ไม่ฟังพ่อแม่

ทำไมลูกไม่ฟังพ่อแม่บ้าง หรือจริง ๆ แล้ว พ่อแม่ไม่เปิดใจฟังลูก

เรื่องAdminAlljitblog

วันนี้ขอเป็นตัวแทนของฝั่งพ่อแม่ ที่อาจจะเริ่มมีข้อสงสัยว่าทำไมลูกถึงเป็นแบบนี้ ความคิดของพ่อแม่อาจกำลังติดอยู่กับบางสิ่งบางอย่าง พยายามแก้ปัญหา ดุด่า ห้ามนู่นนี่นั่น แต่ยิ่งทำแบบนั้น ยิ่งทำให้สัมธภาพของพ่อแม่กับลูกแย่ขึ้นเรื่อย ๆ หรือแท้จริงแล้ว พ่อแม่ไม่เปิดใจฟังลูก

 

บทความนี้ Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยในทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพใจ 

พ่อแม่ไม่เปิดใจฟังลูก

1 ใน 3 มักมีปัญหาในเรื่องของปฏิสัมพันธ์ ลูกมีอะไรก็ไม่ค่อยเล่าให้พ่อแม่ฟัง ส่วนพ่อแม่บางคนก็ชอบบังคับให้ลูกทำในสิ่งที่ลูกไม่อยากทำ มีปัญหาการทำร้ายร่างกายเข้ามาเกี่ยว

 

สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในระดับของครอบครัว ที่เป็นสถาบันที่สำคัญมาก ตระหนักได้ว่าปัญหาในการสื่อสารนั้นยิ่งใหญ่ขนาดไหน

พ่อแม่ชอบเล่าความลับของลูกให้คนอื่นฟัง

เหตุผลหลัก ๆ ของวัยรุ่นที่เลือกจะไม่เล่าให้พ่อแม่ฟัง เพราะคิดว่าการที่เขาเล่าไปนั้นมักจะไม่เป็นความลับให้กับเขา ชอบเอาไปเล่าให้ป้าข้างบ้านฟังต่อ หรือเอาไปพูดต่อแบบไม่ดีหรือเสียหาย บางคนก็ดุด่าสั่งสอน โวยวายทั้ง ๆ ที่ยังฟังไม่ทันจบ

 

พ่อแม่บางคนก็แค่รับฟังแต่ไม่ได้ใส่ใจในรายละเอียดว่าลูกกำลังเผชิญกับอะไร ไม่ค่อยสนใจที่จะคุย พอมีเรื่องขึ้นมาเมื่อไหร่ถึงจะเรียกกลับมาซักถามหาความเป็นจริง 

 

วิธีการเมื่อเราอยู่ในฐานะพ่อแม่ จะสื่อสารยังไงให้ได้ใจลูก พ่อแม่อาจจะต้องมองมาถึงพัฒนาการวัยรุ่นของเขาก่อนว่า เขาต้องเผชิญกับอะไรมาบ้าง ร่างกาย อารมณ์ สังคม พัฒนาการ

 

ซึ่งอาจเป็นความยุ่งยากในชีวิตของเขา เขาอาจรู้สึกอยากเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น 

 

เทคนิคการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

1. พูดถึงตัวเรา สื่อสารในความเป็นเรา ใช้คำพูด คำบอกเล่าแทนคำดุด่าหรือสั่งสอน เช่น พ่อคิดว่านะ แม่คิดแบบนี้นะ ยกตัวอย่าง แม่รู้สึกว่าลูกนอนตื่นสายนะ แม่อยากให้ลูกนอนตื่นเช้ามากขึ้นเพื่อไปโรงเรียน

 

แทนที่จะใช้น้ำเสียงตำหนิลูกแต่ควรพูดกับลูกด้วยคำพูดที่น่าฟัง

 

และต้องฝึกกับตัวเองมาก ๆ เพราะส่วนใหญ่แล้วพ่อแม่มักมีความเคยชิน แต่ถ้าเราทำได้จะเป็นผลดีเพราะลูกจะไม่รู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกตำหนิ

 

2. เมื่อสื่อสารแล้วลูกก็เริ่มทำตาม ต่อไปเราต้องเริ่มชื่นชมเขา เพื่อเป้าหมายให้ลูกกลับมาเห็นคุณค่าในตัวเอง ให้เขารับรู้ได้ว่า เขาก็ทำอะไรให้พ่อแม่ชื่นชมได้เหมือนกันนะ ในเรื่องของความพยายามของเขา

 

ขับเคลื่อนให้เขารู้ว่าพฤติกรรมแบบนี้พ่อแม่ชอบ ส่วนคำชื่นชมนั้นต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง ยกตัวอย่าง ลูกพยายามตื่นเช้าแบบนี้ แม่ชอบมากเลย ถ้าอาทิตย์หน้าลูกทำได้อีก ลูกจะได้รับรางวัล 

 

บางครั้งผู้ปกครองมักมองข้ามไปและไม่นำมาพูดถึง หลาย ๆ บ้านที่มีปัญหากัน ทะเลาะกัน ทำร้ายคนในครอบครัว ส่วนใหญ่ก็เพราะไม่สนใจการสื่อสารและความรู้สึก

 

แต่จริง ๆ แล้วการสื่อสารนั้นสำคัญมาก เพราะจะทำให้อีกคนมองเห็นว่าการกระทำของเขานั้นก่อให้เกิดความรู้สึกแย่ ๆ อย่างไรต่อเราได้บ้างและสัมธภาพในบ้านก็อาจจะดีขึ้นได้ด้วย

 

3. พ่อแม่จะต้องปฏิบัติให้ไปในทิศทางเดียวกันและทำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าอีกคนทำแต่อีกคนไม่ทำ ลูกอาจเรียนรู้จากอีกคนและต้านอีกคนได้ ค่อย ๆ เรียนรู้กันไป เพราะการสื่อสารกับวัยรุ่นอาจไม่ใช่เรื่องง่าย

 

การเลี้ยงลูกที่มีประสิทธิภาพได้อีกอย่าง คือ การวางกฎกติกาในบ้านร่วมกัน และให้รู้สึกว่าสนุกสนานในการทำร่วมกันได้ พูดคุยเพื่อให้กฎเหล่านั้นเกิดขึ้นได้จริง

 

วางเงื่อนไขให้ชัดเจนว่าถ้าทำได้เขาได้อะไร ถ้าเขาทำไม่ได้เขาต้องเสียอะไร จะเป็นวิธีการให้เขาก้าวไปกับเราและไม่มีแรงต้าน เพราะกฎกติกานั้นเราคิดกับเขาร่วมกัน 

 

ครอบครัวจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลให้ลูกก้าวข้ามผ่านช่วงวัยที่เหนื่อยและหนัก เพื่อผ่านไปด้วยความราบรื่น เพราะฉะนั้นการสื่อสารจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการเข้ามาดูแลในเรื่องนี้

 

ถ้าหากวันนี้เรายังไม่เข้าใจกัน ค่อย ๆ พยายามปรับเพื่อหาความเหมาะสมของครอบครัวให้เจอ

Related Posts