การ ฮีลใจ ตัวเองง่ายๆ โดยนักจิตวิทยา

การ ฮีลใจ ตัวเองง่ายๆ โดยนักจิตวิทยา

เรื่องAdminAlljitblog

เคยไหม… เวลาคนอื่นมีปัญหาเราหาทางออกให้ได้ แต่พอเป็นปัญหาของเรา กลับไม่รู้ว่าควรรับมืออย่างไร? ในช่วงเวลาที่เหนื่อยล้า แต่ไม่มีใครอยู่เคียงข้าง เราจะ ” ฮีลใจ ” ตัวเองอย่างไรดี?

ฮีลใจ ตัวเองหรือคนอื่น อะไรง่ายกว่า?

อยู่ที่บุคคล บางคนอาจจะรู้สึกว่าการฮีลใจคนอื่นง่ายกว่า เพราะว่าเราไม่ได้อยู่ในจุดนั้น การที่เราจะพูดปลอบประโลมหรือให้กำลังใจง่ายกว่าเป็นคนที่เผชิญเอง

 

แต่ว่ากับบางคน เขาอาจจะรู้สึกว่าการฮีลตัวเองง่ายกว่า เพราะไม่ต้องคอนแทคกับคนอื่น ดีที่ได้ทำอะไรด้วยตัวเอง แต่ถ้าในมุมมองส่วนตัว คิดว่าฮีลใจคนอื่นง่ายและเข้าถึงได้มากกว่า

 

 

ต้องใช้ชีวิตแต่ยังไม่พร้อม ฮีลใจ เบื้องต้นอย่างไรดี?

จะทำในสิ่งที่เราอยากทำ เราไม่พร้อมในทุก ๆ วันอยู่แล้ว เลยจะหาบางอย่างทำให้ตัวเองรู้สึกสบายใจก่อน เช่น ไปกินกาแฟที่อยากกิน ไปเดินเล่น ไปดูต้นไม้ ทำอะไรก็ได้ให้รู้สึกสบาย ๆ ก่อน

 

เวลาที่จะฮีลตัวเอง จะไม่ค่อยคอนแทคกับคนอื่น จะชอบอยู่กับตัวเอง ทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบก่อน สุดท้ายจะพยายามฮึดและไปต่อ จริง ๆ มีหลายครั้งนะ ที่เกิดโมเมนต์แบบนี้ 

 

ปัญหาคนอื่นง่ายจัง ปัญหาตัวเองยากมาก ทำอย่างไรดี?

อาจจะมาจากจุดที่เราไม่ได้อยู่ในวงของปัญหานั้น เราเลยจะมองได้รอบด้านกว่า เป็นผู้ดูที่เป็นรอบทิศว่า เรื่องนี้ควรจะทำอย่างไร เกิดอะไรขึ้น แบบไหนที่ควรจะทำ เหมือนเลนส์เราจะกว้าง

 

จะเห็นอะไรที่หลากหลาย แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเราลองลงไปยืนในจุดนั้น ทุกคนจะแคบลง ทุกอย่างจะดูมืดขึ้น ทำให้หลาย ๆ ครั้ง พอเราไปเจอปัญหาเอง เราจะทำอะไรได้น้อยลง 

 

เราจะจัดการกับตัวเองหรือมีความหลากหลายทางวิธีการในการรับมือได้น้อยกว่าการที่เราเป็นผู้ดู ให้ลองนึกภาพเวลาที่เราไปดูฟุตบอล ถ้าเราเป็นผู้ดูเราจะรู้ว่าบอลจะไปตรงไหน ใครควรจะขึ้นมาตรงนี้

 

แต่พอเราลงไปอยู่ในสนามบอลเองจริง ๆ เรามองไม่เห็นอะไรนอกจากหน้าที่ที่ตัวเองจะต้องทำกับคำถามว่าทำยังไงให้ตัวเองชนะได้ เห็นแค่นั้น คงคล้าย ๆ กันกับการที่ เพราะอะไรทำไมเวลาให้คำปรึกษาคนอื่นทำไมเห็นปัญหาของคนอื่น ถึงช่วยเขาหรือจัดการกับเขาได้ง่ายกว่า

 

 

เดี๋ยวมันก็ผ่านไป ช่วยได้จริงไหม?

