จิตตก

จิตตก ไม่มีสาเหตุ อารมณ์ดาวน์เกิดขึ้นเองบ่อยๆ รับมืออย่างไรดี?

เรื่องAdminAlljitblog

ใครหลาย ๆ คนมักจะรับรู้อารมณ์ตัวเองได้ไม่ค่อยทัน แต่จะรู้สึกเป็นเหมือน ” จิตตก ” ที่เราพูดกันติดปาก เราจะรู้สึกกังวลเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ และจะปล่อยให้อารมณ์ของเรานั้นดิ่งลงไปกับความกังวลที่เกิดขึ้น

 

บทความนี้ Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพใจ  

ความรู้สึก จิตตก คืออะไร?

ก่อนอื่นอาจจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเวลาที่เราพูดถึงภาวะของจิตตก หลาย ๆ คนมักจะคิดถึงอารมณ์ที่ดิ่งฮวบลงไปในหุบเหวของตัวเอง ซึ่งเวลาที่เราปล่อยให้อารมณ์ของเรามันดิ่งลงไปแล้ว

 

หลาย ๆ คนก็จะไม่ได้หาต้นเหตุของต้นเหตุที่เริ่มเกิดอารมณ์ว่ามันเกิดอะไรขึ้น เราถึงเกิดเป็นภาวะอารมณ์ดิ่ง ในขณะที่มันดิ่งลงไปในเหวขนาดนั้น 

 

อารมณ์ทุกอารมณ์ของมนุษย์โดยธรรมชาติจะมีที่มาที่ไปอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าใครหลาย ๆ คนอาจจะไม่ได้ตั้งตัวเวลาที่เกิดภาวะอารมณ์ดิ่ง ทำให้เรารู้ไม่เท่าทันภาวะอารมณ์ของตัวเอง

 

จนในที่สุดแล้วตัวเองก็ตกอยู่ในภาวะของอาการจิตตกหรือภาวะอารมณ์ที่มันดาวน์ไปในเหวของเรา

 

จริง ๆ แล้วคนที่เขามีสุขภาพจิตที่ดี ก็ไม่ได้แปลว่าเขาเหล่านั้นจะไม่ได้มีภาวะอารมณ์จิตตกเหมือนที่ใครหลาย ๆ คนเป็น เพราะจริง ๆ ภาวะอารมณ์จิตตก เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ เวลาที่เราเจอเรื่องราวอะไรที่เราไม่ได้ตั้งตัว

 

ต้นเหตุของการเกิดอารมณ์ของมนุษย์เรามีที่มาที่ไปเสมอ บางทีเราอาจจะไม่ได้อยู่กับปัจจุบันของเราขนาดนั้น แม้กระทั่งกับภาวะอารมณ์ของเราที่มันเกิดขึ้นแล้วว่ามันเกิดจากอะไรอยู่ บางทีเราคิดไปไกลมาก ๆ แล้ว

 

จนเราลืมถอยกลับมาว่าก่อนที่เราจะมีอารมณ์ดิ่งเกิดอะไรขึ้นกับเราหรือเปล่า เกิดจากความคิดที่วิ่งเข้ามาโดยที่เราไม่สามารถทันความคิดของตัวเอง รู้ตัวอีกทีก็คือเกิดอะไรขึ้นกับฉันนะ ทำไมรู้สึกได้ว่าแบบมันดิ่งจังเลย 

 

เราอาจจะค่อย ๆ มองย้อนกลับไปพร้อม ๆ กันได้ว่าในช่วงเวลาที่เราเริ่มเกิดเป็นภาวะจิตตก ยิ่งมีอารมณ์ที่มันดาวน์มาก ๆ มันเคยไหมที่เราลืมที่จะกลับไปหาสาเหตุของตัวเราเองว่ามันเกิดจากอะไรได้บ้าง ภาวะของอาการจิตตกหรือว่ามีอารมณ์ดิ่ง

 

