เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด

เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด

เรื่องAdminAlljitblog

คุณเคยสับสนในชีวิตไม่รู้จะไปทางไหนดีบ้างไหม?

 

แล้วในช่วงเวลาแบบนั้นเราอยากได้คนที่จะปรึกษา คนที่เป็นผู้ใหญ่ คนที่ผ่านโลกมามากสักคนหนึ่งมานั่งข้าง ๆ เรามารับฟังเราบ้างไหม?

 

ในตอนนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับหนังสือที่มีชื่อว่า ” เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด ”  ของคุณ Rando Kim (รันโด คิม) 

 

Alljit ร่วมกับ อ่านแล้ว อ่านเล่า (ธนานนท์ โดมทอง) รายการที่จะพาคุณท่องเข้าไปในโลกของหนังสือ พร้อม ๆ กับท่องเข้าไปในจิตใจของตัวคุณเอง

 

หนังสือ  ” เป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด  “

“เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด” เป็นหนังสือที่เขียนโดย Rando Kim (รันโด คิม) อาจารย์ชาวเกาหลี

 

อาจารย์คิมเคยผ่านชีวิตช่วงวัยรุ่น และช่วงที่เป็นอาจารย์ก็เคยพูดคุยกับนักศึกษา รวมถึงให้คำปรึกษาอยู่บ่อยครั้ง

 

หนังสือเล่มนี้เวลาที่อ่านจึงให้อารมณ์เหมือนกับว่าเป็นอาจารย์ผู้ที่ผ่านโลกมามากหรือว่าอารมณ์คล้ายกับผู้ใหญ่ใจดี มาเล่าประสบการณ์ชีวิตของตัวเองให้ฟัง

 

รวมถึงให้คำแนะนำดี ๆ กับเรา โดยเฉพาะวัยรุ่นก็จะเหมาะกับหนังสือเรื่องนี้มาก ๆ

เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด : ฤดูกาลที่ตัวคุณผลิบาน

สังคมในปัจจุบันนี้เกิดเป็นค่านิยมที่ต้องการที่จะเร่งให้คนประสบความสำเร็จ จนหลายคนรู้สึกกดดันและรู้สึกเครียดยิ่งไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ

 

โดยเฉพาะไปเห็นชีวิตคนอื่นที่อยู่ในโลกโซเชียล ยิ่งรู้สึกว่าตัวเราเองนอกจากจะแย่แล้วยังไม่เอาไหนอีกด้วย

 

อาจารย์คิมได้เปรียบเทียบความสำเร็จในชีวิตกับดอกไม้ ดอกไม้ที่มีหลายพันธ์ุและจะบานในฤดูกาลที่แตกต่างกัน

 

ดอกไม้แต่ละดอกแต่ละชนิดก็จะมีช่วงเวลาในการผลิบานของมัน ดอกไม้ที่แตกต่างกันก็เปรียบเสมือนชีวิตของคนเรา

 

บางคนก็อาจจะประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย บางคนก็อาจจะประสบความสำเร็จช้ากว่า

 

ถ้าตัวเราเข้าใจธรรมชาติว่าแต่ละคนมีช่วงเวลาที่ผลิบานของตัวเอง เราก็จะได้ไม่ต้องมากังวลเวลาที่เห็นคนอื่นประสบความสำเร็จและสามารถเตรียมตัวของเราให้พร้อม

 

เพื่อรอวันที่เราจะได้ผลิบานเป็นดอกไม้ที่สวยงามในแบบของเรา

เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด : คุณเป็นลูกธนูหรือเรือกระดาษ 

ในบทนี้อาจารย์คิมเล่าถึงบรรดาลูกศิษย์ของอาจารย์ที่เข้ามาปรึกษา อาจารย์ได้ แบ่งลูกศิษย์ออกเป็นสองกลุ่ม 

