Bipolar Disorder

ไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) อารมณ์ 2 ขั้วโดยจิตแพทย์

เรื่องAdminAlljitblog

คำที่ได้ยินกันบ่อย ๆ “เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย” … จริง ๆ แล้ว เรียกว่าเป็นไบโพลาร์หรือเปล่า? ไบโพลาร์ มีลักษณะอาการอย่างไร มีสาเหตุมาจากไหน รักษาอย่างไร ตลอดจนคนรอบข้างที่อยู่ด้วยควรปฏิบัติตัวอย่างไร…

 

มาหาคำตอบกับรายการพูดคุย Alljit X คุณ ณัฏฐชัย รำเพย จิตแพทย์ หรือรับฟังได้ที่  Alljit Podcast

 

Bipolar Disorder หรือ โรคอารมณ์ 2 ขั้ว คือ ?

Bi แปลว่า สอง 

Polar แปลว่า ขั้ว 

อารมณ์โดยทั่วไปมีสองขั้ว แยกออกเป็น ขั้วเศร้า และ ขั้วดีด (สุขมาก หรือ หงุดหงิดมาก) 

 

คำว่าโรคไบโพลาร์ จึงหมายถึง การมีอารมณ์ทั้งสองขั้วที่มากเกินไป  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการมีขั้วดีด เพียงอย่างเดียว ก็เรียกว่า โรคไบโพลาร์ได้เช่นเดียวกัน  และถ้ามี ขั้วเศ้ราเพียงอย่างเดียวจะเรียก โรคซึมเศร้า

 

ถ้ามีทั้ง  ขั้วเศร้า และ ขั้วดีด จะเรียกว่าไบโพลาร์ หรือ มีขั้วดีดเพียงอย่างเดียว จะเรียกโรคไบโพลาร์ 

 

การหงุดหงิดเช้า เศร้าเย็น อาจไม่ได้หมายความว่าเราเป็นไบโพลาร์ เพราะเรามีอารมณ์ และเรามีสิทธ์ที่จะ มีอารมณ์เศ้รา อารมณ์ดี หงุดหงิด สลับกันไปมาอยู่แล้ว เป็นเรื่องปกติของมนุษย์

 

และอุปนิสัยของแต่ละคน ร่วมไปถึง ฮอร์โมน และความเครียด หากจะเป็นไบโพลาร์ คือต้องเข้าเกณฑ์วินิจฉัยของโรค เช่น ขั้วเศร้าก็ต้องเศร้าด้วยความรุนแรงที่มากพอและนานพอ 

 

 

ลักษณะอาการของไบโพลาร์มีอะไรบ้าง

ขั้วดีด คือ อารมณ์ดีมากผิดปกติ หงุดหงิดมากผิดปกติติดต่อกัน และอาจจะมีอาการร่วมชวนสังเกตเพิ่มเติมเช่น ความคิดแล่นเร็ว ยับยั้งชั่งใจยาก สมาธิลดลง ควบคุมตัวเองยาก ใช้จ่ายแบบเกิน

 

ขั้วเศร้า คือ เศร้ามาก เฉื่อยชา ซึม ๆ  ไม่มีเรี่ยวแรง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ เป็นต้น 

 

 

สาเหตุของ ไบโพลาร์ คืออะไร 

สาเหตุมาจากสารสื่อประสาทในสมองถูกกระตุ้น ส่งผลให้สมองทำงานผิดเพี้ยนไป ส่งผลออกมาทางอารมณ์และการแสดงออก 

 

 

รีเช็คตัวเองอย่างไร 

สังเกตควมผิดปกติดังอาการข้างต้นที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่อย่าเพิ่งตัดสินให้เข้าไปพบผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด 

 

 

โรคซึมเศร้า กับ ขั้วเศร้า ของไบโพลาร์ต่างกันไหม

คล้ายกันมาก แต่ต้องดูว่ามีขั้วดีดมาปะปนด้วยไหม เช่น บางคนเข้ามาพบหมอ ซักประวัติแล้วพบว่ามีอาการซึมเศร้า แต่เพิ่มคำถามสุดท้ายว่าในช่วงนี้มีอาการที่เรียกว่าขั้วดีดบ้างไหม หากมี คำวินิจฉัยจะเปลี่ยนทันที 

 

 

การรักษาทำได้อย่างไร

1.  รักษาทางชีวภาพ คือ การรับประทานยาตามที่หมอสั่ง

2. จิตวิทยา คือ การพูดคุยโดยดูว่าคนนี้มีความคิดอะไรทางจิตใจซ่อนอยู่

3. สังคม คือ การจัดสรรค์สิ่งแวดล้อมที่อยู่ให้เหมาะสม ส่งเสริมต่อการรักษา

 

 

คนใกล้ชิดจะช่วยดูแลอย่างไรได้บ้าง

1. พามาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ได้

 

2. ตระหนักไว้ว่าเขาคือผู้ป่วย พฤติกรรมที่เข้าแสดงออกมันเกิดแค่ชั่วขณะหนึ่งที่ตัวโรคกำเริบ หากอาการของโรคสงบลงแล้ว เขาอาจจะรู้สึกผิดก็ได้ อย่าไปตำหนิต่อว่าเพราะคนเราป่วยได้ 

 

 

ผู้ดูแล ต้องดูแลตัวเองอย่างไรดี 

ไม่ต้องเอาตัวเองไปผูกกับเขา ให้รู้ตัวเองว่าตอนนี้เรากำลังแย่ และสิ่งที่เรากำลังรู้สึกแย่ เพราะเราได้รับผลกระทบจากคนใกล้ตัวที่ป่วยด้วยอาการอะไรก็แล้วแต่ ให้มองว่านั่นคือส่วนของเขา

 

และนี่คือส่วนของเรา มาตูต่อว่าเราจะดูแลหัวใจตัวเองได้อย่างไรบ้าง ด้วยวิธีไหนบ้าง  ที่จะทำให้เราสบายใจมากขึ้น และมีแรงกลับไปดูแลผู้ป่วยต่อได้ 

 

 

ไบโพลาร์ รักษาให้หายได้ไหม

ไบโพลาร์ สามารถรักษาให้หายได้ โดยการรับประทานยา และรับการดูแลทางจิตวิทยา ก็จะทำให้อาการดีขึ้น และหายได้ 

 

สุดท้าย อย่านำคำว่า ไบโพลาร์ มาใช้ฟุ่มเฟื่อย เพราะคำว่าไบโพลาร์ เป็นชื่อโรคหนึ่ง ซึ่งมีคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่สบายและได้รับความทุกข์จากโรคนี้

 

และการที่เราเอาชื่อโรคนี้มาเป็นคำที่ใช้พูดกับเพื่อนเป็นปกติ นำมาใช้เป็นคำต่อว่า ด่าทอ วิพากวิจารณ์ เหมือนเป็นการทำร้ายคนกลุ่มหนึ่งที่กำลังป่วยด้วยโรคนี้ 

 

สามารถติดตามความอื่น ๆ ได้ที่ Alljit Blog