การเตรียมตัว วางแผน พูดคุยกันไว้ก่อน เป็นเรื่องที่ดี เพราะถ้าเราตกลงกันไว้
คนใกล้ชิด ที่จะต้องตัดสินใจบางอย่างในอนาคตจะได้ไม่ต้องเครียดจนเกินไป หาทางออกไม่ได้
หรือรู้สึกผิดที่จะต้องตัดสินใจบางอย่าง หรือต้องแบกความรู้สึกไว้คนเดียวเรื่องการรักษาเหล่านี้กลายเป็นหน้าที่ของครอบครัว
ลูกหลานของคนไข้หลาย ๆ คนบอกว่ารู้สึกลำบากใจ บางคนรู้สึกผิดหลังจากเลือกการรักษาต่าง ๆ
ซึ่งเอาจริง ๆ มันเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ ว่าจะต้องทำอย่างไร…
ชวนตั้งคำถามเรื่องความตาย
- รู้ใช่ไหมว่าคนเราทุกคนเกิดมาก็ต้องตาย แล้วเคยคิดถึงความตายของตัวเองบ้างหรือเปล่า?
- ถ้าวันหนึ่งสุขภาพแย่ลง สภาพแบบไหนที่ไม่ต้องการ หรือ ยอมรับไม่ได้?
- ถ้าวันหนึ่งเจ็บป่วยหนัก อยากใช้ชีวิตในช่วงสุดท้ายอย่างไร?
การวางแผนดูแลล่วงหน้า หรือ Advance Care Planning คือ กระบวนการวางแผนดูและสุขภาพที่ทำไว้
ก่อนที่ผู้ป่วยจะหมดความสามารถในการตัดสินใจ หรือเข้าสู่ระยะท้ายของชีวิต อาจจะเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้
กระบวนการวางแผนดูแลล่วงหน้า จะใช้กระบวนการสนทนาพูดคุยแบบใดก็ได้ระหว่าง
- ผู้ป่วยกับครอบครัวและทีมบุคลากรสุขภาพ
- ผู้ป่วยอาจทำด้วยตนเอง
- ผู้ป่วยปรึกษาสมาชิกในครอบครัว
- ผู้ป่วยปรึกษาบุคลากรสุขภาพ
การดูแลแบบประคับประคองคืออะไร ?
การดูแลแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care คือ การดูแลที่มีมุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และครอบครัว
โดยลดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เป็นการดูแลควบคู่กับการรักษาหลักที่มุ่งหวังกำจัดตัวโรค
การดูแลแบบประคับประคองจะคำนึงถึงความต้องการและความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัวร่วมด้วย
เป้าหมายของการดูแลแบบประคับประคอง คือ การมุ่งหวังให้ผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัวสามารถใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข
มีความสัมพันธ์ที่ดีในวาระสุดท้าย มีความสุขสบายทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ครอบคลุมถึงการลดความทุกข์ทรมานจากการยื้อชีวิต เนื่องจากการรักษาบางอย่างในห้อง ICU
Stages of Grief ทฤษฎีระยะเวลาของการก้าวผ่านความสูญเสีย
ทฤษฎีระยะเวลาของการก้าวผ่านความสูญเสีย ต้องบอกก่อนว่าทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่ครอบคลุมการสูญเสียทุกรูปแบบ
การเสียชีวิต การเลิกรา การตกงาน เพราะฉะนั้นทฤษฎีนี้อาจจะทำให้เราเข้าใจความเป็นไปทางความรู้สึกของตัวเองมากขึ้น
ทฤษฎีนี้จะแบ่งความรู้สึกออกเป็น 5 ระยะ
สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราเจอความสูญเสียหรือผิดหวังตัวเราจะปฏิเสธและไม่ยอมรับว่ามันเกิดขึ้นจริง ๆ อาจจะมีความคิดว่ามันคือความฝัน ไม่ใช่เรื่องจริง
ระยะนี้เราจะเริ่มได้สติ ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้บ้าง เริ่มรู้ตัวถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ก็เริ่มโกรธ
อาจจะตีโพยตีพาย โทษคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่นอนว่าภายใต้ความโกรธจะมีอารมณ์อื่นปะปนอยู่ด้วย เช่น ความกลัว ความเศร้า รู้สึกผิด เสียใจ
- Stage 3 : Bargaining ต่อรอง
เป็นระยะที่เราไม่มั่นคงในจิตใจมากที่สุด คือ หลังจากโกรธน้อยลง เราจะเริ่มอยากกลับไปแก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาด เช่น ขอโอกาส ถ้าย้อนกลับไปได้จะแก้ไขให้ดีขึ้น
- Stage 4 : Depression เศร้าเสียใจ
หลังจากที่ผ่านทั้งสามระยะมาเราจะเริ่มรู้ตัวเองอย่างชัดเจนแล้วว่าเราต้องยอมรับและคงเปลี่ยนผลลัพธ์กับสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้
นี่คือความจริงที่เกิดขึ้น บางคนก็เศร้าเสียใจมาก กินไม่ได้ นอนไม่หลับ บางคนสามารถพัฒนาระยะนี้เป็นภาวะซึมเศร้าได้
ระยะนี้ต้องมีคนคอยดูแลพราะถ้าไม่มีคนไว้คอยรับฟัง
- Stage 5 : Acceptance ยอมรับ
เป็นระยะที่อาการเศร้าเสียใจต่าง ๆ ดีขึ้น สามารถยอมรับการการจากลา การสูญเสียได้
แต่ก็อาจจะไม่ได้ถึงขั้นว่ามีความสุข หัวเราะร่าเริง แต่เริ่มอยู่กับปัจจุบันได้มากขึ้น
ถึงแม้เราจะรู้ว่าเจ็บป่วย การจากลาเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอแต่ระยะที่กว่าจะผ่านและยอมรับได้ก็มี Step
และขั้นตอนของความรู้สึกเหล่านั้น เพราะฉะนั้นอย่าลืมให้เวลาและพื้นที่ในการดูแลฟื้นฟูตัวเอง
อย่าลืมขอบคุณตัวเอง และอย่าลืมให้อภัยตัวเอง ณ ปัจจุบันนี้ด้วย จนกว่าใจจะค่อย ๆ ยอมรับและผ่านพ้นไปได้
อาจเป็นการรักษาที่สร้างความทุกข์ทรมานและความเจ็บปวดโดยที่ไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ
ที่มา :
It’s Good to Feel Sad Sometimes: Here’s Why
Post Views: 541