ค่อนข้างเห็นต่าง เพราะว่าพอเกิดอะไรบางอย่างขึ้น แปลว่าจิตใจเราไม่ได้สุขสบาย มันคงเกิดความขุ่นมัวบางอย่างขึ้น เรียกว่าปัญหาที่เข้ามากระทบจนทำให้รู้สึกขุ่นมัว ถ้าเราเอาปัญหาวางไว้

 

เหมือนแค่ยืนมองมัน สุดท้ายปัญหาจะอยู่ที่เดิม แค่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปเรื่อย ๆ แล้วเราจะจำหรือให้ความสำคัญกับปัญหานั้นน้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่าปัญหานั้นถูกจัดการ

 

คงดีกว่าถ้าเราหยิบมันขึ้นมาจัดการ เพราะมันจะได้ไม่ต้องเกิดซ้ำอีก สมมติว่าเราเอาปัญหาวางไว้ตรงนี้ แล้วเราเริ่มลืมแล้วว่าเคยมี แต่วันหนึ่งมีอะไรนิดหน่อยไปสะกิด

 

ความทรงจำเกี่ยวกับปัญหานั้น มันอาจจะรุนแรงขึ้นด้วยซ้ำ ที่ทำให้เรารู้สึกไปกับมัน เลยรู้สึกว่าการที่เราจะปล่อยให้มันผ่านไป เดี๋ยวมันก็ดีขึ้นเอง อาจจะใช้ไม่ได้กับทุก ๆ อย่าง

 

มองว่าทุก ๆ ครั้งที่มีอะไรเกิดขึ้น การปล่อยให้นิ่ง แล้วลงไปจัดการอาจจะเป็นคำที่น่าจะนำมาใช้และน่าจะเป็นผลดีกับเรามากกว่าที่จะปล่อยไปเลย ไม่ทำอะไรกับมัน 

 

บางมันคาใจด้วย มันจะทำให้เราตุ่น ๆ อยู่กับตัวเอง พอเราไปทำอย่างอื่น ได้หยุดนิ่งกับตัวเอง มันก็วนกลับเข้ามาอีก เลยรู้สึกว่ามันควรปล่อยแหละ ปล่อยในช่วงเวลาที่เรายังนิ่งไม่พอ

 

พอเราปล่อยไปแล้ว เรานิ่งแล้ว ก็ควรจะทำงานกับมันสักหน่อย เพื่อให้มันไม่กลับมาอีก หรือกลับมาแล้วไม่ทำร้ายเราได้รุนแรงเท่าเดิม 

 

เราจะ ฮีลใจ ตัวเองให้ดีขึ้นได้โดยไม่ต้องพึ่งใครได้ไหม? 

คิดว่าเป็นไปได้ ที่บอกแบบนี้อาจจะไม่ใช่เพราะว่าตัวเองทำได้แล้วบอกว่ามันทำได้ แต่หมายถึงว่า การที่เราจะเรียนรู้การฮีลใจตัวเอง มันคือการที่เรารู้จักตัวเองมากพอว่าอะไรทำให้เราสบายใจขึ้น

 

อะไรทำแล้วเรารู้สึกว่ามันเบาลงจากความหนักหน่วงที่เจอ เพราะสุดท้ายแล้วเราเกิดมาเพื่อที่จะรับผิดชอบความรู้สึกของตัวเอง เพราะงั้นการฮีลใจตัวเองก็เป็นสิ่งที่ใครหลาย ๆ คนควรจะสร้างให้กับตัวเอง

 

แล้วทำมันได้ด้วยตัวเอง คิดว่ามันจำเป็นด้วยซ้ำ ที่จะทำบางอย่างกับตัวเองได้ ฮีลตัวเองได้ โดยที่เราไม่ต้องรอคอยคนอื่น เพราะบางทีการรอคอยคนอื่น ผลที่กลับมาคือ Social Support อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ความรู้สึก ณ ตอนนั้นก็ได้

 

 

เหงา เศร้า ไม่มีใคร รับมือความรู้สึกเหล่านี้ยังไงดี?

