“โรคซึมเศร้า”

โรคซึมเศร้า มีอยู่จริง ไม่ใช่แค่คิดมากหรือ อ่อนแอ!

เรื่องAdminAlljitblog

โรคซึมเศร้า หลายครั้งที่เราเผลอตัดสินสิ่งที่เราคิดว่าจริง และเชื่อว่าโรคซึมเศร้าามันเป็นแบบไหน แต่เราลืมไปว่าสิ่งที่เรากำลังคิด เราไม่ได้เผชิญมันด้วยตัวเอง !! “โรคซึมเศร้า”

 

หนังสือที่เป็นเหมือนคู่มือทำความเข้าใจโรคซึมเศร้า   เขียนโดย นายแพทย์ ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จาก Amarin health

 

“ โรคซึมเศร้ามีอยู่จริง ” 

 

มักมีคำพูดประเภท “อย่าคิดมาก”  “อย่าอ่อนแอเกินไป”  หรือ “คิดไปเองหรือเปล่า?”   คำพูดเหล่านี้เป็นคำพูดที่ไร้ความหมาย คนพูดมักไม่ได้สวมบทบาทของผู้ป่วย หรือจิตแพทย์ 

 

ถึงแม้ว่า ผู้ป่วย “คิดมาก” “อ่อนแอ” “คิดเอาเอง” “ไม่เข้มแข็ง” หรือ “ไม่ปล่อยวาง” อาการที่เกิดขึ้นทั้งหมดในใจของเขาก็ยังคงเป็นของจริง นี่ไม่ใช่แค่ความรู้สึก แต่เป็นอาการของโรคซึมเศร้า (symptoms)

 

ในการวินิจฉัย จิตแพทย์ไม่ได้ใช้เพียงแค่ความรู้สึก หรือฟังเพียงคำบอกเล่าเหมือนกับเรา แต่ใช้วิธีตรวจสุขภาพจิตเฉพาะ ให้ได้หลักฐานที่เป็นรูปธรรม และทำให้รู้ว่า “โรคซึมเศร้ามีอยู่จริง” 

 

 

การ “ เลือกจากไป ” ที่สมเหตุสมผล ?

 

ทุกคน รู้ไหมว่า… เมื่อคลื่นของความคิดที่ว่า “ฉันอยากหายไปจากโลกนี้” พัดเข้ามาในใจของผู้ป่วย เมื่อชีวิตเดินมาถึงทางตัน เป็นภาระ หมดหนทาง ไม่มีแม้แสงสว่างให้คว้า                                                                             

 

เขาจะหาเหตุผลมารองรับความรู้สึกผิดที่เกิดขึ้นและหลงเชื่อว่าเขาผิดจริง ๆ เชื่อจริง ๆ ว่าได้พยายามสุดความสามารถแล้ว ทั้งเพื่อตัวเอง และเพื่อคนอื่น  

 

ทางเลือกนี้ มันไม่ได้ดูน่ากลัวในตอนนั้นเลย แต่การจากไปในเวลานั้น มันกลับดู “สมเหตุสมผล” 

 

คลื่นความคิดนี้ดูจะมีพลัง แต่หากคนรอบตัวรวมถึงผู้ป่วยร่วมใจ ไม่ปล่อยให้เกิดความเสี่ยง คลื่นนั้นจะเพียง พัดมา และ พัดไป 

 

“สำหรับจิตแพทย์ ผู้ที่พยายามจากโลกนี้ไปทุกคนกำลังส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ ไม่มีคำว่า “เรียกร้องความสนใจ” ไปจนถึงคำว่า “สำออย” หรือ “แกล้งทำ” เพราะ

 

“เขาคือผู้ป่วย มีศักดิ์และสิทธิ์ของผู้ป่วย” 

 

*** ทั้งนี้หัวข้อนี้มิได้เป็นการสนับสนุน แต่เพียงสื่อสารในมุมที่เราอาจยังไม่เข้าใจเสียงในใจของผู้ป่วย 

 

 

โรคซึมเศร้าไม่ได้หาย ด้วยการทำใจหรือปล่อยวาง 

 

โรคซึมเศร้าอาจจะหายเองได้บ้าง แต่ส่วนใหญ่ไม่หายเอง เพราะมีปัจจัยพัวพันกันหลายข้อ  โรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคทางสมอง แต่กลับเป็นโรคทางจิตใจ (จิตเวช) ไม่สามารถกินยาปฏิชีวนะ ฆ่าเชื้อโรคเหมือนการอักเสบได้

 

ผู้ป่วยต้องการการรักษาจากจิตแพทย์ด้วยวิธีที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน ถ้าผู้ป่วยและญาติให้ความร่วมมือในการรักษา มีวินัยในการกินยา และดูแลตัวเอง ประคับประคองกันอย่างเข้าใจ ก็จะกลับมายิ้มอย่างสดใสได้อีกแน่นอน 

 

 

หายขาดได้ไหม 

 

หลายครั้งที่ผู้ป่วยอาจไม่หายขาดเพราะ โรคซึมเศร้าป็นโรคทางจิตใจ ยากแท้หยั่งถึง แต่ความมหัศจรรย์ก็เกิดขึ้นได้ ผู้ป่วยบางคนหายขาด แต่ส่วนใหญ่อาจจะแค่ อาการสงบ

 

ซึ่งอาการสงบก็แบ่งออกเป็น 2 ขั้นอีกก็คือ สงบอย่างสมบูรณ์ สงบบางส่วน อาจมีอาการบางอย่างหลงเหลืออยู่บ้าง  ซึ่งตัวชีวัด ก็คือคุณภาพชีวิตของตัวเอง อีกอย่างหนึ่งคือความพอใจในคุณภาพชีวิตของตัวเอง

 

 

ที่มา :

บทความนี้เป็นเพียงเนื้อหาส่วหนึ่งของหนังสือ “โรคซึมเศร้า”  เท่านั้นค่ะ

 

 

Related Posts