เพราะอะไรเราถึงชอบเสพข่าวฆาตกรรม สงสัยกันไหมว่าเพราะอะไร คนบางคนถึงชอบดูข่าวหนัก ๆ อย่างข่าวดราม่าหรือข่าวฆาตกรรม แล้วเพราะอะไรคนบางคนถึงชอบ
แต่คนบางคนถึงไม่ชอบล่ะ Learn & Share อีพีนี้ขอชวนเพื่อน ๆ มาดูคำอธิบายทางจิตวิทยาต่าง ๆ ที่อาจอธิบายได้ว่าเพราะอะไรเราถึงชอบและไม่ชอบข่าวดราม่า และแบบไหนถึงเรียกว่าเสพมากเกินไป
เพราะอะไรเราถึงชอบเสพข่าวฆาตกรรม หรือ ข่าวดราม่า
1. Survival Instincts & Negativity Bias
1.1 เพราะสัญชาติญาณการเอาตัวรอด การเสพข่าวด้านลบเพื่อการระวังตัวเพื่อเอาตัวรอด
1.2 สมองมนุษย์เลือกที่จะสนใจข่าวแย่มากกว่าข่าวดีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว
2. Emotional Stimulation
2.1 ข่าวแย่ ๆ กระตุ้นอารมณ์ ได้ดีกว่า ทำให้มีความรู้สึกร่วมกับเรื่องราวนั้น ๆ มากกว่า
2.2 ตื่นเต้นกว่า ฮอร์โมน Dopamine หลั่ง เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ระบบประสาทของเราตื่นตัว ใช้ความคิดมากขึ้น
3. Morbid Curiosity “ ความอยากรู้อยากเห็นสิ่งน่ากลัว ”
เราไม่อยากให้เรื่องแย่ ๆ เกิดขึ้น แต่ถ้าเกิดขึ้น เราก็อยากรู้ว่าเกิดยังไง เจ็บแค่ไหน เราอยากรู้เพราะเราจะได้เข้าใจว่าเหตุการณ์นั้น ๆ จะเป็นอย่างไร
เช่น รับชมภาพยนตร์เกี่ยวกับจระเข้กัด แล้วเนื้อขาด เพื่อเราจะได่รู้ว่าลักษณะการเนื้อขาดเป็นอย่างไร เป็นการเก็บข้อมูลเพื่อเอาตัวรอด
4. เพราะอะไรเราถึงชอบเสพข่าวฆาตกรรม เพื่อหนีปัญหาของตัวเอง?
ฟังปัญหาของคนอื่นช่วยให้เราหนีออกจากปัญหาของตัวเองได้ ขณะที่เรากำลังเผชิญปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ของตัวเอง จะดีกว่าไหมถ้าเราพักเรื่องของตัวเอง แล้วไปใส่ใจเรื่องคนอื่นแทน
5. รู้สึกเหนือกว่าคนอื่น
ฟังข่าวร้ายๆ ช่วยให้เรารู้สึกว่า “ฉันเป็นคนดี” “ฉันไม่มีวันทำแบบนี้” เป็นคนที่ได้ตัดสินคนอื่น เพื่อความสบายใจของตัวเอง
ทฤษฎีการเปรียบเทียบทางสังคม (Social Comparison Theory) ของ Leon Festinger บอกไว้ว่า คนเรามักจะประเมินตัวเองจากการเปรียบเทียบกับผู้อื่น
เพื่อประเมินสถานะหรือสถานการณ์ของตนเอง ในกรณีนี้ การติดตามพวกเรื่องดราม่าอาจทำให้เรารู้สึกว่า “เราโชคดีที่ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์นั้น” รู้สึกว่าเรามีชีวิตที่ดีกว่าหรือปลอดภัยกว่า
การเสพข่าวฆาตกรรมหรือข่าวดราม่าไม่ได้ผิด เพราะคือตอบสนองต่อความอยากรู้หรือความตื่นเต้นของมนุษย์เรา มันสามารถสะท้อนถึงกลไกทางจิตวิทยา
และพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีความซับซ้อนได้ แต่แค่พึงระวังว่าอย่าเกินขอบเขตจนรู้สึกเสียสุขภาพจิตกับตัวเองก็พอ
บทความอื่น ๆ ที่ Alljit Blog
Post Views: 17