ต้องกลับมาหาจุดเริ่มของตัวเอง เวลาที่เรารู้สึกแย่ แล้วเราต้องการการฮีลใจ การซัพพอร์ต สิ่งหนึ่งที่จำเป็นมาก ๆ คือหยุดก่อน หยุดคิดก่อนว่าเราจะต้องได้ซัพพอร์ตจากตรงนี้ 

 

หยุดก่อนที่จะรู้สึกว่าคนนี้ต้องช่วยเรา หยุดกับตัวเองก่อน นิ่ง ๆ กับตัวเองก่อน และเรียนรู้ที่จะ calm down ตัวเองด้วยตัวเองให้ได้ก่อน เพราะตราบใดที่เรายังร้องขอกับคนอื่น

 

เดี๋ยวเรื่องนี้มันก็เข้ามา เรื่องอันนี้มันก็เข้ามา สุดท้ายมันจะทบ ๆ ไปเรื่อย ๆ ถึงรู้สึกว่าการที่เราหยุดกับตัวเอง หยุดความคิดนั้นให้นิ่ง แล้วกลับมาสำรวจตัวเองว่า อะไรบ้างที่ทำให้เราดีขึ้น? 

 

อะไรบ้างที่เราชอบทำ? อะไรบ้างที่รู้สึกว่าเราเอนจอยไปกับมัน? แล้วทำให้ความตุ่น ๆ หม่น ๆ ของเรามันเบาบางลงได้บ้าง มันอาจจะยังไม่ได้หายไป เพราะเราจะต้องลงไปจัดการกับมัน

 

แต่นาทีนี้เรายังไม่พร้อม เราก็แค่ต้องทำความรู้จักตัวเอง แล้วดึงศักยภาพตรงนั้นหรือดึงกิจกรรมเหล่านั้นขึ้นมา เพื่อทำให้ตัวเองเบา ๆ ลงจากความหนักหน่วงที่เจอ 

 

 

ไม่มี Social Support เป็นปัญหาแค่ไหน?

แน่นอนว่า Social Support สำคัญ เพราะสุดท้ายแล้วเราอยู่ไม่ได้ด้วยตัวคนเดียว เวลาที่เราต้องการบางอย่างแล้วเราไม่ได้ มันจะรู้สึกบางอย่าง แต่ถามว่ามันจำเป็นต้องนำไปสู่สภาวะทางจิตที่ผิดปกติไหม

 

อาจจะไม่ใช่แบบนั้น 100% เพราะโซเชียลซัพพอร์ตไม่ได้บ่งบอกว่าคนนี้จะผิดปกติไหม ถ้าเขายังอยู่ได้ด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะฮีลตัวเองได้ เรียนรู้ที่จะ standing alone ได้ด้วยตัวเอง

 

เราจะเอาสิ่งเหล่านั้นมาวัดไม่ได้ว่าเขาจะมีความผิดปกติไหม แต่ต้องยอมรับว่าหลาย ๆ ครั้ง Social Support จะทำให้เราเกิดความรู้สึกแย่ ความรู้สึกไม่มีค่า ความรู้สึกว่าเราไม่ดีพอ ถ้าความรู้สึกแบบนี้มีเข้ามาบ่อย ๆ มีมาก ๆ อาจจะทำให้เราเริ่มมีสุขภาวะที่ไม่ปกติได้ 

 

 

ถ้าอยากมี Social Support ทำยังไงดี? 

