เรื่องบางเรื่อง ไม่ต้องรู้ก็ได้

เรื่องบางเรื่อง ไม่ต้องรู้ก็ได้

เรื่องAdminAlljitblog

เรื่องบางเรื่อง ไม่ต้องรู้ก็ได้  บางเรื่องรู้ก็ดีนะ แต่ไม่รู้ดีกว่า ถึงมีประโยคนี้ให้ได้ยินกันบ่อย ๆ ” เรื่องบางเรื่อง ไม่ต้องรู้ก็ได้ ” จริง ๆ แล้วแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

 

วันนี้เราจะมาร่วมพูดคุยกันใน Alljit Podcast กับรายการ Learn & Share

ในชีวิตประจำวันของเรา เรามักอยากรู้หลาย ๆ เรื่อง เพื่อการใช้ชีวิตดำเนินไปแบบมีเรื่องราว มีเรื่องคุย บางเรื่องรู้แล้วไม่ได้ช่วยอะไรเลย บางเรื่องรู้แล้วทุกข์

 

บางเรื่องพยายามจะรู้ให้ได้ พอรู้แล้วรับไม่ได้นั่นเพราะอะไร

 

ทำไมเราต้องอยากรู้ ? วิทยาศาสต์กับความสงสัยอยากรู้ของมนุษย์ 

Curiosity คือ ความอยากรู้อยากเห็นหรือความสงสัยใคร่รู้ ส่วนใหญ่จะถูกอธิบายว่าคือ ความต้องการหรือความปรารถนาที่จะรู้ เป็นแรงผลักดันที่ทำให้เราออกไปค้นหาความแปลกใหม่หรือสร้างองค์ความรู้ต่าง ๆ

 

นักจิตวิทยา  Jordan Litman กล่าวไว้ว่า Curiosity แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

 

I Curiosty Interest = ความสนใจ เป็นความอยากรู้ที่เกิดขึ้นเองแบบ เชิงรุกก็คือ เช่น อยากรู้แหล่งที่มาของสถานที่เที่ยวนั้น,ทำไมตรงนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย

 

D Curiosty  Deprivation = เป็นความอยากรู้ที่ถูกกระตุ้นด้วยคำถาม ความกระวนกระวายใจ จนต้องหาคำตอบ เช่น เรานึกถึงเพลงเพลงหนึงที่เราเคยชอบมากแต่ไม่รู้ว่าเพลงอะไร  จนต้องค้นหาเพื่อให้ได้คำตอบ 

 

Litman กล่าว่า ระหว่างที่ยังไม่ได้คำตอบนั้น D -curiosity ก็คือความเครียดเล็ก ๆ จนกระทั่งเมื่อได้คำตอบแล้ว D-curiosity

 

ถึงจะเปลี่ยนเป็นความพอใจและความสุข ดังนั้น คนเราจึงไม่ค่อยชอบ D-curiosity 

 

 

ความอยากรู้ของคน มีกี่รูปแบบ 

นักจิตวิทยา ทอดด์ แคชแดน Todd Kashdan ยังจำแนกประเภทของ “คน” ที่อยากรู้อยากเห็นออกเป็น 4 ประเภทด้วย คือ

 

1. Problem Solvers คนแบบนี้จะมีอาการคันอยากจะแก้ปัญหาให้ได้อยู่เรื่อย เห็นประเด็นอะไรก็เกิดความสงสัยว่าจะทำให้ดีกว่าได้ไหม

 

2. Empathizers สนใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน พยายามเข้าใจพฤติกรรมของคนที่พบเห็น รวมถึงผู้คนต่าง ๆ ในสังคมที่ได้ยินมา 

 

3. Avoiders คือ คนที่ไม่อยากรู้อยากเห็นอะไรเท่าไหร่ อาจเป็นเพราะรู้สึกเครียด มีภาระอยู่แล้ว หรือชีวิตก็เครียดอยู่แล้ว ก็เลยเลือกที่จะไม่สนใจอะไร

 

4. The Fascinated คือ คนที่อยากรู้ไปหมด มีความสุขกับการอยากรู้ คนแบบนี้คือคนที่รับเอาความ curiosity ทุกรูปแบบไว้ในตัวเอง

 

รวมทั้งเป็นทั้ง Problem Sovers และ Empathizer ในคนคนเดียวกัน ทำให้น่าจะเป็นคนที่มีความสุขที่สุด และมีชีวิตน่าสนใจที่สุดด้วย

 

เรื่องบางเรื่อง ไม่ต้องรู้ก็ได้ ?

 

ข้อดี

 

ในเชิงวิทยาศาสตร์ คือ เมื่อเรารู้สึกสงสัยอยากรู้อะไร สมองมีกลไก ‘Rewarding system’ และหลั่งสาร Dopamine ทำให้มีความรู้สึกดี 

 

กลไกเหล่านี้เองที่ช่วยให้มนุษยชาติก้าวไปข้างหน้า และไม่หยุดค้นหาคำตอบใหม่ ๆ

 

อย่างเช่น นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นอกจากนั้นความอยากรู้ อยากเห็นส่งผลให้เรามีแรงขับเคลื่อนในการเข้าสังคม สร้างความสัมพันธ์ใหม่ ๆ

 

ข้อเสีย

 

เมื่อไหร่ที่เรามีความสงสัย อยากรู้ แล้วไม่ได้รู้กมันค้างคาใจ จะทำให้เรากระวนกระวายใจ อาจส่งผลให้เครียด นอนไม่หลับ วิตกกังวล

 

แต่หากเรารู้ความจริง แต่รับความจริงไม่ได้ก็เครียดอีกเช่นเดียวกัน

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ 

 

ที่มา :

‘เรียนรู้ว่าเราไม่ต้องรู้ไปทุกอย่าง’

ทำไมมนุษย์ถึงสนใจใคร่รู้

“ทำไม?” เรื่องของ curiosity