1.กลุ่มลูกธนู  

เป็นกลุ่มคนที่มีเป้าหมายชัดเจนแล้ว มีแผนการในการใช้ชีวิตที่พร้อมจะพาตัวเองพุ่งไปข้างหน้า เปรียบเสมือนลูกธนูที่พุ่งตรงไปยังเป้าหมายทั้งเร็วและแรง

2.กลุ่มเรือกระดาษ

กลุ่มนี้ไม่ค่อยมีความแน่นอนในชีวิต เป้าหมายในชีวิตมีหรือเปล่าก็ไม่ค่อยชัดเจน บางคนก็เปลี่ยนเป้าหมายไปมาตามคนรอบข้าง ดูไปดูมาแล้วคล้ายกับเรือกระดาษ

 

ที่พอเราพับเรือกระดาษปล่อยให้มันลอยไป มันก็จะลอยไปตามกระแสน้ำ ไม่มั่นคง อาจจะจมลงได้ง่าย ถ้าเกิดว่าโดนกระแสลมแรง 

 

จริง ๆ แล้วคนทั้งสองกลุ่มก็มีข้อดีข้อด้อยที่แตกต่างกัน กลุ่มที่เป็นลูกธนู อาจารย์ เขาก็ให้คำเตือนเอาไว้ว่าให้เผื่อใจเอาไว้สำหรับการเปลี่ยนแปลง

 

เพราะว่าชีวิตอาจจะเจอเหตุการณ์ที่เกินคาด ส่วนกลุ่มเรือกระดาษ จริง ๆ แล้วอาจจะเป็นเพราะว่ามีความคิดมากมายอยู่ในหัวจนเลือกไม่ได้

 

จนบางคนถอดใจไปหรือว่าบางคนก็คิดว่าตัวเองมีความสามารถไม่เพียงพอ สำหรับคนกลุ่มเรือกระดาษการตั้งเป้าหมายอาจจะไม่ใช่สิ่งจำเป็น

 

เพราะว่าสิ่งที่สำคัญมากกว่าก็คือการลงมือทำให้สำเร็จไปทีละเล็กทีละน้อย อาจารย์คิมฝากเอาไว้ว่าสุดท้ายไม่ว่าคุณจะเป็นแบบลูกธนูเหรือเรือกระดาษ

 

จงอย่าลืมที่จะทบทวนตัวเองอยู่เสมอ คอยเติมไฟฝันให้กับชีวิตอย่าให้ขาด เพราะคำตอบที่คุณตามหาไม่อาจจะหาได้จากที่ไหนนอกจากในตัวของคุณเอง

อย่าเล่นคนเดียว 

บทนี้พูดถึงเรื่องของการที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับคน เด็กยุคใหม่แม้ว่าจะมีความสัมพันธ์กับคนอื่น แต่ส่วนใหญ่เป็นบนโลกออนไลน์

 

การที่ไปพบเจอคนจริง ๆ แล้วสนิทกันจริงจังน้อยลงอย่างมากถ้าเทียบกับสมัยก่อน ประโยคที่เราเคยได้ยินว่า เพื่อนสมัยประถมหรือมัธยมจะสนิทกับเราที่สุด

 

ส่วนเพื่อนมหาลัยหรือเพื่อนที่ทำงานก็จะสนิทแค่เพื่อนทั่วไปเท่านั้น

 

ปัจจุบันนี้คนเรามีความเป็นปัจเจกชนสูงขึ้น ก็คืออยู่คนเดียวแล้วสบายใจกว่า ปัญหาคือไม่มีใครหรอกที่อยู่คนเดียวได้ตลอดเพราะว่ามนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม

 

คำแนะนำของอาจารย์คิมก็คืออย่าอยู่คนเดียว กินข้าวคนเดียว ให้เราปิดคอมบ้าง วางโทรศัพท์มือถือลงบ้าง ควรที่จะลองพาตัวเองเข้าไปอยู่ในกลุ่มของฝูงชนดู

