข้าจริงการที่เรารู้จักยืดหยุ่นกับตัวเองจะทำให้เราเจอกับวิธีที่จะทำให้เราทำงานง่ายและสร้างสรรค์มากขึ้น ไม่fixed กับตัวเองจนเกินไป
4. มีการคิดแบบ 2 ขั้วตรงข้ามสุดโต่ง Black and White Thinking
สิ่งนี้คือ กลไกป้องกันตัวเองทางจิตวิทยาของคนที่มีปัญหา เขาจะรู้สึกว่าการคิดแบบนี้ ทำให้เขามีชีวิตที่มีกฎหรือแบบแผนที่แน่นอน มั่นคงและเข้าใจง่าย เขาจะยึดมั่นเรื่องกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผน
สรุปเร็วและง่ายเกินไป ไม่เปิดใจกว้าง ไม่ยืดหยุ่น ถ้าไม่ได้ทั้งหมด ก็ไม่ได้อะไรเลย หรือถ้าไม่สมบูรณ์แบบ ก็คือย่ำแย่ที่สุด คนนี้แย่ที่สุด คนนี้ดีที่สุด
รับมืออย่างไรถ้าคนใกล้ตัวเป็น Perfectionist
ต้องถามว่าเป็น Perfectionist ประเภทไหน ถ้าเป็นแบบที่เขามีมาตรฐานของตัวเอง ในการทำงานหรือใช้ชีวิตเราจะไม่ต้องไปหนักใจกับเขาเลยไม่เหนื่อยเพิ่ม
ส่วนถ้าเป็นประเภทที่ตั้งมาตรฐานให้กับคนอื่นว่าต้องเป๊ะ อันนี้มันค่อนข้างน่าอึดอัดใจมาก ๆ สิ่งที่เราทำได้คือ Approve แค่ในส่วนที่มัน Make Sense เท่านั้น ส่วนอื่นที่มันเกินไปก็แค่รับฟัง
ในการทำงาน พยายามอย่าปล่อยให้ Perfectionist สร้างมาตรฐานและตั้งความหวังกับงานที่ทำมากเกินไป เพราะอาจจะกลายเป็นการส่งพลังในแง่ลบให้คนอื่น
ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อเนื้องานและความสัมพันธ์ในการทำงาน อันนี้เป็นเรื่องที่คนในทีมต้องคุยกัน
ทำอย่างไรให้ความเป็น Perfectionist มีประโยชน์
สิ่งที่ทำได้คือ Positive self talk ให้กำลังใจตัวเอง พูดถึงข้อดีของตัวเอง ไม่เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น มันอาจจะดูเป็นเรื่อง Basic
แต่เชื่อไหมว่า การมองว่าตัวเองไม่ดีหรือเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เป็นจุดฉนวนที่ทำให้เรา Low-Self Esteem และกลายเป็น Perfectionist ที่ไม่มีความสุข
และฝึก Flexible คือ ยืดหยุ่นกับตัวเอง การที่เป็น Perfectionist เป็นเรื่องที่ละเอียดกับสิ่งรอบตัวมาก ๆ จนบางทีก็นำสิ่งเหล่านั้นมาใส่ตัวเองทั้งหมด ใส่จนมันหนักกับตัวเอง
การระบายมันออกมาโดยการจัดวางความคิดผ่านการเขียน เขียนทีละอย่างลงโน้ต และก็ Self Talk ทำความรู้จักและเท่าทันความรู้สึกของตัวเอง การที่ทำอะไรสุดโต่งมากเกินไปมันเหนื่อยมาก ๆ เลย
“โลกนี้ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ” รวมถึงตัวเราเองด้วย เราทำผิดพลาดได้ การมีมาตรฐานในใจเป็นเรื่องที่ดี แต่อย่าให้มาตรฐานนั้นกระทบกับคนอื่นและที่สำคัญที่สุดอย่าให้มาตรฐานนั้นเป็นกำแพงความคิดของเรา
ทำให้เราไม่เจอกับวิธีที่สร้างสรรค์และดีกับตัวเรา Nobody Is Perfect ทุกคนสามารถทำผิดได้ สามารถแพ้ได้ สามารถมีความรู้สึกผิดได้ ไม่ใช่เรื่องแปลกเรื่องที่ผิดเลย
คนที่รักความสมบูรณ์แบบถ้าใครกำลังเป็นอยู่แล้วรู้สึกว่าชีวิตมันตึงจังเลย ลองหาวิธีปรับเปลี่ยนในบางเรื่องดูก่อน ค่อย ๆ ทำ ให้เวลาตัวเองเพราะชีวิตของเราการมีตรงกลาง
ไม่ขวาสุด ไม่ซ้ายสุด ไม่สุดโต่งก็จะทำให้เรามีความสุขมากขึ้น
ที่มา :
https://brandinside.asia/perfectionist-personality-may-harmful-work-environment/
https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/110657
https://www.mindtools.com/pages/article/flexibility-at-work.htm
https://www.verywellmind.com/signs-you-may-be-a-perfectionist-3145233
Post Views: 6,008