ถ้ามองในอีกมุมนึงเขาก็จะเป็นตัวหนึ่งที่ช่วยให้เราได้สามารถกลับมาสังเกตและสำรวจตัวเราเองว่า “มันเกิดอะไรขึ้น” 

“ความรู้สึกจิตตกก็มีประโยชน์นะ”

1.ความรู้สึกจิตตกทำให้เรารู้จักการมองปัญหาในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิมได้ 

2.ความรู้สึกจิตตกทำให้เรามีการแก้ไขปัญหาในอนาคตที่มันดีขึ้นจากประสบการณ์เดิมของเรา เราก็จะพยายามไม่ทำให้สิ่งเหล่านั้นมันเกิดขึ้นอีก 

วิธีก้าวออกจากความรู้สึกจิตตก

1.ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือจิตแพทย์

ถ้าเราทบทวนแล้วก็ไม่แน่ใจว่าเกิดจากอะไร จนไปกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน,การใช้ชีวิตในการทำงานหรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง อาจจะเป็นที่มาของแบบสุขภาพจิตที่เริ่มผิดปกติไป

 

โดยส่วนมากก็จะเกี่ยวข้องกับโรคทางจิตเวชที่มาด้วยภาวะอารมณ์บางอย่าง  ซึ่งถ้าเราสำรวจตัวเองแบบนั้น แล้วเรารู้สึกว่าเราไม่สามารถเชื่อมโยงกับตัวเองได้ว่ามันเกิดจากอะไร

 

เราไม่สามารถทบทวนกับตัวเองได้เลยว่ามันควรจะจัดการกับตรงไหนดี แม้จะพยายามลองมองแล้วแต่ยังหาจุดเชื่อมโยงของสาเหตุตรงนั้นไม่เห็น

 

แนะนำว่าอยากจะให้ไปพบกับผู้เชี่ยวชาญหรือไปพบกับจิตแพทย์ เพื่อให้ตัวเราเองสามารถเข้าใจตัวเองได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เขาสามารถเป็นกระจกสะท้อนหรือเป็นผู้สำรวจการเดินทางเหล่านั้นไปกับตัวเราเองได้ เพื่อให้เราสามารถเข้าใจตัวเองได้มากยิ่งขึ้น

2.กลับมาอยู่กับตัวเอง

ถ้าเราเริ่มสำรวจตัวเองแล้วเริ่มเห็นว่าตัวเรากำลังจิตตก แม้มันอาจจะยังไม่ได้ลึกมากแต่เรารับรู้ว่าทุกอย่างกำลังจะดิ่งลงไปแล้วนะ สิ่งสำคัญคือ ต้องกลับมาอยู่กับตัวเอง

 

กลับมาตระหนักกับภาวะอารมณ์ตรงนั้นของตัวเราเอง ว่ากำลังจะนำไปสู่ภาวะอารมณ์ดิ่งสุด ๆ แล้วนะ

 

อาจจะยังไม่ต้องคิดถึงวิธีการรักษา แค่เรารับรู้กับตัวเองและเห็นว่าตัวเองกำลังเกิดอารมณ์อะไรอยู่ ณ ตอนนั้น ก็จะเป็นการหยุดไม่ให้ตัวเราเองนำพาอารมณ์ของเราดิ่งลงไปในเหวได้อีกครั้งหนึ่ง

 

จากนั้นเราค่อย ๆ คุยกับตัวเองว่ามันเกิดอะไรขึ้นทีละขั้นตอน ไล่เหตุการณ์กับตัวเองไปในแต่ละ Step 

3.หากิจกรรมทำ

ถ้าเรารู้สึกว่าเราพยายามสำรวจ พยายามหาสาเหตุแล้วยิ่งเครียด มันก็ยิ่งตึงจนทำให้อารมณ์รถดิ่งลงไป แนะนำว่าหากิจกรรมที่ทำให้ตัวเราเองผ่อนคลายก่อนแล้วค่อยกลับมาพูดคุยกับตัวเอง หาคำตอบกับตัวเองอีกครั้ง…

Related Posts