อ่านหนังสือพิมพ์

อาจารย์คิมแนะนำว่าให้อ่านหนังสือพิมพ์ ในปัจจุบันนี้คนส่วนมากอ่านข่าวแบบออนไลน์และก็คิดว่าเพียงพอแล้ว อาจารย์คิมบอกว่าการอ่านแบบออนไลน์ก็มีข้อด้อยเหมือนกัน

 

เพราะว่าด้วยความที่เรามักจะเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง

 

เราจะเลือกอ่านสิ่งที่เราชอบเป็นหลัก เราจะอ่านข่าวข่าวที่เราชอบมากกว่าข่าวสำคัญสำคัญ หนังสือพิมพ์จะจัดหน้าและขนาดของบทความเนี่ยตามลำดับของความสำคัญ 

กฎ 1 ต่อ 1 

กฎ 1 ต่อ 1 คือการที่ให้เวลา 1 ชั่วโมงกับเรื่องใด ๆ ก็ได้ที่เราสนใจเป็นเวลา 1 ปี แล้วจะเกิดสิ่งดีขึ้นกับชีวิต

 

หลักสำคัญที่จะทำให้กฎสำเร็จได้ก็คือเรื่องของความสม่ำเสมอ ทำให้เราสามารถทำตามแผนที่เราวางไว้ ก็คือ การลองลงมือทำจริง ๆ ทีละเล็กทีละน้อยในแต่ละวัน 

จงสร้างเรื่องราวของตนเอง

ชีวิตของเด็กรุ่นใหม่เต็มไปด้วยของการวัดผล การวัดผลคือการสอบหรือเกรดเฉลี่ย แถมชีวิตของเด็ก ๆ เหล่านี้ต้องแข่งขันกันแทบจะทุกเรื่องเลย

 

การเพิ่มความสามารถที่ต้องแลกมาด้วยเวลา ทั้ง ๆ ที่ยังอายุน้อย ตัวเอง ณ เวลานั้นอาจจะยังไม่มีเป้าหมายในชีวิตก็ได้หรือว่าอาจจะยังไม่รู้จักความสามารถที่แท้จริง

 

ความถนัดที่แท้จริงของตัวเองก็ได้ ก็จะทำให้เด็ก ๆ เสียเวลา มันไม่คุ้มค่าเลยสิ่งที่สำคัญคือเราจะต้องสร้างแบรนด์ที่เป็นเรื่องราวของเราเอง

 

ที่จะสามารถโน้มน้าวกรรมการในการสัมภาษณ์ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือการเรียน

คนตัดต้นไม้ 

เรื่องราวของคนตัดต้นไม้ที่กำลังเลื่อยต้นไม้อย่างตั้งใจ อาจารย์ก็สังเกตว่าทำไมเลื่อยแล้วงานไม่คืบหน้าเลย ประกฏว่าใบเลื่อยของคนตัดไม้ทื่อแล้ว

 

ไม่ว่าจะออกแรงเท่าไหร่ก็ตัดต้นไม้ไม่ขาดสักที อาจารย์เขาก็เลยเตือนว่าให้หยุดเลื่อยไม้และลับมีดให้คมก่อน คนตัดต้นไม้กลับตะโกนกลับมาว่า

 

“ผมไม่อยากจะเสียเวลาหรอก คุณรีบไปเถอะ” 

อาจารย์คิมก็ให้ข้อคิดว่า ถ้าเรามาคิดดี ๆ มีคนมากมายเลยที่ใช้ชีวิตไม่ได้ต่างไปจากคนตัดต้นไม้เลย คนบางคนขยันทำงานโดยที่ไม่มีเป้าหมายแน่ชัด

 

บางคนก็เอาแต่มุ่งมั่นเรียน เรียนหนักครับและฝึกงานจนไม่มีเวลา ให้ลองถามตัวเองดูก่อนใช้เวลาสักนิด มันเสียเวลาไม่มากเพราะไม่เช่นนั้นเอาจจะต้องเสียทั้งเวลาและเสียพลังงานไปมากมาย