“ อารมณ์จะกลายเป็นพิษถ้าคุณซ่อนไว้ และเป็นยารักษาใจถ้าคุณยอมรับมัน ”
หนังสือเรื่อง อย่าเก็บอารมณ์ไว้ให้ใจเจ็บปวด หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับอารมณ์
หนังสือเล่มนี้พูดถึงอารมณ์ การจัดการอารมณ์ วิธีรับมือกับอารมณ์ต่าง ๆ เขียนโดย ดร.หลิวเพ่ยเซียน และแปลโดย คุณ ชัยชาญ นวลมณี
สามเหลี่ยมอารมณ์
สามเหลี่ยมอารมณ์ เป็นเครื่องมือที่ทำให้เราเข้าใจอารมณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมากขึ้น สามเหลี่ยมอารมณ์จะเป็นสามเหลี่ยมคว่ำ
ตรงยอดปลายคว่ำจะเป็นอารมณ์หลัก เช่น ความสุข ตื่นเต้น กลัว เสียใจ รังเกียจ ความโกรธ สิ่งที่เป็นอารมณ์หลักคือสิ่งที่เรารู้สึกและต้องเผชิญ
ฝั่งซ้ายของสามเหลี่ยมคือ กลไกลป้องกัน เป็น พฤติกรรมที่ปกป้อง ปิดกั้นไม่ให้เรารู้สึก เบี่ยงเบนความรู้สึกที่เราควรจะรู้สึก
ฝั่งขวาของสามเหลี่ยมคือ อารมณ์ที่ถูกระงับ อารมณ์ที่ควรจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแต่เราเลือกปิดกั้นระงับอารมณ์ไว้
เรามักจะแยก อารมณ์ ความคิด ความรู้สึกไม่ค่อยออกเวลากำลังเผชิญกับความรู้สึก เช่น ถ้าเราโดนแฟนบอกเลิกมาเราจะทำอะไรต่อ หลายคนคงจะตอบว่าออกไปหาเพื่อน
ออกไปหากิจกรรมอย่างอื่น แต่ไม่ค่อยมีใครตอบว่าให้เวลากับตัวเอง ได้ปลอดปล่อยอารมณ์เสียใจออกมา เรามักจะเห็นในหนัง หรือกับชีวิตจริงที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ
ทำไมช่วง 1-2 อาทิตย์แรกถึงรู้สึกอยู่ได้แต่พอหลัง ๆ ความเสียใจได้ก่อตัวทรมานขึ้นเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นลองไม่ปฏิเสธความรู้สึกของตัวเอง ไม่ใช้กลไกลการปกป้อง
ไม่ทำให้อารมณ์ที่ควรเกิดขึ้นถูกระงับ เมื่อรู้สึกอย่างไรลองหายใจลึก ๆ แล้วจับอารมณ์นั้นให้ถูกแล้วปลดปล่อยอารมณ์เหล่านั้นออกมา
ความเหงา
เราจะสนิทกันได้ยังไงถ้าเราไม่เผยในมุมที่อ่อนแอ ความเหงาเป็นความรู้สึกที่เฉพาะตัว ไม่มีใครเข้าใจ ความเหงาไม่เท่ากับการอยู่คนเดียว
และไม่ได้ขึ้นว่ามีคนอยู่รอบตัวทั้งหมดกี่คน มีคนหลายคนที่กำลังเที่ยวหรือกำลังปาตี้แต่ในใจก็ยังมีความรู้สึกเหงาอยู่ดี
หรือแม้แต่คนที่แต่งงานกับคนรักมา 10 ปีแต่พอกลับมาบ้านก็รู้สึกเหมือนอยู่กันคนแปลกหน้า และเหงาอยู่ดี
ความเหงาเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อยเกินไปความเหงาจะเหมือนการสูบบุหรี่ห้ามวนต่อวัน
หนังสือเล่มนี้ได้บอกว่าความเหงานั้นไม่เกี่ยวกับว่าเราใช้เวลากับคนอื่นมากน้อยแค่ไหน
แต่เกี่ยวกับคุณภาพความสัมพันธ์ที่เราเต็มใจปล่อยให้ตัวเองอ่อนแอเมื่ออยู่กับคนอื่นหรือเปล่า
อ่อนแอในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเราจะอยู่กับคนอื่นแค่เพียงช่วงเวลาเศร้า แต่หมายถึงทุกความรู้สึกที่เราเต็มใจปล่อยออกมาโดยไม่มีอะไรการปิดกั้น
หรือกลไกลการเบี่ยงเบนความรู้สึกเรายินดีที่จะแสดงข้อด้อย และยินดีที่จะแสดงตัวตนที่แท้จริง
ข้อคิดที่ชอบ
“เรารับผิดชอบอารมณ์ของตัวเราเองเท่านั้น ความผิดหวังและความเศร้าของอีกฝ่าย ไม่ควรมีใครต้องแบกรับหรือดูแล”
ในความเป็นจริงเราต้องรับผิดชอบความรู้สึกของตัวเอง การที่เราแชร์ความรู้สึกกับการที่เราอยากให้คนอื่นมารับผิดชอบความรู้สึกไม่เหมือนกัน
การที่เราแชร์หมายถึงว่า ถ้าหากว่าเศร้าก็ระบายให้เพื่อนฟังแต่ไม่ได้อยากให้เพื่อนมาทำอะไรบางอย่างให้เรารู้สึกดีขึ้น
หรือว่าตัวเราต้องไม่มองคนอื่นเป็นสนามอารมณ์ที่จะทิ้งอารมณ์ใส่เพื่อให้ตัวเองรู้สึกดี
Post Views: 831