Toxic parent

ครอบครัวกำลังสร้างพิษอยู่หรือเปล่า กับหนังสือ ‘Toxic Parents’

เรื่องAdminAlljitblog

Toxic parent มูฟออนชีวิต ถอนพิษพ่อแม่เผด็จการ

 

Toxic parent

 

 

หนังสือเล่มนี้เขียนโดย ดร.ซูซาน ฟอร์เวิร์ด และคุณเครก บัก และแปลโดยคุณ เชิญพร คงมา

 

ดร.ซูซาน ฟอร์เวิร์ด เป็นจิตแพทย์ที่ดูแลเคสของลูกที่ถูกทำร้าย ทั้งร่างกายและจิตใจ สิ่งที่น่าสนใจของหนังสือเล่มนี้จะมัดรวมประเภทพ่อแม่ที่เป็นพิษหลากหลายประเภทต่าง ๆ

 

ที่เลือกมาใช้ควบคุมลูก เขียนมาเป็นเคสต่าง ๆ ที่คนเขียนเคยเจอ . . . พ่อแม่คือสถาบันแรกที่เราเกิดมาแล้ว

 

เป็นสถาบันแรกที่หล่อหลอมให้เราเป็นเราในทุกวันนี้มันปฏิเสธไม่ได้เลยว่า บาดแผล ความรู้สึก ความคิดต่าง ๆ ที่บ่มเพราะเราก็มาจากพ่อแม่อาจจะไม่ทั้งหมดในชีวิตแต่ก็เป็นส่วนสำคัญ

 

 

ประเภทของ Toxic parent

  • พ่อแม่เทวดา พ่อแม่เทวดาในหนังสือเล่มนี้เปรียบเสมือนว่าจะทำตัวเหมือนเทพ ที่มักเชื่อว่าที่ทำอยู่ทำเพื่อประโยชน์ของลูกแต่จริง ๆ แล้วทำเพื่อตัวเอง คอยตั้งกฎเกณฑ์ ไม่ยอมให้ลูกออกไปใช้ชีวิตหรือทำอะไรเพื่อตัวเอง พอลูกทำผิดกลับมาก็ตำหนิแล้วบอกว่าทำไมไม่เชื่อฟัง

 

  • พ่อแม่ผู้บกพร่อง ที่ไม่เลี้ยงดูลูก ไม่ให้ลูกได้ใช้ชีวิตวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยโตอย่างเต็มที่

 

  • พ่อแม่จอมบงการ ชอบดุ ชอบข่ม เช่น “ที่ทำทั้งหมดนี้เพื่อลูก” คำที่ยิ่งใหญ่เขาทำทั้งหมดเพื่อเราเราอย่าทำให้เขาผิดหวังนะ ถึงแม้สิ่งที่เราทำจะเป็นสิ่งที่ฝืนใจ สิ่งที่ไม่ใช่ความฝัน แต่ต้องไปสานฝันของพ่อแม่ คำนี้เหมือนคำที่สวยหรูแต่ไม่ได้สวยหรู

 

  • พ่อแม่ที่ติดอบายมุข กินเหล้าจนเกินเหตุทำให้คนรอบข้างได้รับผลกระทบจากอบายมุขเหล่านั้น 

 

  • พ่อแม่จอมตำหนิ ถึงลูกจะทำดีแค่ไหนพ่อแม่ก็หาคำพูดที่ทำร้ายจิตใจลูกเสมอ

 

  • พ่อแม่จอมโหดที่ทำร้ายร่างกาย การตบตี หรือแม้กระทั่งการทำร้ายร่างกายทางอ้อม การที่พ่อทำร้ายร่างกายลูก แล้วแม่ไม่ห้าม คนที่เป็นลูกก็จะรู้สึกถึงการถูกทอดทิ้ง

 

  • ที่สุดแห่งการหักหลังคือ การล่วงละเมิดทางเพศลูก ไม่ว่าจะเป็นลูกชายหรือผู้หญิง อันนี้คือขั้นรุนแรง

 

 

หนังสือเล่มนี้ให้ทางออกเมื่อเราเจอพ่อแม่ที่เป็นพิษ มาหลากหลายกรณี ถ้าโดนคนที่ทำไม่ดีใส่โดยเฉพาะถ้าเป็นพ่อแม่ที่เป็นผู้มีพระคุณ

 

คำว่า ‘ทดแทดบุญคุณ’ เป็นสิ่งที่ลูกต้องแบกไว้ตลอด คงยากที่จะรู้สึกไม่ดี หรือรู้สึกโกรธ บางทีกลับมารู้สึกผิดเอง และรู้สึกว่าไม่ควรมีความรู้สึกนี้เกิดขึ้นด้วยซ้ำ

 

 

แต่อะไรที่มันมากเกินไปเราไม่จำเป็นต้องให้อภัยก็ได้นะ จดจำไว้เสมอว่า เราไม่สามารถทำให้ใครรู้สึกอะไรได้ทั้งนั้น

ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบความรู้สึกของตัวเอง สิ่งที่ตัวเองเลือก เรามีหน้าที่ต้องหาทางออกให้ตัวเองเมื่อรู้สึกเวลามีใครมาทำร้าย พ่อแม่ก็มีหน้าที่ที่ต้องหาทางออกนี้เหมือนกัน

 

 

สิ่งสุดท้ายไม่ใช่แค่ในฐานะลูก แต่ในฐานะถ้าเราเป็นพ่อแม่อยู่หรือจะในฐานะไหนก็ตาม ลองถามว่าตัวเราเองว่าเราอยากอยู่กับคนนี้จริง ๆ หรอ

 

คนที่ทำนิสัย พฤติกรรมเหล่านี้ อยู่แล้วสุขสบายใจไหม หรือหนักใจ ทุกข์ใจ ถ้าคำตอบเป็นแบบหลัง เมื่อเราโตขึ้นแล้ว

 

เราสามารถดูแลตัวเองการตัดวงจร แยกออกมาเพื่อตัวเราเองปล่อยวางแล้วก้าวต่อไปเพื่อความสุขของตัวเองดีกว่า