ลองมองอะไรที่อยู่ใกล้ ๆ ก่อน มองสิ่งที่อยู่ใกล้ ๆ ไม่ได้แปลว่ามองสิ่งที่เราต้องการ เราลองมองรอบ ๆ ก่อน หลาย ๆ คนเวลาพูดว่าไม่มี Social Support เลย แต่เรายังมองคนที่อยู้ใกล้ตัวไม่มากพอ

 

บางทีเรามองแค่คนที่เราต้องการให้มาซัพพอร์ต มันอาจจะต้องเริ่มต้นจากตรงนั้นว่า จริง ๆ หรอที่เราไม่มี? แล้วคนที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราล่ะ พอจะมีใครบ้างไหม? ถ้าเราเริ่มมองหาคนที่อยู่ใกล้ ๆ ตัว

 

โดยที่ลดความคาดหวังลงว่าเขาจะต้องซัพพอร์ต บางทีเราอาจจะเห็นจากการที่ความห่วงใย ความหวังดี ที่อาจจะทำให้เราเห็นชัดเจนขึ้นว่าคนนี้ก็เป็น Social Support ให้เราได้เหมือนกัน

 

เคยมีเคสวัยรุ่น เขาบอกว่าเขาไม่มี Social Support แต่ในขณะเดียวกัน เขามีคุณยายที่ทำให้เขาได้ทุกอย่าง แต่คำว่า Social Support เขารู้สึกว่าไม่มีใครเลย เพราะเขามองหาว่าคนซัพพอร์ต

 

จะต้องเป็นเพื่อน จะต้องเป็นแฟน เขาเลยรู้สึกว่าการที่เขาไม่มีเพื่อนและแฟนไม่ได้ตอบโจทย์เขา เท่ากับเขาไม่มีใครซัพพอร์ตเขาเลย แต่ยายทำเพื่อเขาทุกอย่าง บางทีต้องกลับมาดูด้วยว่า

 

หรือมันเป็นเพียงความคาดหวังจากความต้องการของเราที่อยากจะได้จากคนอื่น จนทำให้ตัวเราเองไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวได้บ้าง 

 

 

ส่งท้ายจากนักจิตวิทยา

พอพูดถึงการฮีลใจ มันเป็นประเด็นที่หลาย ๆ คนดึงมาใช้ ส่วนตัวชอบใช้คำว่าปลอบประโลมจิตใจมากกว่า เหมือนเราทำอะไรก็ได้เพื่อชะโลมให้จิตใจยังคงชุ่มชื่น ยังรู้สึกดีกับตัวเองได้ 

 

ทำให้เราเป็นคนที่ยังคอนเนคกับตัวเองได้ สิ่งนี้ควรทำในทุก ๆ วัน อาจจะไม่ต้องรอให้เจออะไรแล้วค่อยเริ่มฝึกการฮีลใจตัวเอง มันควรป้องกันไว้ตั้งแต่ยังไม่ทันได้เกิด ถ้าเราเริ่มฝึกกับตัวเองทุก ๆ วัน

 

ว่าการได้กินชาเขียวอร่อย ๆ การได้เล่นกับแมว มันเป็นอะไรที่ชะโลมจิตใจให้เรารู้สึกดี เราก็สร้างมันไปเรื่อย ๆ วันนึงเราเจอปัญหา เราจะวิ่งเข้าไปหาสิ่งเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น โดยที่ไม่ต้องมานั่งคิดว่า

 

เราจะฮีลใจตัวเองดี จะทำยังไงกับตัวเองดี หรือควรจะให้ใครมาเป็น Social Support ของเราดี ถ้าเราป้องกันได้ ฝึกมันได้ในทุก ๆ วัน วันหนึ่งที่มันเกิดขึ้น เราจะจัดการกับความรู้สึกตัวเองได้ง่ายขึ้น