สกินชิพ

จำเป็นไหม? รักแล้วต้อง Skinship

เรื่องAdminAlljitblog

กอด โอบ สัมผัสทางกายที่แสนอบอุ่น หรือเรียกว่าการ Skinship จำเป็นไหม? สำหรับคนที่เราสนิท

คำว่า Skinship (สกินชิพ) เริ่มจากไหน?

คำว่า ‘สกินชิพ’ หรือ Skinship ไม่ได้มาจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษ แต่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึงการสัมผัสกันระหว่างแม่และลูก ในการจับมือ ลูบหัว กอดลูก

 

และลามไปถึงการ สกินชิพ กับเพื่อน หรือคนรัก แต่เมื่อคำนี้เข้าสู่เกาหลีใต้ เรามักจะได้ยินคำนี้ตามอุตสหกรรมบันเทิงของเกาหลี บริบทของคำนี้แปรเปลี่ยนความหมายสู่การสัมผัสแตะเนื้อต้องตัวกันระหว่างคู่รักหรือเพื่อน

 

อีกทั้งอิทธิพลของซีรีส์เกาหลีที่แพร่หลาย ทำให้คำว่า ‘สกินชิพ’ ดูเป็นการแสดงออกทางความรักที่น่ารัก และไม่ได้มีความหมายในแง่ลบ

 

ในเชิงวิทยาศาสตร์คำว่า Skinship

ในเชิงวิทยาศาสตร์เรียกการสัมผัสเหล่านี้ว่า ‘ระบบประสาทรับความรู้สึกทางกาย’ (Somatic Sensory System หรือ Body Sensing System) 

 

ข้ออ้างอิงงานวิจัยของ แฮร์รี่ เอฟ ฮาร์โลว์ (Harry F. Harlow) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้ทำการทดลองศึกษาพฤติกรรมของ ลิงรีซัส โดยการสร้างหุ่นแม่ลิงจำลองขึ้นมา 2 ตัวซึ่งทำด้วยลวดตาข่าย

 

โดยสร้างความแตกต่างด้วยการให้ลิงจำลองตัวหนึ่งมีผ้าขนหนูหนานุ่มห่มไว้ ส่วนลิงจำลองอีกตัวนั้นไม่มีผ้าห่อแต่มีขวดนม ในตอนแรกมีการตั้งสมมติฐานว่าลูกลิงน่าจะเลือกแม่ลิงจำลองที่มีขวดนม

 

แต่ผลการทดลองกลับกลายเป็นว่าลูกลิงเลือกที่จะเข้าหาลิงที่มีผ้าขนหนูมากกว่า แม้ว่าจะไปหาแม่ลิงจำลองที่มีขวดนมในบางครั้งก็ตาม แต่เมื่อใดที่มีเสียงกระทบเพียงเล็กน้อย มันกลับซบที่แม่ลิงที่มีผ้าขนหนูมากกว่า

 

คุณแฮร์รี่ยังคงทำการทดลองต่อด้วยการให้ลูกลิงตัวนั้นอยู่กับแม่ลิงจำลองที่มีขวดนม (โดยจับแยกแม่ลิงจำลองที่มีผ้าขนหนูออกไป) แล้วทำการศึกษาต่อว่าเมื่อโตขึ้น ลูกลิงตัวนั้นจะเป็นอย่างไร

 

ผลปรากฏว่าลูกลิงดังกล่าวมีอาการหวาดระแวง และปรับตัวเข้ากับลิงตัวอื่น ๆไม่ได้ ผลการทดลองของคุณแฮร์รี่นำไปสู่การเขียนทฤษฎีข้อหนึ่งในวิชาจิตวิทยาที่เรียกว่า “ทฤษฎีการยึดติดผูกพัน (Attachment Theory)”

 

การทดลองดังกล่าวเป็นข้อพิสูจน์อย่างดียิ่งว่าความผูกพัน การใกล้ชิด การได้รับการดูแลเอาใจใส่ จะทำให้เกิดพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจที่ดียิ่ง หากมองในแง่ของความรักในครอบครัว การดูแลลูกของตนอย่าง

 

ใกล้ชิดจะทำให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้อย่างสมบูรณ์ หรือหากมองในแง่ของความรัก การดูแลกันและกัน ให้เกียรติกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา

 

ก็จะทำให้ความสัมพันธ์แนบแน่นขึ้นและได้รับการพัฒนาต่อไปในระดับที่สูงขึ้น การสกินชิพเนี่ยทำให้สารฮอร์โมนแห่งความสุขอย่างโดปามีนเพิ่มขึ้น

 

บางทีการ ‘สกินชิพ’ อาจเป็นวิธีสื่อสารความรักที่ดียิ่งกว่าการพูดคำว่า “รัก” ออกไปตรง ๆ ได้อีกด้วย เพราะบางที เราเองก็เขิลที่จะบอกรักใครสักคน เพราะฉะนั้นพี่รู้สึกว่าวิธีนี้ก็เป็นการบอกรักได้อีกรูปแบบหนึ่ง

 

ข้อดีของการ Skinship

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดก็เคยค้นพบว่าการสัมผัสทางกายภาพจะสามารถเพิ่มระดับของโดปามีนและเซโรโทนิน ที่เป็นสารสื่อประสาทแห่งความสุขที่ช่วยควบคุมอารมณ์ บรรเทาความเครียด และความวิตกกังวลในมนุษย์ด้วย

 

ข้อเสียของการ Shinship 

  • ถ้าใครไม่ชอบอาจจะรู้สึกรำคาญและถอยออกห่างไปเลย ถึงการสกินชิพจะมีข้อดีแต่ถ้ามากเกินไปจนอีกฝั่งอึดอัด อาจจะต้องพูดคุยกัน
  • ทำให้ถูกที่ถูกเวลา

 

ซึ่งแน่นอนว่า การสกินชิพไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะ มันคือการแสดงออกทางความรักที่มนุษย์คนหนึ่งมีให้กับอีกคนหนึ่ง แต่ไม่ควรลืมว่า การสกินชิพเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการยินยอมจากทั้งสองฝ่าย

 

และต้องคำนึงถึงเวลา สถานที่ด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถนำไปสู้ข้อถกเถียงในเรื่อง ‘การแสดงออกทางความรักในที่สาธารณะ’ ต่อได้อีกด้วย