ตัวเอก

ตัวเอกใน โลกของตัวเอง

เรื่องAdminAlljitblog

เคยไหมที่คิดว่าเราคือตัวเอกใน โลกของตัวเอง และคนอื่น ๆ คือตัวประกอบ

 

 

Main Character on Social Media 

 

การที่เราคิดว่าเราเป็นตัวเอกและคนอื่นคือตัวประกอบในทุกสถานการณ์ชีวิต แต่ไม่ใช่อาการที่แท้จริง

 

มันเป็นเพียงการแสดงออกที่เกิดบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งกลุ่มอาการของตัวละครหลักจะมีความทับซ้อนกับการหลงตัวเองอยู่บ้าง แต่ก็ไม่เหมือนกัน

 

หรือก็คือการที่เราคิดว่าตัวเองอยู่ในหนังที่มีคนกำลังดูอยู่  มีการ‘โรแมนติไซส์’ ชีวิตของตนเอง 

 

ปรับแต่งชีวิตให้เหมือนอยู่ในหนัง เพราะ Main character จะคำนึงเรื่องภาพลักษณ์ออนไลน์มากๆ ทุกอย่างที่ลงมันผ่านการกรอง การแต่ง การคิดคำนวนที่มากเกินไป

 

อาจจะไม่ดูอันตราย แต่ก็นำไปสู่การหลุดออกจากความเป็นจริงได้ กลายเป็นหลงตัวเอง ไม่แคร์ผลกระทบจากการกระทำของเราต่อคนอื่น

 

เพราะฉะนั้น Main Character จะเป็นข้อเสียก็ต่อเมื่อหลุดจากโลกความเป็นจริง + ขาดความเห็นอกเห็นใจ

 

แต่ว่าก็เป็นปกติที่เราจะเปลี่ยนตัวเองตามสถานการณ์ ตามแนวคิดของ Carl Jung จะเรียกว่า Persona

 

เป็นปกติที่เราจะคุยหรือมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันระหว่างคุยกับเพื่อน-ครู หรือในสถานการณ์ทางการ-ไม่ทางการ

 

ปกติที่เราจะมีความแตกต่างการบุคลิกภาพ แต่ Main Character จะคิดว่าตัวเองเป็นคนอื่นโดยสมบูรณ์ 

 

อีกชื่อของ Main Character Syndrome คือ Protagonist Syndrome

 

นักจิตวิทยา ชื่อ ไมเคิล เวตเตอร์ อธิบายว่า Main character syndrome คือผลที่ตามมาจาก ‘ความปรารถนาตามธรรมชาติของมนุษย์’

 

ที่อยากจะได้รับ ‘การยอมรับ’ หรือเป็นหนึ่งเดียวกับเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เกิด ‘การโฆษณาจุดเด่นของตนเอง’ (self-promotion) ในทันที

 

 

Main character vs Narcissistic 

 

ถ้ามากเกินไปก็มีแนวโน้มที่จะเกิดอันตรายได้ เพราะเราอาจจะคิดว่าเราคือ ‘ศูนย์กลางของโลก’ ไปหมด

 

ซึ่งในทางจิตวิทยาเรียกว่า Self-centered อธิบายถึงคนที่เอาตัวเองเป็นหลัก ไม่แคร์คนรอบข้าง จนอาจเกี่ยวกับอาการทางจิตอื่น ๆ เช่น โรคหลงผิด โรคหลงตัวเอง

 

Narcissist เป็นโรคทางจิตเวชจริงๆ คิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด ขาดความเห็นอกเห็นใจ ต้องการคำชื่นชมยกยอจากคนอื่น ขยายความสำเร็จของตัวเองให้ใหญ่เกินจริง 

 

มักจะเชื่อมกับโซเชียลมีเดีย เพราะว่า Social Media ให้เซนส์ของการเป็นคนสำคัญ เพราะเรามีผู้ชม เรามีผู้ติดตาม เรามีใครก็ไม่รู้ว่าฟอลเราได้

 

ก็เลยเอื้อให้เราสร้างบุคลิกใหม่โดยสมบูรณ์ไปเลยได้

 

วิธีสังเกตว่าเราเข้าข่ายอาการ Main Character

ถ้ามองในแง่ดี การมองตัวเองเป็นตัวละครหลัก ช่วยให้เรามีความมั่นใจและมองเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น แต่อีกนัยมันก็สะท้อนถึงปัญหาเรื่องความมั่นใจในตัวเองเหมือนกันจริง ๆ

 

เราอาจจะไม่มั่นใจในตัวเองตัวจริง เพราะก็มีความพยายามใช้โซเชียลเป็นเครื่องมือให้คนสนใจอยากเป็นตัวเองอีกคนที่สมบูรณ์แบบ

 

 

7 สัญญาณว่าคุณกำลังเป็น Main Character Syndrome จาก Charlie Health Center

  1. พฤติกรรมเอาตัวเองเป็นหลัก ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของตัวเองที่สุด
  2. ขยายความสิ่งที่เกิดขึ้นให้ใหญ่เกินจริง เพื่อให้ได้ความสนใจ
  3. คิดว่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตเป็นพล็อตของเรื่องราวของตัวเอง
  4. ขยายความรู้สึกให้ใหญ่เกินจริง รีแอคชั่นเว่อเกิดไป ทำทุกๆอย่างให้เป็นดราม่า ให้มันรุนแรงกว่าปกติ
  5. เชื่อว่าตัวเองควรได้รับความสนใจและการปฎิบัติที่พิเศษกว่าคนอื่น
  6. ไม่ค่อยใส่ใจคนอื่นๆ รอบตัว
  7. ปริมาณการใช้โซเชียลมีเดีย โพสเยอะ แชร์เรื่องของตัวเองเยอะ แล้วก็ผูกคุณค่าของตัวเองกับยอดไลค์

 

วิธีรับมือแก้ไข

  • Reality Check  มองปัญหาตามความเป็นจริง มองโลกอย่างที่เป็นบ้าง ไม่สุดโต่งไปเลยในทางใดทางนึง
  • พักโซเชียลบ้าง
  • Self Awareness สำรวจตัวเองเยอะๆ ถามตัวเองบ่อยๆ รู้สึกแบบนี้เป็นเพราะอะไร คิดแบบนี้มันมาจากไหนนะ ถ้ารู้จักตัวเองมากๆ มันก็จะลดเรื่อง Main Character 
  • ดูที่ต้นตอ เราทำเพราะอะไร บางทีเราอาจจะผูกว่ายอดฟอล ยอดไลค์ ยิ่งเยอะยิ่งรู้สึกเป็นที่ยอมรับ เป็นที่รัก ถ้ารู้สึกแบบนั้นก็อาจจะแก้ตรงนั้น